Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ผลกระทบของ...เกมฆ่าคน ต่อจิตวิญญาณจริยธรรม สังคม และกฎหมาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คอลัมน์ Active Opinion

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์




สังคมกังวลและอยากได้คำตอบที่ชัดเจนต่อข้อสงสัยที่ว่า "เกมฆ่าคน" สามารถเหนี่ยวนำคนคนหนึ่งให้ลุกไปฆ่าคนได้หรือไม่?

เราควรมองกรณีนี้จากหลายมุม นั่นคือมุมมองทางจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และกฎหมาย โดยเรียงจากแง่มุมที่น่ามอง น่าสนใจ น่าช่วยกันและสามารถแก้ไขได้ ไปสู่แง่มุมที่ทำนายล่วงหน้าได้ว่าไร้ผล เช่น ออกกฎหมายฉบับใหม่ๆ เป็นต้น

ประเด็นน่าใส่ใจมากคือ เรื่องสุขภาวะทางจิตวิญญาณ มีตัวอย่างหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าเด็ก-เยาวชน กำลังบริโภควัตถุและเสพสุขจากการบริโภควัตถุนั้นตลอดเวลา เรื่องที่ควรทราบคือความสุขที่ได้จากการบริโภควัตถุนั้นไม่มีวันเต็ม ต้องหาใหม่และบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

กรณีเกม อาจมิใช่ตัวปัญหา ปัญหาหลักๆ ของเยาวชนคือเรื่องเซ็กซ์ ยาเสพติด เกม และความรุนแรง 4 กรณีนี้มีคุณสมบัติร่วมประการหนึ่งคือ "ความเร็วในการเสพสุข" เด็ก-เยาวชนสามารถมีความสุขจากเซ็กซ์ได้รวดเร็ว สูดดมยาบ้าหรือสารระเหยก็เร็ว เล่นเกมก็เสพสุขเร็ว รู้สึกตึงเครียดก็ระบายออกด้วยความรุนแรงถือเป็นการหาความสุขที่เร็ว

ประเด็นร่วมคือ ความเร็ว

เทียบกับการเสพสุขจากการอ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ ไปบำเพ็ญประโยชน์ นั่งสมาธิเจริญสติ เหล่านี้ให้ความสุขช้า ช้ากว่าหรือช้ามาก

การเสพสุขอย่างเร็วมักเป็นการบริโภควัตถุ ซึ่งจะไม่มีวันเต็ม ต้องเสาะหามาเติมตลอดไป ขณะที่การเสพสุขด้วยวิธีที่มี "สุขภาวะ" (Healthy) มากกว่ามักได้ความสุขสงบทางใจหรือจิตวิญญาณ เรียกว่ามีสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญา คือ Spiritual Health



คำถามคือเราจะช่วยกันจัดการสังคมให้เด็ก-เยาวชนเข้าถึงกิจกรรมที่มีสุขภาวะเหล่านี้ได้อย่างไร?

เกมเป็นเทคโนโลยีใหม่ ขึ้นชื่อว่าเทคโนโลยีมันมีชีวิตของมันเองเสมอ นักปรัชญาบางสำนักกล่าวว่า พลันที่มนุษย์ประดิษฐ์ไฟ ไฟก็หลุดมือของเราไป พลันที่มนุษย์ประดิษฐ์พลังงานนิวเคลียร์ นิวเคลียร์ก็หลุดมือไป พลันประดิษฐ์เครื่องจักรนาโน เครื่องจักรนาโนจะหลุดมือเราไปอีก เกมก็เช่นกัน มีชีวิตและพัฒนาตนเอง เราไม่ควรมั่นใจจนเกินไปว่าเป็นเกมเมอร์ที่คิดค้นเกมใหม่ๆ หรือเป็นเกมที่ตามหาและควบคุมเกมเมอร์กันแน่

