Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Honest review เรียนแพทย์ปี 1-4

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีทุกคนนน ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 4 ครับ วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์และมุมมองที่อยากให้น้องๆ ม ปลายที่สนใจจะเรียนแพทย์ได้อ่านก่อนเลือกเรียนแพทย์ครับ เนื่องจาก ประสบการณ์บางอย่างที่ได้จากการเรียนแพทย์มา 4 ปีนั้นไม่ได้ถูกเผยแพร่ให้นักเรียนมปลายได้ทราบนัก และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ที่จะได้แชร์ให้น้องๆ ประกอบการตัดสินใจในการเข้าเรียนแพทย์ เนื่องจาก การเรียนแพทย์การลาออกจะมีค่าใช้จ่ายที่แพงและเสียเวลาที่น้องๆจะทุ่มเทให้กับสาขาวิชาอื่นๆที่สนใจมากกว่า :C

**** ขอกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้เขียนอาจมี bias พี่ๆเพื่อนๆน้องๆที่เห็นต่างหรืออยากเสริมสามารถคอมเม้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ***
*** เจตนาของผู้เขียนไม่ได้อยากให้คนที่อ่านเกลียดการเรียนแพทย์ แต่ต้องการเห็นว่าความจริงการเรียนแพทย์เป็นอย่างไรจะได้ไม่เสียใจในภายหลัง เนื่องจาก การลาออกแพทย์เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา ****

เนื้อหาการเรียนแพทย์ ปี 1-4

ปี 1 : จะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ทั่วไป เนื้อหาจะคล้ายๆกับคณะอื่นๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์แคลคูลัส สถิติ วิชาเคมีอินทรย์ ฟิสิกส์ ชีววิทยาเบื้องต้น แลปเคมี ภาษาไทยและอังกฤษ
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เรียนค่อนข้างสบาย เนื่องจากลักษณะการเรียนจะคล้าย ม ปลาย ตารางเรียนจะเริ่มประมาณ 8-9 โมง จบที่ 16-17 น. การสอบจะมีกลางภาคและปลายภาค บางวิชาอาจมี quiz ในคาบแต่มักจะเป็นเนื้อหาบางส่วน เช่น เนื้อหาที่อาจารย์อยากให้อ่านเพิ่มหรือเนื้อหาเมื่อคาบที่แล้ว ดังนั้นด้วยความที่น้องมีเวลาระหว่างการสอบแต่ละครั้งที่นานและเวลาเรียนที่เวลาเรียนตามตาราง น้องๆจะมีเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมที่จัดโดยเพื่อนๆในรุ่นและคณะ โดยสรุปคือ เรียนคล้าย ม ปลาย เวลาว่างเยอะ และมี work life balance จัดอยู่เกณฑ์ที่ดี

ปี 2 เนื้อหาที่เรียนจะเกี่ยวกับระบบร่างกายของมนุษย์ที่ปกติก่อน ตามระบบต่างๆของร่างกายตั้งแต่ระบบประสาทยันภูมิคุ้มกัน ในช่วงปีนี้น้องๆจะต้องปรับตัวกันมาก เนื่องจากเนื้อหายากมาก :C และการสอบที่ถี่ขึ้น ร่วมกับการตัดเกรดที่ให้คะแนนกับการสอบท่เยอะมากๆ ปม 40-50 เปอของคะแนนทั้งหมด
ลักษณะการเรียนจะเรียนเป็น block คือ เรียนวิชานึงทีเดียวจบภายในไม่กี่สัปดาห์แล้วสอบเลย โดยเฉลี่ยเดือนนึงจะมีการสอบครั้งนึงแน่ๆ ร่วมกับเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนใน ม ปลาย ทำให้น้องๆต้องหมั่นอ่านหนังสือบ่อยๆ เว้นแต่น้องอยากจะแครมมิ่งก็ได้ 5555 แต่ไม่แนะนำ

