Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ผมขอแย้งคำตอบของ ดร. อุทุมพรครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผมขอแย้งคำตอบของ ดร. อุทุมพรครับ
จากคำถามที่ว่า

้ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนได้ดีที่สุด

1. หยุดเรียนไประยะหนึ่งเพื่อคลอดลูก
2. ทำแท้งเพราะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้
3. ลาออกจากโรงเรียนแล้วหางานทำเพื่อลูก
4.แจ้งความเพื่อหาผู้รับผิดชอบ

ข้อนี้ ดร. ท่านตอบ ข้อ 1

แต่ในความคิดของผม
ข้อ 4 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าตอบนะครับ
ถ้าเราแจ้งความ เรามีโอกาสที่จะชนะคดีนะครับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 บัญญัติว่า
“ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบ ห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 4,000 ถึง 20,000 บาท”

ความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ เป็นการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไป หรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ของเด็กหรือผู้เยาว์นั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กหรือผู้เยาว์

หากการพรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เช่น พาไปกอดจูบลูบคลำ ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษหนักยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหากมีการร่วมประเวณีหรือมีเพศสัมพันธ์กัน ผู้นั้นจะต้องถูกดำเนินคดีข้อหาข่มขืนกระทำชำเราอีกข้อหาหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักมาก

ตรงนี้สำคัญครับ
แม้ผู้เยาว์นั้นจะยินยอมไปด้วย ผู้ที่พรากก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 4,000 บาท ถึง 20,000 บาท”

เช่น แดงพบเด็กหญิงเขียวจึงชวนไปเที่ยวค้างคืนที่พัทยา โดยไม่ได้ขออนุญาตจากบิดามารดาของเด็กหญิงเขียว แม้แดงจะไม่ได้ล่วงเกินเด็กหญิงเขียวก็ตาม ถือว่าแดงมีความผิดฐานพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร หากแดงล่วงเกินทางเพศเด็กหญิงเขียว แดงจะต้องได้รับโทษที่หนักขึ้น



ถ้า ความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท"





ผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษ หลบหนีออกจากบ้านมาอยู่กับจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบิดา จำเลยพาผู้เสียหายไปห้องอาหาร ใส่ชุดว่ายน้ำเพื่อออกไปเดินโชว์ จำเลยจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2543 ว่า

ผู้เสีย หายหลบหนีออกจากบ้านมาอยู่กับจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบิดา แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุเพียง 13 ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของบิดา จำเลยได้พาผู้เสียหายไปตามห้องอาหารต่าง ๆ โดยบิดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วย เป็นการล่วง อำนาจปกครองของบิดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจาก บิดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาแล้ว ทั้งการเดินโชว์ ชุดว่ายน้ำของเด็กหรือการต้องยอมให้แขกผู้ชายที่มาเที่ยวจับหน้าอกในห้อง อาหารต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กไป โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร

ส่วนข้อ 3 ก็พอจะทำได้นะครับ  คนท้องก็มีโอกาสที่จะหางานได้นะครับ ทำประเภท Call Center หรืออะไรที่นั่งอยู่กับที่ก็ได้ครับ



ผมคิดว่า เรามีโอกาสชนะคดีนะครับ หากแจ้งความ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยลึกกว่านี้เรามิอาจรู้ได้
ลองดู
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549 กรณีคล้ายกันครับ
ผมโพสต์ไว้ที่ ความเห็นที่ 19



อีกประเด็นนึงนะครับ เรื่องข้อสอบ


เพราะเห็นว่า ต้องการจะแยกนักเรียนที่เก่งและไม่เก่งออกจากัน ป้องกันการสุ่มเดา

แต่ในความเป็นจริง คนที่มีความรู้จริงๆ และสามารถทำข้อสอบลึกๆ (อย่างเช่น สังคมศึกษาที่มีให้ตอบหลายตัวเลือก) มีจำนวนน้อย

