Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สมรสเท่าเทียม-ศาสนา-ความรัก ในมุมมอง “ปอแน” LGBT+ มุสลิมใต้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ความหวัง ‘สมรสเท่าเทียม’ ในมุมมองของ LGBT+ มุสลิม

“ผมและเพื่อนสมาชิกพรรคประชาชาติไม่สามารถที่จะรับหลักการกฎหมายฉบับนี้ได้ เนื่องจากเรามาดูในหลักการของกฎหมายที่เขียนไว้ในข้อที่หนึ่งให้ชายและหญิง หรือบุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันสามารถหมั้นและสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมาย นี่ข้อที่หนึ่งนะครับ ก็ขัดต่อหลักการ ศรัทธา และหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม…กฎหมายใดก็ตามที่ตราขึ้นมาแล้วขัดและแย้งกับพระมหาคัมภีร์อัลกุร-อานซึ่งได้มีการถือปฏิบัติมา 1,400 กว่าปีและไม่มีการแก้ไขนั้น เราไม่สามารถที่จะรับได้ในหลักการ”

ส่วนหนึ่งของคำอภิปรายเรื่อง ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ จาก ซูการ์โน มะทา ส.ส. จังหวัดยะลา พรรคประชาชาติ ที่ออกโรงไม่เห็นด้วยให้มีกฎหมายที่เพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ โดยให้เหตุผลว่าขัดแย้งกับหลักศาสนา พร้อมเสนอให้มีบทเฉพาะกาลเพื่อยกเว้นไม่บังคับใช้ต่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม


ท่ามกลางเสียงวิจารณ์บนโซเชียลมีเดียที่มองว่าหลักศาสนาควรแยกออกจากหลักกฎหมาย ผู้มีความหลากหลายทางเพศซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เองมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก

“ถ้าไม่ได้มองในมิติของศาสนาก็เห็นด้วย ควรให้มี เพราะว่าอย่างน้อยเขาก็จะได้มีที่ยืนในสังคม คนๆ นึงไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรถ้าเขารักกันเราก็ควรให้สิทธิ์เขาได้แต่งงานได้สมรสกัน แต่ถ้ามองในมิติของศาสนาอิสลาม พี่ก็ยังไม่เห็นด้วย เพราะมันยังขัดต่อบทบัญญัติ” ธามพูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนลง

ดาด้า ซึ่งเป็นผู้ที่ออกตัวว่าร่วมสนับสนุน พ.ร.บ.ฉบับนี้มาตลอด บอกว่าอยากให้ พ.ร.บ.นี้เกิดขึ้นได้จริงๆ ในฐานะ LGBT+ เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบทเฉพาะกาลที่ยกเว้นผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ ส.ส.พรรคประชาชาติเสนอ ดาด้ามองว่าอาจ “ได้อยู่” สำหรับมุมมองตามหลักศาสนา

“เราก็ต้องการเสรีภาพของเราในอีกทางหนึ่ง แต่พอมุมกลับกันมันก็ยังขัดแย้งกับศาสนาของเรา…คือหนูยังเคารพในตัวพระองค์ท่าน หนูก็บอกไม่ถูกเหมือนกันค่ะพี่” เธอตอบตะกุกตะกัก

“(การละเว้นในบทเฉพาะการ) ถ้าในมุมมองของศาสนามันดี แต่อยากจะให้มีสิทธินี้ เพราะว่าในประเทศไทยอิสลามมันน้อยมาก…พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมนี้ กลุ่มเป้าหมายเขาก็คือกลุ่ม LGBT+ ไทยพุทธก็มีกลุ่ม LGBT+ ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องมาห้ามด้วยในการที่จะมี พ.ร.บ.นี้ ในประเทศไทยก็มีไทยพุทธเยอะมาก เขาไม่ได้คำนึงถึงตรงนี้ เขาคำนึงถึงแค่หลักศาสนา แต่อยากให้เขามองด้วยมุมกว้าง มองด้วยวิสัยทัศน์มากกว่าในการที่จะตัดสินใจ” ขนมปัง กล่าว

ขนมปังเสริมว่าเขาสนับสนุนและเห็นด้วยอย่างยิ่งให้ ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ผ่าน เนื่องจากมองว่าเป็นสิทธิและความรักไม่จำกัดเพศอยู่แล้ว และมองว่าจะช่วยทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับมากขึ้น อย่างไรก็ตามเขาแสดงความกังวลว่าอาจจะมีกระแสต่อต้านจากผู้นับถือศาสนามากขึ้นเช่นกัน...


ที่มา สำนักข่าวทูเดย์

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Shalnark T Diabolus 10 มี.ค. 66 เวลา 00:51 น. 1

ถ้าศาสนามันเรื่องมากก็ให้แม่มหายๆไปเถอะ ไม่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นไม่พอ เ.สื.อกมาทำให้ชีวิตยากขึ้นอีก แล้วอีกอย่าง...ไม่มีสมรสเท่าเทียมแล้วคนเพศเดียวกันอยู่ด้วยกันไม่ได้เหรอ? ก็ไม่รึป่าว แยกพฤตินัยกับนิตินัยให้ออกก่อนมั้ยล่ะ

1
Jax 10 มี.ค. 66 เวลา 09:19 น. 1-1

ศาสนาก็คือความเชื่อ อาจปรุงเเต่คงได้ในเเต่ละ ผู้นำในเเต่ละช่วงสมัยไงละ ช่ายยๆๆๆ

0