Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หมอจะหมดประเทศแล้ว ยังไม่รับอีก?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สืบเนื่องจาก 20/5/67 มีแถลงการณ์จากโรงพยาบาลที่ผมเซ็นสัญญาเข้าทำงานด้วยครับ ได้รับความเดือดร้อนจากประกาศจากสำนักกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่เมื่อวันที่ 13 พ.ค 67

ผมเป็นแพทย์จบจากเอกชนคนหนึ่ง ซึ่งต้องแข่งขันสอบสัมภาษณ์เพื่อทำงานในโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเอกชน แน่นอนว่าผมก็สมัครตามระบบ ทางรพ.แห่งหนึ่งก็เปิดรับสมัครแพทย์ (รอบรับตรง) เมื่อเดือนมีนาคม และผมได้รับเข้าการสอบสัมภาษณ์อย่างมุ่งมั่นและผ่านการคัดเลือกเป็น 1 ใน 20 คนครับ ...ต่อมาได้ทำการเซ็นสัญญากับทางรพ. เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 67 เพื่อเข้าทำงานที่ รพ. ดังกล่าว ระหว่างรอเปิดทำงานช่วงเดือนมิถุนายน ผมก็เข้าร่วมปฐมนิเทศเตรียมทำงานเรียบร้อยแล้ว คิดว่าจะได้เข้าทำงานอย่างที่ภาคภูมิและใฝ่ฝันการเป็นแพทย์จริงๆ สักที วันและคืนผ่านไปมีประกาศใหม่จากกระทรวงให้ลดจำนวนแพทย์เอกชน ตามอัตราที่กำหนด ซึ่ง ปัจจุบันทางรพ.ดังกล่าวมีขนาดใหญ่มีเตียงผู้ป่วย 600กว่าเตียง ต้องการแพทย์จำนวนมากจึงเปิดรับและมีผู้ผ่านการสัมภาษณ์ 19 คนจาก 40 กว่าราย แต่ประกาศฉบับใหม่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้รับแพทย์รอบรับตรงได้เหลือเพียง 7 คน ทางรพ.จึงมีประชุมแถลงการณ์วันนี้เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวกับแพทย์ทั้ง 19 คนในวันนี้ที่ 20 พ.ค. 67 (แม้ว่าใกล้จะเปิดทำงานวันที่ 1 มิย 67)


...หมายความว่ามีแพทย์เอกชนที่เซ็นสัญญาแล้วจะต้องถูกถอดถอนจากตำแหน่งถึง 12 ราย

ทางรพ.มีมาตรการรองรับผู้ที่ถูกถอดถอนดังนี้ครับ

1) ให้ไปหาสมัครที่รพ.อื่นเอง ที่ยังว่าง ซึ่งพวกผมไม่ทราบเลยว่า ที่ใดยังเปิดรับอยู่เนื่องจากที่อื่นรับสมัครกันไปหมดแล้วตั้งแต่ต้นปี และช่วงนี้ใกล้เปิดทำงานกันทุกที่ แถมต้องแข่งขันกับคนที่อื่นที่โดนเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกันจากหลายรพ.

2) ทางรพ.จะพยายามติดต่อกับทางรพ.อื่นเรื่องการส่งตัวแพทย์เพิ่มพูนทักษะไปทำงานที่รพ.นั่นๆ แทน (ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่รับประกันว่าจะได้ที่ทำงาน)

3) หากกรณีเลวร้ายสุดทำตามข้อ1 และ 2 แล้วยังไม่มีที่ทำงาน ทางรพ.แจ้งว่ายังไม่มีมาตรการใดๆ ชดเชย ต้องหารือเพิ่มเติมที่ประชุมในวันที่ 23 พค 67 นี้ครับ (ทำให้มีเวลาในการหาที่ทำงานของพวกผมลดลงไปอีก และอาจจะต้องล่าช้าในการเริ่มทำงาน) ซึ่งผมจะมาอัปเดตให้ภายหลังครับ

...แล้วเดือดร้อนอย่างไรบ้าง?

