Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"เทคนิคการสัตวแพทย์" มีงานรองรับมากน้อยแค่ไหน งานอะไรบ้าง ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะ เราเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กำลังสับสนกระวนกระวายใจในการเลือกคณะมากๆเลย
ตอนนี้ได้แล้ว 2 คณะที่อยากเรียน จริงๆ จังๆ มากถึงมากที่สุด นั่นก็คือ
1.คณะสัตวแพทยศาสตร์
2.คณะวิทยาศาสตร์ สาขาไว้เลือกทีหลัง แต่ก็มีในใจบ้างแล้ว

แต่ทว่า ที่ 1 ในใจนั้น ดูจะสูงเกินไป ต้องพยายามมากจนเกินขีดจำกัดตนเองเลยทีเดียว
ซึ่ง % ที่เราจะีมีโอกาสติดนั้นน้อยมาก ถ้า เต็ม 5 % ก็เหลือ 1 % เลย
ด้วยความที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับสัตว์(ใจจริงอยากรักษามากกว่าทำอย่างอื่น)

จึงค้นหาคณะที่เกี่ยวกับสัตว์ แล้วเราก็มาเจอ
"คณะเทคนิคการสัตวแพทย์" เจอปุ๊บก็หาข้อมูลเกี่ยวกับงานรองรับ พบว่า ไม่ค่อยมี (หรือเราหาไม่เป็นเองก็ไม่รู้สิ)
ถือว่าเป็นตัวเลือกสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เข้ามาในชีวิต เพราะมีรับตรงด้วย สมมุตินะสมมุติ ถ้าติดรับตรง พ่อแม่บังคับให้รับไว้อย่างแน่นอน ใจเราก็ต้องเลือก ด้วยใจกลัวจะไม่ติดคณะสัตวแพทยศาสตร์

เราบอกได้เลยว่าเสียใจมากที่จะต้องหยุดความฝันการเป็นสัตวแพทย์ไว้ ณ ตรงนั้น เวลานั้น
แต่การเอนท์ติดสำคัญกว่า(เราให้ความสำคัญกับชื่อเสียงพ่อแม่มากพอสมควร) ซึ่งคณะนี้ก็เรียนคล้ายกัน แต่ไม่แน่นเท่าสัตวแพทย์ สรุป คือ ก็เรียนได้อ่ะ ! (เข้าใจน้ำเสียงใช่ม๊า? - -")
ถ้าเป็น admission คงเลือกไว้อันดับที่ 3 หรือ 4 อย่างแน่นอน

แต่ถ้า เราได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รองรับนักศึกษาที่จบจาก คณะ "เทคนิคการสัตวแพทย์"
มีมากน้อยเพียงใด มีงานอะไรบ้าง สามารถทำงานกับสัตวแพทย์เหมือนผู้ช่วยสัตวแพทย์ได้เลยหรือไม่ เมื่อได้รับข้อมูลจากทุกๆความคิดเห็นแล้ว ...
เราอาจจะเปลี่ยนใจมุ่งที่จะเข้าคณะนี้ หรือ กลับไปทำความฝันเดิมให้เป็นจริง(แม้จะดูเลือนลางมากก็ตาม)


ขอขอบคุณทุกๆความคิดเห็นที่มีสาระ  ตั้งใจจะให้ข้อมูลจริงๆ ล่วงหน้านะคะ



PS.  

แสดงความคิดเห็น

>

39 ความคิดเห็น

sline 11 มิ.ย. 54 เวลา 01:03 น. 1

ไม่แน่ใจในสิ่งที่จขกท.ถามนะ

แต่บอกเจ้าของกระทู้ได้แค่ว่า อยากเป็นสัตวแพทย์ ต้องเข้าคณะสัตวแพทย์

singular กล่าวไว้ว่า ถ้าไม่ได้ลองทำตามหัวใจ จะรู้ได้ไงว่า เราจะไปได้ไกลสักเท่าไหร่

