Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาดูกันว่า วิทย์คอม วิศวะคอม ไอที ต่างกันยัง ??

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิทย์คอม วิศวะคอม ไอที ต่างกันยัง ?? 

มีน้องๆจำนวนไม่น้อยเลยครับ
ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ คณะ / สาขา
ที่เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย 
และแต่ละคณะ/สาขาว่ามีความแตกต่างอย่างไรกันนะ
.
วันนี้พี่ๆจะพาน้องๆไปทัวร์ความต่างระหว่าง 
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์(CS) 
เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) 
และวิศวะคอมพิวเตอร์(CE) คร่าวๆ กันเลยครับ
.
> > > สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์(CS) < < <
สาขาวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับแนวคิด
ของคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นไปทางด้าน "ซอฟท์แวร์" 
เป็นศึกษาแนวคิด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา 
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม ศึกษากระบวน
การแก้ไขปัญหา(อัลกอริทึม) เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 
การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) 
การจัดการข้อมู database และ big data
(Big data ช่วงนี้กำลังมาแรงนะครับ) เป็นต้น
ไปจนถึงการเขียนปัญญาประดิษฐ์(AI) 
.
ไหนๆก็พูดถึงสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว 
พี่แอบขอโปรโมท วิทยาการคอมพิวเตอร์...
มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เสียหน่อยก็แล้วกันครับ 
ในภาคของเรามีการจัดการเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จะเน้นไปทางด้านซอฟแวร์เกือบจะ 100% เลยทีเดียว
เช่น การเขียนโปรแกรม Network ระบบปฏิบัติการ(OS) 
ปัญญาประดิษฐ์(AI) เขียนแอปพิเคชั่น
บนมือถือ(ทั้ง ios และ android) 
และยังมีการแบ่งสายการเรียน
ตามความถนัดอีกเป็น Computer Science (CS) 
Software Engineering (SE) 
และ Computer Graphic (CG) 
.
> > > สาขาวิศวะคอมพิวเตอร์(CE หรือ CPE) 
สาขาวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับสายงานที่
เน้นไปทางด้าน "ฮาร์ดแวร์" ต่างๆ 
ตั้งแต่ชิ้นส่วนภายในของคอมพิวเตอร์ 
ไปจนถึง เชิงอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ 
รวมถึงการ Manage Hardware ด้วย
ซึ่งจะเรียนเขียนในส่วนของ "ซอฟท์แวร์" 
เพื่อควบคุมการทำงานของ "ฮาร์ดแวร์" ต่างๆนี้ด้วย 
อาทิเช่น การสร้างหุ่นยนต์ เครื่องจักรกลต่างๆ 
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การ Stimulate การทำงาน
ของ computer เช่น จำลอง CPU Clock Cycle 
(แอบได้ยินว่า เขาเรียนจำลอง
เครื่องขายน้ำอัตโนมัติกันด้วย O.o)
.
> > > สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) 
สาขาวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับการนำความรู้
ทางด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้ในเชิง
การ Management และ Business 
ไม่ว่าจะเป็นการจัดการองค์กร 
การรวบรวมและเก็บบันทึกข้อมูล พร้อมประมวลผล 
วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ หรือก็คือเป็นตัวกลางใน
การนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพ
ให้กับองค์กรนั้นๆด้วยเทคโนโลยีนั้นเอง 
.
โดยทั้ง 3 สาขานี้ จะมีวิชาที่เรียนมีส่วนที่
เนื้อหาทับซ้อนกันอยู่ แต่จะเรียนลึกไม่เท่ากัน
.
เช่น วิชา Computer Architect 
- วิศวะคอมพิวเตอร์ เรียนลึกด้านการต่อวงจร 
การออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ 
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ เรียนแนวคิดการจัดการ hardware 
โดยการ shift-bit การเก็บ-เรียกใช้คำสั่ง
- IT เรียนเบื้องต้นของส่วนประกอบ computer 
เพื่อนำไปประยุกต์กับโครงสร้างต่างๆกับระบบงานจริง
.
ในทุกสายงาน จะมีเชี่ยวชาญเฉพาะในระดับที่ต่างกัน 
ยกตัวอย่างเช่น วิศวะคอมพิวเตอร์ ก็ต้องรู้ Algorithm 
แต่รู้ไม่ลึกเท่า วิทยาการคอมพิวเตอร์
ในขณะที่ วิทยาคอมพิวเตอร์ ก็ต้องรู้วงจร Hardware 
แต่รู้ไม่ลึกเท่า วิศวะคอมพิวเตอร์ และ 
เทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างก็ต้องรู้จัก 
ทั้ง Algorithm ในการแก้ไขปัญหา 
และ วงจร Hardware เช่นกันกับ วิศวะคอมพิวเตอร์ 
และ วิทยาการคอมพิวเตอร์แต่ไม่ลึกเท่า 
จะเน้นการนำไปประยุกต์ใช้งานมากกว่า
.
พอจะเห็นภาพไหมครับ ^ ^ 
สำหรับน้องๆ คนไหนมีความคิดเห็น
หรือ มีข้อสังสัยอย่างไร 
สามารถทักมาคุยกับพี่ๆได้เลยนะครับผม ที่ แฟนเพจ พี่แนะน้อง สอบตรง-แอดมิชชั่น วิทย์คอม ธรรมศาสตร์  https://www.facebook.com/EntranceCSTU #วิทยาการคอมพิวเตอร์ #comsci #ธรรมศาสตร์ #TU


แสดงความคิดเห็น