Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวฯ จุฬาฯ เตรียมเปิด ป.ตรี สาขาใหม่ "วิศวกรรมคอมฯ และเทคโนโลยีดิจิทัล" (CEDT) รับ 300 ที่นั่งต่อปี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิศวฯ จุฬาฯ เตรียมเปิด ป.ตรี สาขาใหม่
วิศวกรรมคอมฯ และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)
สาขาเดียว รับมากถึง 300 ที่นั่งต่อปี

.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดสาขาใหม่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งตอนนี้ร่างหลักสูตรเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติหลักสูตรจาก กระทรวงอุดมศึกษา(อว) โดยวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Computer Engineering & Digital Technology เป็นหลักสูตรปริญาตรี 4 ปี (3ปี + ฝึกงานสหกิจ 1 ปี) โดยจะรับนิสิต 300 ที่นั่งต่อปี

เนื้อหาการสอน
ให้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ตลอดจนหลักการทางวิศวกรรม กล่าวคือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดระบบ และการสร้าง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อันประกอบด้วย ระบบฮาร์ดแวร์, ระบบซอฟต์แวร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ ทั้งนี้ เนื้อหาวิชาเรียนทั้งหมด สามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวด คือ หมวดวิศวกรรมระบบเชิงเลข (Digital System Engineering) ครอบคลุมการออกแบบและวิเคราะห์ระบบเชิงเลข (ระบบดิจิทัล) อันเป็นพื้นฐานของการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ วิชาที่ศึกษาได้แก่ การออกแบบเชิงตรรกะ ไมโครโพรเซสเซอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และ ระบบเครือข่าย อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา Hardware และ Network หมวดวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระบบ (System Software Engineering) ครอบคลุมหลักการออกแบบและวิเคราะห์ทฤษฎีคำนวณทางคอมพิวเตอร์ อัลกอริทึม ซอฟต์แวร์ระบบ และ ระบบปฎิบัติการ
.
นิสิตจะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ทุกระดับการเชื่อมต่อ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา Software และหลักการทางคอมพิวเตอร์ หมวดการประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing) ครอบคลุมการออกแบบและวิเคราะห์ระบบประมวลผลสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาการข้อมูล วิศวกรรมข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบจัดการฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์กราฟฟิก วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบประยุกต์ ที่เกี่ยวข้อง อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา ระบบสารสนเทศ และแขนงวิชาอื่นในสายวิทยาการคอมพิวเตอร์ อนาคตหลังสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ ระบบเชิงเลข และ การประมวลผลสารสนเทศ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรระบบ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรมระบบ และอาชีพในสายงานคอมพิวเตอร์อื่นๆ
.
การเข้าศึกษา การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลโดยการรับตรงเข้าสาขาวิชา (TCAS รอบที่ 1 และรอบที่ 3) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการรับเข้าศึกษาต่อ สามารถติดตามได้ที่ http://www.admissions.chula.ac.th/
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt
- https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10160087941891221
- https://www.facebook.com/cedtengchula/

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Qwerty 27 ส.ค. 65 เวลา 08:28 น. 2

น่าจะเป็นการปรับปรุงหลักสูตรและเพิ่มชื่อหลักสูตร ของสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เดิม

0