Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากเพิ่มพลังการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างรวดเร็ว...เชิญทางนี้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


“โทษทีนะครับ ขอถามหน่อยว่ามีวิธีท่องจำคำศัพท์ดีๆไหมครับ ?”
เป็นคำถามที่ผมได้รับบ่อยมาก ในฐานะที่เป็นคนสอนภาษาอังกฤษ และผมเข้าใจว่าทำไมทุกคนถึงกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการท่องศัพท์

นั่นเพราะเมื่อเราเจอคำศัพท์ใหม่ๆ โปรแกรมจะถูกป้อนเข้าสู่หัวสมองเราทันทีว่า

จะเข้าใจความหมายของ Vocabulary นั่นต้องท่องจำ

ทำให้คนกว่า 90 % ตั้งหน้าตั้งตาใช้วิธีการจำแบบตรงๆ เช่นอ่านออกเสียง เขียนลงกับสมุด คัดลายมือ ...
เพื่อจะให้เข้าใจความหมายของคำ
วิธีแบบนั้นทำได้ไหม ? คำตอบคือทำได้ครับ แต่คุณสังเกตไหมว่าถ้าคุณทำแบบนั้น จะมีปัญหาคือ หนึ่ง คุณจะจำความหมายได้ไม่นาน และสองจะมีปัญหากับการสร้างประโยคโดยใช้คำเหล่านั้น (ซึ่งความจริงแล้วมันคือจุดประสงค์ของการท่องศัพท์เลยใช่ไหมล่ะ ?)

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาลืมวิธีการเก่าๆที่คุณครูสอนเราตั้งแต่สมัยเป็นเด็กอ่อน แล้วลองมาดูวิธีใหม่ๆ ในการท่องศัพท์ ซึ่งผมคิดว่าได้ผลมากขึ้นแน่นอน สำหรับคนที่ตั้งใจ
ถ้าจะให้ผมอธิบายสั้นๆ ผมไม่คิดว่าการท่องจำคำศัพท์คือการใช้ความจำ 100 % ผมอยากที่จะเรียกการเรียนศัพท์ให้ถูกวิธีว่ามันคือ “การคุ้นเคยกับความหมายและวางบริบทของคำให้ถูกต้อง”

เวลาที่ฝรั่งเริ่มเรียนรู้ภาษา ผมเคยฟังมาจาก Ted talk ตอนหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีใครในโลกนี้ที่มี language gene หรือ talent ทำให้เรียนรู้เร็วกว่าคนอื่น แม้แต่คนที่มีความสามารถพิเศษเป็น multibilingual หรือ polyglot (คือคนที่สามารถพูดได้หลายๆภาษา ) ก็ไม่ได้มีสมองที่พิเศษกว่าคนทั่วไป ดังนั้นวันนี้เราลองมาเรียนรู้กันดีกว่าว่ามีวิธีไหนที่ทำให้เราคุ้นเคยกับภาษาและคำศัพท์ได้บ้าง
---------------------------------------------------------------
1. หยุดท่องจำคำศัพท์โดยใช้ความหมายภาษาไทย

มีเหตุผลหลายอย่างที่ถ้าคุณได้อ่านบทความนี้คุณควรเลิกอ่านพจนานุกรม ภาษาอังกฤษไทยได้แล้ว และเปลี่ยนไปใช้พจนานุกรมภาษาอังกฤษ –ภาษาอังกฤษ ผมเคยใช้พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย หรือการท่องจำจากชีทโน้ต
สมุดโน้ตที่เพื่อนสรุป ก็ท่องได้นะแต่ เวรกรรม !
แต่งประโยคไม่ได้หรือบางทีอ่านข้อความก็ยังไม่เข้าใจ เหตุผลเพราะ คำแต่ละคำให้”ความรู้สึก”แตกต่างกัน อีกทั้งมีความซับซ้อน จะเป็น noun หรือ adjective , ระดับขั้นกว่า ขั้นสุด ,เหมาะกับ verb แบบไหน , การใช้ของภาษาไทยก็ไม่เหมือนภาษาอังกฤษ บลา บลา
ดังนั้นการใช้พจนานุกรมไทยแปลความหมายอย่างเดียว คงยากที่จะครอบคลุมให้เราเข้าใจความหมายทั้งหมด แล้วจะให้ทำยังไงละ ? ดูข้อต่อไป !