ชีวิตมีความเสี่ยงทุกทาง แต่เสี่ยงไปทางไหนแล้วเราจะยอมรับผลของมันได้ดีที่สุด ^^

0
melloniiz 11 มิ.ย. 54 เวลา 02:04 น. 2

เราก้อยากเรียนสัตวแพทย์เหมือนกัน&nbsp 

เรากะ1.สัตวแพทย์
&nbsp &nbsp &nbsp  2.สัตวศาสตร์


PS.  แตงโม เรียกเมลก้อได้ I AM WYC อายุ17 Sarang Wayo ~~ I love {GZ} ~~my twitter > @melloniiz_wyc <
0
เดก vet tech 11 มิ.ย. 54 เวลา 12:23 น. 3

นักเทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ นักเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่จบการศึกษา สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ (Veterinary Technology) ซึ่งทำหน้าที่เชิงบูรณาการในกลุ่มการดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดูแลและจับบังคับสัตว์ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการชีวิตทั้งปกติและผิดปกติของสัตว์และสามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการดูแลสัตว์ การตรวจชันสูตรทางปฏิบัติการและสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล (Supervision) ของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น โดยสามารถเป็นผู้สนับสนุนในงานสัตวแพทย์ในหลายประการ แต่ไม่สามารถบำบัดรักษาโรค วินิจฉัยโรค จ่ายยา ผ่าตัด ฉีดยา หรือการกระทำอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดห้ามได้ โดยปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับอาชีพเทคนิคการสัตวแพทย์ (การปฏิบัติหน้าที่ด้านพยาบาลสัตว์ หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสัตวแพทย์ด้านบำบัดรักษา นักเทคนิคการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพียงลำพัง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น ยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ด้านสัตว์ทดลอง ฯลฯ นักเทคนิคการสัตวแพทย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ และ/หรือ ตามภาระงาน - Job description ทั้งนี้ในอเมริกาเหนือ ผู้จบการศึกษาทุกระดับ ต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ และ/หรือมลรัฐ นอกจากนั้นการทำงานเป็นคณะ - teamwork มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบบริการสุขภาพสัตว์)

การแบ่งประเภทของสาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ ตามระบบการศึกษาของอเมริกาเหนือ (North America) แบ่งออกตามระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ตามคุณวุฒิ ดังนี้

1. นักเทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Technologist" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาทาง Veterinary Technology ในระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree) ในสหรัฐอเมริกา สำหรับในแคนาดา จะเรียกว่า "Animal Health Technology" หรือ "เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์"

โดยสามารถทำหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse) และ สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิกทางสัตวแพทย์ได้ (Veterinary Clinical Laboratory Scientist) โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หลายประการ อาทิ นักเทคนิคการสัตวแพทย์ในสวนสัตว์หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้ (Zoo Veterinary Technologist/Technician) ปฏิบัติหน้าที่นักวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในหน่วยทรัพยากรสัตว์ทดลอง (Laboratory Animal Technologist/Technician) หรือปฏิบัติงานในฟาร์มปศุสัตว์ หรือ หน่วยวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือวิทยาการอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

ทั้งนี้ถือว่าสาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็น "พหุวิทยาการ" และนักเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็น "พหุวิชาชีพ" สาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบบริการสุขภาพมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างมาก

ในประเทศไทย มีหลักสูตรเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ ในหลายสถาบัน และ อาจจะหมายรวมถึง หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ (Animal Health Science) ด้วย (เป็นข้อสังเกตเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีระบบมาตรฐานกลางในการจัดการศึกษาในสาขาวิชานี้ ทั้งนี้แต่ละสถาบันการศึกษามีอิสระในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง

2. เจ้าหน้าที่เทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Technician" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาทาง Veterinary Technology ในระดับอนุปริญญา (Associate Degree) สำหรับในประเทศไทย อาจจะหมายถึง ผู้ที่จบการศึกษา ปว.ส. หรือ อนุปริญญา สาขาสัตวรักษ์ (เป็นข้อสังเกตเท่านั้น)

โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เหมือนกับนักเทคนิคการสัตวแพทย์ แต่อาจจะได้รับมอบหมายภาระงานที่รับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานตำแหน่งที่แตกต่างกัน

3. ผู้ช่วยสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Assistant" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรทางสุขภาพสัตว์ (Animal Health) หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้สถานศึกษาบางแห่งอาจจะเรียกชื่อหลักสูตรว่าการบริบาลสัตว์ (Animal Care) หรืออาจจะเรียกชื่อหลักสูตรเป็นอย่างอื่น หรืออาจจะจัดให้มีหลักสูตรเป็นการเฉพาะอย่าง รวมทั้งบุคคลที่ได้ฝึกปฏิบัติงานโดยตรง (On-the-Job Training) จากผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 ด้วย โดยต้องขึ้นทะเบียนกับสมาคมหรือองค์กรอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรแบบเดียวกันกับในอเมริกาเหนือ แต่สำหรับการฝึกบุคคลเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยสัตวแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์ประจำสถานพยาบาลสัตว์หรือเจ้าของกิจการสถานพยาบาลสัตว์ สามารถทำการรับสมัครบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาต่างๆ กัน เพื่อฝึกบุคคลนั้นให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยสัตวแพทย์โดยอิสระ

การจัดการศึกษาและประกอบอาชีพทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ในอเมริกาเหนือจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตกับสมาคมหรือองค์กรอาชีพด้วย

สำหรับการจัดการศึกษาตามระบบของยุโรป นิยมจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรการพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nursing Science) เป็นส่วนใหญ่ โดยเน้นการเป็นพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse) เป็นสำคัญ แต่สถานศึกษาบางแห่งอาจจะเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ในหลักสูตรพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Pathology) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติหน้าที่การตรวจทางห้องปฏิบัติการคลินิก เป็นการเฉพาะ และสถาบันการศึกษาบางแห่งยังเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาสหเวชศาสตร์ทางสัตวแพทย์ต่างๆ เช่น กายภาพบำบัดทางสัตวแพทย์ เป็นต้น

สำหรับการแปลคำว่า Veterinary Technology ว่า เทคนิคการสัตวแพทย์ นั้น สาขาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ เข้าใจว่าน่าจะแปลผิดศัพท์บัญญัติ คำว่า Technology ควรแปลตรงตัวว่า เทคโนโลยี ดังนั้นควรแปลว่า เทคโนโลยีการสัตวแพทย์ จะเป็นการแปลคำศัพท์ตรงความหมายและศัพท์บัญญัติ

"เทคโนโลยี" และ "เทคนิค" ว่าความหมายที่ครอบคลุมแตกต่างกัน นอกจากนั้นการแปลว่า "เทคโนโลยีการสัตวแพทย์" จึงเป็นการไม่ดูถูกตัวเอง และสามารถสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะถึงความแตกต่างระหว่างสัตวแพทยศาสตร์ และเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ ได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ โดยสาขาวิชาฯ จึงแปลคำศัพท์เป็น "เทคโนโลยีการสัตวแพทย์ " แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน นิยมคำว่า เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ อย่างที่ใช้ในแคนาดามากกว่า

บทความนี้อาศัยข้อมูลจากระบบการศึกษาของอเมริกาเหนือ อาจะเหมือนหรือแตกต่างจากระบบการศึกษาของประเทศไทย และกฎหมายที่ใช้บังคับอาจจะแตกต่างกัน บทความนี้ไม่มีเจตนาให้ร้ายหรือทำให้บุคคลใดมีความรู้สึกด้อยคุณค่าแต่ประการใด

credit :: http://th.wikipedia.org

0
—★EmoMelody™ϟHP 11 มิ.ย. 54 เวลา 14:31 น. 4

ดูเป็นอะไรที่
อยู่ใต้การบังคับของผู้อื่นซะจริง



PS.  ก็เป็นแบบนี้อะ!! จะให้ทำยังไงได้? : ;; : Retrorian ' เดอะ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เอฟซี
0
sptdn 11 มิ.ย. 54 เวลา 17:11 น. 5
ขอบคุณมากค่ารุ่นพี่ vet tech