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พร้อมจะพิจารณาเทคโนโลยีเกิดใหม่หรืออุบัติใหม่ (Emerging Technology) เหล่านี้จากแง่มุมต่างๆ นั่นคือ แง่มุมทางจริยธรรม สังคม และกฎหมาย

อันที่จริงมีคำศัพท์เรียกผลกระทบหรือนัยยะทางจริยธรรม กฎหมายและสังคมต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าเอลซี คือ ELSI (Ethical Legal and Social Implication of Science and Technology อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เคยให้ความเห็นว่าควรสลับตำแหน่งระหว่างกฎหมายและสังคม เป็นสังคมและกฎหมาย เพราะที่แท้แล้วสังคมต้องนำกฎหมาย มิใช่กฎหมายนำสังคม ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่น่ารับฟังยิ่งประเด็นที่ควรสนทนากันต่อคือ เกมมีผลกระทบหรือนัยยะทางจริยธรรม สังคม และกฎหมายอย่างไร



ผลกระทบหรือนัยยะทางจริยธรรมต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ต่อผู้ประกอบธุรกิจเกม ควรทำร้านเกมหรือขายเกมประเภทไหนและอย่างไรถึงพอดี ไม่ควรค้ากำไรจนไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน เป็นต้น ถ้าเราควบคุมตนเองหรือควบคุมกันเองได้ดี รัฐและกฎหมายก็จะได้ไม่เข้าไปยุ่ง เพราะเราไม่ควรให้รัฐและกฎหมายมายุ่งกับชีวิตเรามากจนเกินไปอยู่แล้ว

ต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง เรื่องเกมฆ่าคนหรือการ์ตูนลามกมักสร้างปรากฏการณ์คล้ายๆ กัน คือพ่อแม่ผู้ปกครองออกมาเรียกร้องให้รัฐหรือกฎหมายออกจัดการขั้นเด็ดขาด โดยไม่ได้พิจารณาว่ารัฐหรือกฎหมายไม่สามารถทำเรื่องสำคัญเช่นนี้ได้ ที่จริงแล้วเกม การ์ตูน หรือวัตถุนิยมอื่นใดมีประเด็นร่วมอีกข้อหนึ่งคือเรื่อง "การใช้เวลา" เป็นหน้าที่โดยตรงของพ่อแม่ ผู้ปกครองที่จะสอนเด็กและเยาวชนให้บริหารเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน ให้เป็นบ้านใครบริหารเวลาได้ เกม การ์ตูน ทีวี มือถือ ไฮไฟว์ แคมฟร็อก ก็มิใช่ประเด็นหลัก เพราะในที่สุด แล้วเยาวชนจะบริหารเวลาของตนเองเป็นว่าควรใช้เวลาอย่างไร

     เยาวชนที่รู้จักค่าของเวลากลับจะใช้เวลาทำกิจกรรมที่มีสุขภาวะคืออ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ หรือไปบำเพ็ญประโยชน์มากกว่า ถ้าเยาวชนกลุ่มนี้คิดจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ พวกเขาสามารถใช้เช่วยเสริมกิจกรรมที่มีสุขภาวะอีกด้วย เช่น สร้างเว็บบล็อกของเพื่อนฝูงที่นิยมไปทำงานจิตอาสา เป็นต้น

     เกมมีผลกระทบหรือนัยยะต่อสังคม ที่สำคัญคือเกมดึงชีวิตมนุษย์ให้อยู่เป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้นจากเดิมก็มากอยู่แล้ว ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือใกล้เคียง ไม่รู้จักมนุษย์ที่อยู่ข้างๆ ไปจนถึงไม่เห็นคนข้างๆ เป็นมนุษย์ นำไปสู่การไม่เคารพมนุษย์ด้วยกันในที่สุด เกมน่าจะมีนัยยะทางสังคมอื่นๆ อีก เป็นประเด็นที่น่าจัดวงสนทนายิ่ง