แต่ คนที่พอจะรู้บ้าง และคนที่ไม่รู้เลย มีจำนวนมาก

ดังนั้น หากต้องการจะแบ่งแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ 

ซึ่งในที่นี้ มีการแย่งแยกโดยใช้คะแนนเป็นตัววัด คือ ได้คะแนน และไม่ได้คะแนน 

กลุ่มนักเรียนที่ใช้เกณฑ์นี้แยกออกมาควรจะมีจำนวนเท่าๆกัน

แต่กลับกลายเป็นว่า

คนที่รู้ลึก ซึ่งคิดเป็นส่วนน้อยมาก จะได้คะแนน

ส่วนคนที่รู้เกือบลึก คนที่พอรู้ คนที่พยายามทำ คนที่ไม่ทำ คนที่มั่ว กลับไม่ได้คะแนน เหมือนกัน

แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์แบ่งการวัดของนักเรียนกลุ่มหลังนี้ครับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2553 / 23:49
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:10
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:23

แสดงความคิดเห็น

59 ความคิดเห็น

เฮ่อ 24 ก.พ. 53 เวลา 23:44 น. 1

เห็นด้วยครับ เพราะอันที่จริงแล้ว การหยุดเรียนไประยะหนึ่งเพื่อคลอดลูก ก็เท่ากับการลาออกดีๆ นี่เอง จะมีใครไหมครับที่ลอดลุกเสร็จจะกลับไปเรียนในโรงเรียนได้เหมือนเดิม?

0
ต.ตามนั้น 24 ก.พ. 53 เวลา 23:45 น. 2

เค้าเอาที่ "ดีที่สุด"

มีสติหน่อยๆ

ข้างล่างนี่ผมโพสต่อหลังจากโดน จขกท. และ คห.9 ถามและแย้งว่า
ดีที่สุดมันเป็นไง

ผมก็สงสาร ม.6 ปีนี้ เหมือนกันคับ แต่อันไหนถูกผมก็ว่าไปตามถูก
ใครก็ได้ช่วยโพสสถานการณ์เต็มๆ หรือเกือบเต็มให้ทีนะคับ พอดีไม่ได้สอบ
จำโจทย์ไม่ได้ คร่าวๆว่าเที่ยวกลางคืน มีเพื่อนชายมาติดพัน
สิ่งที่ควรทำก็คือหยุดเรียนไปคลอดลูกไม่ใช่หรอ

ไปแจ้งความแบบ จขกท. แล้วเรียนทั้งๆที่ท้องป่อง ???
เห็นไหมว่ามันไม่ได้
แต่ๆๆๆ ถ้าหยุดเรียนไปคลอดลูก แล้วไม่แจ้งความ << ก็ทำได้ใช่ไหมละ
(โจทย์ให้เลือกอันแค่อันเดียวนะ)

ผมอยากจะยกตัวอย่างดังนี้
ข้อสอบพื้นฐานแพทย์ของ กสพท. พาร์ท 2 จริยธรรม 
ข้อสอบประมาณที่ จขกท. ยกมานั่นแหละ กำกวมกว่าด้วยซ้ำ
ใครไปสอบมาก็คงรู้ ใน 1 ข้อ มีข้อถูกหลายช้อย
แต่ละช้อยคะแนนลดหลั่นกันลงไป ซึ่งแน่นอนว่ามีช้อยนึงคะแนนเยอะสุด

ผมก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าช้อยนั้นเค้าเอาอะไรมาวัด 
ใช้มาเกิน 3 ปี ไม่เห็นจะมีใครเรียกร้องเป็นเรื่องราวใหญ่โต
ก็เพราะว่ามันพอรับได้ไงคับ 
แต่อย่างข้อผ้าปูโต๊ะเงี้ย มันไม่ใช่แล้ว สมควรเรียกร้อง ที่ ม.6 ทำกันอยู่ก็ถูกต้องแล้ว




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:31
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:33
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:35
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:34
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2553 / 00:42

