Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

e-industry ธันยพรพัชร_(D1)_(047)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
•    พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ [1] ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
“ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่นำมาประมวลผล แล้วเสนอออกมาในรูปที่ผู้ใช้รู้หรือเข้าใจความหมาย”
•    แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 [2] ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
“เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความรูในผลิตภัณฑ หรือในกระบวนการดําเนินการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางดานคอมพิวเตอรซอฟตแวร (software) คอมพิวเตอรฮารดแวร (hardware) การติดตอสื่อสาร การรวบรวมและการนําขอมูลมาใชอยางทันการ เพื่อกอใหเกิดประสิทธิภาพทั้งทางดานการผลิต การบริการ การบริหาร และการดําเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ซึ่งจะสงผลตอความไดเปรียบทางเศรษฐกิจ การคา และการพัฒนาดานคุณภาพชีวิตและคุณภาพของประชาชนในสังคม”
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ
•    ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประมวลผลรายวัน
•    ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบเอกสาร
•    ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการองค์กร
•    ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
•    ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
ความหมายของการสื่อสาร
•    พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ [1] ได้ให้นิยามคำว่า “การสื่อสาร” หรือ “การสื่อสารข้อมูล” (data communication) ไว้ดังนี้ คือ
“การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านทางโมเด็ม หรือข่ายงาน (network) เช่น การเรียกแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาใช้ได้”
รูปแบบการสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน
•    รูปแบบการสื่อสารซึ่งมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ  
–    การเรียกข้อมูลผ่านระบบโมเด็ม
–    การเรียกข้อมูลผ่านข่ายงาน
จุดเด่นของนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553
–    การบริหารงานของรัฐบาล (e-Government)
–    พาณิชยกรรม (e-Commerce)
–    อุตสาหกรรม (e-Industry)
–    การศึกษา (e-Education)
–    สังคม (e-Society)

E-Industry

E-Industry คือ การสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสามรถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยจะนำมาซึ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป ระบบสารสนเทศในตลาดหลักทรัพย์ เป็นระบบสารสนเทศระบบหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในส่วนของตลาด หรือข้อมูลในด้านต่างๆของบริษัททีมีการเกี่ยวข้องกับการซื่อขาย การลงทุน ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อมูลต่างๆในเชิงการตลาด ของบริษัทอุตสาหกรรม เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุนตัดสินใจเลือกบริษัทที่จะลงทุนด้วย ฉะนั้นระบบสารสนเทศในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นระบบในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของบริษัทอุตสาหกรรมจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่มาควบคู่กัน เพราะยิ่งข้อมูลนั้นเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงกลุ่มผู้ลงทุนมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ลงทุนในบริษัทมากขึ้นเท่านั้น และนั้นก็ต้องหมายถึงระบบสารสนเทศที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน
สถานภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประกอบด้วยการใช้ไอทีในสำนักงาน (Back  office) การใช้ไอทีในกระบวนการผลิต ( Production process) และการใช้ ไอที ในขั้นตอนการขนส่งและการตลาด (Logistic and marketing) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนสำนักงานเป็นส่วนใหญ่
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ โดยเน้นความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา สะดวกและทั่วถึง ตัวอย่างที่สำคัญของระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์คือการบริการ SETSMART for Investors  ซึ่งเป็นบริการข้อมูลปัจจัยพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเช่นเดี่ยวกับที่มืออาชีพใช้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสี่ยง จากต้นทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถนำข้อมูลปัจจัยพื้นฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานที่นักวิเคราะห์และบุคคลทั่วไปมักจะใช้พิจารณาในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือ การตัดสินใจลงทุน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
•    ข้อมูลบริษัทอุตสาหกรรมจดทะเบียน (Company Information)
•    ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ย้อนหลัง (Historical Trading Prices)
•    ข่าวบริษัทอุตสาหกรรมจดทะเบียน (Company News)
•    ค่าสถิติสำคัญ (Key Statistical Data )
•    อัตราส่วนทางการเงิน (KEY Financial Data and Financial Ratios)

