Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์ปสก. สอบเข้าอักษรจุฬาฯ รอบ 3 (เรียนพิเศษ + หนังสือเพิ่มเติม)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีค่ะ ! ไอซ์นะคะ CU 107 - Arts 91       เป็น dek 66 รุ่นหนูทดลองของทปอ. (ฮา)

จะมาแชร์ประสบการณ์ (แบบละเอียด เวิ่นเว้อหน่อย ๆ ) รวมทั้งคอร์สเรียนพิเศษ กับหนังสืออ่านเสริมพร้อมแบบฝึกเพิ่มเติม โดยเราจะขอพูดถึงสองอย่างหลังก่อนนะคะ

(ถ้าภาพใหญ่คับจอเกิน ขออภัยด้วยนะคะ พยายามแก้แล้ว ;-;)

เรียนพิเศษ (กึ่ง ๆ รีวิว) ** ไม่ได้เป็นการขายคอร์สแต่อย่างใด  และไม่ได้แปลว่าเรียนแล้วทุกคนจะติดน้า คนที่ไม่ได้เรียนก็ติดค่ะ อยู่ที่แหล่งการเรียนรู้ สืบหาข้อมูล และการฝึกฝนของแต่ละคน 

1. สังคม & ไทย - Intensive, Turbo, Shortcut ของ Davance อ.ปิง (+ Enconcept พี่หมอโอ๋ คอร์ส Final countdown)
2. ภาษาอังกฤษ - Mastery, A-level ของ Farose & A-level, Final countdown ของ Enconcept
3. ภาษาญี่ปุ่น - Fighto ของ Za-shi ครูพี่โฮม & ครูพี่บี J-education (ที่รร. น่าจะเชิญมาสอนค่ะ)


สังคม & ไทย       
ก่อนอื่นเลย เราตั้งใจเก็บสองวิชานี้เป็นพิเศษ เพราะเอนจอย และรู้สึกว่าตัวเองถนัดที่สุดในบรรดาสี่วิชา www
เราเลือกเรียนระบบ PC นะคะ เพราะเนื้อหาตรงกับในห้องสดกว่าออนไลน์ + ลดปัญหาเรื่องเวลาและการเดินทาง และส่วนตัวไม่มีปัญหาเรื่องสมาธิ หรือการเดินทางมาเรียนที่สาขานั้น ๆ หลังเลิกเรียนค่ะ

Intensive เนื้อหาอย่างจุก โดยเฉพาะสังคม เนื้อหาแบบตะโกน แต่ก็มีโจทย์ให้ทำนิด ๆ หน่อย ๆ นะคะ อาจารย์สอนดี ไม่น่าเบื่อ จำเนื้อหา/เทคนิคไปประยุกต์ใช้ตอนสอบได้ (แต่ไม่แนะนำให้จำติดไปเลยนะคะ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมน้า)

Turbo สรุปเนื้อหามาจาก Intensive อีกที แต่โจทย์เขาจุกจริง ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบเก่าด้วย ถ้าคิดว่าพื้นฐานดี จำได้ เรียนรู้ไว้ และไม่ได้มุ่งมั่นจะเก็บอะไรขนาดนั้น คอร์สนี้ก็น่าจะพอค่ะ

Shortcut สั้นมาก ม้วนเดียววันเดียวจบ โจทย์ไม่เข้มข้นเท่า Turbo ถ้าเรียนสองคอร์สด้านบนมาแล้วไม่ต้องก็ได้นะคะ เว้นแต่เพื่อความสบายใจ

Final countdown พี่หมอโอ๋ ส่วนตัวเฉย ๆ อาจจะเพราะเรียนอ.ปิงมาก่อน โจทย์ หรือคำตอบบางข้อเราว่าแอบงง ๆ อาจจะเพราะเราไม่ได้เรียนสดด้วยเลยไม่ได้มีจังหวะลุกไปถามตอนท้าย