ที่นี้เพื่อให้เห็นภาพการเรียนของน้องจะมีหลักๆสองแบบซึ่งจะได้เจอทั้งคู่ คือ ใช้ความจำเอาแบบดื้อๆเลยและความเข้าใจ ขอยกตัวอย่างรายวิชา cardiovascular system

- physiology ของหัวใจเช่น preload afterload stroke volume cardiac output venous return ของหัวใจ(ง่ายๆ ก็คือ กลลศาสตร์ของหัวใจว่าแบบ ปริมาณของเหลวเริ่มต้น ความต้านทานในการปั้มของหัวใจ ปริมาณของเหลวหัวใจที่ปั้มได้ในการบีบครั้งนึง มันสัมพันธ์กันอย่างไรและมีปัจจัยใดสัมพันธ์กันบ้าง ) ที่นี้การเรียนในรายวิชานี้จะใช้ความเข้าใจ ค่อยๆไล่เพื่อหาคำตอบโดยไม่ต้องจำก็ได้
เช่น อาจารย์อาจจะถามทำไมหายใจเข้าแล้วอัตราการเต้นของหัวใจจึงต่ำกว่า ก็อาจจะไล่ว่าได้
หายใจเข้าปอดน้องขยาย ทำให้ความดันในระหว่างปอดและเยื่อหุ้มปอดต่ำลง (P1V1 = P2V2 อ่ะ อันนี้เชื่อมโยงจากความรู่ฟิสกส์) --> หลอดเลือดดำใหญ่อยู่ใกล้ปอดโดนกดน้อยลงเนื่องจากความดันต่ำลง(ตรงนี้ก็ต้องจำให้ได้ความหลอดเลือดอะไรอยู่ใกล้ปอดบ้าง) ---> เลือดไหลกลับเข้าหัวใจมากขึ้น --> เลือดที่ไหลเข้ามากขึ้นไปยืดผนังหัวใจให้ตึง (ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า bainbridge reflex) ---> bainbridge reflex ก่อให้หัวใจเต้้าลงผ่านกลไกบลาๆ (ซึ่งตรงนี้น้องต้องจำว่า เส้นประสาทอะไรที่ส่งสัณญาณ สมองส่วนไหนใช้บ้าง) จะเห็นได้ว่า บางอย่างน้องสามารถใช้ความเข้าใจในการไล่ได้ แต่น้องก็ต้องมีความรู้บางอย่างที่ต้องจำดื้อๆเอาเลยเพื่อใช้ในการตอบ

***ที่นี้พอยท์ที่จะสื่อจากประสบการณ์การเรียนปี 2 ****
- การเรียนแพทย์หลายคนมองว่า ต้องฉลาด(ในที่นี้หมายถึงมี problem solving skill ที่ exceptional กว่าคนทั่วไปหรือคณะอื่นๆ) อะไรปมนี้ แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว การเรียนแพทย์ความขยันสำคัญกว่าความฉลาดอยู่ เนื่องจาก หลายๆอย่างที่เรียน ไม่สามารถมาจากความเข้าใจได้ทั้งหมด หลายๆอย่างน้องก็ต้องจำให้ได้เอาดื้อเลยๆ เช่น reflex ต่างๆเป็นต้น ส่วนการไล่ลำดับว่า อะไรเกิดขึ้นจะเกิดอะไรต่อนั้น ส่วนตัวมองว่าไม่ได้เข้าใจยากอาศัยความคิดสร้างสรรค์หรือ problem solving มากเท่ากับวิชาอื่นๆเช่น การเขียนโปรแกรมเป็นต้น มักจะเป็น common senseหรือคิดไม่กี่ step ส่วนใหญ่เช่น อันนี้ขยายก็ต้องกดทับอันนี้เป็นต้น หากมีความรู้เพียงพอจากขยันที่จะศึกษากรณีที่มากพอ ซึ่งจากการเรียนจะบอกว่าตรงนี้อ่ะ มีสิ่งที่ควรรู้เยอะมากกกกกก ก ไก่ล้านตัวเลยย >:C ดังนั้นหลายๆคนจะ suffer มากกับการเรียนแบบนี้และถ้าน้องชอบความเข้าใจมากกว่าการจำ การเรียนสาขาวิชาอื่นที่น้องสนใจน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หากสิ่งนั้นป็นสิ่งที่เราชอบจริงๆและทำได้สุด

