Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิว วิเคราะห์สอบตรง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ + แชร์ประสบการณ์เตรียมตัวสอบ #Dek62

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 

          สวัสดีทุกคนน! ที่เข้ามาอ่านครับ ขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ" ปอนด์ " ตอนนี้ไปสัมภาษณ์ที่คณะรัฐศาสตร์

( สาขาการเมืองการปกครอง ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียบร้อยแล้วว ดีใจมากที่ได้ เพราะคะแนนแอดมิชชั่นสำหรับพี่ได้น้อย55555 รู้สึกว่าตัวเองทำข้อสอบ สอบตรงได้ดีกว่า เข้าหัวมากกว่า ชอบติดตามข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบันแล้ววิเคราะห์ตามไปด้วย

วันนี้จึงอยากมารีวิว และ วิเคราะห์การสอบตรง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเนื้อหา รูปแบบ และคำถามของข้อสอบเป็นอย่างไร ประกอบกับการเตรียมตัวสอบตรง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังสำหรับน้องม.6 ให้ประสบความสำเร็จเป็นจริงให้ได้ครับ สู้ ๆ ! มาเริ่มกันเลย !


            1. พาร์ทข้อกา( ปรนัย ) การสอบตรงในปีนี้ ข้อสอบเปลี่ยนรูปแบบหมดทุกอย่าง ผิดกับสไตล์ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาเลย เพราะข้อสอบปรนัยจากปีที่แล้ว ปรับลดจำนวนข้อเหลือ 80 แบ่งเป็น 4 พาร์ทใหญ่ ๆ คือ ความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ทั้ง การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ การระหว่างประเทศ และข้อมูลมหาวิทยาลัยแล้ว จะมีอัพเดตข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันสอดแทรกไปในนั้น

แต่ในปี 62 นี้ ข้อสอบปรนัยมีเพียง 60 ข้อ! และไม่แบ่งเป็นพาร์ทให้เห็นชัดเจนเหมือนปีที่แล้ว แต่จะเป็นในทางผสมกัน เอาข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันรอบโลก Globalization มาเป็นประเด็นในคำถามแล้วให้เราวิเคราะห์ว่าข่าวนี้อยู่บนพื้นฐานรัฐศาสตร์ในสาขาอะไร เพราะฉะนั้น“ การอัพเดตข่าวสาร ”เป็นหัวใจสำคัญของการทำข้อสอบปรนัยในปีนี้เลยก็ว่าได้ ส่วนข้อมูลความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ที่อ่านจำกัน ก็ยังจำเป็นที่ต้องรู้อยู่เป็นทุนเพื่อเพิ่มความเข้าใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น

            เนื้อหาข้อสอบส่วนใหญ่จะถามไปในทางสาขาการระหว่างประเทศ บริหารัฐกิจ และ อาเซียน

ผิดความคาดหมายในปี 62 นี้มาก ซึ่งจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น และเรื่องการเมืองที่เข้มข้นสุด ๆ พาร์ทสาขาการเมืองการปกครองกลับออกน้อยกว่าเพื่อนเลย มีถามเช่น เรียงลำดับนายกใครมาก่อน หลัง ให้ถูกต้อง และ ผู้ว่าคนไหนมาจากการเลือกตั้ง? เป็นต้น แล้วก็จะมีถามอัพเดตข่าวสารเหตุการณ์ซึ่งต้องรู้ ยกตัวอย่าง สำนักงานใหญ่หัวเหว่ยที่มาตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ประเทศอะไร? ตราบัวแก้วคืออะไร? และเหตุการณ์ฮาคีม น้องต้องมองภาพให้มันกว้าง ๆ มากกว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มองให้เป็นหลักรัฐศาสตร์ เราได้อะไร เราเสียอะไร มีเหตุผล เพราะอะไร


ทั้งหมดนี้พี่วิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ได้สอบมาในปี 62 นี้ น่าจะเป็นแนวทาง โครงเนื้อหาของข้อสอบที่น้องต้องรู้ ยืดหยุ่นในการรับรู้ข้อมูล คิดวิเคราะห์ศึกษาดูอย่างรอบคอบครับ

           


          2. พาร์ทเรียงความ( อัตนัย ) ปีนี้มีคำถามเพียงแค่ 1 ข้อ ในสาขาปกครอง คำถามในปีนี้คือ

