Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระปรีชาความสามารถของในหลวง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี พระราชนิพนธ์เพลง และเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด และทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วยพระองค์เอง รวมทั้งทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาว่า "อัครศิลปิน"
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มเรียนดนตรีเมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ขณะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับครูชาวอัลซาส ชื่อ นายเวย์เบรชท์ (Wey-brecht) โดยทรงเรียนเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และสเกลต่าง ๆ ในแนวดนตรีคลาสสิค ต่อมา จึงเริ่มฝึกดนตรีแจ๊ส และทรงดนตรีสากล โดยทรงหัดเป่าแซกโซโฟนกับเพลงจากแผ่นเสียงของวงดนตรีที่มีฝีมือ เช่น John Hodges และ Sidney Bechet เป็นต้น จนทรงมีความชำนาญจึงทรงเป่าสอดแทรกกับแผ่นเสียงของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้เป็นอย่างดี ทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องดนตรีได้ดี หลายชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และประเภทเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเปต รวมทั้งเปียโนและกีตาร์ที่ทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลงและเพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วงดนตรีส่วนพระองค์  
   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลง เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ ๑๘ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "แสงเทียน" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกและจนถึงปัจจุบัน มีเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น ๔๘ เพลง ทุกเพลงล้วนมีทำนองไพเราะ ประทับใจผู้ฟัง สอดคล้องกับเนื้อร้อง ซึ่งมีคตินานัปการ และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ในยามที่บ้านเมืองไม่สงบสุข ก็พระราชทานเพลงปลุกใจเพื่อเป็นกำลังใจแก่ ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ มิให้เกิดความย่อท้อในการทำความดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อตนเองและต่อสังคม ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้น (อัมพรสถาน) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ความบันเทิง สารประโยชน์ และข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้นักดนตรีรุ่นหนุ่ม ๆ มาเล่นปนกับรุ่นลายคราม ซึ่งเล่นดนตรีไม่ค่อยไหวตามอายุ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวงดนตรี "อ.ส.วันศุกร์" ขึ้น ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณ สวนจิตรลดา  

    ลักษณะพิเศษของ "วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์" นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงร่วมบรรเลงกับสมาชิกของวง ออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุเป็นประจำทุกวันศุกร์ เป็นการเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้ติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ง่ายขึ้น ทรงจัดรายการเพลงและทรงเลือกแผ่นเสียงเอกในระยะแรก บางครั้งก็โปรดเกล้าฯ ให้มีการขอเพลงด้วยและจะทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง ในช่วงเวลาเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ขณะที่สถานีโทรทัศน์ยังไม่มีบทบาททางการบันเทิงมากเช่นในปัจจุบันนี้ "วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์" จึงมีส่วนสร้างความรื่นเริงในหมู่ประชาชนผู้สนใจในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์มหาวาตภัย แหลมตะลุมพุก ได้อาศัยวงดนตรี อ.ส. ประกาศชักชวนประชาชนบริจาคทรัพย์ สิ่งของ ฯลฯ ช่วยผู้ประสบภัย ท้ายสุดจึงกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อผูกพันสถาบันพระมหากษัตริย์กับนิสิต นักศึกษาโดยเสด็จฯ ไปทรงดนตรีร่วมกับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศกับนานาประเทศได้อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่นเมื่อครั้งที่เสด็จฯ เยือนกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของนักดนตรีที่สำคัญ และคีตกวีเอกของโลก ได้ยกย่องพระปรีชาสามารถด้านการดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ คือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ วงดุริยางค์ซิมโฟนี ออเคสตร้า แห่งกรุงเวียนนาได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ชุด " มโนราห์ " " สายฝน " " ยามเย็น " " มาร์ชราชนาวิกโยธิน " และ " มาร์ชราชวัลลภ " ไปบรรเลง ณ คอนเสิร์ตฮอลล์ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ พร้อมกันนี้สถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาลออสเตรียได้ส่งกระจายเสียงเพลง และเสนอข่าวนี้ไปทั่วประเทศ หลังจากนั้นอีก ๒ วัน คือ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗  

      สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา(ปัจจุบันเปลี่ยนญานะเป็นมหาวิทยาลียการดนตรีและศิลปะการแสดง)ได้ถวายพระเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลขที่ ๒๓ ดังปรากฏพระปรมาภิไธย "ภูมิพลอดุลยเดช" จารึกบน แผ่นหินอ่อนของสถาบันอันเก่าแก่ของยุโรปแห่งนี้ โดยประธานสถาบันได้กล่าวสดุดีพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นผู้สร้างสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่างดนตรีตะวันออกกับดนตรีตะวันตก และทรง พระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระปรีชาสามารถ นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์แห่งทวีปเอเชีย ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่ง ณ ศูนย์กลางแห่งการดนตรีในทวีปยุโรป ทรงเป็นชาวเอเชียพระองค์แรกที่ทรงได้รับการถวาย พระเกียรติให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ขณะที่ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง ๓๗ พรรษา พสกนิกรชาวไทยทุกคนไม่เพียงแต่ชื่นชมในพระเกียรติยศทางดนตรีที่ทรงได้รับจากนานาประเทศเท่านั้น แต่ยังภาคภูมิใจ ในความสำเร็จจากการเสด็จพระราชดำเนินกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศด้วย  
  ในส่วนของกองทัพเรือนั้น เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็น "วันทหารนาวิกโยธิน" จนถึงปัจจุบัน สำหรับความเป็นมาที่กองทัพเรือได้รับพระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน สรุปได้ดังนี้
        "วันหนึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ๒๕๐๒ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้ปฏิบัติหน้าที่เวรราชองครักษ์ ณ ศาลาเริง พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญกับการทรงดนตรีอยู่นั้น ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์ ขึ้นไปร้องเพลงนาวิกโยธิน นาวาเอก สนองฯ ได้กราบบังคมทูลว่า "เพลงนาวิกโยธิน" ยังไม่มีและได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธินต่อพระองค์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เหล่าทหารนาวิกโยธิน ต่อมาในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" แก่ทหารนาวิกโยธิน โดยคณะนายทหารนาวิกโยธิน ได้ร่วมกันประพันธ์คำร้องขึ้น และวงโยธวาทิตของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาและวงดุริยางค์ราชนาวี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นปฐมฤกษ์ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๒ นับแต่นั้นมา เพลง มาร์ช "ราชนาวิกโยธิน" จึงเป็นเพลงประจำหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินที่มีคุณค่ายิ่งแก่ทหารนาวิกโยธิน

นอกจากทรงพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์เพลง และทรงดนตรีแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็น "ครูใหญ่" สอนดนตรีแก่แพทย์ ราชองครักษ์ และข้าราชบริพารใกล้ชิดซึ่งเล่นดนตรี ไม่เป็นเลย จนเล่นดนตรีเป็น สามารถบรรเลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ได้ ต่อมา จึงได้เกิด "วงสหายพัฒนา" มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์หัวหน้าวง
ทางดนตรีไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวิชาดนตรีไทยเป็นศิลปะที่สำคัญของชาติ สมควรที่จะได้รวบรวมเพลงไทยเดิมต่างๆ ไว้มิให้เสื่อมสูญและผันแปรไปจากหลักเดิม โดยมีการบันทึกโน้ตเพลงให้ถูกต้องละจัดพิมพ์ขึ้นไว้เป็นหลักฐาน เพราะในการบันทึกแนวเพลงเป็นโน้ตสากลแต่เดิมนั้น ยังมิได้มีการบันทึกไว้อย่างครบถ้วนและจัดพิมพ์ให้เป็นการสมบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรมศิลปากรรับเรื่องนี้ไปดำเนินการ ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดพิมพ์โน้ตเพลงไทยชุดนี้ เป็นการรักษาศิลปะดนตรีอันสำคัญของไทยไว้มิให้เสื่อมสูญ และยังเป็นการเผยแพร่วิชาดนตรีของไทยออกไปในหมู่ประชาชนผู้สนใจให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้นอีกด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

อัครพรรณ 12 ม.ค. 54 เวลา 16:08 น. 1

พระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานการถ่ายภาพอย่างมาก ดังที่ประชาชนทั่วไปจะเห็นภาพของพระองค์ห้อยกล้องไว้ที่พระศอเสมอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มถ่ายภาพเมื่อมีพระชนมายุเพียง ๘ พรรษา สมเด็จพระราชชนนีทรงซื้อกล้องถ่ายภาพยี่ห้อ Coronet Midget พระราชทานให้ พระองค์ทรงศึกษาวิธีการถ่ายภาพด้วยพระองค์ และถามจากผู้รู้ สมัยก่อนอุปกรณ์การถ่ายภาพไม่เจริญเท่าปัจจุบัน ยังไม่มีกล้องอัตโนมัติ เวลาถ่ายภาพแต่ละครั้งต้องปรับหน้ากล้อง ตั้งความไวของชัตเตอร์ เป็นเรื่องยุ่งยาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงศึกษาจนสามารถใช้กล้องได้อย่างชำนาญ ต่อมาจนถึงปัจจุบันพระองค์ทรงทดลองใช้กล้องที่ผลิตออกจำหน่ายอีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อ ทั้งกล้องที่ผลิตในเยอรมัน รัสเซีย และญี่ปุ่น