ภาษาอังกฤษ   
เราเรียนออนไลน์แบบคลิปหมดเลยค่ะ ยกเว้น Final countdown อังกฤษ เราไปเรียนแบบสด ออนไซต์

Mastery (Farose) ชอบคอนเซ็ปต์ของพี่ฟา การแบ่งพาร์ตการสอน เทียบกับ Enconcept แล้วชิกว่า ไม่ได้เข้มข้น เคร่งเครียดมาก แต่ก็เนื้อ ๆ เน้น ๆ อยู่ เหมาะสำหรับปูพื้นฐาน ให้เข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้น มีการแทรกศัพท์ตามประเด็นต่าง ๆ ที่มักจะออกข้อสอบ หรือในหนังสือ

A-level (Farose) สมกับที่เขาว่ากัน ส่วนตัวเราก็คิดว่า Reading พี่ฟาสอนดี สอนละเอียดค่ะ ช่วยให้เราจับทาง รู้ว่าจะเจอโจทย์ลวงแบบไหนบ้าง คอร์สนี้เน้นโจทย์/ข้อสอบเก่า จุก ๆ

A-level (Enconcept) เนื้อหาแน่นดีค่ะ ศัพท์เยอะ โจทย์แยะ เข้มสมกับเอนคอน อาจจะเหนื่อย + ซีเรียสตอนเรียนหน่อย แต่ถือว่าโอเคนะคะ

Final Countdown เหมือนช่วยเสริม A-level อีกที เก็บไว้เสริมช่วงใกล้สอบได้อยู่ค่ะ 

ภาษาญี่ปุ่น  ㋛
เราเรียนเป็นคอร์สสด แบบออนไลน์

Fighto ชอบเทคนิคการสอนเป็นพิเศษ มีการท่องเป็นคำคล้องจอง กลอน หรือเพลง ไม่เครียด ครูพี่โฮมใจดี ปล่อยของสอนเต็มที่ คอย cheer up ติดตลกหน่อย ๆ เอนจอยดีค่ะ 

** แอบไม่ประทับใจระบบเท่าไหร่ คลิปย้อนหลังเราได้เป็นของปีเก่า ;--; ซึ่งมันไม่ได้เหมือนกับในแบบเรียน ก่อนสมัคร ควรสอบถามให้ละเอียดนะคะว่าย้อนหลังชดเชยวันที่เราขาดให้อย่างไร

ครูพี่บี เจเอ็ด ไม่ได้มีเทคนิคเยอะ แต่สอนละเอียด แบบสับ สับ สับ ช่วยอัปพื้นฐานขึ้นมาได้พอควร ครูพี่บีน่ารัก ใจดี เต็มที่กับการสอนมาก ๆ
 

• หนังสือเพิ่มเติม   
1. สังคม & ไทย

                                                                                        

1.1 สังคม แมวส้ม - สรุปดีค่ะ มีโจทย์ให้เยอะด้วย (แต่เราทำไม่หมด ;--;) สมกับที่พี่ ๆ เขาใช้อ่านกันเยอะ เราใช้อ่านทวนอีกทีหลังจากเรียนอ.ปิง แต่หลายคนใช้อ่านเป็นหลัก

1.2 พกโพยข้อสอบ Kru Pop - อันนี้ก็ดือ เราอ่านไปครึ่งหนึ่ง สรุปดี อ่านแล้วจอยค่ะ

1.3 แบบฝึกหัด Davance - ดีมาก เราชอบโจทย์ เข้มข้นดี เฉลยมีเหตุผลประกอบ เคลียร์ดี

เล่มสังคม > กล้องถ่ายรูป
เล่มไทย > ตัวโมเดลผู้หญิง

2. ภาษาอังกฤษ

                                                                                              

อ.ศุภวัฒน์ค่ะ แต่ไม่จบ www เราอ่าน ตะลุยโจทย์์ Vocabulary, Grammar (เหมาะปูพื้นฐานกว่า) , 9 วิชาสามัญ (เข้มข้นมากกก โดยเฉพาะ Reading ไม่รู้อาจารย์อัปเดตของ A-level หรือยัง)  ,  ชีท 4 หน้าครูสมศรี (น่าจะพอมีคนลงในเน็ต)

