Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิวสาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหิดลกาญฯ !! หนึ่งเดียวในประเทศไทย! [Part 3/4]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
Conservation Biology หรือ ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์
สาขาที่ว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ณ มหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี

*แบ่งออกเป็น  4 Part เนื่องจากเนื้อหาแน่นมาก และเราไม่อยากตัดตรงไหนทิ้งเลย ดังนั้น Part นี้จะกล่าวถึงเรื่องราวช่วง ปี 3 และที่เหลือจะไปอยู่ใน Part 1-4 ตามลำดับ*
ความเดิมตอนที่แล้ว  :  https://www.dek-d.com/board/view/4087133
_______________________________________________________________


และแล้วก็ผ่านมาจนถึงปี 3

ขอเรียกว่าปีแห่ง “ของจิ๋ว และสิ่งเล็กๆ” เพราะวิชาที่หนักหนาของปีนี้ คือ วิชาจุลชีววิทยา และวิชาชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล ที่มาทั้งในรูปแบบภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อน ประณีต และแม่นยำ แต่ แต่ แต่ อย่าพึ่งท้อแท้ไป ปี 3 นี้มีข่าวดี คือ!

เราสามารถลงวิชาเลือกได้แล้ว!
วิชาที่เราเลือกลง เลือกเรียนได้ตามความชอบ ซึ่งมีวิชาให้เลือกหลากหลายมาก
เช่น วิชานิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ, วิชาสัตววิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง / สัตว์มีกระดูกสันหลัง, วิชาปักษีวิทยา, วิชานิเวศวิทยาของพืช, การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น
(ยังมีมากกว่านี้! อยากรู้ตามไปอ่านได้ที่ในเล่มหลักสูตร CB บนเว็บ MUKA เลยจ้า)

ซึ่งวิชาเลือกเหล่านี้ก็จะทำให้เราได้รู้ลึก รู้จริง ในศาสตร์ที่เราเลือกเรียน บางวิชามีปฏิบัติการ หรือแล็บ และรวมไปถึงการออกภาคสนามของวิชานั้นเองด้วย! Exclusive สุด ๆ ไปเลย!

และใช่ ปีนี้เราก็ยังคงเจอวิชาเลขอยู่เหมือนเคย (แต่เคมีหายไปแล้วนะ เย่! 55) วิชาที่ว่านั่นคือ ชีวสถิติ อย่าพึ่งทำหน้าแหยเพราะเห็นว่าเป็นวิชาเลข เพราะวิชานี้มีประโยชน์กับเรา การทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการทำโปรเจคจบเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นตั้งใจเรียนวิชานี้ให้มากๆ นะจ๊ะ ซึ่งวิชานี้มาทั้งรูปแบบบรรยายและปฏิบัติการ อ้าว งงละสิ วิชาเลขมีแล็บ แล้วแล็บมันจะออกมาเป็นยังไงล่ะเนี่ย? เราจะได้เรียนรู้เครื่องมือและโปรแกรมที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์สถิติกันนั่นเอง
 
สภาพก็จะนั่งเรียนกันในห้องคอมแบบนี้เลย

นอกจากนั้นก็มีวิชาภาคต่อของ MUGE แต่นี่คือ KAGE ลักษณะร่วมของสองวิชานี้ คือ การเรียนร่วมกับสาขาอื่น และการทำโครงงาน ผ่านการลงชุมชน สืบเสาะปัญหา และออกแบบโครงงานมาแก้ไข หรือตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน

อุปกรณ์เรียนแล็บเยอะมากก

เนื่องจากแล็บต้องใช้ความแม่นยำสูง สอบปฏิบัติทีเกร็งมือสั่นกันเป็นแถบบบ อาจารย์อย่าได้มายืนกดดันด้านหลังเชียวนะ มือสั่นเป็นเจ้าเข้าเลยจ้า

และนอกจากวิชาทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้ว มีใครยังจำได้หรือไม่ว่า ตอนปี 1 เทอม 2 เราจะได้เจอวิชา CB ตัวหนึ่ง ซึ่งในปี 3 นี้มันจะกลับมาในรูปแบบของ วิชาหลักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เราจะได้เข้าถึงความเป็น CB ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
 
 

และหลังจากจบปีสาม สิ่งที่จะตามมาเลยก็คือออ

Field II หรือ การออกภาคสนามครั้งที่ 2 ซึ่งยิ่งใหญ่ไฟกระพริบกว่าเดิม

เพราะ รอบนี้เราไปออกภาคสนามกันที่ เขาใหญ่! อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ณ นครราชสีมา

วิชาที่จะได้งัดเอาความรู้พื้นฐานจาก Field I มาใช้ในสถานที่จริงกลางป่าเขาลำเนาไพร นอกความรู้แล้ว ก็ต้องเตรียมพลังกายให้พร้อม เพราะเราจะไปอยู่กินนอนบนเขาใหญ่ร่วมสัปดาห์เลยทีเดียว!

บนเขาใหญ่เราจะได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และจะได้ฟังบรรยายจากทีมนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ แถมเราจะได้ลงมือทำแต่ละเทคนิคการเก็บข้อมูลในเขาใหญ่จริงๆ ด้วย ตั้งแต่การปีนต้นไม้! ใช่ ปีนต้นไม้ การเดินตามรอยตีนสัตว์ซึ่งมีหลากหลายมากมายตั้งแต่สัตว์ตัวเล็กไปจนใหญ่ การเดินสำรวจนก การเฝ้ารังนกกก แว่วฟังเสียงชะนี สำรวจแปลงถาวร และไปเยี่ยมชมทางข้ามสัตว์บริเวณรอยต่อเขาใหญ่-ทับลาน ซึ่งเป็นโมเดลสำคัญสำหรับการอนุรักษ์เลยทีเดียว

สิ่งที่ประทับใจที่สุดจากเขาใหญ่ของเราเลยคือ การปั่นบันทึกภาคสนามใต้แสงไฟฉายนี่แหละ
งานก็ต้องทำ ไฟก็ดันมาดับ แต่แล้วไง งานต้องส่ง เราก็ต้องทำจ้า 55555

หลังจากจบภาคสนาม นักศึกษาบางคนอาจอยากฝึกประสบการณ์ทำงาน ผ่านการฝึกงาน ซึ่งเราก็สามารถไปฝึกได้เหมือนกัน โดยเล็งหาหน่วยงานที่สนใจและลองติดต่อประสานงาน ทำตามระบบของมหาวิทยาลัย ถ้าทางที่ฝึกงานตอบรับเราก็จะได้ไปลองเปิดประสบการณ์ทำงานดู ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามากๆ เราอาจจะได้ค้นพบว่านั่นคือสิ่งที่เราชอบหรือไม่ หรือบางคนก็ได้หัวข้อโปรเจคกลับมาทำต่อกันเลยทีเดียว! เพราะฉะนั้นอย่าได้พลาดโอกาสนี้เลยล่ะ!

แล้วการเรียนปี 4 ปีสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ไปติดตามได้ที่กระทู้ต่อไปเลยย!!
Link -> https://www.dek-d.com/board/view/4087135


ช่องทางติดตาม CB
Instagram : cb.muka
Facebook : Conservation Biology, Mahidol University
 

แสดงความคิดเห็น

>