Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์ประสบการณ์สอบรับตรงพิเศษนิเทศจุฬาฯ (วารสาร) #Dek59 #Dek60

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
      สวัสดีทุกคนที่หลงเข้ามาจ้า (ผิด) เข้าเรื่องเลย เราเป็น #Dek59 ค่ะ เราเห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงสอบรับตรงของน้อง #Dek60 และส่วนตัวเคยมีโอกาสไปสอบรับตรงรอบพิเศษของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เลยอยากแชร์ประสบการณ์เท่าที่จำได้ให้น้องที่สนใจได้ลองอ่านดู

     เริ่มแรกคือต้องสมัครสอบผ่านระบบออนไลน์ของทางจุฬาฯ (มีสแกนรูปถ่ายหรือบัตรประชาชนลงในข้อมูล) เสร็จแล้วก็อ่านหนังสือวนไปลู๊ก! สิ่งที่อ่านคือที่มาของสื่อสิ่งพิมพ์ ขนาดฟ้อนต์ ขนาดกระดาษ ประวัติการพิมพ์ ความหมายและคำจำกัดความของสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท ความรู้พื้นฐานเรื่องวารสาร บุคคลและวันสำคัญต่างๆ เหตุการณ์ในแต่ละยุคสมัย เน้นข่าวที่เคยเป็นประเด็นหรือข่าวที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคม ที่สำคัญควรโหลดข้อสอบเก่าๆมาอ่านจะช่วยได้มากที่สุด


     ต่อไปจะยกตัวอย่างข้อสอบเท่าที่จำได้นะจ้ะ =.,=

> ใครคือนายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรีย 
ข้อนี้คือเดาจริงๆ เราไม่คิดว่าข้อสอบจะออกมาแนวนี้เลย //ตอบ มัลคอล์ม เทิร์นบูลล์

>พายุหว๋านก๋อ เป็นพายุประเภทไหน
อันนี้ก็เดาค่ะ จำได้ว่าโจทย์จะบอกว่าเป็นพายุที่ถล่มจีน  //ตอบ ดีเปรสชั่น

>ดาวเคราะห์หิน เคปเลอร์ จัดอยู่ในกลุ่มดาวอะไร (น่าจะประมาณนี้)
ในช้อยส์ จะมีชื่อกลุ่มดาว เช่น ดาวหงส์ (cygnus)

>ชนชาติที่ถูกส่งไปยังจีน (ประเทศเราเป็นคนส่งไป)

ข้อนี้ทำสับสนมากเพราะอยู่ในช่วงโรฮิงญา หลายๆคนอาจเดาเป็นข้อนี้รวมถึงเราด้วยแหละ //ตอบ อุยกูร์

>เกี่ยวกฏหมายคุ้มครองเยาวชนกำหนดอายุเยาวชนไม่เกินกี่ปี
ตอบ ต่ำกว่า 18 ปี  

>บทความรัฐประหาร ในข้อนี้มีบทความเกี่ยวกับการรัฐประหารมาให้ (ไม่แน่ใจว่าใช่ของไทยรึเปล่านะ) จากนั้นโจทย์ให้เราตอบว่าเป็นบทความที่บอกเกี่ยวกับอะไร  เช่น ความคืบหน้า รายงานสถานการณ์

>ช่องทีวีที่ไม่ได้เข้าร่วม กสทช 
อันนี้ต้องศึกษาค่ะ ถ้าเราไม่ค่อยดูทีวีก็จะไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ 

>อินโทรกราฟฟิก
โจทย์เกี่ยวกับกาแฟ เรื่องขนาด(แก้ว) และราคา คนที่ชอบอ่านนิตยสารน่าจะเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว อินโทรกราฟฟิกเป็นกราฟที่มีรูปแบบสมัยใหม่ อ่านง่าย จะมีตามนิตยสารค่ะ (ตามที่เราเข้าใจนะ)

>Bike For Mom (จำนวนที่ถูกบันทึกเป็นสถิติ)
เรื่องที่ใกล้ตัวค่ะ แต่เราคงไม่รู้จำนวนจริงๆ ที่ถูกบันทึกเป็นสถิติ //ตอบ 1.46 แสน (คน)

>บอลโลก 2018 ไทยอยู่สายเดียวกับประเทศอะไร
ช้อยส์มีชื่อประเทศมาให้ค่ะ อันนี้เราไม่รู้เลย 

>ความแตกต่างระหว่างข่าวกับบทความ
น้องๆ สามารถศึกษาข้อนี้เองได้เลยไม่ยาก

>ความแตกต่างระหว่างสารคดีและบทความ

>คำถามเกี่ยวกับ ชชชาติ (ติด GPS รถ ลดอุบัติเหตุ)
เราเคยได้ยินชื่อนะ แต่ไม่รู้จริงๆว่า เขา(ชชชาติ)ทำอะไร เดาวนไปค่ะ

>ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทีวี คสช.
ใครที่ดูทีวีน่าจะเดาได้ค่ะ ช้อยส์ก็ประมาณว่า ก. คสช ดำเนินการเพียงผู้เดียว ข.เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน

>จำนวน คณะ สนช 

>ชื่อ ผบตร คนปัจจุบันคือ

>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือใคร

>คำถามเกี่ยวกับลักษณะของ Z generation 

>ข้อใดแสดงจุดยืนของนักข่าวต่อเหตุการณ์นั้นๆ 
เช่น การวิจาร์ณช่าว

>ข้อใดไม่ใช่งานเขียนของ 
ประภัสสร เสวิกุล
แฟนๆ หนังสือตอบได้แน่นอนค่ะ ผลงานของท่านค่อนข้างมีชื่อเสียงและถูกนำไปทำเป็นบทละคร