2. ท่องจำจาก คำอธิบาย

หมายความว่า เวลาเราเรียนรู้คำแต่ละคำ ผมแนะนำให้คำศัพท์มันสื่อความหมายจากบริบท เหมือนกับเรานึกหน้าใครคนหนึ่งไม่ออก เพื่อก็บอกเราว่า เฮ้ย ที่เขาตัวผอมๆ เรียนเก่งๆ ผมยาวๆ สะดุดล้มตอนวิชาพละ เราก็จะอ้อ ! คนนี้นี่เอง ... คำศัพท์ก็เหมือนกัน
สมมุติเราไม่เคยรู้จักคำว่า contagious

The falling in China economy looks contagious to surrounding countries and results in a great depression.
การตกต่ำของเศรษฐกิจจีนดู .... ไปยังประเทศรอบข้างซึ่งก่อให้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ

บางคนอาจไม่เคยเห็นคำว่า contagious
แต่คงพอเดาได้ว่าให้ความรู้สึกประมาณ แพร่กระจาย ลุกลาม ไปถึง ก้าวก่าย มีอิทธิพลต่อสิ่งรอบข้าง แล้วมันแปลว่าอะไรกันแน่
จาก oxford dictionary (of a disease) spread from one person or organism to another, typically by direct contact. ‘ a contagious disease’ 1 (of a person) having a disease that can be transmitted by contact with other people. 2 likely to spread to and affect others.
(ถ้าในความหมายของ โรคหมายถึงลุกลามจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง หรือหมายถึงแพร่กระจายไปยังสิ่ง/ผู้อื่น ) โดยสรุปความหมายของมันก็คือแพร่กระจาย

แต่ในความรู้สึกแบบการติดต่อจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อเราได้เห็นภาพแบบนี้ก็จะพอเข้าใจคร่าวๆว่า ความหมายของคำๆนี้คืออะไร ซึ่งต่างกับการท่องจำเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก

3. สร้างความคุ้นเคยให้กับคำ

หากเรารู้ความหมายของคำแล้วลองสร้างความคุ้นเคยให้กับมัน โดยการแต่งประโยค ลองนึกภาพในหัว จินตนาการว่าจะสื่อถึงอะไร มีบริบทแบบไหนที่ให้ความหมายแบบนี้บ้าง
The contagious disease directly transmits to other people nearby by airdrops.
Her sensational emotion becomes deep and contagious to her friends and is difficult to get better.
Sometimes his well done performance seems contagious to his companion and I hope it will last for at least during the entire show.

การที่เราสร้างประโยคเหมือนเราค่อยๆเอาจิ๊กซอว์ความหายของคำมาสร้างให้เป็นรูปภาพ
“เราจะใช้คำศัพท์ได้ดี ไม่ใช่แค่เรารู้จักความหมายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้บริบทของคำให้ถุกต้องด้วย “
การทำแบบนี้นอกจากช่วยทำให้เราเข้าใจความหมายแล้ว
ยังช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์เวลาเราเขียนบทความ (writing) หรือพูดกับผู้อื่น (speaking) ให้เป็นคนที่ไม่ใช่แต่คำศัพท์เดิมๆ

Tip สั้นๆสุดท้าย
ผมชอบใช้ App dictionary ในการค้นหาความหมาย เพราะบาง app จะมี history ทำให้เรากลับมาดูคำที่เราค้นหาไปแล้วได้ เช่น วันต่อมาเราเปิด app ขึ้นมา เมื่อวานเราหาคำนี้และลืมความหมายไปแล้ว เราสามารถกลับมาดูซ้ำได้ ซึ่งถ้าเราใช้วิธีการตามกระบวนการนี้ เรากลับเข้าไปดู เราจะ อ้อ ! เข้าใจง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้เวลาในการท่องจำนาน เหมือนที่หาตอนแรก



