Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ศัพท์กูย ต่อ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


แบ๋ะ     คือ      บ่ายหน้า  เบนเบี่ยงไปทางอื่น
ซำแซะ    คือ    พูดไม่รู้จักหยุดหย่อน
แหย๋ะ   คือ  อยาก
ขั๋ะลกร๊าะส   คือ   ต้นยางนา
บ๋อะ   คือ   ปอก
บั๋วะ  คือ   เปลือก   เช่น   บ๋อะแอบั๋วะ  แขรลเถี๋ยเหล๋าะหนึ   ปอกเอาเปลือกไข่เป็ดออกหน่อย
หมู๋ร    คือ   มูลยา   เบื่อยา   เช่น  หมู๋รอาแจ๊ะอาจอแหล๋ะ   เบื่อยาหมาตาย
ป๊อะห์     คือ  อุ้ม
ขั๋ะลกร๊าะส ดุ๋ง    คือ   ต้นทองกวาว  หรือ ต้นจาน
หมู๋ล     คือ  ม้วน
เผร๋อะเผริม    คือ  มอมแมมเนื้อตัวสกปรก
กะเอ๊อะ   คือ  ดีใจ
อึฮ๊อะ  ข้าวที่แตกรวง    รวงคือ  อึฮ๊อะ
ซับ   คือ  ห่ม
ตอล  คือ     -  (  คำไม่สุภาพในภาษากูย   )
เกอดโพง      คือ  กลุ่มคนจำนวนมาก
แตน    คือ  เหยียบ
ฮาร์น  คือ   กล้าหาญ
บุ๋ส์     คือ เผา
อึมลังอึมลูน      คือ    คือแข็งแรงมีกำลังวังชา
แบ๋ต    คือ  จุด
แหม๋น     คือ  นิมนต์
กะด๋าย  ?   คือ   ใครนั่น   ?
ด๋าย  คือ  ใคร
หม๋าย    คือ คำพูดถึงคนอื่นในภาษากูยตรงกับภาษาไทยว่า  เอ็ง, ข้า ,
ตะกาย  คือ  จบก
อาบั๋ง     คือ  หน่อไม้
ขั๋ะล ซง    คือ    ต้นไผ่
ตองลีม  คือ   เหลี่ยม  ผักชนิดหนึ่ง
อาโหน๋ง    คือ  บวบ   ผักชนิดหนึ่ง
ขั๋ะลอึถั่น   คือ  ต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นไม้เถาว์เลื้อยดอกมีสีชมพูแกมขาวกินได้ทั้งใบและดอกมีรสเปรี้ยว
จั๊ะน  คือ    จะจะ , พบกันเผชิญหน้า,
กะลูม   คือ  คำ , คำจำกัดความ,
เฮ    คือ  ฝาก  เช่น    เฮหม๋าลหนึ๋     ฝากของด้วย
หลี๋ด    คือ    ทา
ฮ๋อด    คือ  รูด
หลั๋น    คือ  ล้น
แบ๋ง    คือ  แบ่ง
แว๊ด   คือ  พ้น      จีแผ่นไอแว๊ดๆ   ไปจากมันให้พ้นๆ
แถ๋ต   คือ  ขาด
ฉวง   คือ  ช่วง
ไปลผล๋วง   คือ  ผลมะไฟ
ไปลสะแบ๋ะอึขรูย    คือ ผลไม้ชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยวจัด  มีผลลักษณะคล้ายกับตระกูลเงาะและลิ้นจี่  แต่ไม่มีขน   ลูกเล็กกว่าลิ้นจี่ ผลรียาวแบบลูกหว้าแต่เล็กกว่าหน่อยผลจะเท่าไข่นกกระทา นกเอี้ยง    รสเปรี้ยวจัด  ไม่มีรสหวานปนเหมือนลิ้นจี่ เปลือกนี่หยาบคล้ายกับลิ้นจี่  สีแดง    เป็นผลไม้พวงช่อ  ผู้เขียนไม่สามารถให้ความหมายภาษาไทยได้  ว่า ชื่ออะไรกันแน่ เลยบอกลักษณะอธิบายผลไม้ที่ชื่อ  สะแบ๋ะอึขรูย  จะมีเป็นช่วงฤดูเท่านั้น  หน้าฝน