ทำงานในกรมปศุสัตว์ก็ได้ ยิ่งน่าสนใจ เป็นผู้ช่วยสัตวแพทย์ได้ยิ่งใกล้ความฝัึน
แสดงว่า ถ้าจบมาแล้ว สามารถทำงานเป็นผู้ช่วยสัตวแพทย์ในโรงพยาบาลสัตว์ทั่วๆไปก็ได้เช่นกัน
สิ่งที่นักเทคนิคการสัตวแพทย์ทำได้ เหมือนจะคล้ายๆกับ สัตวแพทย์ชั้น 2 เลย

(หวังว่าเราคงเ้ข้าใจถูกแล้วนะ แหะๆ)

สรุปว่า  : ถ้าสอบติด ก็จะเรียน ไม่สละสิทธิ์เด็ดขาด เลือกเรียนให้จบมีงานทำ มากกว่าฝันลมๆแล้งๆอ่ะนะ เพราะรู้ว่าความสามารถเรามีเพียงเท่านี้
แต่จะพยายามให้ถึงที่สุด !
ถ้าไม่ติดก็ตามหาความฝันและเลือกไว้อันดับ 3 นั่นแหละ 

PS.  
0
mut20 12 มิ.ย. 54 เวลา 02:23 น. 6

ทำไมไม่เอาสัตวแพทย์ไปเลยละครับ พอดีผมเรียนสัตวแพทย์มหานครมีเพื่อนซิ่วจากเทคนิคสัตวแพทย์ ของเกษตรมาเอามหานครกันเยอะเลย ยังไงความคิดผมว่าเรียนสัตวแพทย์ = หมอสัตว์
ส่วนเทคนิคการสัตวแพทย์มันไม่มีใบวิชาชีพนะครับ จบมาคือคุณต้องเป็นพนักงานไม่ก้ลูกน้องเขาอย่างเดียว ลองคิดให้ดีๆนะครับ อ่านหนังสือลองสอบ ม.รัฐดูก่อน ถ้าไม่ได้มีโครงการพิเศษ ขอนแก่นอีก ถ้าเอาจริงมามหานครเลยครับ อบอุ่นดี

0
sptdn 12 มิ.ย. 54 เวลา 13:05 น. 7

ขอบคุณค่า พี่คห.6
ตอนนี้หนูก็อ่านหนังสือแบบมุ่งสัตวแพทย์อยู่อ่ะพี่ แต่กว่าจะถึงวันนั้น ก็กลัวคะแนนไม่ถึง
เพราะยังไม่เคยสอบแกทแพท ต.ค.นี้สอบครั้งแรกคะแนนมันจะหดหู่มากไปไหมนะ
แต่ก็จะทำให้เต็มที่เพื่อคณะที่เราใฝ่ฝัน มหาลัยไหนก็ได้
เพราะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ท้อไปก่อนแล้ว ขอบคุณมากค่ะพี่


PS.  
1
satoby 18 ม.ค. 59 เวลา 19:47 น. 7-1

คือว่า ถ้าเรียนคณะวิทย์สาขาเทคนิคสัตวแพทย์ กับเรียนคณะเทคนิคสัตวแพทย์จริงๆ พอไปเรียนต่อคณะสัตวแพทย์มันจะต่างกันมั้ยคะเศร้าจัง