1) ความสำคัญของการทำงานตรงวันสำหรับแพทย์เอกชนคือ เป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 ปี เพื่อที่จะสามารถไปต่อยอดเข้าทำงานที่อื่นต่อได้ หรือนำไปใช้เรียนต่อ ครับหากเข้าทำงานล่าช้า ก็จะจบแพทย์เพิ่มพูนทักษะช้าและมีปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นการสมัครเข้าทำงานที่อื่นต่อหรือเรียนต่อยอดเฉพาะทางครับ

2) แม้ว่าพวกเราจะเซ็นสัญญากันไปแล้วเพื่อเข้าทำงานที่รพ.ที่พวกเราตั้งใจสมัครเข้าทำงาน แต่ยังโดนถูกถอดถอนจากตำแหน่ง แล้วอนาคตของพวกเราจะมีอะไรรับประกันความแน่นอนและความมั่นคงได้อีก

3) หากคุณคิดว่าแพทย์หาที่ทำงานง่าย คำตอบคือไม่เลย พวกเราต่างต้องสมัครโรงพยาบาลเป็น 10 ที่เพื่อเข้ามาทำงานแต่ละรพ. และอัตราการแข่งขันต่อจำนวนที่รับมีตั้งแต่ 1:2, 1:3, 1:4 ตรากตรำกันมามากมาย

...อยากรู้ความเห็นของทุกคนว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นกระบอกเสียงให้พวกเราที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างไม่เป็นธรรม เรียกร้องสิทธิ์กลับมาให้แพทย์ที่จบจากม.เอกชน ที่ช่วงหลังมานี้ถูกกดดันอย่างหนัก ให้ออกจากระบบจับฉลากและเสียสิทธิ์อื่นๆ อีกมากมาย ขอฝากความหวังและความเป็นธรรมของพวกเราด้วยครับ จากแพทย์ท่านหนึ่ง

แสดงความคิดเห็น

7 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ละครชีวิต 21 พ.ค. 67 เวลา 10:47 น. 3

แพทย์มีมากหลายคน แต่คนเก่งๆเขาไม่อยากอยู่พื้นที่ลำบาก สักพักลาออกไปเอกชน กรุงเทพ หมอที่รู้จักหลายคนไปทำเสริมความงาม

0
สลาตัน 21 พ.ค. 67 เวลา 13:33 น. 4

Demand vs. Supply ตอนนี้แห่กันเรียนแพทย์ เพราะโอกาสตกงานน้อย ทั้งจากการคัดเลือก การเรียนที่ค่อนข้างใช้เวลานาน สมาคมวิชาชีพที่หวงกันคนภายนอกหรือปิดโอกาสปริมาณรับที่เพิ่มขึ้นเยอะ และ AI ยังไม่สามารถแทนที่ได้


แต่ท้ายที่สุดไม่มีอะไรแน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ เห็นเพื่อนหลายๆคน แม้กระทั่งคนที่ได้ที่หนึ่งเข้าทั้งจุฬาและมหิดล ก็มีปัญหาในเรื่องการทำงาน โอกาสเติบโต (จริงๆคงไม่ถูกจริตกับวิชาชีพ ฟิสิกส์กับเลขโอลิมปิก กับเนื้อหาทางการแพทย์ 55555) หลายคนต้องไปทำงานต่างจังหวัด โดยคนไข้บ่นเรื่องพันผ้าพันแผลไม่สวย ถูกแพทย์ผู้ใหญ่ตำหนิสารพัด จนมันจะเลิกเป็นหมอไปแล้ว (จริงๆมีปัญหา EQ พอสมควร)


".....ถูกกดดันอย่างหนัก ให้ออกจากระบบจับฉลากและเสียสิทธิ์อื่นๆ อีกมากมาย" คืออะไรเหรอครับ อยากทราบ แต่ส่วนตัวมองว่าคนอยากเป็นหมอ จะจบรัฐหรือเอกชน ถ้ารักษาคนไข้ด้วยจิตเมตตา ก็ควรให้สิทธิ์เท่าเทียมกันในการเข้ารับราชการ หรือโอกาสในการศึกษาต่อ เว้นแต่ว่าตำแหน่งงานเต็ม ไม่มีอัตราแล้วก็ว่าไปอย่าง


มีเพื่อนเป็นหมอราว 40 คน คนที่ไม่เก่งๆสอบ 2 รอบก็ติดศิริราช รามาได้ แถมจบเกียรตินิยม เป็นอาจารย์แพทย์ด้วย ส่วนที่เก่งตอนม.ปลาย ติดจุฬา ศิริราชในรอบโควต้าเลย มีตั้งแต่เลิกเป็นหมอ บางคนก็ผันตัวเป็นแพทย์พาณิชย์ ขายยาบำรุง วิตามินหลอกคนแก่ เป็นดีเทลยา ฯลฯ แถมดูถูกคนไข้อีก คือตอนนี้ให้เลือกนะ ก็ยอมรักษากับหมอไม่เก่ง ถ่อมตน มีอะไรก็คุยกับคนไข้ดีๆ ดีกว่าอ่ะ