0
visavavit 24 ก.พ. 53 เวลา 23:49 น. 3
คห. 2 ครับ

แล้วคุณรู้ได้อย่างไร ว่าอันไหนดีที่สุดครับ

มีสติหน่อยครับ ที่ผมมาโพสต์นี่ไม่ใช่ว่าผมไม่มีที่เรียนนะครับ  ผมติดสอบตรง โควตาต่างๆหลายที่เหมือนกันนะครับ แต่ผมสงสารเพื่อนๆ และมาตรฐานของข้อสอบครับ

ความคิดของคนเรานั้นต่างกัน

คุณเอาอะไรมาเป็นตัววัดครับ ว่ามันดีที่สุด

ในเมื่อเราไม่รู้สถานการณ์ที่แน่ชัด

และผมขอถามว่า คำตอบข้อที่ 1 มันดีกว่าข้อที่ 4 ตรงไหนครับ
สมมติว่า ในกรณีที่ 4 เราสามารถชนะคดี แต่เรากลับไม่ทำ เรากลับลาออกไปคลอดลูก แล้วไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2553 / 23:55
0
Hellzen 24 ก.พ. 53 เวลา 23:52 น. 5

ปัญหาที่แท้จริงคือโจทย์ไม่ได้ระบุสถานการณ์มาชัดเจนครับ

เช่น

1.โจทย์ไม่ได้ระบุว่าโดนข่มขืนหรือสมยอม
2.โจทย์ไม่ได้ระบุว่าเป็น นร.ชั้นใด
3.โจทย์ไม่ได้ระบุถึงสถานภาพทางบ้านของ นร. เช่น ฐานะของครอบครัว ความคิดเห็นของผู้ปกครอง

0
เหอๆ 24 ก.พ. 53 เวลา 23:55 น. 8

 นี่หรอ ที่พวกแกเรียกว่าบันฑิต



แถเข้าไปๆ    แถยิ่งกว่าอุทุมพรอีก  เอาเข้าไป





อยากจะชนะนักนี่   เค้าเฉลยแทนที่จะยอมรับ   ชนะแล้วไง

0
มณีมนต์ 24 ก.พ. 53 เวลา 23:56 น. 9
ขอแย้งคห.2 นิดนึง
"ดีที่สุด" ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ
A ชอบสีแดง"ที่สุด", B ชอบสีเหลือง"ที่สุด", C ชอบสีน้ำเงิน"ที่สุด"
อ้าว แล้วยังไง? แสดงว่าสีอื่นไม่สวยเหรอ? ถ้างั้นก็ควรจะล้มๆมันทิ้งจากระบบไปสิ งั้นเหรอคะ? 

ส่วนตัวแล้วเราเลือกตอบข้อ 1
แต่คิดว่าเ้จ้าของกระทู้คิดได้มีหลักการมากๆค่ะ 
เพราะถ้าหากข้อมูลที่นำมาชี้แจงถูกต้องเป๊ะทุกอย่าง เราคิดว่า.. ข้อสี่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดมากกว่าอ่ะค่ะ
อย่างน้อยมันก็ดีกว่าการลาออกไปคลอดลูกที่เจ้าตัวยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเลี้ยงดูด้วยตนเองล่ะนะ...

ปล. นอกเรื่องนิดหน่อย แต่ขอปรบมือให้เจ้าของกระทู้สำหรับข้อมูลค่ะ ไม่เคยคิดถึงด้านนี้มาก่อนเลย (ฮา)
ปล๒. ความเห็นส่วนบุคคลค่ะ แย้งได้ แต่ขอแบบสร้างสรรค์นะคะ :))

PS.  who knows what miracles.. you can achieve. when you believe somehow you will, you will when you believe :)
0
visavavit 25 ก.พ. 53 เวลา 00:00 น. 10

คห. 8 ครับ

ผมไม่ได้ไม่ยอมรับคำเฉลยนะครับ ผมเองเป็นนักเรียนนะครับ ไม่มีสิทธิที่จะไปแก้ไขคำตอบที่ออกมาอยู่แล้ว
แต่ที่ออกมาแสดงออกแบบนี้ เพราะต้องการให้สังคมรู้จักมองหลายๆด้าน