เห็นจำนวนข้ออาจตกใจ แต่ค่อย ๆ ทำไป แบ่ง ๆ ไปก็น่าจะจบได้ค่ะ แต่เราอู้เอง

(อย่างแรกนี่เคยอ่านตอนสอบเข้าม.4 แล้วหนึ่งรอบ เลยไม่ค่อยอ่านละเอียดหรืออ่านทั้งหมด ซึ่งจริง ๆ ไม่ควรนะคะ ;--; ทำและอ่านไปเถอะค่ะ ถ้าจำไม่ได้) 

3. ภาษาญี่ปุ่น

                                                                                                            

3.1 สรุปเข้มญี่ปุ่นม.ปลาย - ชอบการจัดหน้า กราฟิก และตารางสรุปค่ะ ดีเลยค่ะเล่มนี้ เหมาะสำหรับปูพื้นฐานให้แน่นขึ้

3.2 รู้ทัน PAT 7.3 - เนื้อหาดีค่ะ ละเอียด เยอะกว่าเล่มด้านบน มีโจทย์เล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย

[เราอ่าน 2 เล่มนี้ก่อนลงคอร์สติวนะคะ]

3.3 พิชิต PAT 7.3 - Reading ยาก ;--; โจทย์เข้ม แต่เฉลยไม่ค่อยละเอียด ด้านหน้ามีสรุปไวยากรณ์ให้

3.4 300  คำถามที่ต้องทำก่อนสอบ  PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น - โจทย์เข้มดี ใช่ค่ะ ยากเหมือนกัน แต่เราว่า Reading อ่านง่ายกว่าเล่มบนนิดหน่อย เฉลยละเอียดดีค่ะ ชอบมาก

3.5 แบบฝึกหัดคันจิ มินนะ โนะ นิฮงโกะ - เหมาะสำหรับคนอ่อนคันจิมาก แต่เราว่ามันไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้อ่าน ไม่ได้มีสอนจริงจัง เป็นแบบฝึกหัดแบบตะโกน  ไม่ได้มีเฉลยแบบละเอียด ชัดเจน  หรือดูง่าย

 
• การทบทวนเนื้อหา / ฝึกโจทย์เพิ่มเติม    

- Podcast ประวัติศาสตร์  ฟังตอนว่าง / ระหว่างเดินทาง ฟังไป นึกถึงเนื้อหาที่เรียนที่อ่านมา ทบทวนได้แบบจอย ๆ เขาเล่าสนุกด้วยค่ะ แต่ส่วนมากเนื้อหาเกิน หรือลึกมากกว่าที่จะออกสอบ (ฮา)

>> People you may know - https://open.spotify.com/show/0pfVLxELoC89RfboRbaexb?si=jO1hPwFUQ-GR4KAe_f1xlA

>> 8 minute history - https://open.spotify.com/show/06qbNChxzUhIe9TY8ZsxY0?si=TdC2df0DQP2cWs7O1turmQ

> EP. นี้ของ 8 นาทีประวัติศาสตร์ดีมากค่ะ เราชอบมากที่สุดเลย เขาไล่เปรียบเทียบอีเวนต์ประวัติศาสตร์ หรือ period ที่สำคัญ อยากให้ลองฟังดูค่ะ ช่วยจัดระเบียบเรื่องประวัติศาสตร์ในหัวเราได้ดีขึ้น

https://open.spotify.com/episode/0YVZlQoXRGLqfrhLzXNdH2?si=K6bt53P5S620oXrd70j-XA

- Pre-admission (dek d) , Mock exam (Tcaster และ Monkey everyday) สองอย่างแรกมีค่าใช้จ่าย แต่ของลิงทุกวันฟรี โจทย์เข้มกว่าสองเจ้าแรก ข้อดีของ dek d คือเขาจัดอันดับให้แบบสับ ไล่ตั้งแต่ตารางคะแนนของทุกคนที่สอบ อันดับคะแนนของเราในคนที่สนใจคณะกลุ่มเดียวกัน มหาลัยฯ เดียวกัน สนามสอบเดียวกัน 