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระยศเป็นพระอนุชา ทรงถ่ายภาพรามเกียรติ์ที่ผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานให้พิมพ์ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนช่างภาพส่วนพระองค์ในขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอีกด้วย เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ทรงโปรดถ่ายภาพสิ่งต่าง ๆ เป็นประจำ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์ปรากฏบนปกนิตยสารต่าง ๆ เสมอ เช่น วารสารแสตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระอารมณ์ขันแก่คนใกล้ชิดว่า

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  “ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์แสตนดาร์ด ได้เงินเดือนเดือนละ ๑๐๐ บาท ตั้งหลายปี มาแล้ว จนบัดนี้ก็เห็นเขายังไม่ขึ้นเงินเดือนให้สักที เขาก็คงถวายไว้เดือนละ ๑๐๐ บาทอยู่เรื่อยมา”





&nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่างยิ่ง ทรงสะสมตำราการถ่ายภาพไว้เป็นจำนวนมาก ทรงศึกษาจากตำราและทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมอ อย่างเช่น ทรงนำแว่นกรองแสงพิเศษติดหน้าเลนส์ ลักษณะของแว่นกรองแสงเป็นแผ่นใส ส่วนบนเป็นสีฟ้า ส่วนล่างเป็นสีแสด และเมื่อถ่ายภาพจะได้ส่วนล่างเป็นสีธรรมชาติ ส่วนบนจะได้สีฟ้า และส่วนล่างจะได้สีแสด พระองค์ทรงใช้แว่นกรองแสงนี้ทดลองฉายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทำให้สีของสิ่งต่าง ๆ ในภาพ เช่น ชุดฉลองพระองค์ พระเก้าอี้ พระวิสูตร พรม เป็นสีสอดคล้องสัมพันธ์เข้าเป็นสีชุดเดียวกัน พระองค์ทรงประดิษฐ์แว่นกรองพิเศษนี้ในขณะที่ยังไม่มีบริษัทใดผลิตแว่นกรองแสงเพื่อใช้ในการถ่ายภาพมาก่อน



&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเชี่ยวชาญในการล้างฟิล์มและการอัดขยายภาพทั้งขาวดำและสี ทรงจัดทำห้องมือที่บริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการสถานีวิทยุ อ.ส. สำหรับล้างฟิล์มและขยายภาพสี โดยใช้เครื่องล้างและเครื่องขยายภาพสีอัตโนมัติแบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานทั่วไป พระองค์ทรงทราบเรื่องทฤษฎีสีเป็นอย่างดีและทรงศึกษาการควบคุมเครื่องล้างและขยายภาพสีอัตโนมัติ จนสามารถอัดขยายภาพสีและแก้สีภาพด้วยพระองค์เอง ด้วยความสนพระราชหฤทัยในเรื่องการถ่ายภาพและพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพ ประกอบกับมีพระราชประสงค์จะทรงใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายอย่างกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจัดตั้งส่วนช่างภาพส่วนพระองค์ขึ้นในสำนักพระราชวัง เพื่อทำหน้าที่บันทึกภาพล้างอัดขยายภาพ อนุรักษ์ภาพ และบริการภาพแก่ผู้มาติดต่อขอไปใช้ประโยชน์

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งมีจำนวนมากมาย สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ภาพแนวจิตรศิลป์ และภาพแสดงพระปณิธานในการพัฒนาประเทศ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๑. ภาพแนวจิตรศิลป์ คือภาพที่เน้นศิลปะการถ่ายภาพเป็นสำคัญ เป็นภาพที่สะท้อนความประทับใจของผู้ถ่ายภาพต่อสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายภาพแนวจิตรศิลป์ไว้มาก ดังเช่นที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบันทึกไว้ว่า

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  “ข้าพเจ้าได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายภาพ และเห็นภาพฝีพระหัตถ์ในสมุดเก็บภาพถ่าย ซึ่งจะทรงจัดภาพโดยมีหมายเลขประจำภาพ ในตอนแรกจะทรงทำด้วยพระองค์เอง ภายหลังจึงทรงสอนให้มหาดเล็กทำถวาย ภาพในสมุดมีหลายอย่าง เช่น ภาพลูก ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนโตขึ้นเป็นระยะๆ ตัวข้าพเจ้าเองมีรับสั่งว่าถ่ายภาพได้ยากมาก เพราะว่าซุกซน อยู่ไม่สุข นอกจากนั้นยังมีภาพสิ่งที่น่าสนใจ เช่น พระราชพิธีภาพรามเกียรติ์ที่ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพทิวทัศน์หรือสิ่งที่ทรงพบ เห็นในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ มีทั้งภาพสถานที่ ภาพราษฎรที่มาเฝ้า ภาพธรรมชาติที่งดงาม”

