Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การขยายพันธุ์สัปรดสี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

การขยาย
พันธุ์วิธีนี้เป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ ซึ่งไม่ใช้เมล็ด ไปทำการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณ โดยที่ยังคงลักษณะทางพันธุศาสตร์ของต้นเดิมไว้ หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย      

ขั้นตอน
1. การตัดแยกลำหน้า (front bulb) และลำหลัง (back bulb) ใช้สำหรับกล้วยไม้ประเภทฐานร่วม เช่น กล้วยไม้สกุลสิงห์โตกลอกตา สกุลกุหลาบ สกุลคัทลียา เป็นต้น

กล้วยไม้ประเภทฐานร่วมจะมีเหง้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ลำต้นเป็นตัวสร้างลำลูกกล้วยและเชื่อมโยงส่วนโคนของลำลูกกล้วยให้ติดต่อกัน ลำลูกกล้วยที่เกิดก่อนหรือแก่กว่าเรียกว่า "ลำหลัง" ส่วนลำที่เกิดที่หลังหรืออ่อนกว่าเรียกว่า "ลำหน้า" และทิศทางที่เหง้าเจริญออกไปเป็นลำลูกกล้วยลำใหม่เรียกว่า "หน้าไม้" กล้วยไม้ที่ปลูกใหม่ ๆ ในระยะแรกควรเลี้ยงไว้ในที่ร่ม พอมีรากใหม่เกิดขึ้นจึงนำออกไปเลี้ยงในเรือนเลี้ยงกล้วยไม้

2. การตัดลำแก่ไปปักชำ ใช้สำหรับกล้วยไม้ประเภทฐานร่วมบางสกุล เช่น สกุลหวาย สกุลเข็ม สกุลช้าง โดยตัดลำลูกกล้วยลำหนัง ๆ ที่แก่แต่ก็ยังคงสมบูรณ์และอาจจะทิ้งใบหมดแล้วให้ขาดจากกอแยกเป็นลำเดี่ยว ๆ ตัดรากเก่า ๆ ที่โคนลำออกให้หมด ระวังอย่าให้ตาที่โคนลำเป็นอันตรายแล้วเปลือกข้าง รดน้ำให้ตามปกติ ถ้าตาที่โคนลำลูกกล้วยสมบูรณ์ดีจะแตกเป็นหน่อกลายเป็นลำลูกกล้วย มีราก มีใบได้ หรืออาจเกิดเป็นตะเกียงหรือหน่อเล็ก ๆ ที่กลางหรือปลายลำลูกกล้วย ซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำลูกกล้วยไม้ มีราก มีใบ เช่นเดียวกับต้นเดิม การย้ายไปปลูกใหม่ก็คงปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกหน้าลำหลัง

3. การตัดก้านช่อดอก ให้แตกต้นอ่อนที่ข้อก้าน ใช้สำหรับกล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซิส

4. การตัดยอดและการแยกหน่อ ใช้สำหรับกล้วยไม้ประเภทฐานเดี่ยว เช่น กล้วยไม้สกุลช้าง แวนดา กุหลาบ เป็นต้น ตัวอย่างการขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้างด้วยวิธีตัดยอด ให้เลือกเฉพาะต้นที่มีขนาดสูงพอดี และมีรากเกิดขึ้นที่ส่วนยอด ตัดลำต้นออกเป็น 2 ท่อน ด้วยกรรไกรหรือมีดคม ๆ ที่สะอาด ให้ท่อนบนซึ่งเรียกว่ายอดมีรากติดไปด้วย 2-3 ราก ส่วนท่อนล่างซึ่งติดอยู่กับภาชนะที่ปลูกเรียกว่าตอให้มีความสูง มีข้อปล้อง และใบเหลืออยู่พอสมควร หลังจากตัดส่วนยอดออกไปไม่นานจะมีหน่อเกิดขึ้นที่ตาของต้นตอ นำส่วนยอดไปปลูกส่วนการแยกหน่อจากต้นเดิมควรเลือกแยกหน่อที่แข็งแรง มีรากอยู่ใกล้ ๆ กับโคนหน่ออย่างน้อย 2-3 ราก ใช้กรรไกรหรือมีดคม ๆ ที่สะอาดตัดตรงใกล้โคน โดยให้หน่อชิดกับต้นเดิมมากที่สุด ให้รากที่เกิดจากโคนหน่อติดไปกับหน่อทั้งหมด หลังจากตัดยอดหรือแยกหน่อออกไปแล้วรอยแผลที่เกิดขึ้นทุกแผลควรใช้ปูนแดง หรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละ ๆ ทาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากกล้วยไม้ประเภทฐานเดี่ยวในสภาพแวดล้อมของบ้านเราแทบจะไม่มีการพักตัว การตัดยอดและการแยกหน่อจึงน่าจะทำได้ในทุกฤดูกาล แต่ที่เหมาะที่สุดคือปลายฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน

 

สับปะรดสี ไม้ประดับสวยงาม ต้องการเพียงแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า แนะนำให้วางตามมุมที่มีแสงผ่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การขยายพันธุ์     ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะ

                               สำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัด

                               ต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน

 

   

                                                                      ตันกล้าที่ได้จากเพาะเมล็ด

เทคนิคที่ควรรู้ในการปลูกสับปะรดสี

 

        เรื่องเทคนิคนี้ เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะเพาะเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะพันธุ์สับปะรดสีที่นิยมส่วนใหญ่โตช้า ราคาแพง ถ้าเพาะเลี้ยงไม่ถูกวิธี สับปะรดสี จะไม่แตกหน่อ ไม่เจริญเติบโต สีไม่สวย หรือค่อยๆโทรมตายไปในที่สุด

 

       1.     สับปะรดสีชอบกระถางดินเผา โปร่ง ขนาดกระถางที่ใช้ต้องเล็กกว่าต้น ถ้ากระถางใหญ่

               ปกติเครื่องปลูกจะมีความชื้นมาก ระบายน้ำช้า

  

       2.    ไม่ควรปลูกต้นจมลึกลงไปในวัสดุปลูกมากเกินกาบใบล่าง

 

       3.     วัสดุถ้ามีเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเป็นแผ่น ที่ผิววัสดุ ให้เปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่

               ให้เหลือเฉพาะรากที่เกาะวัสดุอยู่เท่านั้น

 

        4 .   ถ้าในฤดูฝน ความชื้นสูง ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราบ้าง ห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของ

cupper oxide   เพราะจะเกิดการแพ้ยา ใบเน่าเป็นจุดๆ หรือตายไปได้

 

        5.   ถ้าต้นแตกหน่อ จนก้านหน่อแข็งแรง ให้รีบตัดหน่อไปปลูกใหม่ ต้นแม่จะได้ไม่โทรม และมีหน่อ ใหม่ได้เร็วขึ้น

         6.   ปุ๋ย ควรเป็นปุ๋ยละลายช้า สูตรเสมอ เช่น 14 -14 -14 ที่ใช้ได้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

 

         7.   หมั่นถอนหญ้า,มอส และตะไคร่ เพราะทำให้วัสดุปลูกถ่ายเทอากาศได้น้อย

 

         8.   ศัตรูแมลงที่พบได้บางครั้ง คือตั๊กแตนกินใบ และเพลี้ยทั่วๆไป

                                                         

   

แสดงความคิดเห็น

>