5
XGiLgAMesHX 21 พ.ค. 67 เวลา 15:53 น. 4-1

".....ถูกกดดันอย่างหนัก ให้ออกจากระบบจับฉลากและเสียสิทธิ์อื่นๆ อีกมากมาย"

ยกตัวอย่างครับในอดีตแพทย์ทุกคนมีสิทธิ์ได้จับฉลากเพื่อเข้าทำงาน หลังจากศึกษาจบหลักสูตร แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีกฎใหม่ออกมาว่าแพทย์เอกชนนั้นไม่สามารถเข้าระบบจับฉลากได้แล้ว จึงต้องแยกย้ายกันไปสมัครตามโรงพยาบาลต่างๆ เอง และแข่งขัน เข้าสัมภาษณ์

...ในกรณีของผมทุกคนสอบสัมภาษณ์ผ่านกันเป็นที่เรียบร้อย (ตามโควต้าที่ทางรพ.รับ) ยืนยันที่จะเข้าทำงานโรงพยาบาลดังกล่่าว ผ่านการปฐมนิเทศ และเหลือเวลาอีกไม่กี่วันจะเปิดวันทำงาน แต่กลับมีประกาศมีมาทีหลังเป็นคำสั่งให้ทางรพ.นั้นรับโควต้าได้จำกัดลดลง (ทั้งที่ผ่านกระบวนการคัดเลือก ยืนยันเข้าการทำงานแล้ว) ซึ่งเพื่อนๆ แพทย์หลายคนตกงานทั้งที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วและจะต้องไปหาที่ทำงานใหม่ สัมภาษณ์เข้าทำงานโดยไม่คาดฝันมาก่อน และไม่เคยเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น มาตรการเยียวยาอะไรก็ไม่มีเลยครับ

0
Natbangbon 23 พ.ค. 67 เวลา 13:39 น. 4-2

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมเคยเห็น สธ.เขามีประกาศกำหนดจำนวนที่สามารถรับ intern 1 เอกชนเพื่อเพิ่มพูนทักษะของแต่ละ รพ.เอาไว้ก่อนไม่ใช่หรือ (เขาต้องทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาว่าต้องมีแพทย์ด้านอะไร จำนวนเท่าใดใน รพ.ถึงจะรับ intern 1 เอกชนเพื่อเพิ่มพูนทักษะได้จำนวนเท่าไร) ถ้า รพ.ดำเนินการไปเองก่อนประกาศ สธ.แล้วเกินจำนวนที่ สธ.ประกาศ ก็คงจะไปโทษ สธ.ไม่ได้ ต้องโทษ รพ.ที่คุณไปติดต่อไว้ ว่าวางแผนเรื่องนี้ผิดพลาดขนาดนั้นได้อย่างไรครับ

0
สลาตัน 24 พ.ค. 67 เวลา 10:57 น. 4-3

อยากให้คุณลืมเรื่องความล่าช้าในการเริ่มงานไปนะครับ ไม่ต้องรีบอะไรขนาดนั้น พอคุณแก่ตัวลงอะไรก็จะช้าลงได้ เข้าใจชีวิตมากขึ้น ไม่ต้องแก่งแย่งอะไรขนาดนั้น (สมัยวัยเรียน สิ่งที่ผมพลาดอย่างหนึ่งคือการสอบเทียบ คือผมเรียนมัธยมทั้งต้นปลายแค่ 3 ปี เข้ามหาลัยตั้งแต่ 14 ซึ่งถือเป็นเรื่องพลาดมาก) ในภายหลังผมพบว่าคนที่รีบมากๆในชีวิต ส่วนใหญ่จะพังนะครับ อาจจะเพราะไปผิดเส้นทางแล้วเตลิดไปเลยก็ส่่วนหนึ่ง เพื่อนสนิทผมหลายคนกว่าจะเรียนเฉพาะทางก็ปาเข้าไป 30 แล้วครับ แถมยังมีเปลี่ยนไปมาด้วย จะว่าไปสายแพทย์บางอย่างเป็น interdisciplinary จริงๆ มีประโยชน์ต่อยอดมากมาย