 ท้ายสุดนี้ขอจบเรื่องราวไว้เท่านี้ก่อนพร้อมด้วยคำอธิบาย จนกว่าผู้เขียนจะนึกคิดถึงคำใหม่ได้นั่นแหละจึงจะเริ่มลงมืออีกครั้ง  ว่าในภาษากูยจะมีคำใหม่หรือเปล่า มีแน่นอน เพียงแต่ผู้เขียนคนเดียวไม่สามารถที่จะทำงานทีเดียวพร้อมกันจนจบ ถ้าเป็นไปได้ พูดถึงท่านที่อยากทราบอยากรู้ ช่วยลงข้อความโพสลงมาก็ได้  ว่าต้องการทราบคำไหน? ที่แปลก  ที่ผู้เขียนไม่ได้เขียนมาก่อน  ก็จะเป็นการดีด้วย อีกอย่างผู้เขียนจะได้ฝึกปรือคำเหล่านี้ให้คล่อง   เพราะต้องนึกจากความทรงจำจากการที่ตนเองเคยพูดมาแล้ว เพราะแทบทุกคำผู้เขียนก็เหมือนกับท่านที่เป็นกูย
ด้วยกัน ต้องรู้แต่พูดภาษาของตนเองมาหมดทุกคำ เพียงแต่ว่า มันจะนึกถึงคำไหนก็แล้วกัน  



 มีเรื่องที่ผู้เขียนอยากจะเพิ่มเติมหลายคำจริง เกี่ยวกับข้อเท็จจริงความคลาดเคลื่อน ที่ผู้เขียน ผู้เขียนบังเอิยได้ดูรายการทีวีเมื่อราวสักสามสามวันที่ผ่านมานี้ตรงกับวันสงกรานต์ของปี52  ที่บอกกล่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายกูย  ยังมีกลุ่มชนหนึ่งเช่นกันที่ ท่านเรียกว่าเป็นชาวเยอ ซึ่งมีอยู่ทางศีรษะเกษ  ฟังดูก็คล้ายแต่คงไม่ใช่ การพูดการจา และสำเนียง แต่พอที่จะฟังออก มันจะแปตกต่างไปแค่ไหนกันกับภาษาไทยของเราทุกถิ่นทุกท้องถิ่นถิ่นอื่นๆ ที่ผู้เขียนก็บอกเหมือนกัน ความแตกต่างมันมีบ้าง ส่วนนิดส่วนน้อย   อย่างภาษาไทยกลางมีเสียงเหน่อ คำพูดความหมายบางคำก็แปลกแตกต่างกัน 
 โดยส่วนตัวของผู้เขียนแล้วเทิดทูนวัฒนธรรมประเพณีดีงามของคนไทยทุกภาคโดยเฉพาะบรรพบุรุษของพวกเราทุกยุคทุกสมัยทุกภาษาทุกท้องถิ่นทั้งภาคเหนือกลางใต้ ที่สั่งสมที่บ่มความรู้ให้วิชารวมทั้งรักษาไว้ซึ่งภาษาซึ่งผู้เขียนได้จัดว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก  โดยสิ่งนี้ผู้เขียนคิดว่า ลูกหลานของคนไทยทุกภาคควรหวงแหนรักษาสิ่งดั้งเดิมที่บรรพชน บรรพบุรุษผู้ให้ภาษา  ที่ทำให้เราเข้าใจและดำรงชีวิตโดยสื่อความหมายเข้าใจกันในพวกพ้องวงค์วารมิตรสหาย


 จึงถือว่ามันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์  ปาฏิหาริย์อย่างมากที่สุด แทบทุกภาษาในโลกเช่นกัน การจะก่อเกิดภาษาสำเนียงก็ถือว่ายากยิ่งนัก แล้วนำมาใช้กันอย่างนี้ ต้องผ่านการบ่มการเรียนรู้ การที่สังคมกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยนำมาถือยึดเอาเป็นประเพณีเป็นคำพูดของเชื้อชาติตนเพื่อบอกเอกลักษณ์สิ่งที่มีอยู่
 ภาษากูยเองก็เช่นกัน  ผู้เขียนคิดไว้เช่นกัน กว่าจะก่อกำเนิดสืบสานมาจนถึงลูกหลานในปัจจุบันซึ่งรวมทั้งผู้เขียนด้วย ไม่ทราบว่าตกทอดมากี่ยุคต่อกี่ยุคแล้ว โดยความจริงที่ผู้เขียนนั้นได้เคยบอกท่านว่า จะเล่ากล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของภาษากูย นั้นว่า เกิดขึ้นเมื่อใด ผู้เขียนไม่ทราบแน่ชัด มีแต่คำกล่าวของคนโบราณบรรพชนปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้องรวมทั้งพ่อแม่ ได้พูดบอกไว้ว่า


