Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำเตือน คณะวิศวฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรเพียง 3 สาขาจากทั้งหมด 8 สาขา น้องๆ ที่จะเลือกเรียนโปรดระวังเรื่องการขอใบอนุญาตวิศวกรด้วยเพราะหลักสูตรไหนไม่ได้รับการรับรองนั้นจะขอใบอนุญ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากการตรวจสอบกับฐานข้อมูลของสภาวิศวกร พบว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการรับรองหลักสูตรผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 3 สาขาจากทั้งหมด 8 สาขา คือ 1.วิศวกรรมเครื่องกล 2.วิศวกรรมอุตสาหการ 3.วิศวกรรมเคมี เท่านั้น

ส่วนสาขาวิชาที่เหลือคือ 1. ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ 2. วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ 3. วัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี 4. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ 5. วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ นั้นไม่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรในขณะนี้

ที่มา www.coe.or.th

ตรวจหลักสูตรที่รับรอง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่รับรอง จึงสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกร ได้

สถาบันการศึกษา :   มหาวิทยาลัยศิลปากร วข.พระราชวังสนามจันทร์
    
ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ    
1 วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล 2545 เครื่องกล 2545 2549 12/2548 17-10-2548
2 วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล 2545 เครื่องกล 2546 2550 1/2550 09-07-2550
3 วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล 2545 เครื่องกล 2551 2555 1/2552 15-06-2552
4 วศ.บ. วิศวกรรมอุตสาหการ 2542 อุตสาหการ 2542 2545 7/2546 19-05-2546
5 วศ.บ. วิศวกรรมอุตสาหการ 2545 อุตสาหการ 2545 2549 12/2548 17-10-2548
6 วศ.บ. วิศวกรรมอุตสาหการ 2542 อุตสาหการ 2542 2545 7/2546 19-05-2546
7 วศ.บ. วิศวกรรมเคมี 2546 อุตสาหการ 2547 2551 0/2551 10-11-2551
8 วศ.บ. วิศวกรรมเคมี 2551 เคมี 2551 2555 0/2552 09-03-2552
9 วศ.บ. วิศวกรรมเคมี 2546 เคมี 2547 2551 0/2552 12-01-2552

แสดงความคิดเห็น

กระทู้นี้ถูกปิดการแสดงความคิดเห็น

27 ความคิดเห็น

Monkey - ninja - No.4 17 พ.ค. 53 เวลา 09:27 น. 1

สภาวิศวกรรมหรอ เพิ่งเคยได้ยินเเฮะ ๕๕๕ ความรู้ใหม่ ๕๕๕๕


PS.  ป.ล.พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้า นามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ( ๑๑oปีชาติกาลรัฐบุรุษอาวุโส ศ.ดร.ปรีดีพนมยงค์ )
0
พี่ 17 พ.ค. 53 เวลา 09:39 น. 4

สาขาอื่นๆที่เปิด ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับ สภาวิศวกรอยู่แล้วนิครับ เพราะว่าไม่ต้องไป ขอ ใบ กว.

น้องจะเข้าไปยุ่งกับ สภาวิศวกร ก็ต่อเมื่อ น้องต้องใช้ ใบ กว.&nbsp ซึ่งมี 3 ระดับ เมื่อก่อนจบมาได้เลย เดี๋ยวนี้สอบเอานะครับ

ใบ กว. จะกำหนดขอบเขตความสามารถน้อง ในการรับผิดชอบหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเช่น

เครื่องกล ตรวจหม้อไอน้ำ แรงดันสูง ไม่มีกว รองรับ เซ็นรับผิดชอบมั่ว ระเบิดตาย

โยธา เซ็นแบบตึก ไม่มี กว เซ็นแบบไปแล้ว ตึกถล่ม อะไรแบบนี้

0
อึ้น 17 พ.ค. 53 เวลา 09:44 น. 5

ใบกว. หรือ&nbsp ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำหนดไว้ว่าผู้ที่จบ วศ.บ สาขาที่จำเป็นต้องใช้คือ
1.วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
2.วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร(วิศวกรรมโทรคมนาคม)
3.วิศวกรรมอุตสาหกรรม
4.วิศวกรรมเหมืองแร่
5.วิศวกรรมโยธา
6.วิศวกรรมเครื่องกล

