Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรคจากการทำงาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
Office Syndrome   คือ  กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยจากการทำงาน เช่น ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง   ภาวะเสียสมดุล เช่น  ปวดคอ ปวดหลัง ชา   ไม่มีแรง   กระดูกสันหลังคดงอ  ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ  เส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ   โรคประสาทหูเสื่อม เป็นต้น

อุบัติการ
        พบอาการปวดในวัยทำงานถึง 60-70%  ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง16-35 ปี ซึ่งเป็นการทำงานแข่งกับเวลา  ส่วนกลุ่มคนทำงาน อายุ 55  ปีขึ้นไป มักมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากเป็นการทำงานที่ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจเรื่องสำคัญ


สาเหตุของการปวด
ปัจจัยเสี่ยง
• ปัจจัยส่วนบุคคล  :  อายุมากขึ้น   รูปร่างอ้วนลงพุง   นิสัยส่วนบุคคลเป็นคนเคร่งเครียด  วิตกกังวล  สุขภาพร่างกายส่วนบุคคล
• ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม  : สถานที่ทำงานไม่เหมาะสม    อยู่ในสถานที่คับแคบเกินไป  ทำงานหักโหมมากเกินไป   อุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
• ปัจจัยด้านจิตใจ  : ความเครียดในการทำงาน   ความรีบเร่ง   ความเบื่อหน่ายในงาน

ปัจจัยส่งเสริม
-  อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง : ทำซ้ำๆ  อยู่เป็นเวลานาน เช่น ท่ายื่นคอ   ห่อไหล่   ท่านั่งโน้มตัวไป  
     ข้างหน้า  ท่ายกของไม่ถูกต้อง  การใส่รองเท้าส้นสูง   เตียงนอนที่นุ่มเกินไป
-  ลักษณะงาน : ใช้แรงงานมาก  งานที่มีแรงสั่นสะเทือนนาน
-  คนอ้วน : พุงโย  กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง
-  ภาวะสุขภาพอื่นๆ : ภาวะซีด  ไทรอยด์ต่ำ  ขาดสารอาหาร  การติดเชื้อ
-  งานใหม่ : งานที่ไม่ถนัดหรือไม่เคยทำมาก่อน
-  การใช้มากเกินไป : ทำงานในลักษณะเดิมนานเกินไป  การงานท่าเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา
-  อุบัติเหตุ : ลื่นล้มอย่างรุนแรง

วิธีการแก้ไขปัญหาอาการปวด
• พักผ่อน
• การใช้ยาลดปวด
• อุปกรณ์พยุงหลัง
• การทำกายภาพบำบัด
• การออกกำลังกาย
• การแก้ไขปัจจัยก่อเหตุ
• การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การรักษาที่ได้ผลระยะยาว 2 สาเหตุหลัก
• สภาพที่ทำงาน : ปรับสภาพที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ โต๊ะ  เก้าอี้  เครื่องคอมพิวเตอร์
• สภาพร่างกาย :  จัดโครงสร้างร่างกายให้เหมาะสมในการทำงาน  จัดระเบียบโครงสร้าง  ฝึกสมดุลโครงสร้าง  เพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงโดยออกกำลังกายแบบแอโรบิค

ถ้าไม่ดีขึ้น มีปัจจัยอื่นซ่อนเร้น
• ปริมาณงานที่มากเกินไป ทำเกินกำลัง
• ความเครียด (งาน  เพื่อนร่วมงาน  เรื่องส่วนตัว)

การป้องกันการปวด
• ปรับวิธีการยกของที่ถูกต้อง
• หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงต่ออันตรายในการปฏิบัติงาน
• เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมถูกต้องและทุ่นแรงในการทำงาน
• อยู่ในท่าที่ถูกต้องในทุกอิริยาบถในการทำงาน
• ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงสม่ำเสมอ

การดูแลในท่ายืน
• หลีกเลี่ยงการยืนในท่าที่ผิด
• พยายามเกร็งเขม่าพุงในทุกๆอิริยาบถ
• ยืนบนฐานที่กว้างพอ
• กระจายน้ำหนักตัวสลับแต่ละขาบ่อยๆแต่ไม่ลงน้ำหนักที่สะโพก
• วางขาบนม้าเล็กๆ กรณียืนนานๆ
• พยายามยืนย่อเข่าเล็กน้อย อย่าเหยียดเกร็งเข่าสุด
• สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม หัวรองเท้าไม่แคบเกินไป ส้นไม่สูงเกินไป
• พยายามขยับเขยื้อนตัวรอบๆ
• นั่งพัก 5 นาที ถ้ายืนนาน
• ยืนพิงฝาพนังและหย่อนหลังเป็นพักๆ

ท่านั่งที่เหมาะสม
• คอตรง      
• พนักพิงหลังที่แข็งพอดี ทำมุม 90-100 °
• ข้อศอกงด 90° และมีที่วางแขน
• อยู่ในท่าหลังแอ่นตามธรรมชาติ
• งอสะโพกตั้งฉากกับหลัง
• สะโพกอยู่ในระดับเดียวกับเข่าหรือสูงกว่าเข่าเล็กน้อย
• ฐานเก้าอี้รองต้นขาพอดี ห่างจากข้อพับเข่า ~ 2 นิ้วมือ
• เท้ารองพอดีที่พื้นหรือมีม้ารอง

การดูแลในท่านั่ง
• หลีกเลี่ยงนั่งท่าใดท่าหนึ่งในเวลานาน      
• หลีกเลี่ยงการนั่งที่ขา 2 ข้างวางบนม้ารองขา
• หลีกเลี่ยงนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้ที่ยวบ
• หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเหยียดขา 2 ข้างตรงเป็นเวลานาน
• หลีกเลี่ยงท่านั่งไขว่ห้าง
• หลีกเลี่ยงการนั่งที่เอียงขาทั้ง 2 ข้างอยู่ในข้างใดข้างหนี่งของเก้าอี้นานเกิน 10 นาที
• หลีกเลี่ยงท่านั่งหลังงอ

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช http://www.samitivejhospitals.com/healthblog/Sriracha/blogdetail.php?id=34

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Alice.Law 10 ธ.ค. 53 เวลา 03:55 น. 1

การทำงานก็ต้องประสานกับคุณภาพชีวิตด้วยจึงจะดี *-*


PS.  พยายามแล้วพลาด ดีกว่าพลาดที่จะพยายาม >>> http://writer.dek-d.com/lady-law/writer/view.php?id=640126
0