Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อักษรฯ จุฬา ไม่ยากอย่างที่คิด แค่วางแผนดีก็สอบติดได้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เฮลโหลทุกคน วันนี้วันว่างๆก่อนที่จะเปิดเทอมของมหาวิทยาลัย ก็อยากจะมาแชร์ประสบการณ์ในการสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กันสักหน่อย

คือต้องบอกก่อนว่า ด้วยคณะอักษรศาสตร์ ฬ เนี่ยส่วนใหญ่จะมีภาพอยู่ในหัวของใครหลายคนว่า นางคือคณะทางด้านภาษาที่สอบเข้ายากที่สุด ดังนั้นบางคนเลยเลือกที่จะยอมแพ้ตั้งแต่เริ่มเดิน ตัดตัวเลือกนี้ออกไป ถึงแม้ว่าในใจจริงๆ จะอยากเข้าก็ตาม แต่วันนี้จะมาบอกว่าทำไม คณะนี้ ถึงไม่ได้ยากอย่างที่คิด

ถ้าหากเราดูง่ายๆเลย คืออัตราการแข่งขันเนี่ย
พาไปดูของ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แบบกลุ่มผู้สมัครที่มีพื้นภาษาญี่ปุ่นก่อนคือ 1 ต่อ 4.5 ง่ายๆคือ ถ้าสมัครสอบ 4.5 คน มีคนติด 1 คน
แต่ย้อนมาดูของคณะอักษรศาสตร์ จุฬา แบบเลือกสอบภาษาญี่ปุ่นอัตราการแข่งขันคือ 1 ต่อ 1.9 เห้ย!!!!! มันน้อยกว่ากันเยอะมาก
หรือแม้กระทั้งของภาษา เยอรมันก็คือ 1 ต่อ 0.43 นั่นคือมีคนสมัครสอบน้อยกว่าคนที่รับ
ดังนั้น อยากจะบอกทุกคนว่า เวลาเลือกอันดับคณะ หากคณะอักษร ยังเป็นความฝันของเราอยู่ แม้ว่าเราจะไม่มั่นใจในคะแนน ไม่มั่นใจในตัวเอง กลัวการแข่งขันยังไงก็ตาม เราอยากจะบอกว่า เลือกไปก่อนเถอะ เลือกตามความฝันไว้ก่อน แต่คะแนนเราไม่แย่จริงๆ มันอาจเกิดปาฏิหารย์ขึ้นได้

อย่างในเคสปีล่าสุด เราคิดเองส่วนตัวว่า อาจเพราะเป็นปีที่เรียนออนไลน์ เลยมีหลายคนไม่มั่นใจ เพราะไม่ได้เรียนเต็มที่แบบแต่ก่อน เลยไม่กล้าที่จะลง คณะอักษร เยอะมาก จนทำให้อัตราการแข่งขันมันต่ำลงนั่นเอง ยังไงก็อาจเป็นข่าวดี ที่ทำให้ทุกคนมีกำลังใจขึ้นนะ


ต่อมาขอเท้าความว่าคณะอักษร ฬ นั้นใช้สี่คะแนนในการสอบเข้ารอบ สาม นั่นคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคม 7 วิชาสามัญ และ PAT 7 ภาษาที่สาม โดยเรานั้น ใช้ภาษาญี่ปุ่น เป็นคะแนนในการสอบเข้ามา

“แค่วางแผนดีก็สอบติดได้” อันนี้คิดว่าค่อนข้างจริงนะ ในการสอบเข้า เพราะพื้นฐานความรู้ และสิ่งเอื้ออำนวยต่อความสำเร็จของแต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ต่อให้เราเอาแผนที่เราวางในการอ่านสอบมาให้ทุกคนทำตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะสอบติด แต่ถ้าทุกคนลองวางแผนด้วยตัวเอง จากคำแนะนำเหล่านี้ เราเชื่อว่า ความฝันแม่งไม่ไกลเกินเอื้อมแน่

คำแนะนำในการวางแผนอ่านหนังสือสอบเข้า
1. ถ้ายังอยู่ ม.4 ม.5 แน่นอนว่า เตรียมตัวให้ดีที่สุดเลย อาจยังไม่ต้องจริงจังมาก เอาเวลาไปใช้ชีวิตบ้าง อย่ามัวนั่งอ่านนั่งเรียนอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญคือ สองปีนี้ ปูพื้นฐานให้แน่นที่สุด ถ้ารู้ความฝันตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ว่าคณะที่อยากเข้า ต้องใช้วิชาอะไรสอบบ้าง จัดเลย ปูพื้นฐานในวิชาเหล่านั้นผ่านทางต่างๆเช่น ตั้งใจเรียนในห้อง หรืออ่านทบทวนๆๆ หรืออ่านศัพท์วันละคำสองคำ และที่สำคัญ รักษาเกรดตัวเองไว้ให้ดี
2. มาถึงช่วง ม.6 เทอมหนึ่ง วิชาที่แนะนำให้อ่านคือ ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามโดยเฉพาะศัพท์********* เน้นเรื่องนี้มาก ไปหามาเลยในทวิตเตอร์ ในเพจต่างๆในเฟซบุ๊ก มีคำศัพท์เก็งให้มากมายทั้งฟรีไม่ฟรี ดาวน์โหลดมาอ่าน มาท่อง ใครอยากทำเป็นแฟลชการ์ด ทำลง quizlet เลย บังคับตัวเองให้อย่างน้อย วันนึงจำศัพท์ได้ ห้าถึงสิบคำ พอจบอาทิตย์เอาทั้งหมดนั้นมาทวนใหม่ แล้วท่องต่อไปเรื่อยๆๆๆ และถ้าเบื่อๆจากภาษา ขอให้หยิบสังคมขึ้นมาอ่าน ไปซื้อหนังสือสังคมมาอ่านคั่นเลี่ยนได้
3. ช่วงม.6 เทอมสอง เมื่อมีพื้นศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามดีแล้ว ในเรื่องไวยากรณ์ก็เร่งจำ เร่งฝึก เร่งทบทวน แล้วจะไปได้ไวมากขึ้นเพราะเราปูพื้นฐานมาระดับนึงแล้ว ส่วนสังคม เน้นอ่านให้ครบทุกสาระเลย และไทยก็หาที่เขาสรุปเนื้อหาสำคัญ สรุปสำนวนสำคัญสำหรับ 7 วิชาสามัญไว้มาอ่าน
แต่่่่่่่่ สิ่งสำคัญสำหรับเทอมสองคือ ป ฏิ ทิน!!!!!!!! ใครมีปฏิทินตั้งโต๊ะที่บ้านยิ่งดี เอามาวงเลยมาเขียนกำหนดเลยว่า วันนี้ตอนเย็นหลังเลิกเรียนอ่านวิชาอะไร ท่องศัพท์กี่คำ กำหนด deadline ให้กับตัวเอง เช่นอ่านสังคมสาระภูมิศาตร์ต้องจบในสองอาทิตย์ โดยอ่านวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และวันอังคาร อ่านไทย วันพฤหัสอ่านอังกฤษ วันเสาร์อาทิตย์อ่านภาษาที่สามและพักผ่อน เป็นต้น

