Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การประชุมรัฐศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 11 (2553) จัดขึ้นที่ไหนอย่างไร มาคอมเม้นกัน"ชาวสิงห์"ทุกสถาบันเข้าร่วมแล้วเจอกันวันงานสถาบันไหนจะครองแชมป์ต้องไปลุ้นกัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 (พ.ศ.2553)



     

วิทยาลัยาการเมืองการปกครอง มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมือง และมีจิตสำนึกที่รับใช้สังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่อำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ

ปรัชญา : ผู้ มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (พหุนํ ปณฺฑิโต ชี เว)                                                                                          

ปณิทาน : วิทยาลัย การเมืองการปกครองมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมือง และมีจิตสำนึกที่รับใช้สังคม ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
ที่อำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ

วิสัยทัศน์ : มุ่ง สู่การเป็นแหล่งความรู้ชั้นนำทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ทั้งทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรม และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

พันธกิจ :

1. มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านคุณธรรม

2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายใต้บริบทระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

3. ให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม

4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรักษาประเพณี และค่านิยมอันดีงาม

 

หลักสูตรที่เปิดสอน ระดับปริญญาตรี

๑)รัฐศาสตร์บัณฑิต(ร.บ.) ประกอบด้วย เอกการเมืองการปกครอง เอกบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

๒)นิติศาสตร์บัณฑิต(น.บ.)

๓)คู่ขนานนิติศาสตร์บัณฑิตและศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาสิทธิมนุษยชน(น.บ. และ ศศ.บ.) 5ปี2ปริญญา

๔)รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (รป.บ.) สาขาบรอหารท้องถิ่น

หลักสูตรปริญญาโท

๑)รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต(ร.ม.) สาขาการเมืองการปกครอง

๒)รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขานโบยสาธารณะ

 

การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11

25-26 พฤศจิกายน 2553

ณ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เรื่อง "การเมือง" ของ "รัฐ" และ "ท้องถิ่น" ไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์

 

       ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศหรือนัยหนึ่งคือ กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตัวอย่างของภาวะดังกล่าว เช่น วิกฤตการณ์ถดถอยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทั่วโลก ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของรัฐและตัวแสดงอื่นๆ ในระบบการเมืองระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ตลอดจน การเข้าสู่สังคมพหุความรู้ ที่ปรากฏภาพของการปะทะประสานกันระหว่างความคิดที่หลากหลายและความเชื่อที่ แตกต่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยบีบรัดให้รัฐต่างๆ ต้องมีการปรับตัว
        ประเทศไทยเองก็มีความพยายามที่ปรับตัวด้วยวิธีการที่แตกต่างหลากหลายเพื่อ ต่อสู้กับความผันผวนที่เกิดขึ้นจากกระแสของโลกาภิวัตน์ดังกล่าวทั้งในระดับ โลก ระดับภูมิภาค(อาเซียน) และระดับท้องถิ่นเพื่อการต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์คือ พยายามในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในท้องถิ่นระดับต่างๆ เพื่อให้ชุมชนเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นวิถีทางดังกล่าวยังเป็นแนวทางหนึ่งในการก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และชุมชนที่ยั่งยืนได้

        อย่างไรก็ดี การส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การ “อัดฉีด” หรือการเพิ่มการจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงการสร้างชุมชนทุกระดับตั้งแต่ประเทศจนถึงระดับท้องถิ่นที่ กอปรไปด้วยหลักธรรมภิบาล การสร้าง เปลี่ยนแปลงและรักษาวัฒนธรรมต่างๆ ที่ต้องสอดประสานก่อรูปเป็นชุมชนที่สามารถพัฒนาตนเองและพึ่งตนเองได้อย่าง ยั่งยืน
        ในแง่นี้ ภาระที่ท้าทายของรัฐและระบบราชการ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายและหลักกฎหมายต่างๆ ในการบริหารประเทศในทุกระดับให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมและ วัฒนธรรมได้ โดยไม่สูญเสียสมรรถนะของรัฐต่อการดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์

        โจทย์สำหรับสังคมไทย คือ “สังคมไทยสามารถสร้างชุมชนที่เข้มแข็งทั้งระดับประเทศจนถึงระดับท้องถิ่นภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่?” คำถามหลักนี้เป็นเป้าหมายทางวิชาการที่ชุมชนวิชาการทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่นๆ ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 11 ต้องร่วมกันค้นหาคำตอบเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้และปัญญาให้กับสังคมใน การต่อสู้ภายใต้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
        วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดการเรียนการ สอนทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์  ที่มีหลักสูตรครอบคลุมและมีอัตลักษณ์ที่มุ่งเน้นการเป็นขุมปัญญาด้านการ เมืองอีสาน การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ทฤษฎีและประเด็นทางการเมืองร่วมสมัย นโยบายสาธารณะ  อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงด้านสิทธิมนุษยชน สันติวิธีและการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งสามารถรองรับการประชุมระดับชาติให้บรรลุจุดประสงค์ได้




ข้อมูล จาก : เว็ปไซต์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.copag.msu.ac.th/pspa/ 


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 2 สิงหาคม 2553 / 23:13
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 2 สิงหาคม 2553 / 23:31

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

แรง 3 ส.ค. 53 เวลา 13:45 น. 1

สรุปคือ จะมาปรชาสัมพันธ์ ม.ตัวเองว่างั้น


แล้วจะตั้งหัวข้อ แบบนั้นทำไม


น่าจะตั้งว่า แร่เข้ามา ช่วยมาดูหน่อย รัฐศาสตร์ มมส.

0