ปี 3 เนื้อหาจะเรียนเกี่ยวกับระบบร่างกายที่ผิดปกติ+ยา ง่ายๆก็คือโรคและวิธีการรักษานั่นแหละ คอนเซปการเรียนก็จะคล้ายๆ ปี 2 ก็คือ มีความรู้ที่ต้องจำเอาดื้อๆเยอะมากกกกกก การเรียนก็จะเป็น block เหมือนปี 2 พร้อมกับการสอบอย่างถี่ๆ 2-3 สัปดาห์จะมีสอบแน่ๆครั้งนึงหรืออาจมีหลายวิชาสอบใกล้ๆกัน อย่างไรก็ตาม step การไล่ความเข้าใจก็จะซับซ้อนมากยิ่งขี้นเนื่องจากอวัยวะแต่ละระบบจะมีความสอดคล้องกันอยู่ น้องก็ต้องใช้ความเข้าใจ + ความรู้พื้นฐานปริมาณมหาศาลในการไล่ขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่า ความขยันในการจำก็ยังสำคัญในอัตราส่วนที่มากกว่า problem solving skill อยู่ ดังนั้นถ้าน้องเกลียดการนั่งจำอะไรดื้อๆ ในปริมาณมหาศาล และชอบความคิดสร้างสรรค์มากกว่า การเรียนแพทย์จะไม่เหมาะกับน้อง

ปี 4 จะเป็นปีที่น้องขึ้นวอร์ดและนำความรู้ที่น้องได้เรียนมาใช้จริง
น้องจะได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้นมากกกกๆ เช่น อาจารย์ พี่เรซิเดนส์ พยาบาล พี่ปี 5 ปี 6 เป็นต้น

ปี 4 จะเปรียบเสมือนกับคนเล็กสุดของวอร์ด หน้าที่ของน้องก็คือทำหัตถการเล็กน้อย เช่น การเจาะน้ำตาล การเจาะเลือด การตรวจร่างกายเป็นต้น ซึ่งเดียวจะรีวิวต่อไป และน้องยังมีหน้าที่เขียนรายงานและรายงานเคสให้กับอาจารย์ด้วย

***ที่นี้ประเด็นแรกคือ
1. เนื่องจากธรรมชาติที่น้องต้องทำงานกับคนจำนวนมาก ดังนั้นมีโอกาสที่น้องจะได้เจอคนที่ด่าหรือว่าน้องด้วยคำพูดรุนแรง โดยเฉพาะจากอาจารย์ ดังนั้น ก็อาจจะต้องเตรียมใจไว้หากจะเรียนแพทย์ เพราะปัญหาเรื่องความ toxic ของอาจารย์หรือผู้ร่วมงานคนอื่นๆก็ยังไม่หมดไป
สมัยนี้อาจดีขึ้นบ้างเนื่องจากมีระบบรายงาน verbal abuse อยู่ แต่ก็ไม่ได้ effective มาก อาจารย์บางท่านก็อาจจะเหน็บหรือว่าน้องตรงๆอยู่ ทั้งขณะมีหรือไม่มีผู้ป่วย
2. ความกดดันจากความคาดหวังของอาจารย์ ด้วยความที่น้องต้องโตไปเป็นแพทย์ที่สามารถกำหนดความเป็นตายได้ ความผิดพลาดในทางการแพทย์ แม้จะเล็กน้อย จากประสบการณ์ของผู้เขียน จะถูกมองว่าเป็นหายนะในอัตราส่วนที่มาก เช่น การลืมซักประวัติบางอย่างที่อาจารย์มองว่าสำคัญแต่น้องอาจจะลืมหรือไม่ได้ยึกถึงเพราะประสบการณืไม่มากพอ อาจารย์บางคนก็อาจจะด่า ใช้คำพูดรุนแรงกับสิ่งที่น้องอาจมองว่าไม่ได้ตั้งใจหรือเล็กน้อยได้ น้องก็อาจจะรู้สึกดาวน์หรือบางคนก็เป็นซึมเศร้าได้
3. ผู้ป่วยก็อาจไม่ได้ให้ความร่วมมือน้องเสมอไปและก็อาจเป็นแหล่ง toxic หนึ่งให้กับชีวิตน้องได้ **ย้ำว่าผู้ป่วยบางคน ส่วนน้อย***