และประมาณ หนึ่งถึงสองเดือนก่อนสอบ เจาะไปทีละวิชา
-ภาษาไทย หาโจทย์ ซื้อหนังสือข้อสอบเก่า ข้อสอบเก็งมาทำ ฝึกทำ ฝึกทำ ฝึกทำ เท่านั้น เพราะต้องฝึกอ่าน เยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ผิดข้อไหน จดแยก จดแยก แล้วเอามาจำก่อนทำชุดต่อไป วนๆๆไปเรื่อยๆ
-สังคม หากเก็บเนื้อหาไม่ทัน หาสรุปอ่านจากเน็ตเลย แล้วไปโหลดข้อสอบเก่ามาทำหาตามพวกทวิตเตอร์อะ เยอะแยะ หรือเอาข้อสอบมาทำเช่นกัน เพราะมันต้องเอาสิ่งที่อ่านมาวิเคราะห์ มาใช้จริง และความรู้ไหนที่ยังไม่รู้ ก็ต้องจดแยกเช่นกัน
-ภาษาอังกฤษ ทิ้งไวยากรณ์ เอาข้อสอบเก่ามาทำเช่นกัน แต่เน้นมากในพาร์ตสนทนา ดูสำนวนที่ไม่รู้แล้วจดมาจำเยอะๆ ส่วนพาร์ตการอ่าน ไปดูทริคเทคนิคจากพวก คลิปฟรีในยูทูปเยอะๆ ดูแล้วเอามาลองใช้จริง และต้องลอง จับ เวลา จริง ด้วย
-ภาษาญี่ปุ่น หาข้อสอบเก่าจากทวิตเตอร์ + เอาหนังสือ 300 คำถามต้องทำก่อนสอบ PAT 7.3 มาท แล้วถ้าใครยัง งงในไวยากรณ์ หรือกลัวเก็บไม่ครบ ไปเอาหนังสือ Lecture ภาษาญี่ปุ่นม.ปลายของบีมเซนเซย์มาอ่าน คือครบ แล้วอันนี้ก็ต้องฝึกทำรีดดิ้งอย่างมาก
ข้อแนะนำส่วนตัวคือ 1 ทำพาร์ตวัฒนธรรม เพราะใครรู้คือรู้ ไม่รู้คือแม่งจบ จะได้จบๆไป 2 ทำ Reading 3 ไล่จากหลังมาหน้า
เพราะจะททำให้เรากะ และจัดสรรเวลาได้ แต่อย่างไรขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนนะ อย่าลืมจับเวลาตอนฝึกทำด้วย

สรุปง่ายๆ
ม.หก เทอมหนึ่ง อ่านศัพท์และ อ่านเนื้อหาทุกวิชา
ม.หก เทอมสอง อ่านเนื้อหาให้ครบ เก็บให้แม่น และเริ่มหาข้อสอบมาลองวัดระดับความรู้ตัวเอง
ใกล้สอบ หาข้อสอบเก่าทุกวิชา มาทำแม่งให้หมด

แล้วอย่าลืม ทำสรุปด้วยว่าได้คะแนนเท่าไหร่บ้าง ในทุกๆครั้งที่ฝึกทำ แล้วลองมาคิด ลองมาคำนวณกับคะแนนปีที่แล้วดู จะได้มีกำลังใจและแรงผลักดันในการอ่านหนังสือสอบนะ วันนี้ก็อยากฝากไว้เท่านี้ครับทุกคน สู้ๆ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

M_a_R_c_H 9 ก.ค. 64 เวลา 19:39 น. 1

เรื่องอัตราการแข่งขัน​ ควรทำความเข้าใจใหม่นะครับ​ อักษร​ ฬ​ รับจาก​ 7 ภาษา​ รวม​ 249 คน​ โดยมีคนสมัครประมาณ​ 2400 คน​ อัตราการแข่งขันคือ​ 1:10


อัตราการแข่งขันที่​ ทปอ​ นำจำนวนรับหารด้วยผุ้สมัคร​ ซึ่งคนที่เลือกสอบเยอรมันไม่ถึง​ 249 คน​ อัตราการแข่งขันเลยเป็นแบบที่เห็นครับ

0