Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สาขาวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทำไมมีหลายสาขาจัง แล้วจะเรียนสาขาไหนดี ?? มาดูกันจ้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

                     น้องๆ หลายคน  อาจจะเห็นว่า ปริญญาตรี สาขาวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทำไมมีหลายสาขาจัง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ   ฯลฯ 
                     เหตุผลที่สาขาเหล่านี้ไม่จับมัดรวมกันเป็นสาขาเดียวกัน เพราะถ้าให้น้องๆ  ลองจินตนาการว่า   เราจะต้องเรียนเขียนโปรแกรม   เรียนซ่อมประกอบคอมพิวเตอร์   เรียนเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เรียนการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เรียนการจัดการและวิเคราะห์ออกแบบข้อมูล เรียนหลักการตลาด  เรียนการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ เรียนกฎหมายทางคอมพิวเตอร์   แล้วไหนจะเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  อีก   และยิ่งถ้าเป็นหลักสูตรครูคอมพิวเตอร์ด้วย ก็ต้องเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเข้าไปอีก แค่นี้น้องๆ คิดว่าจะเรียนจบใน 4 ปีไหม  !!!   (แค่เขียนโปรแกรมก็หนักแล้วจ้า)
                     จริงอยู่ที่จบไปแล้วสามารถทำงานในสายเดียวกันได้ แต่หลักๆ น้องต้องดูว่ารายละเอียดของงาน  (Job Description) แต่ละหน่วยงานจะเน้นไม่เหมือนกัน  ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานใหญ่ๆ แน่นอน  จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์เฉพาะด้าน   เช่น    programming ,   System Analysis,   Graphic design, Online Marketing, Technical Support เป็นต้น แต่ถ้าเป็นหน่วยงานเล็กๆ ก็คงไม่สามารถจ้างพนักงานแยกเป็นฝ่ายๆ หลายๆ คน ได้ขนาดนั้น  ด้วยงบประมาณที่จำกัด เพราะฉะนั้นพนักงานหนึ่งคนอาจจะต้องมีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่หลากหลาย

                     คราวนี้เรามาดูตัวอย่างรายละเอียดตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์กันบ้าง

กลุ่มธุรกิจคอนกรีตแห่งหนึ่ง
                     ตำแหน่ง Software Engineer            
                     ไฮไลท์เด่นของงาน

  • 3 years of programming and system develop
  • knowledge of 3D, and 2D drawings with AutoCAD
  • Skills in C, C++, C#, VB.Net, Java, Python

                     ตำแหน่ง   IT Section Manager/ผู้ช่วย/ผู้จัดการแผนกไอที

                     ไฮไลท์เด่นของงาน

  • IT Management
  • IT Support
  • IT Section Manager
                 น้องๆ คิดว่า ฝ่าย HR (Human resources) ของบริษัทนี้จะพิจารณาคนที่จบปริญญาตรีสาขาอะไรใน 2 ตำแหน่งนี้   นั่นแระค่ะคือเหตุผลว่าเราจะเรียนสายคอมพิวเตอร์ทางด้านไหนที่เหมาะกับเรา   ซึ่งตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือตำแหน่งทางด้าน IT  ตอนนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เพราะทุกหน่วยจำเป็นต้องใช้                  
               จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์หางานอย่าง   JobDB   ได้แบ่งประเภทของงาน IT  เป็นดังนี้ 
                 1. งาน Application Network
                 2.  งาน Software
                 3.  งาน Database
                 4.นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
                 5.งาน Hardware
                 6.งาน IT Audit
                 7.งานที่ปรึกษาไอที
                 8.งาน IT Project
                 9.งานดูแลเว็บไซต์ งาน SEO
                 10.งาน MIS งาน Mobile งาน Wireless Communications
                 11.งานดูแลระบบ Network
                 12.งานโปรแกรมเมอร์
                 13.งาน IT Security
                 14.งาน IT Support
                 15.งาน Software Tester
                 16.นักออกแบบ UI/UX

                เมื่อน้องๆ สำรวจตลาดแรงงานแล้ว ทราบว่าอยากจะทำตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์อะไร แต่ยังไม่ทราบว่าจะต้องเรียนสาขาไหน ให้น้องๆ เข้าไปดูเล่มรายละเอียดของหลักสูตรหรือสาขา เพราะในระดับปริญาตรีทุกสาขาและทุกที่จะต้องมีเล่ม มคอ.2 (มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา)   ซึ่งจะบอกโครงสร้างหลักสูตร และรายวิชาต่างๆที่ต้องเรียน

