Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทคนิคการแพทย์ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่








  




                                                              










ประวัติความเป็นมาของการเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ มบส.

     เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ศาสตราจารย์นายแพทย์พยงค์ จูฑา ผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์
สุธนเถียรยานนท์คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองศาสตราจารย์อนันต์ สกุลกิม อาจารย์อาวุโส ปรึกษาหารือและตกลงใจร่วมกันเพื่อเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต (ทพ.บ.)ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยเห็นพ้องต้องกันว่าคณะมีความพร้อมในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั้งด้านทรัพยากรทางกายภาพและทรัพยากรบุคคล
     เดือนกันยายน พ.ศ.2550 ตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ กรรมการร่างหลักสูตร และทำประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยใช้วิธีรับตรงจากโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยจำนวน 60 คน
     วันที่  27   ธันวาคม พ.ศ. 2550  นำร่างหลักสูตรเข้าวิพากษ์หลักสูตร โดยเชิญวิทยากรจากคณะเทคนิคการแพทย์  มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 6 ท่านเป็นกรรมการวิพากษ์
     วันที่   9  มกราคม พ.ศ. 2551 นำร่างหลักสูตรเข้าขออนุมัติจากสภาวิชาการ 
     วันที่  25 มกราคม พ.ศ. 2551 นำร่างหลักสูตรเข้าสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุญาตเปิดสอนก่อนที่จะนำส่งสภาเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้รับรองหลักสูตรและเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 
     วันที่ 9  มีนาคม พ.ศ.  2551    นำร่างหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต(ทพ.บ.) ส่งสภาเทคนิคการแพทย์เพื่อขอให้สภารับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต 
     วันที่ 25  เมษายน 2551 นำร่างหลักสูตรฉบับที่ส่งสภาเทคนิคการแพทย์ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยเพื่อเปิดสอนให้ทันในภาคเรียนที่ 1/2551 ตามเกณฑ์การเปิดสอนหลักสูตรใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่กำหนดให้ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยก่อนเปิดสอน
     วันที่  31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นำร่างหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยส่ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อให้รับทราบการเปิดสอน และเพื่อการรับรองหลักสูตร
     วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.  2551  นิสิตปี 1 รุ่นแรกเปิดเรียน
     วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552  สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรจากหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต (ทพ.บ.) เป็นหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ชื่อย่อ วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) เพื่อให้สอดรับกับชื่อปริญญาของสภาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ


ความเป็นมาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

     คณะกรรมการบริหารหลักสูตรชุดแรกประกอบด้วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน และที่ปรึกษาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 3 ท่านคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ศาสตราจารย์นายแพทย์พยงค์ จูฑา รองศาสตราจารย์พรรณี พิเดช และมีหัวหน้าสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ทุกสาขาวิชาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
     ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรชุดปัจจุบันประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุษบา มาตระกูล เป็นประธานกรรมการบริหารหลักสูตร และมีกรรมการบริหารอีก 5 ท่านคือ รองศาสตราจารย์ นารา ผริตโภคี อาจารย์นันท์นภัส เติมวงศ์ อาจารย์พจมาน ผู้มีสัตย์ อาจารย์สุนิศา มลิจันทร์บัว และมีอาจารย์นันทวดี เนียมนุ้ย เป็นกรรมการและเลขานุการ

ความเป็นมาของภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เมื่อเริ่มเปิดสอน สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์สังกัดอยู่ในภาควิชาวิทยาศาสตร์ โดยมีอาจารย์ ศรีสุดา ไชยพยอมเป็นหัวหน้าภาควิชา ต่อมาอาจารย์ ดร. อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์แทน และมีรองศาสตราจารย์อนันต์ สกุลกิม ทำหน้าที่ประธานสาขาวิชา
     วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552  เพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรผู้ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์อื่น สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้จัดตั้งภาควิชาเทคนิคการแพทย์ ใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอธิการบดีได้แต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบา มาตระกูล ทำหน้าที่หัวหน้าภาควิชาเทคนิคการแพทย์ เป็นคนแรกตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2552 เป็นต้นไป
     ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แบ่งหน่วยงานบริหารในระดับภาควิชาเพียง 3 ภาควิชาคือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และภาควิชาเทคนิคการแพทย์