0
veter kku 22 มิ.ย. 54 เวลา 00:38 น. 8

มีให้เลือกหลายทางอยู่นะ
1. มุ่งตรงที่ คณะสัตวแพทย์เลย ทั้ง ม รัฐ หรือเอกชน ก้มีหลักสูตรคล้ายๆกัน(แต่อยากให้เลือกที่ๆรับรองแล้วมากกว่า แน่นอนกว่า)
2. เรียน คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ให้จบ แล้วมาต่อคณะสัตวแพทย์ ที่ มข. (แต่ก้ยังเรียน 5-6 ปี นะ และก้ต้องสอบเข้าโครงการพิเศษ) แล้วก้ ถ้าได้ทางนี้จริงๆ อยากให้คิดว่า เวลาที่เรียนมาก่อนหน้านี้ ไม่ได้เป็นการเสียเวลาเรียน เพราะยังไง ต่อให้เราไม่ได้เป็นสัตวแพทย์ ชีวิตทั้งชีวิต หากได้ก้าวมาทางนี้แล้ว ยังไงเราก้ต้องอยู่กับการเรียนรู้ไปจนตลอด เพราะสาขานี้ จะยังไม่มีการหยุดนิ่งหรอก ยังไง มันก้ต้องมีการขยายความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
ปล. ตอนนี้ที่ มข. มีเปิดรับสมัครผู้จบ ป.ตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ ต่อ เข้าคณะแล้ว แต่รับแค่ 10คน/ปี&nbsp ปลล. สู้ๆนะคร้าบบบบบบบบบบบบ

0
sptdn 22 มิ.ย. 54 เวลา 19:57 น. 9
ขอบคุณค่าพี่ คห.8
จากที่พี่บอกมา หนูเลือกทางแรกแล้วล่ะ

สำหรับทางเลือกที่ 2 หนูว่าความรู้พื้นฐานคงได้มาแน่นเต็มที่จากเทคนิคกันแล้วเนอะ
มาต่อสัตวแพทย์ น่าจะล้ำหน้าคนอื่นไปก้าวสองก้าวแล้ว ก็น่าสนใจ แต่เวลาไม่พอจริงๆ
ถ้าเลือกทางนี้ หนูต้องทำงานส่งตัวเองเรียนแน่นอนเลย คงเป็นอะไรที่หนักมากเกินไป

ขอบคุณนะคะพี่ๆทุกๆคน ขอให้พี่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 กันเลย หนูตัดสินใจได้สักที

PS.  
0
smorn 29 มิ.ย. 54 เวลา 14:17 น. 10

ยังไม่มีตำแหน่งทางราชการ พอมีบ้าง (น้อยมาก) สอบบรรจุข้าราชการเป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมปศุสัตว์&nbsp ส่วนมากได้บรรจุเป็นพนักงานราชการ หรือทำงานแล็บเอกชน โรงพยาบาลสัตว์ คลินิกสัตวแพทย์ (ทำหน้าที่พยาบาลสัตว์)

0
sptdn 29 มิ.ย. 54 เวลา 20:46 น. 11

อ่อออ โดยส่วนตัวก็อยากรับราชการเหมือนกัน ดูมั่นคงดีอ่ะ
เพราะคนจบมายิ่งรุ่นใหม่กว่าก็ยิ่งเก่งกว่า ไม่อยากตกงานอ่าค่ะ


PS.  
0
aom 8 ก.ค. 54 เวลา 20:13 น. 12

อย่าเลือกเทคนิคการสัตวแพทย์ เพราะกลัวว่าคะแนนจะไม่ถึงสัตวแพทย์ซิคะ มีคนอีกมากที่อยากจะเข้าvet techจริงๆ ถ้าคนพวกนั้นคะแนนต่ำกว่า แล้วไม่ติด เจ้าของกระทู้ติดแต่ไม่ได้ชอบvet techจริงๆ ออกไปซิ่วเข้าสัตวแพทย์ คนที่อยากจะเข้าจริงๆ+ใจรักก็แย่ซิคะ
ลองทำให้สิ่งที่ตัวเองรักและต้องจากจริงๆเถอะค่ะ อย่าคิดว่าเราทำไมไม่ มั่นใจในตัวเองค่ะ สู้ๆนะคะ