0
*-* 17 พ.ค. 53 เวลา 09:59 น. 6

ขอใบอนุญาตไม่ได้ = วิศวกรเถื่อน
ใช้คำดี ๆ ก้อได้

กากกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

มหาลัยใคร ใคร ก้อรัก

ไม่รู้จิงก้อหุบปากไป

ควาย

0
gdsgsd 17 พ.ค. 53 เวลา 10:05 น. 7

มั่วมาก รู้จัก กว. รึยัง จขกท.

ใบกว. หรือ&nbsp ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำหนดไว้ว่าผู้ที่จบ วศ.บ สาขาที่จำเป็นต้องใช้คือ
1.วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
2.วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร(วิศวกรรมโทรคมนาคม)
3.วิศวกรรมอุตสาหกรรม
4.วิศวกรรมเหมืองแร่
5.วิศวกรรมโยธา
6.วิศวกรรมเครื่องกล

0
ศิลปะ 17 พ.ค. 53 เวลา 10:09 น. 8

วิดวะศิลปะ+อากร

=วิดวะศิลปากร



เคลียร์ด่วนเลยยยยยยย




วิดวะเถื่อนจิงป่ะเนี่ย



อ๊ากกกกกก....สาขาไฟฟ้าวิดวะเถื่อนหรอหรือว่าไฟฟ้าไม่เปิด


เคลียร์ด่วนๆๆๆๆ

0
iMAC 17 พ.ค. 53 เวลา 10:28 น. 9

ตั้งกระทู้ ได้ติงต๊องมากเลย&nbsp คนอ่านถ้าไม่คิดตาม สถาบันก็เสียหายสิครับ ถ้าเสียหายเขาต้องฟ้องร้อง ถ้าฟ้องร้องก็ต้องฟ้องร้องเจ้าของกระทู้นี่แหละ

วิศวกรรมของศิลปากร ส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตร สหวิทยาการ&nbsp ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ใบประกอบอาชีพวิศวกรรม อยู่แล้ว เพราะมันไม่ได้อยู่ในกลุ่มควบคุม ซึ่งต้องเรียนเน้นทางด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม&nbsp ที่จะทำให้เรียนในบางวิชาหลักไม่ได้ในสี่ปี เพราะเวลาไม่พอ ดังนั้นสถาบันต่างๆ จึงไม่เน้นวิชาเหล่านั้นมากนัก เพราะจะทำให้ไม่สามารถให้ความรู้ในวิชาทางด้านการปฏิบัติการให้มากขึ้นได้&nbsp &nbsp ซึ่งก็มีหมดละครับทุกมหาลัย เพราะเขาทำการวิจัยหลักสูตรร่วมกับภาคเอกชน ว่าเอกชนต้องการอะไร ข้อสรุปคือ&nbsp เอกชนต้องการคนที่รอบรู้กว้างขวางครับ&nbsp ทำงานได้หลากหลายในคนคนเดียว&nbsp  ดังนั้นมันจึงเกิดหลักสูตรแบบ แมคคราทรอนิกส์ เกิดขึ้น ที่เป็นความรู้ประยุกต์&nbsp จากนั้นก็มีหลักสูตรประเภทสหวิทยาการ ขึ้นมากมาย&nbsp &nbsp ที่ประกอบอาชีพ โดยไม่จำเป็นต้องไปเซ็น ซ่อมโน่น ซ่อมนี่ หรือไปสร้างตึก

หลักสูตรสหวิทยาการ ที่ไม่ต้องใช้ ใบ กว&nbsp  มีมากมาย จะสรุปให้ดู
1. วิศวกรรมนาโน
2. วิศวกรรมพอลิเมอร์
3. วิศวกรรมชีวะการแพทย์
4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5. วิศวกรรมแมคคราทรอนิกส์ ( สาขานี้ไม่แน่ว่าอาจจะขอ กว ในหมวดเครือ่งกล ในอนาคต)
6. ปิโตรเคมีฯ
7. วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
8. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ฯลฯ&nbsp เยอะเหลือเกิน บรรยายไม่ไหว