คุณจบแพทย์มีใบประกอบโรคศิลป์ อย่างน้อยก็เป็นแพทย์ไปรับงาน/เปิดคลีนิกเล็กๆอะไรก็ได้นี่ครับ ถึงจะเรียกร้องอะไร คนส่วนใหญ่เค้าไม่ได้เห็นใจนักหรอก (เพราะจริงๆคุณมีทางเลือกเยอะกว่าอาชีพอื่นตั้งเยอะ อย่างเช่น พวกนักบินเอกชนที่เสียค่าเรียนแพงมาก แต่การบินไทยกลับเลือกที่จะให้ทุนนศ.จบใหม่ไปเรียน ซึ่งนักบินเหล่านี้ก็ต้องหางานเอง เปิดบริษัทหาเครื่องบินมาขับเล่นไม่ได้นะครับ)


ส่วนการทำงานทั่วไป แม้จะรับเข้าไปแล้ว ถ้าไม่ผ่านทดลองงานภายใน 4 เดือนแรก ก็โดนให้ออกได้ครับ ดังนั้นคิดถึงหัวอกคนทั่วไป (สมมติว่าจบ Ph.D. Neuroscience จาก Johns Hopkins) ลาออกจากที่เก่า มาที่ใหม่แต่ไม่ผ่านโปร สูญเสียรายได้และสิทธิตามอายุงานที่ผ่านมาทั้งหมดเลยนะครับ


ตามที่จ่อหัวกระทู้ไว้ว่าหมอจะหมดประเทศแล้ว น่าจะผิดด้วยนะครับ เพราะผม(และคนส่วนใหญ่) เข้าใจว่าหมอในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ไม่ได้ขาดแคลน แต่ตามชนบทต่างหากที่ขาดแคลน และควรให้อัตราแพทย์เยอะขึ้นเพื่อลดปริมาณงานต่อแพทย์หนึ่งคนลง

0
Natbangbon 26 พ.ค. 67 เวลา 14:26 น. 4-4
https://www.cpird.in.th/upload/web_news_files/20240513-1.pdf

อันนี้เป็นประกาศล่าสุด ที่กำหนดจำนวนที่แต่ละ รพ.จะรับได้ หาก รพ.ดำเนินการเองก่อนประกาศ คงต้องไปโทษ รพ.ครับ เพราะ สธ.จะออกประกาศเป็นปี ๆ ไป ที่กำหนดให้แต่ละ รพ.จะรับได้จำนวนเท่าใดครับ

0
มะหึ่ง 21 พ.ค. 67 เวลา 18:38 น. 5

สงสัยจังเลยว่าเค้าจำกัดแพทย์รพ.เอกชนไปแล้วจะได้อะไรเหรอ ข้าราชการไทยทำไมเค้าชอบมีแนวคิดแปลกๆเรื่อยเลย รพ.รัฐล่ะเค้าก็แพทย์น้อยเพราะคนไข้ไปหาทีนึงรอกันครึ่งวัน เพิ่มแพทย์มันก็ดีกะปชช.นะ อัตรารับแพทย์ถ้าเทียบอาชีพอื่นถือว่าง่ายมากนะ เคยไปสมัครราชการครั้งนึง 1:30 น่ะค่ะ เอกชนก็ยัง 1:8, 1:10 ยังมีเพราะงั้น 1:4 ห้ามบ่น ถ้าจะมองภาพกว้างนอกจากอาชีพแพทย์ก็ยังมีคนตกงานอีกเยอะมากแล้วก็ไม่มีใครรับประกันอนาคตได้เหมือนกันแถมเงินเดือนก็น้อยกว่าแพทย์อีก แต่สงสัยจังว่าเค้าจำกัดแพทย์ทำไม

2
XGiLgAMesHX 22 พ.ค. 67 เวลา 23:48 น. 5-1

เรื่ิองอัตราส่วนแข่งขัน จริงๆ มองว่าไม่ได้มาก แต่ในเมื่ิอได้รับเลือก เข้ายืนยันสิทธิ์แล้วก็ควรได้ทำงานตามข้อตกลง ไม่มาถูกถอนภายหลังโดยที่ไม่มีมาตรการเยียวยาใช่ไหมครับ