* คะแนนไม่ดี อย่าเพิ่งท้อนะคะ อันดับอาจจะดีกว่าที่คิดก็ได้ค่ะ 

- แหล่งออนไลน์ ทวิตเตอร์ GAT Eng Thailand (@GATEngThailand) , สังคม by แมวส้ม (@socialbycat) , IG ของ Enconcept, Davance หรือพวกไลฟ์ติวฟรี / คลิปยูทูป โดยเฉพาะ Enconcept นี่มาเรื่อย ๆ ค่ะ แม้เขาจะชอบขายคอร์ส แต่ชีทดีค่ะ

- ข้อสอบเก่า เราได้จากที่เรียนพิเศษบ้าง เจอตามแบบฝึกหัดบ้าง แล้วก็หาในเน็ตบ้างค่ะ 
 

• Plan / Lifestyle     (เป็นเพียงการแชร์เฉย ๆ ค่ะ  เรื่องแบบนี้ค่อนข้างเป็นปัจเจกบุคคลนะคะ ไม่แนะนำให้เลียนแบบตามใครเป๊ะ ๆ)

- เริ่ม start ตอนประมาณเดือน 6-7 เลือกที่จะเก็บสังคมก่อน เพราะเนื้อหาเยอะ + เอนจอยเป็นพิเศษ ในบรรดาสี่วิชา เราค่อนข้างโอเคกับวิชานี้
- เรานอนวันละ 5-7 ชม. โชคดีที่เกิดมาร่างกายรับกาเฟอีนได้พอควรเลยซดกาแฟตอนเช้า ปิดท้ายตอนบ่ายแก่ ๆ หรือปิดด้วยชาเขียว

** ไม่ควรทำตาม หากร่างกายไม่สามารถรับกาเฟอีน หรืออดหลับอดนอนได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเลย แต่เราใช้ชีวิตแบบนั้นมาชินประมาณหนึ่ง + ไม่ชอบนอน ชอบดื่มชากาแฟเป็นทุนเดิม

** เราซื้อยา Ener-G มาทาน ไม่แนะนำให้ทานเป็นประจำนะคะ ถึงมันไม่ค่อยมีอันตรายอะไรนักก็ตาม เราทานไปบางครั้ง แล้วก็ทานวันสอบค่ะ ข้อดีคือไม่ทำให้ใจสั่น หรือขับปัสสาวะเหมือนชากาแฟ ฤทธิ์ก็พอกัน แม้ไม่แรงเท่าแต่พอแทน ๆ ได้อยู่หน่อย

                                                                   