0
vet 22 ก.ค. 54 เวลา 13:43 น. 14

พี่เป็นสัตวแพทย์ มข. เพิ่งจบปี 2554 นี้และทำงานแล้วคับ&nbsp จากประสบการณ์ตรงและเป็นครูสอนพิเศษเด็กสมันเรียนมหาวิทยาลังบ้างเล็กน้อย
ขอแนะนำน้องนะครับ
1.นอกจากจะนึกถึงคณะที่เราชอบแล้วควรนึกถึงจบมาแล้วทำงานอะไร มีงานไหม
สัตวแพทย์ ตอนนี้งานเยอะมาก แต่กว่าอีก 6 ปีข้างหน้า ก็แล้วแต่เศรษฐกิจ&nbsp แต่พี่เชื่อว่า งานเยอะกว่าวิทยาศาสตร์และvet tech แน่นอน&nbsp เพราะจบสัตวแพทย์ 6 ปี ได้วุฒิสองอันคือ วท.บ. และ สพ.บ.
2.เทียบกันเป็นคณะ
สัตวแพทย์อย่างที่บอกงานเยอะ&nbsp แต่ฐานเงินเดือนแต่ละสาขาแตกต่างกันมาก มีหลากหลายให้น้องเลือก&nbsp สำหรับข้าราชการเปิดสอบสองปีครั้ง ได้บรรจุปีละประมาณ 20 คนก็แล้วแต่ปีอีก
วิทยาศาสตร์งานก็พอมี(ที่จริงงานก็มีเยอะ แต่คนจบมาก็เยอะ)&nbsp แต่จะให้แนะนำจริงๆ เรียนครูวิทยาศาสตร์ดีกว่า&nbsp สอบบรรจุมีทุกปี&nbsp ยิ่งมหาวิทยาลัยรัฐสอบได้อยู่แล้ว
vet tech หางานยากมาก โดยปกติแล้วเค้ารับเทคนิคการแพทย์ก็ได้

0
sptdn 17 ส.ค. 54 เวลา 23:23 น. 15

อ๋ออเข้าใจแล้วค่ะพี่ คือเทคนิคการสัตวแพทย์เหมือนจะเจาะจงไปเลยทำให้หางานยาก
ซึ่งเปรียบเทียบกับเทคนิคการแพทย์จะดูกว้างกว่า สามารถทำงานในสายของเทคนิคการสัตวแพทย์บางงานได้

แต่ถ้าชอบวิทยาศาสตร์จริงๆ พี่แนะนำให้เรียนครูไปเลยหนูเห็นด้วยมากๆ
เพราะตอนนี้ครูขาดแคลน ถ้าไม่เีรียนครู จบคณะวิทยาฯมาก็เห็นทีจะหางานยาก เพราะคนจบเยอะ

