Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ถามมุมมองเด็กม.ปลายหรืออดีตม.ปลายในการเลือกเรียน คณะแพทย์เปิดใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

อยากรบกวนสอบถามมุมมองน้องๆทีครับว่า มีความเห็น และมุมมองยังไง เวลามีมีคณะแพทย์เปิดใหม่ หรือ คณะเดิมแต่วิทยาเขตใหม่มาให้เลือกเพิ่มในกสพท

ว่าเวลาเลือก จะเลือกอยู่ในลำดับของน้องไหม จะเลือกเพราะอะไร แล้ว เวลาจะเลือกปกติไปศึกษาข้อมูลทางช่องทางไหนกันบ้าง  (เพราะอย่างบางที่ ที่เปิดใหม่ ไม่มีรุ่นพี่รุ่นเก่าๆมาก่อน ก็คงไม่มีใครให้ถาม)


แล้วถ้าเทียบที่เปิดใหม่ กับแพทย์ต่างประเทศ เช่น จีน ฟิลิปปิน โปแลนด์ น้องๆจะอยากเลือกอันไหนมากกว่ากันครับ

อย่างตัวอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็

รามา-จุฬาภรณ์
ลาดกระบัง
รังสิต-รพ.นพรัตน
ม.สยาม (แต่อันนี้ มีมามากกว่า6ปีละ)

ปล. อันนี้ไม่ได้มา discredit คณะใหม่แต่อย่างใด แค่อยากทราบมุมมองของน้องๆ เผื่อให้ น้องๆรุ่นใหม่มาอ่านในอนาคตด้วยครับ

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

กัลย์ 13 มิ.ย. 64 เวลา 19:16 น. 3

ตอบในฐานะผู้ใหญ่ ผู้ประสบการณ์ ไม่ใช่เด็กม.ปลาย หรือไม่ใช่อดีตม.ปลาย

เกี่ยวกับการเลือกเรียนคณะแพทย์เปิดใหม่

ถ้าเป็นเด็กเก่งมาก เลือกได้ จะไม่สนใจเลือกคณะแพทย์เปิดใหม่

ถ้าเป็นเด็กเก่งปานกลาง ฐานะปานกลาง ไม่ได้ร่ำรวย เลือกได้ 10 อันดับ

จะสนใจดูตั้งแต่แพทย์กลางตาราง จนถึงท้ายตาราง สถาบันแพทย์รัฐเท่านั้น

จะไม่กล้าเลือกแพทย์เอกชน แน่นอน

จะตั้งเป้าหมาย ขอให้ติดแพทย์สถาบันรัฐสถาบันใด ก็ได้ ไม่หลุด กสพท.ก็ดีใจมากแล้ว

ไม่ว่าสถาบันแพทย์นั้น จะเก่าหรือใหม่


แต่ถ้าจะเลือกแพทย์สถาบันเปิดใหม่ ก็จะดูเพียงว่า แพทย์สถาบันนั้น ต้องได้ผ่านการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ จากแพทยสภา แล้ว

ที่มา โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง

https://www.tmc.or.th/medical_school_th.php

และ/หรือเป็นสถาบันแพทย์เปิดใหม่ ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) หรือ Institute for Medical Education Accreditation (IMEAc) ตามมาตรฐานสากล WFME แล้ว

ที่มา http://www.imeac.org/list-of-accredited-medical-schools/


และดูอนาคต ถ้าจบแพทย์สถาบันเปิดใหม่แล้ว จะได้เป็นข้าราชการ ทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลรัฐ มีงานทำ ก็ดีใจมากแล้ว ที่จบมาแล้วไม่ต้องตกงาน ไม่ต้องไปวิ่งหางานทำเอง

ส่วนเรื่องการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง เป็นความสามารถส่วนตัว ระหว่างทำงานแพทย์ ค่อยหาลู่ทางต่อไป


รื่องการเรียนแพทย์ต่างประเทศ เมื่อทางบ้านมีฐานะปานกลาง ไม่ได้ร่ำรวย ไม่มีเงินมากพอ ก็จะเลิกสนใจไปเรียนแพทย์ ที่ จีน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ เพราะไม่มีปัญญา และเป็นไปไม่ได้ จบแพทย์ที่จีน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ ก็ไม่สามารถทำงานประกอบอาชีพแพทย์ในประเทศไทยได้ จะต้องใช้เวลาในการสอบผ่านขั้นตอนที่ 1-3 จากแพทยสภา(ศรว.) ให้ได้ก่อน