ให้รู้ว่า บางคำถาม ไม่ได้มีคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว
และไม่ควรใช้ความคิดของคนออกข้อสอบเป็นตัวกำหนดคำตอบ

เพราะมันเป็นข้อสอบที่วัดการวิเคราะห์ แต่กลายเป็นว่าต้องวิเคราะห์ให้ตรงกับผู้ออกข้อสอบ
กลายเป็นว่า ประเทศเราจะได้คนที่มีความคิดด้านเดียว มองทุกอย่างเหมือนกันหมด


แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป

0
นิสิตคณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร 25 ก.พ. 53 เวลา 00:02 น. 12

จขกท น่ะ ผิดแล้วครับ

ถ้าเด็กอายุเกิน 15 ปีก็ไม่เข้ามาตรานี้
15 ปีก็ ม.3 2 1&nbsp ต่ำกว่านี้ก็ ป.6 ไม่น่าอยู่ในข่ายการตั้งครรภ์

กว่า 15 ก็ ม. 4&nbsp 5&nbsp 6&nbsp &nbsp  ปี 1 2 3 4

ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 15+

ดังนั้นไม่อาจแจ้งความ หรือ ฟ้องศาลได้ครับ (ในกรณีที่ผู้เยาว์ยินยอม)


ฉะนั้น ข้อ 4 ใช้ไม่ได้เสมอไปครับ และอาจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะการแจ้งความคดีอาญาอาจทำให้ผู้ต้องรับโทษมาทำร้ายผู้เสียหายได้
ฉะนั้นจึงไม่ใช่คตอบที่ดีที่สุด

เพราะถ้าเราไม่แจ้งความคดีอาญา เรายังสามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งให้ผู้เป็นบิดาที่แท้จริงรับเด็กเป็นบุตรได้ด้วยการตรวจดีเอ็นเอ เมื่อปรากฏว่าเป็นบุตรแล้ว บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

0
Hellzen 25 ก.พ. 53 เวลา 00:06 น. 13

เอ่อ.... ทะเลาะกันเองแล้วจะได้อะไรดีขึ้นมาล่ะครับ

ตามความเห็นผมคือโจทย์น่ะแหละที่ผิดเอง เพราะโจทย์เชิงวิเคราะห์ควรอย่างยิ่งที่จะต้องชี้แจงระบุถึงสถานการณ์ต่างๆให้ชัดเจน

โดยที่สถานการณ์ทุกๆอย่างที่เรามองข้ามไปก็ล้วนมีผลเปลี่ยนแปลงคำตอบทั้งนั้น

ปล.แสดงความเห็นได้ ติได้ แต่ขอเชิงสร้างสรรค์กันนะครับ

0
Pippin 25 ก.พ. 53 เวลา 00:07 น. 14

ถูกๆๆๆ ถูกอย่างมีหลักการไม่ใช่พูดไปเหมือนใครบ้างคน

ต้องเจอของจริงแบบนี้!!

เจ๊ประเมินเด็กว่าไงหรอ โง่มากหรอที่จะเชื่อที่เจ๊พูดน่ะ -*-

ตอนฟังแล้วเหมือนกุโคต รกลวงเลย

0
ReJis 25 ก.พ. 53 เวลา 00:15 น. 15

พูดกันไปพูดกันมา เข้าไปเรื่อง กฏหมายกันนุ้นละ

เห้อ&nbsp !!&nbsp ทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยากกันไปทำไม

0
visavavit 25 ก.พ. 53 เวลา 00:18 น. 16

ลองดู คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549 กรณีคล้ายกันครับ

ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมนั้น จำเลยมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดาและผู้ปกครองดูแลผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง

การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วย หรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

ดูการตัดสินของศาลฏีกา ในกรณีนี้นะครับ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราทั้ง 2 ครั้ง และเมื่อฟังว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราแล้ว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและฐาน พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยตามคำพิพากษาของศาล อุทธรณ์ด้วย อย่างไรก็ตามการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสีย หายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรานั้น จำเลยก็มิได้รับอนุญาตจากบิดาและพี่ชายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ ปกครองดูแลผู้เสียหายให้พาผู้เสียหายไป จึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ซึ่งแม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์บางส่วน ส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ความผิดฐานพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 กับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 318 วรรคสาม เป็นความผิด 2 กรรมต่างกันนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไป เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา 319 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก.