ขอบคุณค่าพี่คห.14


PS.  
0
แค่คนเดินผ่านมา 10 ธ.ค. 54 เวลา 12:59 น. 16

คำเตือนอย่างสุดท้ายนะครับ

ไม่ว่าน้องจะเรียนคณะอะไรด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่
แต่สิ่งหนึ่งที่น้องต้องไว้จำไม่ว่าจะเป็นสัตวแพทย์ เทนิคการสัตวแพทย์ คือมันไม่ได้เรียนๆง่ายๆอย่างที่น้องคิดแน่นอน&nbsp นี่คือข้อความที่เอามาจากการบอกเล่าของเพื่อนพี่ทั้งหมด(มีเพื่อนคณะสายนี้พอตัว)
- คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรมีคนคนเก่งเข้าทุกปีและมีคนที่ลาออกตั้งแต่ปีหนึ่งทุกปีเช่นเดียวกัน(ลาออกเพราะเรียนไม่ไหว รับสังคมไม่ไหว ไม่ได้หมายความว่าสังคมแย่นะ แต่การแข่งขันสูงๆจริงๆคณะนี้ เรื่องเรียนแข่งขันกันค่อนข้าางมาก ถ้าได้คะแนนเป็นที่สุดท้ายของรุ่น จงรุ้ตัวเลยว่า คุณจะโดนกดดันมากแค่ไหน ขอให้เตรียมใจต่อความลำบากไว้ด้วย)
- คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ก็มีคนเข้าและออกเช่นกัน(ทั้งเรียนไม่ไหว โดนไทด์หรือย้ายไปสัตวแพทย์
จากประสบการณ์ของเพื่อนพี่ที่อยู่คณะนี้ บอกได้คำเดียวว่าเรียนถึงไม่เท่าสัตวแพทย์แต่เนื้อหาล่ะแน่นพอกัน และเค้าบอกพี่ว่าเรียนคณะนี้ก็แย่อยู่แล้วถ้าให้ไปสัตวแพทย์ตัวเองคงไม่ไหวแน่ๆ คิดง่ายๆเรียนมาสองปีโดนไล่ออกหรือพึ่งคิดได้ว่ามันหนักไปมันเสียเวลามั้ย)
- คณะเกษตรสาขาสัตวบาล บอกคำเดียวว่าเรียนน้อยกว่าสัตวแพทย์และเทคการสัตวแพทย์แน่นอนเพราะเค้าไม่ได้เจาะลึก ขนาดนั้นและเรียนมุ่งเน้นที่สัตวเศรษฐกิจแต่สองคณะนั้นเรียนหมดเลยทีเดียวแต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะนี้เลยคือ บริษัท CP มีโควต้าของนิสิตคณะนี้ทุกปี ว่าง่ายไเรียนไม่ยากมาก แต่มีงานทำเงินดี
- คณะวิทยาศาสตร์ อย่างที่น้องรู้จบว่าส่วนใหญ่จะเลือกที่จะเป้นครูหรืออาจารย์มากกว่า เรื่องเรียนพี่เองยังไม่มีข้อมูลมากนัก

สิ่งที่จะย้ำคือชอบเรียนแน่มั้ยอันนี้จริง!! แต่สิ่งที่ตามมาคือเรียนไหวรึเปล่า บอกได้เลยว่าคณะสายแพทย์ทุกคณะเรียนไม่ง่ายนะ สอบทีกระอักเลือดกันเลยทีเดียว(อย่าเอามาตรฐานใดของมัธยมปลายมาวัดเพราะเทียบกันไม่ได้เลย เกรดจาก 4 กลายเป็น 2-3 ได้ภายในปีแรกที่เข้าเป็นธรรมดา)

อย่าได้กลัวคำว่าไม่มีงานทำ อย่าได้คิดว่าตนเองเรียนไหว เพราะมหาวิทยาลัยเหมือนประตูอีกก้าวที่น้องต้องเดินผ่าน มันไม่ได้ง่ายเหมือนที่ชีวิตน้องผ่านมาแน่นอน

1
Suwit72920 11 ก.พ. 65 เวลา 18:42 น. 16-1

ปัจจุบันนี้ก็ปี 2565 แล้ว ตอนนี้ CP มีโควต้าให้เด็กคณะนี้ไหมครับ(สัตวศาสตร์)

0
Khunnhing 18 ธ.ค. 54 เวลา 20:49 น. 17

โฮ้พี่มันเหนื่อย มันยากขนาดนั้นเลยเหรอ
เกิดอาการท้อแท้ขึ้นมาเลยอ่ะ
แล้วหนูผู้หญิงอีก อ๊าก!!
หนูนึกว่าเทคนิคสัตวแพทย์จะยากน้อยกว่าสัตวแพทย์แล้ว
ค่อยเรียนต่อเอาได้ไม่ใช่หรอค่ะ มันก็จะได้เป็นสัตวแพทย์เหมือนกัน แต่ต้องต่อโท

0
ไพลินภัทร 21 ธ.ค. 54 เวลา 22:13 น. 18

เทคนิคการสัตวแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นงานในแลบเสียมาก
แต่ถ้าวัดกันแล้วก็เบากว่าสัตวแพทย์ค่ะ
 แต่เรื่องสัตวแพทย์เกษตรแข่งกันเรียน ที่จริงก็ทุกที่นั่นแหละค่ะ