“ จงอธิบาย จุดแข็ง จุดอ่อน ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ”

หลังจากที่ได้อ่านคำถามเสร็จ สิ่งที่แพลนไว้ในหัวก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียนเลยก็คือต้องมอง รัฐธรรมนูญ 60 เป็นหัวใหญ่ของเรื่องว่าเกิดขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร? เพื่อใคร? แล้วแยกออกมาเป็น 2 หัวย่อยว่า “ จุดแข็ง “ สำหรับใคร? แล้วอะไร? และ เป็น ” จุดอ่อน “ สำหรับใคร? แล้วอะไร? ต้องมองทุกประเด็นอย่างมีเหตุผล และ ที่มาของมันแล้วจึงสามารถมองต่อไปว่าทั้งหมดนี้มันมีจุดประสงค์เพื่ออะไร โดยที่กล่าวมาต้องตอบอยู่บนหัวข้อคำถามที่ถาม เพราะตัวคำถามต้องการข้อมูลจากเรา ซึ่งหมายความว่าต้องมีคำตอบต่อการเขียนเรียงความในแบบที่มีข้อมูลอ้างอิง แหล่งที่มา มีเหตุผล แยกประเด็นชัดเจน ของคำถามที่ถามเรา เพื่อให้สอดคล้องกับการตอบแบบตรงคำถาม เนื้อหาเชื่อมโยงกันตลอด ไม่เขียนตอบไปในคนละเรื่อง โดยอยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างหลักการเขียนเรียงความที่ถูกต้องด้วย มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ใช้คำสละสลวย อ่านง่าย สะอาด ไม่มีลอยลบคำผิดบ่อยจนเกินไป แล้วตบท้ายด้วยการอ้างอิงหลักการประชาธิปไตย หรือ คำพูดของนักรัฐศาสตร์ สักคนหนึ่ง ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ของคำถามเพื่อให้เห็นภาพเชิงเปรียบเทียบ หรือ ข้อคิด ก็ยิ่งป็นการเพิ่มคะแนนให้พาร์ทเรียงความของเรามีหลักการ เหตุผล ข้อมูล เรียบเรียงถูกต้อง ตอบตรงคำถาม( ตรงประเด็น ) สมบูรณ์แบบในการเขียนเรียงความมากยิ่งขึ้น


            3. การเตรียมตัวสอบตรง  

ทุกวันพี่จะเปิดข่าวดูทีวี เปิดดูเพจข่าวออนไลน์ เช่น The matter , The standard , iLaw , มติชนสุดสัปดาห์ , BBCไทย เป็นต้น และ เทรนด์ในทวิตเตอร์ จากนั้นจะไปจดในสมุดบันทึกไว้ เป็นสรุปต่อการอ่านได้ง่ายเพื่อแพลนไว้ว่าต้องอ่าน ต้องทำอะไรบ้าง คือดู รับรู้ ข้อมูลข่าวสาร แล้วมาบันทึกเก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ สรุปเนื้อหา ประเด็นที่เราสำรวจมา และ ก็ต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล อัพเดตข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา


ส่วนหนังสือที่พี่อ่านเตรียมตัวสอบตรงมีหลายอย่าง จะมาแชร์ให้ดูกัน
  3.1 คู่มือเตรียมตัวสอบตรง คณะรัฐศาสตร์( ครูพี่ทาร์ม เล่มดำ ) เป็นเล่มแรกที่ซื้อมาอ่านเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์ทั้ง 3 สาขา คือ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตอนท้ายของหนังสือมีแนวข้อสอบตรงจริงให้น้อง ๆ ลองทดสอบความรู้ด้วย เป็นหนังสือที่บอกต่อ ๆ กันมาว่า ใครที่จะสอบตรงต้องมีเล่มนี้ทุกคน!
  3.2 หนังสือค่ายเปิดถ้ำสิงห์( คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ )ได้มาจากค่ายเปิดถ้ำสิงห์ ( ค่ายนี้แนะนำต้องหาโอกาสเข้าสำหรับคนอยากเข้าสอบตรง ห้ามพลาด! )เป็นค่ายติวเนื้อหาความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์จากหนังสือที่รุ่นพี่เขาได้ทำ และ ติวข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน ฯ สรุปให้เราอ่าน อื่น ๆ อีกมากมาย บอกเลยว่าคุ้มทั้งหนังสือ และ ค่าย
  3.3 ค่ายนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ YPSC อันนี้เป็นค่ายแนะแนวคณะ ของรัฐศาสตร์ มธ. ค่ายดีงามมาก แนะนำอีกอัน ต้องหาโอกาสเข้าเหมือนกัน แนะนำ ๆ
  3.4 สรุปสังคมม.ปลาย By KRU P’BALL เล่มนี้หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป เป็นสรุปเนื้อหาวิชาสังคมตอนม.ปลาย เล่มนี้ซื้อมาอ่านไว้สอบโอเน็ต วิชาสามัญ แต่เนื้อหาก็ครอบคลุมไปถึงรัฐศาสตร์เอาไว้อ่านเสริมความรู้ไว้