งบประมาณสนับสนุนการบริหารหลักสูตร
     เนื่องจากหลักสูตรเทคนิคการแพทย์เป็นหลักสูตรปริญญาวิชาชีพ จึงมีองค์กรที่ควบคุมการกระบวนการผลิตบัณฑิตตามกฎหมาย ซึ่งจะควบคุมกระบวนการผลิตโดยการออกข้อบังคับให้มหาวิทยาลัยปฏิบัติ  ดังนั้นเมื่อสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบให้เปิดสอน มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนงบประมาณทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นครุภัณฑ์พื้นฐานทุกชนิด อาจารย์ผู้สอน การจัดหาตำรา หนังสือคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ควบคุมห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ธุรการ ตลอดจนการให้ความร่วมมือจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทุกสาขาวิชา ดังนั้นปัจจุบันภาควิชาเทคนิคการแพทย์ จึงมีปัจจัยทุกตัวครบตามข้อบังคับของสภาเทคนิคการแพทย์ และครุภัณฑ์บางอย่างกำลังดำเนินการจัดซื้อเพิ่มเติมให้เพียงพอกับจำนวนนิสิตขณะปฏิบัติการ ในปีงบประมาณ 2553  นี้ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ได้รับงบประมาณสนับสนุนดังนี้

    งบประมาณจากค่าพัฒนาสาขาวิชา 3,500,000 บาท
    • งบประมาณจัดหาครุภัณฑ์ 7,300,000  บาท
    • งบประมาณจากสำนักงบประมาณอีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการจัดหาวัสดุการเรียนการสอน

รายชื่ออุปกรณ์และครุภัณฑ์ที่จัดซื้อเพิ่มเติมเสร็จแล้ว
(งบประมาณปี 2552)

1.

เครื่องวัดการดูดกลืนแสงของสารละลาย (Spectrophotometer และ Photometer)

4 เครื่อง

2.

ตะเกียงบุนเสนไฟฟ้าอัตโนมัติ

24 ตัว

3.

ตู้บ่มเพาะเชื้อแบบคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Incubator)

1 ตู้

4.

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด 2 กระบอกตา

40 กล้อง

5.

เครื่องผสมสารละลาย (Vortex-Genie II Mixer )

6 เครื่อง

6.

ตู้แช่แข็ง -20 0C ขนาด 382 ลิตร (13.5 Cu.Ft.)

2 ตู้

7.

บล็อกควบคุมอุณหภูมิระบบดิจิตอล รุ่น TB-DB80(Heating Block)     

2 เครื่อง

8.

อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิแบบหมุนเวียนภายใน (Water Bath)   

4 เครื่อง

9.

เครื่องปั่นตกตะกอน (Centrifuge) 

4 เครื่อง

10.

ตู้เย็นเก็บเลือด     

4 ตู้

11.

ชุดดูดปล่อยสารละลายอัตโนมัติ(Autopipette)

32 ชุด

12.

เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดัน(Autoclave)

1 เครื่อง

13.

ตู้บ่มเพาะเชื้อจุลินทรีย์(Incubator) 

1 ตู้

14.

เครื่องปั่นฮีมาโตคริต (Hematocrit Centrifuge)          

2 เครื่อง

15.

ตู้เก็บกล้องจุลทรรศน์

10 ตู้ ตู้ละ 6 ตัว

16.

เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา

1 เครื่อง

17.

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

16 เครื่อง

18.

เครื่องโทรสาร

1 เครื่อง

19.

เครื่องพิมพ์เลเซอร์

6 เครื่อง

20.

เครื่องชั่งไฟฟ้า   

1 เครื่อง

21.

เครื่องปั่นตกตะกอนสำหรับธนาคารเลือด

6 เครื่อง

22.

ถังบ่มเชื้อชนิดไร้ออกซิเจน (Anaerobic jar)

3 ถัง

23.

เครื่องเขย่าตามแนวนอน (Rotator)

1 เครื่อง

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อครุภัณฑ์ที่กำลังดำเนินการจัดซื้อ ในปีงบประมาณ 2553
(เริ่ม  1  ตุลาคม  2552)

1.

เครื่องวัดการดูดกลืนแสงของสารละลายพร้อมอุปกรณ์

2 เครื่อง

2.

เครื่องปั่นตกตะกอน (Centrifuge)

2 เครื่อง

3.

อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิแบบมีระบบน้ำวน

1 อ่าง

4.

เครื่องวัดกรด-ด่าง (pH meter)

6 เครื่อง

5.

เครื่องปั่นตกตะกอน พร้อมระบบควบคุมอุณหภูมิ

1 เครื่อง

6.

เครื่องแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrophoresis Set) พร้อมอุปกรณ์ 

2 เครื่อง

7.

ชุดตรวจสอบสารพันธุกรรมในแนวนอน (Horizontal Electrophoresis System)
พร้อมชุดถ่ายภาพแบบ Flash Gel Camera

2 เครื่อง

8.