หลักสูตร ไม่ได้สำคัญที่มีต้องไปสอบ กว หรือไม่&nbsp &nbsp  มันอยู่ที่ได้รับการรับรองจาก สมศ&nbsp หรือยัง&nbsp ถ้าได้รับแล้วแปลว่าเขาเห็นแล้วว่ามีประโยชน์ ให้จัดการเรียนการสอนได้

น้องที่เขียนทำความเข้าใจให้ดี&nbsp อย่าแสดงอะไรที่เป็นเรื่องรู้ไม่จริงออกมาให้มาก ไม่อย่างนั้น ตัวเราจะเสื่อมนะครับ
ไม่เข้าใจตรงไหนหลังไมค์กับพี่ได้ครับ9

0
10.45AM 17 พ.ค. 53 เวลา 10:44 น. 11

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยอื่น ถึงชื่อสาขาวิชาไม่ตรง ส่วนมากจะได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรทัังนั้น ก็จะได้รับการเทียบโอนให้ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งในขณะนี้มีทั้งหมด 8 สาขาคือ 1. วิศวกรรมโยธา 2. วิศวกรรมเครื่องกล 3.วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง 4.วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร 5.วิศวกรรมเหมืองแร่ 6.วิศวกรรมอุตสาหการ 7.วิศวกรรมเคมี 8.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 8 สาขา กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพทางด้านนี้ ต้องมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ตัวอย่างดูได้จากข้อความด้านล่าง

ตรวจหลักสูตรที่รับรอง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่รับรอง จึงสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกร ได้

สถาบันการศึกษา :&nbsp  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ&nbsp &nbsp 
2 วศ.บ. สุขาภิบาล 2500 โยธา 0 2541 1/2542 30-11-2542
3 วศ.บ. วิศวกรรมสำรวจ 2500 โยธา 0 2541 1/2542 30-11-2542
7 วศ.บ. วิศวกรรมยานยนต์ 2500 เครื่องกล 0 2544 1/2541 06-10-2541
8 วศ.บ. วิศวกรรมเรือ 2500 เครื่องกล 0 2545 1/2541 06-10-2541
29 วศ.บ. เหมืองแร่และปิโตรเลี่ยม 2500 เหมืองแร่ 0 2541 1/2542 30-11-2542
30 วศ.บ. วิศวกรรมโลหการ 2539 เหมืองแร่ 0 2545 4/2542 19-04-2542
33 วศ.บ. วิศวกรรมโลหการและวัสดุ 2544 เหมืองแร่ 2544 2544 1/2548 17-01-2548
34 วศ.บ. วิศวกรรมโลหการและวัสดุ 2544 เหมืองแร่ 2545 2549 0/2550 11-06-2550

สถาบันการศึกษา :&nbsp  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
&nbsp 
ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ&nbsp &nbsp 
1 วศ.บ. วิศวกรรมชลประทาน 2500 โยธา 0 2541 1/2542 30-11-2542
8 วศ.บ. วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ 2546 โยธา 2546 2550 8/2549 14-06-2549
14 วศ.บ. วิศวกรรมเกษตร 2500 เครื่องกล 0 2544 1/2542 30-11-2542
15 วศ.บ. วิศวกรรมอาหาร 2500 เครื่องกล 0 2544 12/2543 19-06-2543
22 วศ.บ. วิศวกรรมการบินและอวกาศ 2546 เครื่องกล 2546 2550 8/2549 14-06-2549
23 วศ.บ. วิศวกรรมการบินและอวกาศ 2548 เครื่องกล 2548 2552 1/2552 15-06-2552
36 วศ.บ. วิศวกรรมวัสดุ 2546 อุตสาหการ 2546 2550 4/2549 13-03-2549

สถาบันการศึกษา :&nbsp  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
&nbsp 
ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ&nbsp &nbsp 