  3.5 หนังสือ และ ชีท ม.ราม อันนี้พี่ว่าช่วยได้มาก เพราะเนื้อหาวิชารัฐศาสตร์ในหนังสือ และ ชีทราม สอดคล้องกับเนื้อหาข้อสอบตรง แนะนำพวกวิชาที่ไว้ใช้สอบตรง อย่างที่พี่ซื้อมาอ่านเช่น การเมืองการปกครองไทย การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น การเมืองระหว่างประเทศ( อันนี้เชิงอัพเดตเหตุการณ์รอบโลก ) หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง  แล้วชีทก็อ่านเสริมเพื่อให้รู้แนวทางข้อสอบมากขึ้น


ชีทก็จะเป็นพวกข้อสอบเก่าปีที่ผ่าน ๆ มา เนื้อหามีความคล้ายกับข้อสอบตรง ลองหาซื้อมาอ่านดู

  เพิ่มเติม อันนี้คือหนังสือที่พี่ซื้อมาอ่านจากความสนใจ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองที่ตนเองอยากเข้า ทำให้รู้สึกพึงพอใจทั้งตนเอง และ หนังสือ


อันนี้พี่เอามาจากเพจมหาลัย เป็นคะแนนสอบตรง สูงสุด ต่ำสุด และ เฉลี่ย ของคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เทียบปี 61 - ปี 62 มาให้ดูครับ แต่ถ้าถามพี่แล้วคะแนนสอบได้เท่าไหร่ คือข้อกาเกือบหลุด แต่ได้คะแนนเรียงความเยอะ( สงสัยจะเขียนดี >< ) เลยรวมทั้ง2พาร์ทได้ประมาณ 62.67 ครับ

สุดท้าย นี้อยากให้ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้จนจบ  รู้สึกว่าตัวเรา ที่เป็นอยู่ตอนนี้ที่ทำอะไรซักอย่างหนึ่งแล้วมีความสุข ให้ลองเอาความสุขที่เราได้ทำซักอย่างหนึ่งมาปรับกับการเรียน แล้วเราจะพบว่าตัวเรามีความสามารถในการเรียนด้านไหน จุดนี้จะเป็นเหมือนตัวตนของเรา แล้วมันจะเป็นแรงผลักดันให้เรามีไฟ  มีกำลังใจ มีความสุขที่ได้ทำ โดยที่คนอื่นเขาจะมองเรายังไงสุดท้ายแล้วตัวเรามีความสุขที่ได้ทำ ก็จะไม่มีวันทำลายในสิ่งที่เรารักได้แน่นอน พี่เชื่อว่าเป็นไปได้ และ ไม่เกินความสามารถ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ม.6 และ น้องรุ่นต่อ ๆ ไปที่มุ่งมั่น อยากทำตามความฝันของตัวเองให้สำเร็จด้วยครับ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไม่ยาก และ ไม่ได้ง่าย อยากได้ต้องโหยหา แล้วเจอกันครับ :D enlightened #สิงห์แดง #รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์


#สิงแดงห์71

 






แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และทะเลาะกันอย่างรุนแรง หรือมีเนื้อหาต่อว่า วิจารณ์ หรือประจานผู้อื่น ที่มิได้เป็นบุคคลสาธารณะ

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกโหวตลบโดยเพื่อนสมาชิกชาวเด็กดี เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของ