Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กฐิน กับ ผ้าป่า คืออะไร และต่างกันอย่างไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ช่วงที่ผ่านมาต้นปี ก็มีการทำผ้าป่ากันหลายที่   หลายท่านยังไม่ทราบและยังไม่รู้ว่า   กฐินเร่ิมจัดตอนไหน  และต่างกับผ้าป่ายังไง
 

กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย


กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น
 

ผ้าป่า คืออะไร

“ผ้าป่า” คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง โดยไม่ได้ทีกี่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ซักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” ความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล้กน้อยพอแก่ความต้องการแล้วจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อมสี เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างมาก เมื่อชาวบ้านทั้งหลายเห้นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ จึงต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาติโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือ ไม่ต้องการ ก็จำนำผ้านั้นมาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้ การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมา แต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ

  1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
  2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดกันตามวัดต่างๆที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
  3. ผ้าป่าสามัคคี คือ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามบุคคล สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินเพื่อนำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในปัจจุบันการจัดทำการทอดผ้าป่าชนิดนี้จะเห็นว่าเป็นที่นิยมทำกันมาก เพื่อรวมเงินสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น อาคารที่พักคนป่วยในโรงพยาบาล อาคารเรียน อุปกรณ์ทางการศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์

สรุป กฐิน ผ้าป่า แตกต่างกันอย่างไร

พิธีทอดกฐิน

จะทำได้เวลา 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว ถึงสิ้นสุดวันลอยกระทงเท่านั้น

บุคคลรับต้องเป็นพระ-มีกาลพรรษาครบ 3 เดือน

ทอดถวายสถานที่วัดใด วัดหนึ่ง-ครั้งเดียวต่อปี วัดนั้น ต้องมีพระจำพรรษาอย่างน้อย 5 รูป

ความเชื่อของการทอดกฐิน คือ เชื่อกันว่ามีอานิสงส์สูง

พิธีทอดผ้าป่า

ทำได้ตลอดปี ไม่จำกัดเวลา บุคลล ประเภท เช่น มูลนิธิฯ ต่าง ๆ ร่วมประชาสัมพันธ์ ทอดผ้าป่าเสื้อผ้ามือสอง สำหรับน้องในชนบท เป็นต้น

ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างน้อย ควรมีพระหนึ่งรูปมาทำพิธี โดยมาชักผ้าบังสกุลนั้น (ผ้าที่แขวนกิ่งไม้ เปื้อนฝุ่น ซากศพ ไม่มีเจ้าของ เป็นต้น)

มีอานิสงส์ในการทำบุญทอดผ้าป่าหากใจเป็นกุศล

ความรู้รอบตัว ที่เราพบเจอที่เราอาจสงสัยมาฝากกัน
เครดิตข้อมูล
https://dharayath.com/
 https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe)



 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น