7 วศ.บ. วิศวกรรมเกษตร 2542 เครื่องกล 0 2545 2/2542 10-02-2542
9 วศ.บ. วิศวกรรมอาหาร 2542 เครื่องกล 2542 2545 8/2545 10-06-2545
17 วศ.บ. ระบบควบคุม 2500 ไฟฟ้าแขนงไฟฟ้ากำลัง 0 2541 2/2542 10-02-2542
24 วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2500 ไฟฟ้าแขนงไฟฟ้าสื่อสาร 0 2541 1/2542 30-11-2542
26 วศ.บ. คอมพิวเตอร์ 2500 ไฟฟ้าแขนงไฟฟ้าสื่อสาร 0 2541 1/2542 30-11-2542
38 วศ.บ. วิศวกรรมโทรคมนาคม 2549 ไฟฟ้าแขนงไฟฟ้าสื่อสาร 2547 2549 0/2551 11-02-2551
45 วศ.บ. วิศวกรรมการวัดคุม 2500 อุตสาหการ 0 2541 0/2550 17-12-2550&nbsp 

สถาบันการศึกษา :&nbsp  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ&nbsp &nbsp 

27 วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 2546 ไฟฟ้าแขนงไฟฟ้าสื่อสาร 2546 2550 0/2551 12-05-2551
36 วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องมือ 2546 อุตสาหการ 2546 2550 0/2552 09-11-2552
37 วศ.บ. วิศวกรรมวัสดุ 2546 อุตสาหการ 2546 2550 0/2552 09-11-2552

สถาบันการศึกษา :&nbsp  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
&nbsp 
ลำดับ คุณวุฒิ สาขาที่เรียน ปีหลักสูตร สาขาที่รับรอง ปีเริ่มต้น ปีสิ้นสุด ครั้งที่อนุมัติ วันที่อนุมัติ
&nbsp &nbsp 
11 วศ.บ. วิศวกรรมการบินและอวกาศ 2545 เครื่องกล 2545 2549 1/2549 10-04-2549
13 วศ.บ. วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ 2547 เครื่องกล 2546 2550 0/2551 21-04-2551
39 วศ.บ. วิศวกรรมการผลิต 2545 อุตสาหการ 2545 2549 0/2550 17-12-2550

0
iMAC 17 พ.ค. 53 เวลา 10:56 น. 12

แต่ละหลักสูตรเขาออกแบบรายวิชาที่ไม่เหมือนกันนะครับ อย่าลืม ว่าเขาจะเอาวิชาอะไรยัดเข้าไป เพื่อให้ได้ กว.&nbsp หรือจะคงรายวิชาที่มีความสำคัญมากกว่าไว้&nbsp &nbsp ไม่ใช่นึกจะเพิ่มก็เพิ่มได้&nbsp แล้วก็ในสาขาที่จะขอ กว&nbsp จะต้องมีคนเรียนจบแล้วนะครับ&nbsp บางสาขาที่เขาเพิ่งเปิดหลักสูตร ยังไม่มีนักศึกษาจบ ถามหน่อยว่าจะขอ กว. ได้ยังไง&nbsp ไม่ทราบว่าเข้าใจเรื่องการ ขอ ดี แค่ไหนครับ&nbsp  บางสถานศึกษา เขาถึงไม่สนใจเรื่อง ใบ กว เลย&nbsp เขามองข้ามไปถึงการทำอาชีพแล้วครับ&nbsp  สิ่งสำคัญ คือ&nbsp หลักสูตร จะต้องได้รับการรับรองจาก สมศ&nbsp เพราะเขาเป็นหน่วยงานที่ดูแลหลักสูตรโดยตรง&nbsp ส่วนสภาวิศวกร&nbsp เขาดูแล และอนุญาติในหลักสูตร ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยเฉพาะคนกับเครื่องจักร&nbsp คนกับสิ่งแวดล้อม&nbsp  ส่วนการจะเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้ได้ กว&nbsp มันก็เรื่องของสถาบันนั้นๆ ที่จะอาศัยช่องทางไหน ที่จะไปขอ