 มีมานานแสนนานไม่รู้ว่านานเท่าใด ผู้เขียนเคยสืบเสาะถามเรื่องนี้จากคนแก่ในหมู่บ้านในสมัยที่ตนเองยังเด็ก เพราะมักจะเป็นเด็กที่ชอบสงสัย  รวมทั้งญาติพี่น้อง ลุงป้า น้าอา รวมทั้งพ่อแม่ ก็มักจะได้คำตอบที่คล้ายกัน คือ  เมืองกูยนั้นมีอยู่จริง  คนไทยเชื้อสายจีน  ชื่อ เจ๊กโม คนหนึ่ง  ที่อพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านอำเภอที่ผู้เขียนอาศัยอยู่บอกว่า ท่านเคยไปมาแล้ว มีความเป็นอยู่วิถีชีวิตเช่นพวกเราในปัจจุบัน ทั้งคำพูดภาษาวัฒนธรรม  แต่เป็นเพียงชนกลุ่มน้อย  ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศจีน  บางท่านก็บอกว่า อยู่ในเมืองลาว   แต่คนที่บอกกล่าวคนแรกท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว   ยังคงได้แต่รับคำบอกกล่าวจากญาติผู้ใหญ่ในหมู่บ้านแทบทั้งหมดหมู่บ้านที่เชื่อตามนั้น


 จะสืบหาความจริงก็เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง  มีแต่การบอกเล่ากล่าวในหมู่ผู้ใหญ่ผู้อาวุโสบอกลูกหลาน  จากประวัติที่ทราบ  ส่วนลุงของผู้เขียนที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็บอกว่า พวกเราอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแปจากฝั่งลาวจริงๆ  บรรพบุรุษหรือ น่าจะตกอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
 ผู้เขียนเชื่อว่า คนถิ่นกูยนั้นมีมานานแล้ว  อาจจะมาจากขมุ หรือ ข่า  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุค มีผิดเพี้ยนกร่อน อย่างที่เราทราบกันดีแล้วว่า ภาษามันมีพัฒนาการไปตามมันตามยุคสมัย มันไม่หยุดนิ่งแน่นอน มันดิ้นได้  อย่างที่เราก็ทราบดีแล้ว  จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ ภาษาขะแมร์  แต่ก็เพียงว่าจัดอยู่ในกลุ่มเหล่านั้น แต่วัฒนธรรมบางอย่างคำพูด มันแตกต่าง พอๆกับความหมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่อาจจัดได้ว่า กลุ่มคนไทยกูยนั้นเป็นคนกลุ่มเดียวกับชาวขะแมร์หรือเขมร หรือว่ามอญก็ตาม กูยก็ยังคงเป็นกูย มีวิถีปฏิบัติ  ตามวัฒนธรรมประเพณีต่างกันคล้ายกันบ้าง เนื่องจากทั้งสองเชื้อชาติอยู่ใกล้กัน มีการเชื่อมโยงไปมาหาสู่  จึงทำให้กลายกลืนไปในปัจจุบัน แต่จุดศูนย์กลางวัฒนธรรมแต่ดั้งเดิมของคนไทยกูยก็ยังคงเป็นอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง  ถึงจะมีคนต่างถิ่นมาสืบทอดแต่งงานกับลูกหลานก็ต้องรับเอาวัฒนธรรมของกูยที่มีใช้อยู่ก่อนเช่นกัน ใช่ว่าเราจะตามจะต้องไปกลายกลืนกับพวกเขาเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่นในหมู่บ้านปัจจุบันของผู้เขียน  ก็ยังคงเป็นเช่นอดีตทั้งทางวัฒนธรรมภาษาการใช้ชีวิต