ตัวอย่างที่ยกขึ้นมา เช่น

รามา-จุฬาภรณ์ แพทยสภารับรองหลักสูตรแพทย์แล้ว และได้ผ่านการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) หรือ Institute for Medical Education Accreditation (IMEAc) ตามมาตรฐานสากล WFME แล้ว ไม่มีปัญหา ถ้าติดได้


ส่วนสถาบันแพทย์เอกชน เด็กเก่งปานกลาง ฐานะปานกลางจะไม่สนใจ เพราะเรียนแล้วครอบครัวจะเดือดร้อน


ถ้าเป็นเด็กเก่งปานกลาง ฐานะร่ำรวย ไม่มีปัญหาเรื่องเงินค่าใช้จ่ายในการเรียนแพทย์รัฐ แพทย์เอกชน ก็ต้องเลือกสถาบันแพทย์รัฐ แพทย์เอกชน กันพลาดไว้ เพราะแพทย์ลาดกระบัง(ม.รัฐค่าเรียนแพง) แพทย์รังสิต (นพรัตน์ฯ) ม.สยาม ผ่านการรับรองหลักสูตรแพทย์ จากแพทยสภาแล้ว

ไม่รู้กระทู้นี้ จะล่องหนอีกหรือไม่ เคยแสดงความเห็นไปหลายกระทู้ บางกระทู้ล่องหนเลย

1
กัลย์ 14 มิ.ย. 64 เวลา 13:19 น. 3-1

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรอง

https://www.tmc.or.th/foreign_med.php

https://tmc.or.th/pdf/file-fr-th-27-01-2021-MO-000.pdf


แม้เด็กไทยได้จบแพทย์ต่างประเทศ ที่แพทยสภาไทยรับรองหลักสูตรแล้ว ก็ตาม

หากต้องการจะทำงานแพทย์ในประเทศไทย ก็ต้องสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้ง 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1-3 จากแพทยสภา(ศรว.) เพื่อจะได้เลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวรกรรม จึงจะสามารถทำงาน รักษาคนไข้ในประเทศไทยได้


สำหรับเด็กไทย ที่เรียนจบแพทย์สถาบันของรัฐ ในประเทศไทย ซึ่งจะต้องไปทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลรัฐ ต่างจังหวัดตามสัญญา แต่ถ้าหากขณะจบแพทย์ ยังสอบไม่ผ่านครบ 3 ขั้นตอน ก็ไม่มีเลขทะเบียน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ก็ยังต้องไปทำงานใช้ทุนตามสัญญาอยู่ดี เพียงแต่ไม่มีอำนาจ ไม่สามารถลงลายมือชื่อ ในใบสั่งยาให้คนไข้ได้ ต้องให้เพื่อนๆ ที่มีเลขทะเบียนอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ลงลายมือชื่อในใบสั่งยาแทน ระหว่างทำงานแพทย์ หากสอบผ่านครบ 3 ขั้นตอน ได้เลขทะเบียนเมื่อใด ก็มีอำนาจ สามารถลงลายมือชื่อในใบสั่งยาด้วยตนเองได้

0
คนขี้สงสั้ย 14 มิ.ย. 64 เวลา 08:08 น. 4

รามา จุฬาภรณ์ จริงๆ แล้วถือว่าเป็น รามาฯ นะครับ เรียน 6 ปี ร่วมกับ รามาฯ ปกติ รับ ปริญญา ก็เป็นของ มหิดล จริงไม่ถือว่าหลักสูตรหรือคณะใหม่นะครับ เปรียบเทียบในกลุ่มนี้ไม่ได้นะครับ


ส่วนเปรียบเทียบจับแพทย์ต่างประเทศ มีคนทำคลิปเปรียบเทียบใน youtube เยอะมาก หลักๆ ประเด็นอยู่ที่ เนื้อหา แล็ป หัตถการ ต่างจากไทยเยอะมากๆ เรียกว่าจะสอบ NL อาจจะต้องติวใหม่ นอกกจากนี้ แพทย์ต่างประเทศ จะไม่สามารถสอบ NL3 ได้ถ้าไม่ได้ elective ใน รพ.ที่ แพทยสภาฯ กำหนด เป็นเวลา 1 ปี (ตอน elective คนก็แข่งกันน่าดูเลย อัตรา 1 : 2-3 ในแต่ละ รพ.) ไม่ง่ายนะครัับ ดังนั้น ถ้าเลือกเรียนแพทย์ ในไทยได้ เรียนที่ไหนก็ได้เรียนไปเถอะครับ เพราะทุกที่ที่เปิดหลักสูตร พบ. ได้ ผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้วทั้งนั้น อย่าไปเรียนต่างประเทศเลย

0