     เกมมีผลกระทบต่อการออกกฎหมายแน่ ไม่ว่าเราจะเชื่อถือกฎหมายมากน้อยเพียงใด เกมน่าจะมีนัยยะบางประการต่อวิธีคิดของนักกฎหมายหรือผู้วชาญนิติศาสตร์สาขาต่างๆ หากค้นหาความหมายใหม่ๆ ของเกมไม่พบ เราก็จะออกกฎหมายเก่าๆ ไล่ตามเกมใหม่ๆ เรื่อยๆ ไป ซึ่งโดยสมมติฐานแล้วเทคโนโลยีเป็นสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาตนเองเร็วกว่าการออกกฎหมายมาก

     ทั้งหมดที่เป็นการยกตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัวอย่าง ที่สามารถจัดวงสนทนาเพื่อเพิ่มเติมประเด็นทางจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และกฎหมายของเกม หรือเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมใดๆ ได้เสมอ

     โดยเชื่อมั่นว่าเด็กและเยาวชน มีศักยภาพที่จะร่วมและเข้าถึงกิจกรรมที่มีสุขภาวะเพื่อให้มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญา กระทั่งสามารถพัฒนาเกมหรือใช้เกมอย่างมีสุขภาวะได้ด้วย



ที่มา : http://www.matichon.co.th/matichon/

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

สาริกา 26 ส.ค. 51 เวลา 16:42 น. 1

เราเล่นเกมมาตั้งแต่ประถมตอนนี้ม.6แล้ว เราก้ยังไม่ได้ไปฆ่าใครเลย แล้วเกมที่เล่นก็เป็นพวก จีทีเอ SF อะไรเถือกนี้ เราว่าอย่าโทดแต่เกม หัดมองดูเหตุผลอื่นๆซะมั้ง ไม่ใช่อะไรเกิดก็โทดแต่เกมๆๆๆๆๆๆๆ

0
Lasiara 26 ส.ค. 51 เวลา 18:08 น. 2

ใช่คับ...

กรุณาอย่าโทษเกมครับ...


ความสำคัญมันอยู่ที่ "การเลี้ยงดู" และ "วิจารณญาณ" ครับ...



ผมนั่งดูคน gamer เก่งๆ, มันยังไม่เคยฆ่าคนสักคนเลยครับ
แถมยังเป็นคนที่มีสมาธิสูงกว่าคนธรรมดาอีก, ความคิด การวางแผนก็เก่งกว่า (เพราะสมองต้องคิด วางแผนจากเกมเยอะ)

ผมเองก็เล่นเกม และไม่ได้คิดจะฆ่าใคร
(ก็เล่นเกมมาตั้งแต่จำความได้)


.........แล้วอีกกี่ปี วงการเกมไทยจะพัฒนาครับ?
ในเมื่อพวกคนใหญ่โต เอาแต่โทษเกม แล้วก็พยายามดึงวงการเกมไทยให้ตกต่ำ

คุณดูเกาหลีสิ -*-
ธุรกิจเกมเขานี่... ส่งออก รายได้ประเทศปีละหลายล้าน.
แถมเขาก็มีกฏระเบียบที่รัดกุมพอ
และไม่ได้โทษเกมด้วย


อารมณ์เสียครับ -*-

0
เกมส์ 17 ส.ค. 54 เวลา 23:47 น. 3

เล่นเกมโหดๆ ก้อบ่อยนะคะ แต่ไม่เหนเคยคิดฆ่าคัย&nbsp อะไรไม่ดี ก้อหัดโทดอย่างอื่นบ้าง เอะอะก้อโทดเกม โทดคนเล่นสิ คนผลิตเกมคงรุ้สึกแย่ ทำอะไรก้อผิดหมด คนอยากเล่นก้ออดเล่น เพราะห้ามไม่ให้เล่น ไม่ยุติธรรมซะเลย&nbsp 

0