 พ่อแม่ญาติพี่น้องปู่ย่าเคยเล่ากล่าวมาก่อนแล้วว่า ต้องย้อนยุคไปในสมัยที่พระพุทธเจ้าท่านมีชีวิตอยู่จริง ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธองค์ใด ถ้าจะให้กล่าวก็คือ พระสมณะโคดมของเรานี่ล่ะ  พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เพราะเราเกิดในยุคนั้น บรรพบุรุษบอกว่า ในยุคนั้น  สัตว์คนต้นไม้สามารถพูดจาสื่อสารกันได้  พระพุทธเจ้าท่านอุบัติมาในผืนโลก  เมื่อมนุษย์และสัตว์ต้นไม้พูดจากันรู้เรื่องทุกอย่าง   เกิดสังคมมนุษย์ มีภาษา  พูด  แต่ยังไม่มีการบันทึกภาษาเขียน กันไว้   ณวันหนึ่งพระพุทธองค์ โปรดให้มีคำสั่งให้คนทุกเหล่าทุกเผ่า จัดแจงเตรียมเขียนภาษาเขียนของตนเองเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบทอดไปจนถึงลูกหลานให้เกิดความภาคภูมิใจ

 คนที่ได้ยินครั้งแรกเมื่อป่าวประกาศร้อง เป็นพ่อค้าคนจีน  ซึ่งมีไหวพริบความขยัน  เร็วรี่ไปหาพระพุทธเจ้าก่อน  ท่านก็อวยพรให้ ชาวจีนผู้นั้นจงประสบสุขทำมาหากินด้วยความชาญฉลาด ร่ำรวย  มั่งมี ทำงานสบาย  ต่อมา เป็นชาวมอญ  ชาวญวณ   ชาวลาว   ชาวแขก   ผู้เขียนทราบเรื่องจากบรรพบุรุษมาแบบนี้ และตัวเองก็ไม่เคยทราบภาษาเหล่านั้นหรอกสรุปแล้วพวกท่านเหล่านั้นมีภาษาเขียนกันหมด ส่วนบรรพบุรุษคนแรกของคนกูยเรามารวมตัวประชุมกันมีมติเสร็จแล้ว  นำภาษาที่  ท่านเขียนตัวหนังสือที่เป็นภาษาเขียนลงบนหนังหมู  พอเขียนเสร็จจะนำไปถวายมอบให้พระพุทธเจ้า ปรากฏว่า หมาหรือสุนัขกลับคาบเอาไป  เลยทำให้คนไทยเชื้อสายกูยไม่มีภาษาเขียน 



  แต่เรามีเพียงภาษาพูด   ซึ่งผู้เขียนก็คิดว่ามันไม่มีปัญหาอะไร  ในเมื่อมันกลายกลืนจนทำให้ความเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างที่ผู้เขียนเขียนคำอ่านตัวสะกดจากภาษาไทยมาเป็นคำพูดการอ่านออกเสียงและแปลความหมายในภาษาไทย ที่ราวกับถอดออกมาจากเจ้าของภาษาซึ่งการใช้อยู่เท่าทุกวันนี้เป๊ะเลยเมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้แล้ว  ผู้เขียนก็รู้สึกเฉยๆ ภาษาเขียนจะมีหรือไม่มี แต่ความเข้าใจเราเป็นคนไทยเข้าใจภาษาไทย รวมทั้งภาษากูยมันสามารถเข้าใจ ทำความเข้าใจให้ความหมายเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับภาษาไทยมันก็เพียงพอแล้ว   ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนได้ขยายความเข้าใจมาเพียงพอแล้ว
 แต่บรรพบุรุษหลายๆคน บางท่านบอกว่า ภาษากูยยังมีอยู่  แต่เป็นหลักศิลาจารึกที่ซ่อนไว้ใต้ผืนดินอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ  หากันไม่เจอ  บ้างบอกว่า อยู่ที่เมืองลาว  บ้างบอกว่า ที่ชัยภูมิ   แต่มันมีอาถรรพ์พยายามหาแล้ว หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ  บรรพบุรุษทุกท่านสมัยนั้นก็ค้นหาเหมือนกัน  ผู้เขียนก็ยังงง แล้วจังหวัดชัยภูมิ มาเกี่ยวข้องด้วยอย่างไร  ก็ไม่ทราบหรอก การคมนาคมวิถีของคนบรรพชนในสมัยนั้นเขาเดินทางเท้าค้าขายด้วยเกวียน กับช้าง  ม้า  แต่รายละเอียดความเข้าใจทั้งหมดผู้เขียนเองถอดความมาจากผู้ที่ท่านรู้ท่านทราบประวัติมาอย่างนี้ 


ผู้เขียนก็ไม่ได้ฟันธงเสียเลยทีเดียว ล้วนคิดล้วนรู้ย่อมอยู่ในใจของท่าน และวิจารณญาณตามลำพังของผู้เขียนเอง   เพียงแต่ได้บอกกล่าวว่า ประวัติภาษากูยมันเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ทราบว่ามันมีคล้ายละม้าย ที่พอพูดแล้วเข้าใจ มีอยู่ถึงคนสี่กลุ่ม  คือ  คนกูย  คนกวย  คนเยอ  แล้วคนอะไรอีกกลุ่มผู้เขียนก็ คงลืมไปแล้ว ถ้าพวกท่านเป็นลูกหลานของคนไทยเชื้อสายด้วยกันเหล่านี้ก็ สามารถให้ความรู้หรือแนะแนวได้  ผู้เขียนขอปิดเรื่อง ไว้เท่านี้ นอกจากจะมีอะไรใหม่ๆ ผู้เขียนถึงกลับมาเขียน  ถือว่าเป็นวิทยาทาน แลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนภาษาการเข้าใจถึงอุปนิสัย วิถีการมีชีวิตอยู่ ของสังคมกลุ่มชนเล็กกลุ่มหนึ่งของคนไทยเชื้อสายกูย ที่มีประชากรประมาณ สี่แสนคน  ซึ่งมิใช่น้อยๆ
 

มีความสุขในการอยู่ในเหย้าอยู่ใต้ชายคาและใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระบุรพมหากษัตราธิราชเจ้าทุกพระองค์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหวงแหน สำนึกค่าของความเป็นคนไทยที่บรรพบุรุษกว่าจะรักษาผืนแผ่นดินขวานทองสุวรรณภูมิแห่งนี้ได้ก็รบราเอาเนื้อเลือดเข้าสู้แลกเพื่อให้ดำรงคงอยู่ซึ่งเอกราชมาตราบเท่าทุกวันนี้ คิดว่าเป็นเรื่องเล่น หรือยังไง ?  กี่กองกระดูกที่กองคงจะสูงเท่าภูเขาลูกหนึ่ง  คนในอดีตต้องสู้รบตลอดปีตลอดชาติอดตาหลับขับตานอนจะมาเสวยสุขนอนสำราญเหมือนยุคปัจจุบันนี้หรือยังไง? สามัคคีรวมใจเป็นหนึ่งอันเดียวกันรักพวกพ้องมิตรสหายที่เกิดใต้แผ่นดินไทยด้วยกัน  นี่คือเลือดรักชาติของบรรพบุรุษ   นี่คือสิ่งที่บรรพชนทำไว้ให้ลูกหลาน    ทุกข์ทรมานเลือดตาแทบกระเด็น ไหนจะศัตรูรุกรานบ้านเมือง รอบทิศทาง  ผ่านพ้นมาจนถึงพ.ศ.นี้  ถ้ามีวิญญาณความรักชาติรักบรรพบุรุษ  ให้กลับไปคิดกันเอาเอง  ที่สามารถเสวยสุขกินนอนอยู่ทุกวันนี้ได้เพราะใคร   ????