0
iMAC 17 พ.ค. 53 เวลา 11:06 น. 13

ผม ก็ไม่รู้จะเถียงกับคนที่ ขึ้นชื่อตัวเองแบบนี้ทำไม&nbsp ดูชื่อตัวเองเอาแล้วกัน เอาเป็นว่าถ้าอคติ กับสถาบันอื่นๆ หรือคู่แข่งมากๆ ก็อยู่แต่ในบ้าน ในโลกแคบๆ ของคุณดีกว่านะครับ&nbsp  บ้านที่เปิดหน้าต่างออกมาแล้วไม่เจอใคร&nbsp ก็คงจะอยู่อย่างมีความสุขละนะครับ&nbsp  นั่นมันเรื่องของคุณนะ&nbsp  ดีนะที่ไม่มาเรียนที่ศิลปากร ไม่งั้น คนที่นี่คงจะรับคนแบบคุณไม่ได้หรอกครับ&nbsp เพราะที่นี่เขาไม่ได้สอนให้คนมันออกไปกร่างหรือไปหาเรื่องสถาบันอื่น



ศิลปะยืนยาว&nbsp ชีวิตสั้น&nbsp &nbsp 
ถ้าจะทำอะไรดีๆ ก็ทำมันตั้งแต่ตอนนี้&nbsp เพราะว่างบางทีพรุ่งนี้มันก็สายเกินไป




ก็ว่าอยู่ว่าทำไมคนพันทิบเขาถึงไม่แนะนำให้เข้ามาอ่านที่นี่&nbsp มันแบบนี้นี่เอง

0
http://th.wikipedia.org 17 พ.ค. 53 เวลา 11:18 น. 14

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพ ดังนี้

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกโดย แพทยสภา [1]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ออกโดย ทันตแพทยสภา[2]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ออกโดย สัตวแพทยสภา[3]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ออกโดย สภาเภสัชกรรม[4]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ออกโดย สภาการพยาบาล[5]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ออกโดย สภาเทคนิคการแพทย์[6]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ออกโดย สภากายภาพบำบัด[7]
ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ออกโดย สภาทนายความ [8]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดย สภาวิศวกร
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ออกโดย สภาสถาปนิก
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ออกโดย คุรุสภา[9]
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ออกโดย สภาวิชาชีพบัญชี

สาขาอื่น ๆ ทางการแพทย์

ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ และการผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ที่มีการตั้งสภาวิชาชีพเพื่อควบคุมดูแลในแต่ละวิชาชีพแล้ว ซึ่งใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะออกโดยคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่กระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ จากกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

สาขากิจกรรมบำบัด
สาขารังสีเทคนิค
สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย
สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
สาขาจิตวิทยาคลินิก
สาขาการแพทย์แผนไทย
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
สาขาการแพทย์แผนจีน
สาขาทัศนมาตรศาสตร์
สาขากายอุปกรณ์

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดยสภาวิศวกร ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ในปัจจุบัน มีสาขาที่เป็นวิศวกรรมควบคุม ดังนี้

สาขาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (แยกเป็นไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าสื่อสาร)
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
สาขาวิศวกรรมเคมี
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

โดยผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ละสาขาแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

1.วุฒิวิศวกร
2.สามัญวิศวกร
3.ภาคีวิศวกร
4.ภาคีวิศวกรพิเศษ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มีลักษณะเหมือนกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์

สำหรับในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ประเทศแคนาดา จะมีเอกสารรับรองวิศวกรเรียกว่า "Professional Engineer" โดยผู้ที่มีใบประกอบนี้จะคำลงท้ายต่อท้ายชื่อว่า P.E.

ที่มา: http://th.wikipedia.org

0
Noo'Cheer@SU 17 พ.ค. 53 เวลา 11:26 น. 15

เอ้อ เราไม่รู้เรื่องนี้อะไรหรอกนะ

แต่เราก็เด็ก SU คนนึง ถึงจะไม่่ใช่คณะนี้ก็เหอะ

เอาเป็นว่าจะลงอะไรก็ลงไปเหอะ

เพราะเราไม่รู้จริงเท็จ

แต่ถ้าเท็จค่อยว่ากันอีกที ฮ่าๆๆ

แต่หัวโหดไปมั้ย???