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แนวนี้มีทั้งภาพบุคคล ภาพแนวเทียบนามธรรม
และภาพความคิดสร้างสรรค์

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ภาพบุคคล ได้แก่ ภาพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ในพระอิริยาบถต่าง ๆ และเมื่อเสด็จไปเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นต่าง ๆ ก็ทรงถ่ายภาพบุคคลที่พบระหว่างทาง เช่น ภาพเด็ก ภาพคนชรา เป็นต้น

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ภาพแนวเทียบนามธรรม คือภาพที่แสดงแนวคิดเชิงปรัชญาหรือหลักธรรม ซึ่งผู้พิจารณาภาพอาจตีความไปได้ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ภาพ “ ๔ หัวใจ” ซึ่งทรงถ่ายเมื่อคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ วันหนึ่งเสด็จเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านชาวเขาบนดอยปุย ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง ใบร่วงเกือบหมดต้น แต่กิ่งหนึ่งยังมีใบเหลือค้างอยู่ ๔ ใบ แสงแดดส่องลงมาตรงนั้นพอดี ทอดพระเนตรแล้วทรงถ่ายภาพในมุมต่างๆ ไว้หลายภาพ สำหรับภาพ “ ๔ หัวใจ” ทรงพระราชทานอรรถาธิบายไว้ว่า

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๑. ใบไม้กิ่งนี้มี ๔ ใบ สมมติได้ว่าเป็นหัวใจของคน ๔ คน

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๒. ใบไม้ ๓ ใบแรกเรียงตรงเป็นแถวดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามดี เมื่อเปรียบไปก็คล้ายคนทำดีย่อมมีแต่ความเจริญก้าวหน้า ส่วนใบที่ ๔ พลิกตะแคงไม่เหมือนใคร เมื่อดูไปจะคล้ายกับคนที่ประพฤติปฏิบัติออกนอกลู่นอกทาง จึงต้องดิ้นรนผจญชีวิตไปด้วยความไม่แน่นอน

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๓. ใบไม้ ๓ ใบที่เห็นเรียบร้อยดีนั้น ถ้าลองพิจารณากันให้ใกล้ชิดอีกที ก็จะเห็นได้ว่าแต่ละใบยังมีริ้วรอยขีดข่วนด่างพร้อยอยู่บ้าง ทั้งนี้ก็ย่อมเกิดได้จากสิ่งแวดล้อมบันดาลให้เป็นไป ซึ่งจะมากน้อยประการใดก็เปรียบได้ดังหัวใจคนที่มีอันต้องผันแปรไปบ้าง เรื่องนี้จึงเป็นคติที่ควรคิด

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๔. ภาพนี้จะเห็นใบไม้ทั้ง ๔ ใบชัดเจนมาก แต่พอมองไกลออกไปที่ฉากหลังจะพบแต่ความมัวพร่า ซึ่งพอจะเปรียบได้ว่าอนาคตย่อมเป็นอนิจจัง จะเอาความเที่ยงแท้แน่นอนอะไรไม่ได้

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ส่วนภาพแนวความคิดสร้างสรรค์ คือ ภาพที่แสดงความคิดในการจัดองค์ประกอบหรือเลือกมุมมองที่แปลกใหม่ เช่น ภาพ “มุมนี้มีภาพเดียว” เป็นภาพที่ทรงถ่ายในระหว่างพระราชพิธีกฐินหลวง ณ วัดอรุณราชวราราม ขณะประทับในกัญญาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พูน เกษจำรัส อธิบายภาพฝีถ่ายพระหัตถ์นี้ไว้ว่า “จุดสำคัญคือพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ต่อจากนั้นเห็นพื้นน้ำเจ้าพระยา บอกระยะทางว่าอีกไม่ช้าเรือพระที่นั่งจะถึงท่าวัดอรุณราชวราราม ม่านกัญญาสีหนักเข้มที่เป็นฉากด้านหน้าช่วยบังคับสายตาให้เห็นพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นจุดเด่นอยู่แต่ไกล พลพายชูใบพายเรียงเป็นเส้นเฉียงขนานกับม่านได้เส้นได้สีสวยมาก เยื้องมาทางซ้าย พลเส้ากระทุ้งจังหวะ ฝีพายถือไม้เส้าเป็นเส้นตั้งฉาก ช่วยหยุดสายตาระหว่างเส้นเฉียงกับเส้นตรง ให้ความรู้สึกสวยสง่าและเฉียบขาด”