วันที่ผู้เขียนจบเรื่องนี้  เหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมืองคงผ่านพ้นไปด้วยดี  ขอขอบคุณกำลังใจ คำแนะนำแนะแนว ติฉินจากทุกท่าน จะรับไว้ทั้งหมดนั่นแหละทั้งคะแนนโหวตที่เป็นดอกไม้ทั้งก้อนอิฐ จากผู้มีความอวิชชาครองกาย หนาแน่นด้วยใจมิจฉาทิฎฐิ ความจริงพวกท่านก็อยู่เฉยๆก็ได้นี่ เป็นเดือดเป็นร้อนอะไรนักหนา  กับภาษาสังคมหนึ่ง  ซึ่งก็หาคิดไม่ดีไม่  ซาบซึ้งเทิดทูนต่อพระบารมีปกเกล้าของพระบาทสมเด็จอยู่ทุกเมือเชื่อวัน  ท่านทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวไทยทุกหมู่เหล่า  การที่ท่านไปส่อเสียดว่ากล่าวคนอื่น ควรสำรวจดูตัวเองบ้างที่เขียนที่พูดนั้นตัวเองดีถ้วนแค่ไหน งั้นลองไปส่องกระจกมองตัวเองบ้าง  ผู้เขียนก็ขอบคุณไม่คิดอะไร ปล่อยวาง  เพราะรู้ดีรู้อยู่แล้วว่า คำด่านั้นถ้ามันจะสาดกลับคงกลับไปที่ผู้ปล่อยมันออกมาจากปาก ผู้เขียนสงบนิ่งไม่เดือดร้อนไม่รับ  เชิญตามสบาย  ถ้าคนดีจิตใจดีมีศีลธรรมจริงวิธีการที่จะด่าว่าผู้อื่นย่อมไม่มีอยู่ในจิตใจ เพราะคนผู้นั้นย่อมทราบแท้แล้วว่า ความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ์ อยู่ที่ใด? อยู่ที่ใจ? อยู่ที่การวางตน  ผู้เขียนขอวางอุเบกขาเพียงอย่างเดียว   จบแล้วท่าน
15/4/52


(ป.ล.  ด้วยความหมายบางอย่างที่ผู้เขียนควรจะชี้แจง  เรื่องศัพย์กูย ที่ผู้เขียนได้เขียนไปแล้วกับศัพย์ต่อ ที่เป็นเรื่องที่เขียนต่อนั้น โดยความเข้าใจแล้ว คำพูดตัวสะกดจากภาษาที่แท้จริงของเจ้าของภาษา  ควรจะเป็นวรรณยุกต์สามัญ  คือ  เสียงตรี   ๋  ล้วนจะถูกกว่า  แทบทุกคำการออกเสียงสะกดในภาษากูยของคนถิ่นที่ใช้ภาษากูยจะออกเสียงเป็นเสียง    ๋   เช่น  แบ๋ต   ที่แปลกว่า  จุด  ต้องอ่านอย่างนี้  ไม่ใช่  แบ้ต   หรือ แบ็ต 
แหม๋ต  แฮ๋ต   แหม๋น  หมู๋ล  อาบั๋ง  แบ๋ะ  บ๋อะ  บั๋วะ  อาโหน๋ง   ทั้งสองเรื่องที่ผู้เขียนได้เขียนไปแล้ว ถ้าเกิดว่าคำบางคำนั้นลืมเติมหรือว่าผิดไปก็ขออภัยผู้เขียนจะกลับไปตรวจดูอีกสักครั้ง แต่ว่าคำบางคำใช้  เสียงตรี ไม่ได้
คือ  แว๊ด   อึฮอะ     ป๊อะส์  จะเป็น  ป๋อ + ออะ  ก็ไม่ได้  ไม่ตรงกับสำเนียงที่ใช้กัน     กะด๋าย   ที่แปลว่า  ใคร จะเป็น กะด้าย  ก็ไม่ถูก   กะด๊าย  ก็ไม่ถูก    แหย๋ะ  ที่แปลว่า อยาก ก็เช่นกัน    จะเป็นแหย๊ะ  ก็ไม่ถูก  ไม่ตรงกับสำเนียงที่ใช้  แหย้ะ   ก็ไม่ถูก    พูดไปแบบนี้เจ้าของสำเนียงฟังไม่รู้เรื่อง ไม่มีคำแปล   แล้วคำบางคำเขียนเหมือนกัน  แต่ความหมายต่างกัน  