PS.  คนๆนี้จะขอจับ "เข็มฉีดยา" และ "ปากกา" ในคราวเดียว
0
แป้ง 22 ธ.ค. 54 เวลา 10:24 น. 19

พี่คะ เรียนคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ นี่ ถ้าเกิดจะเรียนต่อเป็นสัตวแพทย์ต้องเรียนต่อโทกี่ปีคะ แบบว่าเรามีพื้นฐานมาแล้วจากการเรียนเทคนิคการสัตวแพทย์&nbsp  แล้วถ้าไม่เรียนต่อโทจะสามารถหางานได้ที่ไหนบ้าง มีสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง มีใบประกอบวิชาชีพให้หรือป่าว

0
P' vet tech 30 ธ.ค. 54 เวลา 13:25 น. 20

>>> ตอบ___"น้องแป้ง"___นะคับ
&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp  ถ้าจบเทคนิคการสัตวแพทย์ และจะเรียนต่อเป็น "สัตวแพทย์" นั่นต้องไปสอบเข้าภาคพิเศษอีก 6 ปี (ม.ขอนแก่น&nbsp ม.เชียงใหม่ ม.มหานคร) แต่มีบางวิชาสามารถเทียบโอนเกรดไปได้&nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp  ถ้าต่อ"โท" คณะสัตวแพทย์ ก็สามารถเลือกต่อได้หลายสาขา เช่น พยาธิวิทยา ปรสิตวิทยา จุลชีวิทยา เป็นต้น

&nbsp &nbsp &nbsp  ถ้าไม่ต่อ "โท" สามารถสมัครงานได้หลายที่เหมือนกัน เอาตามที่มีรุ่นพี่ไปทำงานกันเยอะแล้วกันนะคับ เช่น

>>>>สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ บางเขน(นักวิทยาศาสตร์ )&nbsp ทั้งงานพยาธิวิทยา, immune ,จุลชีววิทยา , Molecular Biology
&nbsp 
>>>> โรงพยาบาลสัตว์เกษตร บางเขน (นักวิทยาศาสตร์) <ทำงานคู่กับสัตวแพทย์>ซึ่งรับเทคนิคการสัตวแพทย์ทุกปี เนื่องจากเด็กที่จบเทคนิคการสัตวแพทย์นั้นสามารถเรียนรู้งานได้เร็ว เพียงไปเพิ่มความชำนาญเท่านั้น เพราะมีประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน+ปฏิบัติ และยังผ่านการฝึกงานมาโดยตรง <ได้เปรียบเด็กที่จบจากคณะอื่นแน่นอน>
>>>>โรงพยาบาลสัตว์เกษตร บางเขน (นักวิทยาศาสตร์)&nbsp งานห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา งานธนาคารเลือด

>>>>โรงพยาบาลสัตว์มหิดล ศาลายา (นักวิทยาศาสตร์) ทำงานห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ///ห้องนี้มีแต่รุ่นพี่เทคนิคการสัตวแพทย์เท่านั้น////

>>>> โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์&nbsp งานพยาบาลสัตว์และห้องปฏิบัติการ

>>>> งานห้องปฏิบัติการเอกชน เช่น Central lab, VDL ซึ่งเป็นงานห้องปฏิบัติการวินิจฉัยทางสัตวแพทย์โดยตรง


งานของเทคนิคการสัตวแพทย์จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ

&nbsp &nbsp 1. งานพยาบาลสัตว์
&nbsp &nbsp 2. งานห้องปฏิบัติการ

>>>> ตอนนี้เทคนิคการสัตวแพทย์ยังไม่มีใบประกอบอาชีพ ยังอยู่ในการดำเนินการของสมาคม เทคนิคการสัตวแพทย์แห่งประเทศไทยอยู่คับ

0