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๒. ภาพแสดงพระราชปณิธานในการพัฒนาประเทศ คือ ภาพที่ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ สภาพบุคคล สิ่งของ ภูมิประเทศ อาคารสถาปัตยกรรม และเหตุการณ์ เช่น น้ำท่วม จราจรติดขัด ภาพเขื่อน ฯลฯ เพื่อทรงใช้เป็นข้อมูลประกอบพระราชดำริในการพัฒนาด้านการเกษตร การคมนาคม การชลประทาน ฯลฯ ภาพถ่ายเหล่านี้ทรงถ่ายในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทั่วราชอาณาจักร ส่วนมากเป็นภาพถ่ายแบบฉับพลันถ่ายได้ครั้งเดียว แต่ด้วยพระปรีชาสามารถในด้านการถ่ายภาพของพระองค์ ทำให้ภาพเหล่านั้นมีความคมชัดและงดงาม ดังนั้นแม้จะเป็นภาพที่ทรงถ่ายเพื่อนำมาใช้ในงานพัฒนาก็ตาม ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ประเภทนี้มีการจัดองค์ประกอบทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ ทรงจัดแสง สี เส้น ลวดลาย พื้นผิว และรูปทรง ทำให้ภาพเด่น มีระยะ มีมิติ มีมุมมองที่แปลกตา ทรงใช้เทคนิคถ่ายภาพหลายแบบตามความเหมาะสม เช่น การถ่ายภาพแบบนำสายตา หรือทัศนมิติ (perspective) การถ่ายภาพแบบมีกรอบภาพ (frame) การถ่ายภาพแบบเงาสะท้อน (reflection) การถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อให้ได้ภาพเงาทึบ (silhouette) เป็นต้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสถึงภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ประเภทนี้ว่า

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  “ในงานด้านพัฒนา ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ภูมิประเทศในบริเวณที่น่าสนใจ พื้นที่ที่เหมาะจะสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ บริเวณหมู่บ้าน เส้นทางคมนาคม ทั้งที่ถ่ายจากพื้นราบ และถ่ายขณะประทับอยู่ในเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์ ภาพเหล่านี้สามารถใช้ประกอบพระราชดำริในการพัฒนาได้ เมื่อสร้างโครงสร้างเสร็จแล้ว บางทีก็ทรงถ่ายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกับผลงานของเขาเอาไว้ด้วย ภาพอีกหลายๆภาพแสดงความคิด ปรัชญาที่น่าสนใจ แต่ละภาพจะแสดงเทคนิคหลายอย่าง ในการถ่ายภาพ เป็นที่ทราบกันดีถึงพระปรีชาสามารถในด้านเทคนิคการถ่ายภาพ นอกจากจะทรงถ่ายภาพด้วยพระองค์เองแล้ว ยังทรงรับเชิญเป็นผู้ตัดสินภาพถ่ายในการประกวดบางครั้ง”

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ประเภทนี้มีเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่ภาพถ่ายของพระองค์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน แก้ไขปัญหาของประเทศ และพัฒนาบ้านเมืองเพื่อความผาสุกร่มเย็น และทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีมีสุขสมดังพระราชปณิธานของพระองค์อีกด้วย

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ประชาชนทั่วไปมีโอกาสชื่นชมพระปรีชาสามารถในด้านการถ่ายภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ในวาระโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนหนึ่งไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพได้ขจรขจายไปในวงการถ่ายภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยได้ทูลเกล้าฯถวายเข็มทองศิลปะการถ่ายภาพแด่พระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ นอกจากนี้ ราชสมาคมถ่ายภาพแห่งสหราชอาณาจักร ( The Royal Photographic Society of Great Britain) ได้กราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Honorary Fellow) และสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติ ( Fediration International de l’Art Photographique ) ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายเกียรติบัตรสูงสุด (Honorary Excellent FIAP) ด้วย

0
นศท. 24 ม.ค. 56 เวลา 09:53 น. 2

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9



&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489&nbsp  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา

0
dlhf 17 ม.ค. 58 เวลา 15:33 น. 3

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทรขอพระองค์ทรงพระเจริญ อยู่เปนร่มโพร่มไทร

0
bombben 21 ม.ค. 58 เวลา 14:26 น. 4

ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512

0