- ระหว่างไปโรงเรียนเราจะฟัง podcast ค่ะ บางวันหลังกลับจากที่เรียนพิเศษ จะอ่านบทความ / ข่าวภาษาอังกฤษ ของ BCC News ส่วนภาษาญี่ปุ่น TODAI  easy Japanese  โหลดแอปมาได้นะคะ ฟรี ไม่ก็อ่านแฟนฟิคเป็นภาษาอังกฤษใน ao3 www
- ระหว่างทานข้าวเราจะเปิดอนิเมะไปด้วย ทานไปด้วย เพื่อประหยัดเวลาและคลายเครียด ระวังติดลมน้า
- เรียน Davance ที่สาขาหลังเลิกเรียน กลับไป ถ้าไหวก็จะอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ หรือภาษาญี่ปุ่น ควบคู่ไป แต่ก็ไม่ได้สม่ำเสมอนัก
- ปิดเทอม ตอนบ่ายเรียน Davance กลับมาเรียน Farose จนจบคอร์ส Intensive และ Mastery
- เราเว้นช่วงไปอ่านทวน Intensive เตรียมสอบ Pre-admission ของ dek d ค่ะ ระหว่างนั้นก็อ่านหนังสือสรุปไวยากรณ์ญี่ปุ่น อ่านภาษาอังกฤษ ก่อนกลับมาเรียน Turbo เหมือนเดิมค่ะ อ่านภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ เรียน Farose
- เอเลเวลฟาโรสเราเรียนช่วงใกล้สิ้นปี - ปีใหม่ ตามด้วย Enconcept และ Fighto ตามลำดับที่คอร์สเปิดช่วงเดือน 1-2 ส่วนพี่บีเราเรียนเรื่อย ๆ ค่ะ แต่จำไม่ได้แล้วว่าเริ่มเดือนไหน แต่จบใกล้ ๆ ตอนสัปดาห์ต้น ๆ ของมีนา ใกล้สอบ
- ระหว่างเดือน 1-2 เราก็จะอ่านแมวส้มค่ะ อ่านทีละ 10-30 หน้า แล้วแต่วัน เน้นอัดให้จบเพื่อเร่งสปีด เริ่มจากเนื้อหาเยอะ ๆ หรือไม่ค่อยชอบ หรือไม่ค่อยถนัด แล้วก็จะทำแบบฝึกหัดทุกวิชา 
- เดือน 3 หัวฟูตลอด ตื่นมาเราก็ทำข้อสอบเก่าอังกฤษ เรียนครูพี่บี จบด้วยทำบฝ. ไทยหรือสังคม จากที่ไม่ได้ร้องไห้เพราะเรื่องการสอบมานาน ได้มาระเบิดก็คราวนี้แหละค่ะ (ฮา)
- ไม่กี่วันก่อนสอบ เราจะนั่งทวนเนื้อหาที่เรายังไม่แม่น เช่น เราจะนั่งหลับตานึกแต่ละสาระ หรือประเด็นว่ามันมีเรื่องอะไรสำคัญบ้าง เทคนิคการจำอะไร สูตรไหนที่เรายังไม่แม่น เราจะลิสต์ละทวน รวมทั้งแบบฝึกหัด / ข้อสอบเก่า 

[สรุปแล้ว สังคม เราอ่านไปกี่ครั้ง?]   
หนังสือ Intensive ทวน 1 ครั้ง Turbo 2 ครั้ง (ครั้งที่ 2 เน้นเฉพาะที่ยังจำไม่แม่น) แมวส้มทวน 1-2 ครั้ง (เน้นที่ยังจำไม่แม่น) ชีทเก่าของ Davance อีก 1 รอบ คืนก่อนสอบค่ะ 

* ไม่ต้องทำตามนี้ก็ได้ แต่เราว่าสังคมเป็นวิชาที่ต้องอ่าน ต้องทวนเยอะ ๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ มันหนักทั้งการวิเคราะห์ การจำเลยค่ะ

- การคลายเครียด เราจะพักไปหวีดตัวละคร / คู่ชิปลงสตอรี่ไอจี ดูอนิเมะตอนทานข้าว ฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรกเพื่อผ่อนคลาย

[TGAT ??]  (¯¯ *)
เราค่อนข้างเท ไปซื้อหนังสือมาทำบ้าง แต่ทำไปนิดหน่อยค่ะ ลงเรียนคอร์ส TGAT พี่หมอเจของ Davance ไป ตอนเรียนรู้เรื่องนะคะ แต่ตอนทำเองก็ทำไม่ได้อยู่ดีค่ะ คณะและมหาลัยฯ ที่เราต้องการสโคปออกมาก็เหลือหลัก ๆ ที่ไม่ได้เน้น TGAT มาก หรือถึงใช้ เราก็หวังทำคะแนนจาก Part 2 20 ข้อแรก Part 1 กับ 3 ค่ะ ก่อนสอบมีดูคลิปติวฟรี Part 2 ตามยูทูปไปนิดหน่อย (แนะนำ อ.ขลุ่ย)