ยุทธศาสตรที่ใช
•    นําเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะระบบอินเทอรเน็ตมาใชประโยชนในการพัฒนาขอมูลของศูนยการตลาด และตลาดกลางสินคาอุตสาหกรรม
•    สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วไป รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะซอฟตแวรและอิเล็กทรอนิกส
•    พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดยอม รวมถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
•    สนับสนุนใหมีการสรางเสริมการประสานความรูดานการวิจัยและพัฒนาในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชนในภาคอุตสาหกรรม
•    การสรางสรรใหบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้นดวย
ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับระบบอื่น
กล่าวคือ E-Industry เป็นระบบที่ช่วยในการยกระดับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการให้บริการโดยใช้ระบบไอทีและเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะส่งผลในส่วนกลางระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์ คือ การใช้ไอทีที่มีความเจริญก้าวหน้า และมีความทันสมัย รวมไปถึงความสะดวกรวดเร็วและทั่วถึง ทำให้ระบบฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์ จดทะเบียนงบการเงิน ข่าวสำคัญที่เปิดเผย ตลอดจนการซื่อขายตลาดหลักทรัพย์ สามารถที่จะนำข้อมูลมาแยกแยะและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับเผยแพร่ทั่วไป และใช้งานในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป ทั้งนี้ระบบจะทำการ Update ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใหม่และทันเหตุการณ์ในฐานข้อมูลทุกสิ้นวัน

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์
1. สามารถให้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
2. เพิ่มความเร็วในการติดต่อประสานงานระหว่างกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรม
3. แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม
4. ช่วยเสริมสร้างการใช้ไอทีในภาคอุตสาหกรรมเพื่อความทันสมัยเท่าเทียมคู่แข่ง
5. ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
6. ให้ข้อมูลต้องการแก่ผู้ที่ต้องการเลือกบริษัทในการลงทุน
7. เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการศึกษาวิเคราะห์

ข้อดีของระบบ E-Industry
•    เป็นระบบที่ทำให้ทั้งนักลงทุนและผู้ที่ต้องการซื้อบริการทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ พบปะพูดคุยและ สามารถลดพื้นที่ของตลาดในการที่ทั้งคู่จะมาติดต่อซื้อ – ขายกัน
•    สามารถรับข้อมูลข่าวสารทางอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
•    ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบสินค้าทางอุตสาหกรรมที่ต้องการเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ผู้ยริโภคควรได้รับ
•    ประหยัดค่าใช่จ่ายทางการตลาดของบริษัทในการเผยแพรสินค้าทางอุตสาหกรรม
•    เป็นระบบที่บริษัทอุตสาหกรรมสามารถตรวจสอบได้ และคำนวณผู้เข้ามาสมัคในระบบได้
•    อุตสาหกรรมสามารถเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักรอย่างกว้างขวางในระดับสากล

ข้อเสียของระบบ E-Industry
•    มีการแข่งขันทางการตลาดสูง ทำให้ราคาสินค้าทางการตลาดของบริษัทลดลงและส่งผลถึงต้นทุนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
•    มีการอ้างอิงข้อมูล และเป็นหนทางของพวกมิจฉาชีพในการฉวยโอกาสกับผู้บริโภค
•    ผู้บริโภคอาจได้รับข้อมูลเกินจริงจากทางอุตสาหกรรม
•    ผู้บริโภคไม่สามารตรวจสอบสินค้า หรือไม่สามารถดูสินค้าก่อนการตัดสินได้
•    จากความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารที่เร็วและกว้างขวางอยู่ทุกนาทีทำให้มีการแข่งขัน และความหลากหลายของอุตสาหกรรมยากต่อการตัดสินใจสมัคใช้บริการ

สรุป
    ในการตัดสินใจในการลงทุนทาง E-Industry เป็นอีกหนทางที่ทำให้มีการขับเคลื่อนทางอุตสาหกรรมที่กว้างขวาง และเป็นสากล และควรมีการตรวจสอบอย่างระเอียดถี่ถ้วนในการลงทุนทาง E-Industry และข้อมูลทางการตลาดอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลทางการตัดสินใจ ไม่เพียงทางอุตสาหกรรมฝ่ายเดียว แต่ผู้บริโภคก็ควรคำนึงถึงเรื่องลายละเอียดอื่น ๆ อีก
ดิฉันหวังว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ดิฉันได้นำเสนอให้ท่านได้รู้จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และข้อมูลทางการศึกษาอื่น ๆ ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
•    www.9engineer.com/index.php?m=deirectory
•          www.sc.chula.ac.th/.../เทคโนโลยีสารสนเทสและการสื่อสาร.ppt
•    http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2007-1/Assignment-02/BPA_30_82/mane.htm
•    Learners.in.th/file/is4835776/E.industry.doc
•    Intranet.dip.go.th/article/datafile/e-Industry.doc
•         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่
•         ข้อมูล Powerpoint ผศ.ดร. ภัทรสินี ภัทรโกศล ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

แสดงความคิดเห็น