Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ. #psds #creativedevelopment

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์
Bachelor of Arts Program in Creative Development

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ มีลักษณะพหุวิทยาการ ซึ่งสนับสนุนการจัดการศึกษาที่นักศึกษาสามารถเลือกรูปแบบได้ตามความสนใจและความถนัดในกลุ่มวิชาหนึ่งในสามกลุ่มวิชา กล่าวคือ กลุ่มวิชาการพัฒนาชุมชนร่วมสมัย กลุ่มวิชาการพัฒนาองค์กรและธุรกิจเพื่อสังคม และกลุ่มวิชาการจัดการงานอาสาสมัคร ซึ่งต่อยอดจากการศึกษาในวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาบังคับต่างๆ เพื่อให้นักศึกษา มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นในการศึกษาเล่าเรียน อีกทั้ง ยังเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนคณะต่างๆ และการบริการวิชาการต่อสังคมตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรนี้ เน้นการสร้างบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาตนเอง พัฒนาภายใน พัฒนาคุณธรรม สำนึกสาธารณะจิตกุศล และจิตอาสาพัฒนาส่วนรวม และนักพัฒนาสร้างสรรค์ชุมชน สังคม และวัฒนธรรม ไปพร้อมๆกัน รูปแบบการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจัดการในสถานการณ์ของชีวิตจริงที่หลากหลาย การทำงานพัฒนาบูรณาการและสร้างสรรค์จริงผสมผสานกับการฟังบรรยายในชั้นเรียน เพื่อให้บัณฑิตรู้จริง ทำได้ และเป็นผู้ที่ “คิดสร้างสรรค์ บูรณาการนอกกรอบ รับผิดชอบต่อส่วนรวม มีส่วนร่วมอาสาสมัคร รักษ์สันติประชาธรรม”
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำงานพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ สามารถคิด วิเคราะห์ ประมวล สังเคราะห์และสร้างสรรค์แนวคิดและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในฐานวัฒนธรรมของการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน มีทักษะความเป็นผู้นำในการแสวงหาความรู้ มีโลกทัศน์แบบองค์รวมรอบด้าน และสร้างความรู้ด้วยการวิจัยและพัฒนาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Integrative Research and Development : CIR&D) นอกจากนั้นเป็นผู้นำในงานอาสาสมัคร (Volunteer Leadership) และสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Innovation for Social Change) และมีคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการนอกกรอบ รับผิดชอบต่อส่วนรวม มีส่วนร่วมอาสาสมัคร และรักษ์สันติประชาธรรม ผ่านการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน

ติดตามได้ที่ Facebook: Creative Development - การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และ www.psds.tu.ac.th

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น