ไม่ได้สูงมาก แต่ก็พอโอเคอยู่ค่ะ  ซึ่ง Part 1 ภาษาอังกฤษของปีเรานั้นไม่ยากเท่า A-level หรือ GAT ปีก่อน ๆ นะคะ

                                                                                                             
  
• คำแนะนำ /  สิ่งที่อยากฝาก   •*¨*•.¸¸

- ควรสำรวจตัวเองก่อนว่าจะเข้าคณะไหน มหาลัยฯ ไหน อย่างน้อยสโคปให้พอรู้ว่าต้องสอบวิชาไหนบ้างก็ยังดีค่ะ รวมถึงถนัดวิชาไหน เอนจอยกับวิชาไหน 

** ทั้งไทย สังคม อังกฤษ และภาษาที่ 3 ไม่ควรเทวิชาไหนนะคะ เพราะสัดส่วนการใช้เท่ากันหมด สำคัญหมด อยู่ที่เราจัดการเลยว่าจะทุ่มกับวิชาไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า

ส่วนตัวเราเอนจอยสังคม    ไม่ถนัดอังกฤษ เราจึงเลือกใช้สองวิชานี้ในการดึงคะแนนเราขึ้น ส่วนญี่ปุ่น แม้จะไม่ได้ดีมาก แต่ด้วยคลุกคลีกับมัน + ชนกับการสอบ N4  เลยพอเก็บไว้ทีหลังได้ค่ะ

- อย่ายึดติดกับชั่วโมงการอ่านมากจนเกินไป สำคัญคือผลลัพธ์และประสิทธิภาพการอ่าน การจัดการอารมณ์ ความคิด ความจำตนเองค่ะ ส่วนตัวเราไม่ค่อยได้นับเท่าไหร่ อีกทั้ง คนเรามี 24 hr. เท่ากันก็จริง แต่ชีวิตคนเราแตกต่างกันนะคะ

- หลีกเลี่ยงสิ่งบั่นทอนจิตใจ เช่น mute คำในทวิตที่เกี่ยวกับการคะแนนสอบ เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นได้ แต่อย่าเพิ่งเครียดจนบั่นทอนตนเองน้า คนเราอาจจะ start หรือมีปัจจัยร่วมต่างกัน เพราะงั้นฮึบ ๆ สู้ต่อไป ลุยให้เต็มที่นะคะ  เครียดได้ ร้องไห้ได้นะคะ ใคร ๆ ก็เป็น แต่อย่าให้มันบั่นทอนตนเองก็พอ สำคัญมากเลยคือสุขภาพกายใจ ใจสุข กายดีตาม  

- คิดถึงแรงบันดาลใจเอาไว้ หรือคิดในแง่ดีเข้าไว้เยอะ ๆ แต่อย่าประมาท ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งเป้าหมายการเตรียมตัว ทั้งเป้าหมายคะแนน (ตั้งเป้าจาก min-max ของคณะ / มหาลัยฯ ปีก่อน ๆ เราเน้น min ให้พอ safe zone)

* อักษรจุฬาฯ ถ้าไม่ทะเล่อทะล่าคะแนนเฟ้อพุ่งปรี๊ด ประมาณ 22,000 หรือ 72 - 73 อัปขึ้นไป ถือว่ารอดอยู่ค่ะ แบบเฉียด ๆ หน่อย แต่ถ้าเซฟ ๆ คือ 24,000 ค่ะ จากที่ฟังมาน้า

- เราให้กำลังใจตนเองโดยการคิดว่า เออ อนิเมะโชเน็นหลายเรื่อง ตัวเอกอายุพอกับเรา หรือน้อยกว่าเรา คือสู้เลือดตกยางออก เด็กม.ปลายแต่เสี่ยงตาย เจอเรื่องหนักหนาสาหัส แต่เราเป็นเรื่องสอบเข้ามหาลัยฯ ไม่ได้ไปเสี่ยงตายเหมือนพระเอกโชเน็น เอาวะ สู้สิแก ขนาดมิโ×ริ×ะ ยังสู้ขนาดนั้นเลย ดูทัน×โร่สิ ลองสักตั้งเว้ยแก (ฮา)