ลองคิดในสภาพจริงนะครับ ใครที่ไหนจะยินยอมและอนุญาตให้ลูกตัวเองโดนคนอื่นพาไปกระทำชำเรา


0
...BorinG iN My World... 25 ก.พ. 53 เวลา 00:19 น. 17
ผมว่าไอคำถามข้อนี้ลองไปถามๆค้นๆที่พันทิปอาจจะได้อะไรเติมๆเสริมๆมาบ้าง
แต่เหมือนอันเก่าๆเขาก็มีพูดๆกันเรื่องช้อย4ข้อนี่เหมือนกันครับ กฎหมายด้วยมั้ง

คุณอุทุมพรแกดริฟท์เก่งครับ แชมป์ดริฟท์แม่ฮ่องสอนแน่ๆ(น่าจะเอาไปทำหนังแข่งกับภาพยนตร์บางเรื่อง)
คำตอบของเขาแก่สังคมเหมือนมีคำแถกแทบทั้งหมด(เรื่องมาตรฐานข้อสอบน่ะครับ เหมือนเขาจะย้ำจังว่าโรงเรียนมันผิด)
..ไม่ขอใช้แถนะครับมันน้อยไป


ปล. เลขไอพี
113.53.54.45 คุ้นๆเหมือนจะเคยเห็นแถวกระทู้ล่างๆ

PS.  หยดเลือดรินอาบไหล กับลมหายใจที่ถึงคราวสิ้นสุด ทุกอย่างคือจุดเริ่มของเรื่องมากมาย แสนวุ่นวายและสับสน เกี่ยวกระหวัดเป็นเรื่องราว ..สู่ปมแห่งชีวิตเบื้องหลังคราวหมดลม..(The Whisper เสียงกระซิบแห่งภูต)
0
เอเน็ตปีสุดท้าย 25 ก.พ. 53 เวลา 00:38 น. 19

แอดไปเมื่อปีที่แล้ว

แต่ยอมรับเลยว่าครั้งแรกที่เห็นข้อสอบจากข่าวก็ตอบข้อสี่

เพราะจากชีวิตจริงส่วนใหญ่  ถ้าผู้ชายไม่ยอมรับ(จากข้อสอบที่ผู้ชายให้ไปทำแท้ง  แปลว่าน่าจะไม่รับนะ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงมักจะแจ้งความ  เพื่อให้ผู้ชายมารับผิดชอบ  หรืออย่างน้อยๆ ก็ร้องเรียกค่าเสียหาย

ส่วนหยุดเรียนไปลาคลอดอ่ะ  ครั้งแรกที่ฟัง มันเหมือนกับหยุดชั่วคราว หรือคลอดแล้วกลับมาใหม่

แต่เท่าที่เคยเห็น จะมีแต่ออกแล้วออกเลยนะ

แล้วอีกข้อนึง  คนท้องทำงานได้มีถมเถไปอ่ะ

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอ  ก็อย่าแถเถอะ

คนเราต่้างมีเหตุผลเพื่อรองรับการติดสินใจของตัวเองทั้งนั้น

ถ้าคุณไม่ดูเฉลยมาก่อน  จะตอบได้ไหม????

0
ภคมณฑ์ 25 ก.พ. 53 เวลา 00:39 น. 20

สรุปคือคนออกข้อสอบ "ง่าว"

ไปตายซะ!!!!!


PS.  ^^ ฉันคงไม่กล้ารักใครเท่าเธออีกแล้ว ....รู้แล้วว่าเจ็บเจียนตาย...เธอเลือกที่จะทิ้งสิ่งที่ฉันมีให้ไปเอง ลาก่อนที่เคยรักกัน
0