0
มะหึ่ง 25 พ.ค. 67 เวลา 10:41 น. 5-2

ไม่รู้สิ ไม่เยียวยาเพราะยังไม่ได้ทำงาน ก็แค่หางานใหม่เอา

0
crvja 21 พ.ค. 67 เวลา 22:33 น. 6

int1 ถ้าจบจากม.รัฐทั่วไปเขาก็จับสลากไปอยู่ถูกมั้ยครับ

ถ้าตำแหน่งงานมีก็ไม่ควรทำแบบนี้จริง ๆ แต่ถ้าเขาจะต้องจำกัดคนไม่ว่าจะจากสาเหตุใดก็ตาม(ซึ่งก็ไม่รู้ทำไม) เขาก็ต้องเอาคนที่ไม่มีข้อผูกมัด ไม่ต้องใช้ทุนออกไปก่อนมั้ยครับ มันไม่มีแรงจูงใจให้คุณอยู่ต่อถ้างานมันหนักนี่ครับ ออกไปก็ต้องหาคนอีกวุ่นวาย

3
มะกรอก 21 พ.ค. 67 เวลา 23:45 น. 6-1

ใช่ครับ แต่เขาบอกอยู่นะครับว่าประกาศมันออกมาช้า ซึ่งมันก็ควรไปบังคับใช้ปีหน้าครับ แบบนี้มันก็คงโดนหลายๆรพ และคงมีปัญหาตามมาแน่นอนครับเพราะงานจะ load ที่ int1 จับฉลากครับ ของ พวกต่างประเทศ กับ พวก เอกชนเค้าไปฉีดหน้าหรือไปทำอย่างอื่นก็ได้ครับ แต่มีบางส่วนที่อยากเป็นหมอจริงๆและเขาโดนแบบนี้ผมว่ามันไม่ถูกต้องจริงๆครับ

0
XGiLgAMesHX 22 พ.ค. 67 เวลา 23:46 น. 6-2

คืออันนี้เข้ารับตำแหน่งยืนยันเรียบร้อยแล้วครับ แต่กลับโดนให้ออกมาจากตำแหน่งย้อนหลัง

0
crvja 23 พ.ค. 67 เวลา 17:07 น. 6-3

ผมเห็นด้วยกับความเห็น4-2ครับ ถ้าหากรพ.ทำผิด ไม่ตามข้อตกลงการรับint1จบเอกชนของสธ.แต่แรก ก็จำเป็นต้องยอมรับครับ แต่หากเพิ่งเป็นประกาศใหม่ ทุกรพ.โดนเหมือนกันหมด ควรนำไปใช้ในปีถัดไปอย่างที่จขกท.ว่า

0
XGiLgAMesHX 22 พ.ค. 67 เวลา 23:44 น. 7-1

เอ่อ...ไม่ทราบว่าคอมเม้นต์นี้ได้ใช้ความคิดกลั่นกรองหรือยังนะครับ?

0
สลาตัน 24 พ.ค. 67 เวลา 10:33 น. 7-2

จริงๆก็มีส่วนอยู่บ้าง เพราะวิชาชีพแพทย์เค้าค่อนข้างหวงกัน (ดูอย่างกรณีเกาหลีใต้เป็นตัวอย่าง บอยคอตยกประเทศกันเลย คือรับเยอะเกิน privilege ในวิชาชีพจะหายไปหมด ไม่ได้คิดเรื่องคนจะมาช่วยแบ่งเบาภาระงาน หรือคุณภาพการศึกษาอย่างที่อ้างๆกันหรอก - คนส่วนใหญ่ดูออกทั้งนั้นแหละ รัฐบาลถึงได้กล้าทำ)


บ้านเราก็เช่นกัน เป็นการหวงกันประเภทหนึ่ง ดังนั้นทางที่ดีคือพยายามสอบเข้าม.รัฐให้ได้ เพื่อให้ไม่มีปัญหาเรื่องรับราชการหรือหาที่เรียนต่อ อย่างที่สองคือต้องมีคะแนนดีเป็นพิเศษ คือธรรมดาไม่ได้แล้วในสมัยเกียรตินิยมล้นประเทศ เกร่อมาก วัดอะไรแทบไม่ได้ ถ้าคุณไม่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 นายจ้างแทบจะคัดลงถังขยะทันที


สมัยนี้งานหายากทุกประเภท หมอก็ใช่จะสบาย ถ้าไม่ไช่สายรายได้ดี ศัลย์ เด็ก สกิน ฯลฯ ทำเอกชนเปิดคลีนิก ก็ต้องเป็นแพทย์พาณิชย์ ลืมๆจรรยาแพทย์ไปบ้าง คุยคนไข้ 1 นาทีเก็บค่าหมอเป็นพันๆ หรือนัดคนไข้ถี่ยิบยิ่งประเภทมีประกันแพงๆยิ่งชอบ 5555

0