                ตำแหน่งงานทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าน้องจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยไหน   ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบกับการสัมภาษณ์งานเท่าไหร่ เพราะ HR   ส่วนใหญ่จะดูเรื่องของประสบการณ์ และทักษะการทำงานเป็นหลัก   (เรียน IT ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร   เราเปิดโอกาสให้น้องได้ฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียนกับทีมงาน IT ของมหาวิทยาลัยด้วยนะ)

                การที่น้องจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ก็นับว่าเป็นการช่วยผู้ปกครองในยุคที่เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องกิน เรื่องเช่าหอ เรื่องค่าเดินทาง และมีเวลาทำอย่างอื่นได้มากกว่าการรอรถ  แถมยังสนับสนุนรายได้ของคนในท้องถิ่นให้มีอาชีพด้วย เช่น พ่อค้าแม่ค้า ธุรกิจเช่าหอ ร้านถ่ายเอกสารฯ เมื่อทุกคนคิดเช่นนี้ ท้องถิ่นเราเจริญ (เมื่อมีคน ก็มีงาน) น้องๆ ก็อาจจะได้ทำงานใกล้บ้าน  ได้มีโอกาสดูแลคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะเจ็บป่วยเมื่อไหร่  แล้วใครจะช่วยดูแลท่านตอนแก่ ช่วยลดภาระค่าครองชีพต่างๆ   ในชีวิตประจำวันของเรา สามารถสร้างครอบครัว ใหญ่ได้ มีญาติผู้ใหญ่ช่วยเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน พ่อลูกโตก็เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน  ประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีก  เมื่อมีเด็กนักเรียน ครูก็มีงานทำ สนับสนุนอาชีพต่อไปได้อีก ดีกว่าการดิ้นรนปากกัดตีนถีบในตัวเมืองใหญ่ๆ   เพื่อเริ่มนับหนึ่งทำงานเก็บเงิน ซื้อรถ สร้างครอบครัวเล็กๆ  ซื้อที่  ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง    (คิดง่ายๆ กว่าพ่อแม่เราหรือรุ่นปู่ย่าตายายจะมีวันนี้ ึ คิดดูว่าลำบากขนาดไหน)   

                สุดท้าย  ..ฝากข้อคิด     ตอนเรียนอาจจะตามเพื่อน แต่ตอนทำงานไม่มีใครตามใครได้ ทุกคนต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเอง น้องๆ พยายามตัดสินใจด้วยตัวเอง  เพราะเมื่อจบระดับมหาวิทยาลัย นั่นคือชีวิตการทำงานแล้ว อย่าให้คนอื่นคิดแทน เพราะสุดท้ายทุกคนต้องมีชีวิตเป็นของตัวเอง   พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกเป็นหมอ เป็นพยาบาล   เป็นครู  เป็นตำรวจ เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ   มั่นคง  โอ้อวดให้คนในสังคมฟังได้  หรือบางคนก็หวังให้ลูกกลับมาดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วย   แต่เท่าที่เห็นในปัจจุบัน  หมอ พยาบาล แทบยังไม่มีเวลาดูแลตัวเองเลย  แถมยังต้องไปดูแลคนอื่นอีก   ส่วนอาชีพครู  มั่นคงก็จริง แต่ตราบใดที่ไม่มีเด็ก ไม่มีนักเรียน ไม่มีนักศึกษา ก็ต้องไปนับหนึ่งที่อื่น   ทุกอาชีพมีความสำคัญ  ไม่ว่าจะคนเก็บขยะ ภาโรง เพราะถ้าวันหนึ่งไม่มีคนเหล่านี้เลย แล้วบ้านเราจะน่าอยู่ไหม อาชีพทุกอาชีพก็เสมือนชิ้นส่วนฟันเฟื่อง ให้ประเทศขับเคลื่อนพัฒนาต่อไป   เลิกพูด เลิกฟังคำบูลลี่ (ฺBully) สังคมจะได้น่าอยู่ แล้วบางอาชีพที่เกิดใหม่ในยุคที่ผู้ใหญ่ไม่มี ก็อาจจะให้คำแนะนำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าน้องๆ จะทำไม่ได้ เราควรศึกษา   และหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือด้วยตัวเอง หรือกล้าที่จะติดต่อสอบถามข้อมูลช่องทางต่างๆ   จากผู้ที่รู้ เช่น รุ่นพี่  อาจารย์ในหลักสูตร   ครูแนะแนว  เพื่อให้ข้อมูลกับผู้ปกครอง

แสดงความคิดเห็น

>