วิศวกรเถื่อนเนี่ย

เราว่านะ ถ้าเถื่อนจริงคงโดนคนฟ้องไปแล้วหล่ะ

โอ๊ะ โอ ไม่รู้จริง เราไม่อยากเถียง

ไปดีกว่า

0
e-powger 17 พ.ค. 53 เวลา 11:38 น. 16

บางมหาวิทยาลัย
สมมุติ เรียน วิศวกรรมโลจิสติกส์  แล้วถ้าอยากได้ ใบ กว.  ก็ไปลงวิชาใน  สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ อีกกี่ตัว ไม่รู้  แล้วก็ได้ คุณสมบัติมา  เราก็ไปสอบ

0
ECS SU 17 พ.ค. 53 เวลา 14:26 น. 17

พี่ iMAC มาตอบเองเลย
สุดยอดมากเลยพี่......


ถ้าหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานจริง คงไม่ได้เปิดสอนหรอก


รุ่นพี่ปี4 ECS SU โดนจองตัวกันหมดแล้ว

0
km24 17 พ.ค. 53 เวลา 22:43 น. 19

ผมก็เป็นเด็กวิศวคับแต่ไม่ใช่ SU (ผมสอบได้ที่นี้แต่ไม่ได้เอา) ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่ผ่านๆมา&nbsp อยากให้คุณเจ้าของกระทู้ตั้งกระทู้ใหม่รับผิดชอบด่วน ถ้าคุณเป็นคนมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึก

0
Silpakorn 25 ก.ค. 53 เวลา 19:56 น. 20

"ศิลปากร" เป็นมหาวิทยาลัยที่ผมภูมิใจที่สุด เราอยู่กันอย่างเรียบง่ายและไม่ได้ไปแข่งขันอะไรกับใคร ทุกคนอยู่ที่นี่เหมือนอยู่บ้านของตัวเอง มันอบอุ่น ร่มรื่น ทำให้ใจเย็น ไม่วุ่นวาย ทุกคณะที่เปิดล้วนแล้วแต่มีมาตรฐานอย่างแน่นอน ใครที่จบจากศิลปากร ผมเชื่อว่าเค้าจะต้องภูมิใจและไม่มีวันลืมที่นี้ เพราะศิลปากรไม่ได้ให้แต่ความรู้ แต่ให้สิ่งต่างๆอีกมากมาย ถ้าใครถามว่าผมเรียนอะไร ที่ไหน ก็กล้าตอบอย่างภูมิใจเลยว่า "วิศวะศิลปากรครับ" รักศิลปากรที่สุด

"ศิลปากร บิดามารดรแดนนี้
เรารักปานชีวี มีน้ำใจไม่สิ้น
เป็นสถานบันประทานการในศาสตร์ศิลป์
เลื่องลือระบือทุกถิ่น ดินแดนแสนจะงามหรู

ถึงอยู่ไกลกันสนามจันทร์กับชาวท่าพระ
เราลูกศิลปะจะรักกันทุกหมู่
ตัวไกลกันแต่ใจผูกพันชื่นชู
กลิ่นจันทร์น้อมใจเราอยู่ รู้ค่าแห่งมาลัยงาม

ด้วยเดชะพระพิฆเนศ
คุ้มครองอาเพศ ป้องเหตุร้ายให้เข็ดขาม
ที่รวมหัวใจ ใกล้ไกลมั่นคงทุกยาม
เป็นพี่น้องกันในนาม ด้วยความแน่นอน

ศิลปากรเมื่อตอนจะจากกันไป
ใครรู้บ้างหรือไม่ในฤทัยโหยอ่อน
นานแสนนาน ผ่านไปด้วยใจนิวรณ์
ไม่ลืมศิลปากร กลิ่นจันทร์กำจรมิคลาย"107

0