>ข้อใดไม่ใช่ 'นิตยสารหัวนอก' ที่มีขายในไทย
อันนี้ต้องแยกให้ออกค่ะว่าอันไหนคือนิตยสารหัวนอก (นิตยสารของต่างประเทศที่มีขายในไทย)((ตามที่เราเข้าใจนะ))  เช่น 1 Vogue 2 NYLON 3 Ray 

>ข้อใดจัดนิตยสารผิดกลุ่ม
นิตยสารตามบ้านเรามีเยอะมากค่ะ และก็ตั้งชื่อแบบแหวกๆก็เยอะ เช่น นิ
ตยสาร hamburger ชื่อของกินแต่เป็นนิตยสารบันเทิงสะงั้น --'

>ถ้าต้องการเผยแพร่หนังสั้นเพื่อแก้ปัญหาชุมชน ช่องทางใดเหมาะสมที่สุด
เช่น หนังสือพิมพ์ ฟรีทีวีและอินเตอร์เน็ตที่วี

>รายการข่าวประเภทเดียวกัน 
เช่น เรื่องเล่าเช้านี้ (ข่าวทั่วไป) และชื่อรายการข่าวบันเทิง 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับช่องทีวีต่างๆ ด้วย 


ข้อสอบจริงๆ ทั้งหมดมี 50 ข้อ 100 คะแนน แบ่งเป็น 2 Part ทดสอบความรู้กับความรู้ทั่วไป ส่วนใหญ่เกี่ยวกับนิตยสารและเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงนั้นๆ (3-5 เดือนก่อนสอบ) น้องๆ ควรติดตามสถานณ์ปัจจุบันและศึกษาให้ดีค่ะ
เกณฑ์ คือ ต้องผ่าน 50% แต่ใช่ว่าผ่าน 50% แล้วจะได้สัมภาษณ์นะคะ เพราะยังมีคะแนน GAT และ GPA ด้วย (ทุกส่วนสำคัญหมด) ((ถ้าเรามีคะแนน GAT และ GPA สูง ก็เหมือนเราได้ขึ้นบันไดไปก่อนหนึ่งขั้นแล้วค่ะ))


เป็นข้อสอบที่วัดความรู้รอบตัวจริงๆค่ะ ถ้าคนที่ชอบเสพข่าวต้องทำได้แน่ๆ (ถ้าข้อสอบออกแนวนี้อีกนะ เพราะปีก่อนหน้าต่างกันมาก) ศึกษาสถานการณ์ของสังคมและข้อเท็จจริงให้ดี บางข่าวมีความคล้ายคลึงกันและเกิดช่วงเดียวกัน อันนี้อาจพลาดได้ 

ไม่ว่าข้อสอบจะเป็นยังไงถ้าน้องๆ ตั้งใจ ทำได้แน่นอนค่ะ วันสอบต้องพกความมั่นใจไปเยอะๆ (50%) ความรู้ (40%) ดวง (10%)


สู้ๆ เป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนค่ะ


    
     

 

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

นกันต์ 13 ส.ค. 59 เวลา 18:55 น. 1

รับตรงมีแค่วารสารใช่มั้ยครับ หรือมีสาขาอื่นด้วยอะ เราอยากเข้าสื่อสารการแสดงอะครับ

1
THMRKat 14 ส.ค. 59 เวลา 17:20 น. 1-1

เท่าที่จำได้รับตรงรอบพิเศษมีเอกเดียวค่ะ (รับ10คน)

0
หัวใจสองสี 13 ส.ค. 59 เวลา 22:07 น. 2
เราก็เคยสอบเหมือนกันค่าาา ปี59 งมหอยมากเหมือนกัน อ่านเรื่องการสร้างเยอะมาก

ออก คสช.เต็มๆ แถมความรู้รอบตัวแบบลึกอีก คือรู้ชั้นเดียวไม่พอ ต้องรู้ลึกกว่านั้น

มีของฝากด้วย



อันนี้บันทึกหลังออกจากห้องสอบเลย

//แต่ไม่ติดนะคะ ผ่านเกณฑ์มาติ๊ดนึง 555+ ถือว่ามาช่วยแชร์ให้น้องๆต่อ 55+

//แนะนำให้ติดตามข่าวสารปัจจุบันค่ะ จะดีที่สุด //เราเจอข่าวไม่อัพเดทก็ตอบผิดมาแล้วเหมือนกัน 555+



2
THMRKat 14 ส.ค. 59 เวลา 17:22 น. 2-1

เพื่อนเราก็ผ่านเกณฑ์ค่ะแต่ไม่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ เยี่ยม

0
Fernnie 14 ส.ค. 59 เวลา 19:09 น. 3

กิจกรรมทางวารสาร การอบรม ผลงาน อันนี้คือยังไงเหรอคะ
การประกวดแข่งขันทำเว็บไซต์ถือว่าเกี่ยวข้องมั้ย

1
THMRKat 15 ส.ค. 59 เวลา 21:03 น. 3-1

เป็นผลงานที่จะใช้ในส่วนของการสัมภาษณ์ค่ะ ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการเขียน การอบรมหรือการแข่งขันที่เกี่ยวข้องในทางนิเทศศาสตร์ก็ได้นะ มีผลงานที่โดดเด่นและหลากหลายไว้เป็นเรื่องดีเนอะ

0