มันอยู่กับการใช้  เหตุการณ์     คิดว่าผู้เขียนใคร่ครวญทบทวน น่าจะถี่ถ้วนแล้ว จึงปล่อยคำเหล่านี้ออกมา  ถ้างั้น คงไม่ปล่อยหลุดออกมาง่ายๆหรอก ถ้าหากมันผิดเพี้ยน  ไม่งั้น ท่านจะสื่อสารกับคนถิ่นกูยไม่ตรงและไม่เข้าใจ ส่วนคนกวย หรือคนเยอ ท่านไม่เข้าใจแน่ เพราะมันคนละสำเนียงกัน   นี่ผู้เขียนเขียนเฉพาะคำจำกัดความว่า" คนกูยที่ใช้ภาษาสำเนียงการพูดความหมายแบบกูย    " เท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นเพของผู้เขียน  ทั้งตัวสะกด ความหมาย  ความเข้าใจ ทั้งภาษาพูด   ผู้เขียนเขียนเฉพาะเท่าที่ตนเองรู้ ถ้าไม่รู้ ผู้เขียนจะเขียนไม่ได้ เพราะผู้เขียนเองก็ไม่รู้   เช่นภาษาคนกูยที่ พูดแบบกวย  หรือ  เยอ    จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ด้วยกรณีทั้งปวงกับญาติทางภาษาของผู้เขียน
 เขียนอยู่ในกระดานคอมพิวเตอร์นี้    ขอยืนยัน   ต้องขออภัยด้วยถ้าบางสิ่งบางอย่างเกิดการบกพร่องหรือผู้เขียนเขียนผิดเกิดจากการทำงานเร็วหรือว่าเผลอ    ต้องขอรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยตัวเองทุกประการ     )

แสดงความคิดเห็น

3 ความคิดเห็น

ธามธีระ 24 เม.ย. 52 เวลา 05:22 น. 1

ผู้เขียนได้จัดตัวอักษรให้พออ่านสบายขึ้น ตามคำคอมเม้นท์ของผู้อ่าน   ไม่ยาวพรวดเหมือนเดิม ต้องขออภัยด้วย  จบแล้ว  

0
Sirisobhakya 24 เม.ย. 52 เวลา 06:12 น. 2

คอมเมนต์สำคัญของผมที่บอกซ้ำบอกซากไปไม่รู้กี่ทีแล้วคือ เอาไปลงในหน้าบทความเถอะครับ

มาตรงนี้ไม่มีใครอ่านหรอก เกะกะบอร์ดด้วย มาทีก็เป็นพืด
แล้วการเรียงคำก็ไม่มีหลักการอะไรเลย มั่ว เรียงตามความหมายก็ไม่ใช่ ตามตัวอักษรก็ไม่ใช่
ควรทำเป็นหมวดๆ เช่นหมวดแรกคำทักทาย หมวดที่สองสรรพนาม หมวดที่สามอาหาร หมวดที่สี่คำถาม-คำที่ใช้บ่อย ฯลฯ เพราะเรียงแบบนี้ใครจะหาเจอว่าคำที่ต้องการอยู่ไหน ยิ่งไม่ใช่ภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน

จริงอยู่ภาษากูยนั้นน่าสนใจ โดยเฉพาะผมที่สนใจภาษาถิ่น แต่เอามาลงแบบนี้ทำให้ผมเอียนไปเยอะ
เอาไปลงในหน้าบทความ แล้วจะมีคนอ่าน มีคนสนใจมากขึ้นแน่นอน


PS.  Mju AERO [Who are We? INTANIA!!!] Boeing 747-4D7 Thai Airways GE CF6-80C2B1F HS-TGX Sirisobhakya
0
วายุ 29 มิ.ย. 62 เวลา 11:23 น. 3-1

ชนชาติ กูย โกย กวย (กูยแปลว่า คน )เป็นตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร มีหลายพี้นที่ครับ

เช่น ในไทย ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา

ในลาว ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้

ในกัมพูชา จังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตึงแตรง

เเละใน เวียดนามนิดหน่อย

ภาษากูย แยกออกมาอีก 2ภาษา คือ ภาษาเยอ กับ ภาษา เขมร

กูย อยู่มาเเล้ว 3000กว่าปี(ในพื้นที่ๆบอก) ถ้าให้เล่าคงยาว ข้อมูลเพิ่มเติมหาในเน็ตเลยครับ

0