Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไทยประสบความสำเร็จ คือ1ใน5ประเทศ ที่ทำการเพาะเลี้ยงเต่ามะเฟือง สัตว์ทะเลล้ำค่าที่ใกล้จะสูญพันธ์ได้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

หลังจากที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือ (ทช.) ได้เปิดเผยผลข้อมูลความสำเร็จ ในการอนุบาล “เต่ามะเฟืองวัยอ่อน” โดยจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งของโลก (
Critically endangered) และเป็นสัตว์สงวนของไทย ซึ่งเป็นเต่าน้ำลึก ต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ที่ผ่านมาไม่สามารถอนุบาลเป็นเวลานานได้ เนื่องจากจะว่ายชนบ่อเลี้ยงจนติดเชื้อและเสียชีวิต จากเอกสารทางวิชาการมีเพียงแค่ 4 ประเทศ เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเต่ามะเฟืองเกิน 1 ปี ได้แก่ ศรีลังกา อเมริกา ฝรั่งเศส และ แคนาดา และที่สำคัญในปี 2565 ขอประกาศว่า ประเทศไทยคือ 1 ใน 5 ของโลกที่ทำสำเร็จแล้ว ณ ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต

ซึ่งผลพลอยได้จากโครงการทดลองอนุบาลเต่ามะเฟืองในครั้งนี้ ยังมีอีกหลายประการ ได้แก่
1. ความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์แมงกะพรุนหนังลายจุด และแมงกะพรุนลอดช่อง
2.การสร้างระบบเลี้ยงสำหรับลูกเต่ามะเฟือง โดยเฉพาะคอกป้องกันไม่ให้เต่าเกิดบาดแผล

3.งานวิจัยในการอนุบาลเต่ามะเฟือง ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เล่ม
สำหรับเต่ามะเฟืองนั้น จากข้อมูล ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea  
วงศ์ : Dermochelyidae จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) เป็นเต่าทะเล ตัวเต็มวัยมีขนาด 1.5-2.5 เมตร น้ำหนัก 800-900 กิโลกรัม จัดเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ลักษณะเด่น กระดองมีลักษณะเป็นหนังหุ้ม ไม่แข็งเหมือนเต่าชนิดอื่น มีร่องสันนูนตามยาว 7 สัน มองดูคล้ายกับผลมะเฟือง ครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ หัวใหญ่ไม่สามารถหดเข้าไปในกระดองได้
การขยายพันธุ์  เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด ประมาณ 66-104 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่ ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ซึ่งมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ นอกจากนี้อุณหภูมิในหลุมฟักยังเป็นตัวแปรในการกำหนดสัดส่วนเพศของลูกเต่ามะเฟืองในหลุม โดยสัดส่วนของเพศเมียจะมีมากขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิสูง
หลังจากฟักตัว ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลเป็นเวลานานได้ ซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิต โดยเต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,280 เมตร
อาหารของเต่ามะเฟือง   แมงกะพรุน แพลงก์ตอน สาหร่ายน้ำลึก
การกระจายพันธุ์   เขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยมีรายงานการพบเต่ามะเฟืองทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน
สถานภาพการอนุรักษ์ 
  • สถานภาพการอนุรักษ์ในระดับโลก โดยการจัดอันดับของ IUCN (2018) คือ Vulnerable (VU) หรือ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
  • สถานภาพการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562
จากความภูมิใจนี้ ทางกรมทรัพยกรทะลและชายฝั่ง หรือ (ทช.) ได้ขอบคุณหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการอนุบาลเต่ามะเฟืองในครั้งนี้
#เต่ามะเฟือง #เต่า # สัตว์สงวน  #กรมทรัพยกรทะเลและชายฝั่ง
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น