- อนิเมะที่ดู ส่วนใหญ่ดูอนิเมะกีฬาค่ะ เป็นอะไรไม่รู้ ดูแล้วมีแรงบันดาลใจดีค่ะ กว่าจะชิงแชมป์แข่งกันมาได้ 

- ไม่ควรนอนต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมง ร่างพัง สมองอ๊อง อาจดึงประสิทธิภาพการจำ การวิเคราะห์ได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่นะคะ

- ทำบุญค่ะ  ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา หรือทำอะไรในสิ่งที่เขาว่าดีต่อคนอื่น เช่น บริจาคเลือด ไม่รู้ช่วยไหม แต่เราก็ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้หวังผลเป็นหลักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งเห็นคะแนนสังคมแล้ว อื้ม ! บางทีแต้มบุญมันอาจจะมีจริงก็ได้นะ (ฮา) สำหรับจุฬาฯ แนะนำให้ไหว้ขอพรร.๕ ค่ะ (เห็นเขาว่ากันว่าห้ามบนร.๕ นะคะ)

- กิจกรรม / การมีแฟน / ติ่ง / แต่งฟิค สิ่งเหล่านี้ที่เขาว่าควรพัก เราว่าแล้วแต่คนจะจัดการตนเอง เพราะทั้งหมดที่กล่าวมาเราทำควบคู่ไปกับการสอบตั้งแต่ก่อนเริ่มเตรียมสอบจนเสร็จแล้วก็ยังไม่หยุด  www (กิจกรามเราสายบริหารจัดการงาน หนัก ๆ เป็นช่วงมากกว่าเลยพอมีเวลาค่ะ)

แต่ไม่มี เหนื่อยน้อยลง (ฮา) เอาเวลาไปผ่อนคลายกับงานอดิเรก หรือสิ่งจรรโลงใจดีกว่า บางทีสิ่งเเหล่านั้นอาจจะได้กลับมาก็ได้น้า
 
• คะแนน  ~
หลังนำคะแนนแต่ละวิชา ×25% ตามสัดส่วนที่มหาลัยฯ กำหนด = 80.125 ~ 24,000 ค่ะ
(ไทย 76 สังคม 78 อังกฤษ 82.50 ญี่ปุ่น 84)

                                                                                         

สุดท้ายนี้ เราขอส่งกำลังใจให้ทุก ๆ คนนะคะ ให้ทุกคนฮึบ ๆ ผลลัพธ์ออกมาสมกับที่พยายาม ทุ่มเทกันมา มีเวลาอ่านหนังสือ ทบทวน สุขภาพกายใจพร้อมนะคะ  ୧ʕ•̀ᴥ•́ʔ୨

เหนื่อยได้ เครียดได้ ร้องไห้ได้ ระบายออกมาได้ แต่อย่าเพิ่งท้อ หรือถอดใจไปก่อนน้า เต็มที่ค่ะ 頑張ってね!


ข้อสอบสังคม & ไทย ปี 66 ที่เราจำมาเองจากในห้องสอบ อาจไม่เป๊ะหรือครบถ้วน 100% ผิดพลาดตรงไหนขออภัยล่วงหน้า และหวังว่า บทความนี้จะช่วยคนที่เข้ามาอ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ (⁠⁠‿⁠・⁠)⁠—⁠

>>   https://twitter.com/jjtmssfz/status/1661431992892944384?t=wyf5XcoWKb1aC0H3HkZdrg&s=19

ติดต่อสอบถาม / พูดคุย (หากเราไม่เห็นคอมเมนต์)  ・ᴥ・

IG: ssfz_ryoka (เป็น private แต่สามารถทัก dm โดยกดจุดสามจุดบนหัวมุมขวาบน แล้วเลือกส่งข้อความมาได้นะคะ)
Twitter: @jjtmssfz

แสดงความคิดเห็น

>