---------------------------------------------------
แล้วเราควรจะท่องจำวันละกี่คำดีละ ?
สำหรับผมมีความรู้สึกว่าคำตอบนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นใกล้สอบ ใกล้ขึ้นพูดบนเวทีก็ควรจะท่องจำคำศัพท์เยอะหน่อย แต่ถ้าเอาให้ท่องจำได้ดีที่สุดในหนึ่งวัน ผมยังชอบ การพัฒนาตัวเองมีละน้อยๆแต่ทำทุกวัน เช่นวันละ 5-10 คำแต่ทำทุกวัน คิดดูว่าในปีหนึ่งมี 365 วัน ถ้าเราท่องได้วันละ 5 คำขึ้นไป อย่างน้อย ปีหนึ่งเราได้ท่องศัพท์มากกว่า 1,500 คำ ซึ่งในความเป็นจริง เราใช้ศัพท์ไม่ถึงขนาดนั้น หรือถ้าสอบข้อสอบต่างประเทศก็อาจใช้ศัพท์ประมาณ 1,000 กว่าคำ ที่จะออกบ่อยๆ แปลว่าความจริงเราสามารถใช้เวลาเพียงปีเดียว ในการเป็น master ด้าน vocabulary โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปเมืองนอกด้วย ถ้าเราตั้งใจทำทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีวิธีการตามที่ผมบอกเราอาจเพิ่มได้เป็นวันละ 10-20 คำ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้กระชับเวลาได้เร็วกว่านี้ ถ้าเราตั้งใจทำทุกวัน

แล้วคนส่วนใหญ่ผิดพลาดตรงไหน ถึงท่องจำศัพท์เยอะๆไม่ได้สักที ?
ผมเห็นคนหลายคนพูดถึงการท่องจำคำศัพท์ ของเขาจะเป็นการเอา flash card หรือสรุปคำศัพท์ มานั่งท่องจำ ซึ่งนอกจากคำแปลเป็นภาษาไทยจะทำให้เราทั้งลืมง่ายและไม่เข้าใจบริบทของคำศัพท์แล้ว เรายังเวลาในการท่องจำคำแต่ละคำน้อย และท่องจำศัพท์จำนวนมาก ทีนี้ เราทั้งจำไปสลับคำไปบ้าง ไม่มีสมาธิบ้างเพราะงุนงง

เราต้องเข้าใจก่อนว่าการท่องศัพท์แบบเอามาวางเรียงๆแล้วเทใส่ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราท่องจำได้ดี เพราะ การใช้ศัพท์อย่างเชี่ยวชาญเราต้องเรียนรู้บริบท ดังนั้น ถ้าให้ผมแนะนำเราควรเริ่มจากเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ทำให้การท่องศัพท์เป็นเหมือนการรู้จักคำศัพท์และสร้างความคุ้นเคยกับศัพท์แทน
บางคนบอกว่าให้เอาคำศัพท์แปะไว้ที่สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ผมว่าก็พอช่วยได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราควรจะเรียนรู้บริบทของมัน

คำถามสุดท้ายถ้าอยากติดตามเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ไหนบ้าง ?

ผมเป็นคนหนึ่งที่อ่อนภาษาอังกฤษมาก่อน ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจและทำให้ผมอยากสอนคนอื่นให้พูดภาษาอังกฤษเป็น ผมจำความรู้สึกตอนที่ผมงงกับภาษาอังกฤษได้ดี ดังนั้นผมจึงอยากจะอธิบายให้เข้าใจสุดๆว่าตอนที่งงเป็นยังไง และแก้ปัญหายังไง ผมจึงคิดว่าการที่ผมเขียนข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้หลายๆคนที่เคยเก่งภาษาอังกฤษกว่าผมในอดีตสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนไว้ที่ dek-d.com และมี FB ของตัวเอง

7 สิ่งที่ควรทำถ้าอยากเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษแบบโปร 
https://www.dek-d.com/board/view/3813749/

7 อย่างที่ทำให้ผมเรียนอังกฤษไม่เก่ง ...เป็นเวลา 7 ปี 
https://www.dek-d.com/board/view/3817158/

FB https://www.facebook.com/EnglishKNOWNOW/

แค่ 6 เดือนก็เก่งภาษาได้ อย่ารอช้าจะรู้ภาษาอังกฤษ 
English KNOW NOW by TIme 

แสดงความคิดเห็น

>