โดยสรุปจากสามข้อคือ ถ้าจะเรียนแพทย์ก็เตรียมรับความกดดันจากความ toxic ของผู้ร่วมงานได้ ชีวิตของน้องจะขึ้นกับคนที่น้องทำงานด้วย(มาถึงตรงนี้ผู้เขียนอยากจะบอกว่างานของคณะอื่นก็เป็นได้นะ ไม่อยากให้มองว่าถ้ารับไม่ได้ก็เรียนคณะอื่นได้ ผู้เขียนมองว่ายังไงก็ตามน้องควรมีภูมิคุ้มกันกับเรื่องแบบนี้บ้าง แต่ด้วยความที่งานของแพทย์มีความคาดหวังสูง ดังนั้น ความผิดเล็กน้อยอาจนำมาสู่ความตายของคนไข้ได้ การถูกด่าจึง common ใน
โรงเรียนแพทย์ จึงอยากให้เตรียมใจไว้)

4. การตรวจร่างกายของแพทย์ใช้เซนท์สัมผัส ฟัง ดู เยอะและใช้ประสบการณ์สูง เช่น การดูการ tone ของกล้ามเนื้อว่าปกติไหม มี rigidity ไหมและแบบใด ซึ่งตรงนี้ใช้ประสาทสัมผัสล้วนๆ น้องต้องอาศัยการจับคนไข้ที่มีความผิดปกติหหลายๆเคสเพื่อให้ได้ฟีลว่า อ๋อ คนที่ผิดปกติแบบนี้มันเป็นแบบนี้นี่เองซึ่ง ถ้าน้องไม่ถนัดหรือไม่ชอบการใช้อะไรที่ใช้ความรู้สึกวัดเหมือนผู้เขียน :C การเรียนแพทย์อาจจะไม่เหมาะสำหรับน้อง
**ที่ต้องเน้นเพราะ การตรวจร่างกายถือเป็นเบสิคที่สำคัญมากกกของแพทย์ แพทย์ทุกคนไม่ว่า จะจบเฉพาะทางแบบไหนต้องตรวจร่างกายเบสิคให้เป็น ดังนั้น สกิลนี้น้องต้องทำตลอดหากยังเป็นหมออยู่ ดังนั้นถ้าไม่ชอบหรืไม่ถนัดและมีสาขาอื่นที่สนใจมากกว่า ก็แนะนำให้ลองพิจารณาสาขาอื่นดู

จากทั้งหมดการเรียนแพทย์
1. ต้องอาศัยความขยันและความจำมาก ดังนั้นถ้าชอบความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก อาจพิจารณาหาสาขาอื่นดู เนื่องจาก เรียนแพทย์มีเนื้อหามหาศาลที่ต้องจำในเวลาสั้นๆ
2.การถูกด่าค่อนข้างคอมมอนในการเรียนแพทย์ ชีวิตน้องจะขึ้นอยู่กับความtoxic ของอาจารย์และผู้ร่วมงานคนอื่นๆด้วย
3. การเรียนแพทย์กดดันและมีความคาดหวังที่ต้องแบกรับสูง ความผิดที่น้องมองว่าเบ็กน้อยหรือไม่ได้ตั้งใจ อาจถูกด่าหรือต่อว่ารุนแรงได้
4. สกิลทางการแพทย์ใช้เซนท์ สัมผัส ดู ฟัง เยอะ และมี learning curve ที่สูง หากไม่ชอบการใช้เซนท์การรับสัมผัา การเรียนแพทย์อาจไม่เหมาะสำหรับน้อง

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น