ตู้บ่มเพาะเชื้อจุลินทรีย์ (Incubator)               

1 ตู้

9.

Biosafety cabinet

2 ตู้

10.

เครื่องปั่นทางธนาคารเลือด

3 เครื่อง

11.

เครื่องตรวจวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดระบบอัตโนมัติ

1 เครื่อง

12.

ชุดดูดปล่อยสารละลายปริมาตร 0.5-10 ul

12 ชุด

13.

ชุดดูดปล่อยสารละลายปริมาตร 10-100 ul   

6 ชุด

14.

ชุดดูดปล่อยสารละลายปริมาตร 20-200 ul

12 ชุด

15.

ชุดดูดปล่อยสารละลายปริมาตร 100-1000 ul

12 ชุด

16.

เครื่องดูดสารละลายปริมาตรน้อย 8 หัว        

12 ชุด

17.

เครื่องปั่นฮีมาโตคริต (Hematocrit Centrifuge )

1 เครื่อง

18.

เครื่องนับแยกเม็ดเลือด (Differential Cell Counter) 

6 เครื่อง

19.

เครื่องวัดความถ่วงจำเพาะปัสสาวะ (Refractometer)

3 เครื่อง

20.

เครื่องอ่านปฏิกิริยาบนไมโครเพลท (ELISA READER)

1 เครื่อง

21.

กล้องจุลทรรศน์ชนิด 2 กระบอกตา

25 กล้อง

22.

กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์

1 กล้อง

23.

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

10 เครื่อง

24.

คอมพิวเตอร์พกพา

1 เครื่อง

25.

โพรเจกเตอร์

1 เครื่อง



ภาควิชาเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประกาศรับสมัครนิสิตเทคนิคการแพทย์ ประจำปีการศึกษา2553

ด้วยสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2553 ด้วยวิธีการรับตรง จำนวน 30 คน ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เรียนสายวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ และมีผลการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 5 ภาคเรียน
2. ส่งใบสมัคร ใบ รบ. และพร้อมโอนเงินค่าสมัคร 500 บาท เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มบส. เลขที่บัญชี 401-340669-7 สาขาย่อยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่งหลักฐานการฝากเงิน ถึงสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ เขตธนบุรี กทม. 10600 โดยส่งวันสุดท้ายคือ วันที่ 11 มกราคม 2553 (รับใบสมัครวันสุดท้ายจากการประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง) หรือส่งทางโทรสาร หมายเลข 02-473-7000 ต่อ 3932
3. นักเรียนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถสมัครโดยตรงที่สาขาวิชาได้ในวันและเวลาราชการทุก
วันจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2553
4. มหาวิทยาลัยจะจัดเลขที่นั่งสอบและแจ้งทาง เว็ปไซต์ www.sci.bsru.ac.th/dept/mt ให้ไปสอบคัดเลือกตาม
ห้องและสถานที่ที่จัดไว้ในวันเสาร์ที่ 16 และอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. โดยจะสอบคัดเลือกจากวิชา คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษในระดับมัธยมตอนปลาย ดังนี้
กำหนดการสอบ
วันเสาร์ ที่ 16 มกราคม 2553
เวลา 9.00 - 11.00 น. สอบวิชาฟิสิกส์ 100 คะแนน
เวลา 12.00 - 14.00 น. สอบวิชาภาษาอังกฤษ 100 คะแนน
เวลา 14.30 - 16.30 น. สอบวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน
วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2553
เวลา 9.00 - 11.00 น. สอบวิชาเคมี 100 คะแนน
เวลา 13.00 - 15.00 น. สอบวิชาชีววิทยา 100 คะแนน

สนใจสอบถามได้ที่ on.the-rock@live.com 
ต้อมเทคนิคการแพทย์บ้านสมเด็จ หรือ
http://sci.bsru.ac.th



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 ธันวาคม 2552 / 16:31
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 6 ธันวาคม 2552 / 23:35
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 7 ธันวาคม 2552 / 00:22
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 7 ธันวาคม 2552 / 00:43

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

เด็กเจาะเลือด 7 ธ.ค. 52 เวลา 00:32 น. 5

ขนาดเครื่องspectophotometer ยังใช้แบบ touch skin  ต่างกับอีกมหาลัยหนึ่งที่ต้องใช้ระบบตบ คงรู้นะมหาลัยไหน

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 7 ธันวาคม 2552 / 00:37
0
ขิมิๆqq 31 ม.ค. 54 เวลา 19:59 น. 7

ถ้ามีคุณภาพจริง ก็ต้องผ่านการรับรองจากสภาสิ
จะมาคุยก็ขอให้มีหลักฐานบ้างอะไรบ้างเนอะ

0