Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สองมาตรฐาน กับ เลือกปฏิบัติ ต่างกันอย่างไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
         สังคมทุกวันนี้ถูกแบ่งแยกด้วยคนสองจำพวก จำพวกแรกคือ ผู้ใหญ่ จำพวกที่สองคือ เด็ก ซึ่ง เราไม่สามารถแยกได้เลยว่า เด็ก เป็นบุคคลลักษณะในประเภทใด และผู้ใหญ่คือบุคคลลักษะในประเภทใด ตามกฎหมายผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว กล่าวคือ ผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป ส่วนผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้นจัดอยู่ในประเภทของ เด็ก หลายๆคนคงจะสงสัยว่า แล้วในสังคมการศึกษาล่ะ จะแบ่งแยกอย่างไร?

       สังคมการศึกษาคือสังคมของผู้มีความรู้ มีการศึกษาที่ดี ผู้ที่เป็นนักศึกษาจะถูกมองว่าเป็นเด็ก และผู้ที่ให้การศึกษาจะถูกมองว่าเป็นผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วก็ตามก็ยังถูกมองว่าเป็นเด็กอยู่ทุกครั้งไป ผู้ใหญ่มีหน้าที่ในการ ให้วิชาความรู้ ให้คำปรึกษา ให้การอบรมสั่งสอน ให้แนวทางในการแก้ปัญหา และเด็กก็มีหน้าที่รับเอาในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้มา เด็กแต่ละคนจะรับในสิ่งนั้นได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคน มีสติปัญญา มีจำนวนรอยหยักในสมอง รวมถึง ความเฉลียว ไม่เท่ากัน เด็กจึงถูกผู้ใหญ่แบ่งแยกออกเป็นสองประเภท คือ เก่ง และ ไม่เก่ง แต่ คน 1 คนใช่ว่าจะเก่งไปซะทุกเรื่อง ดังนั้น แต่ละคนก็จะเก่งแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจจะเก่งเรื่องเรียนแต่ไม่เก่งในการแก้ปัญหา เด็กอีกหนึ่งคนอาจจะเก่งในด้านการกีฬา แต่ไม่เก่งเรื่องเรียน ก็ว่ากันไปตามความเก่งของแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่มักจะแยกประเภทของความเก่งที่ผลของการศึกษา จึงทำให้เห็นได้ว่า ผู้ใหญ่โดยส่วนใหญ่ในสังคมมักจะชื่นชมเด็กที่เรียนดี และเรียนเก่งเสมอ จากที่บอกในข้างต้นว่า ผู้ใหญ่เป็นผู้ให้ในทุกด้านกับเด็ก เด็กจึงซึมซับและเรียนรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนเด็กจากพฤติกรรมของตัวผู้ใหญ่เอง และ เลือกปฏิบัติกับเด็กที่เก่งและดีกว่า เพียงเพราะความคิดที่ว่าเด็กที่เรียนเก่งมักจะปฏิบัติตัวดีและเก่งในทุกๆเรื่องเสมอ และเด็กประเภทนั้นจัดว่ามีอยู่ในจำนวนที่น้อย และเด็กทีเหลือส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเภทผลการเรียนระดับกลางลงมา จึงถูกผู้ใหญ่และบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าเป็น ปัญหาและจุดอ่อนของสังคม ผู้ใหญ่เหล่านั้นจึงพยายามยับยั้งปัญหาและกำจัดจุดอ่อนนั้น ด้วยการตัดสินจากความคิดของผู้ใหญ่เองโดยทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อเด็กเหล่านั้น เช่น น้อยเนื้อต่ำใจในความไม่เสมอภาค และ แสดงการไม่ร่วมปฏิบัติตามในสิ่งๆหนึ่งเพราะมีเหตุผลที่ว่า ในเมื่อทำไปแล้วก็ยังถูกมองว่าเป็นเช่นเดิมอยู่ก็จะทำไปทำไม แต่หากผู้ใหญ่ให้ความเสมอภาคสักนิด เด็กเหล่านั้นจะเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้ใหญ่หลายๆคนในทันที.... เพราะบุคคลเหล่านี้ ต้องการความเชื่อใจ ความไว้วางใจ และกำลังใจ ไม่ต่างอะไรกับเด็กๆที่เรียนดีเลย หากในสังคมเล็กๆอย่างสังคมการศึกษายังไม่มีความเสมอภาคแล้ว สังคมใหญ่ๆก็คงมีความไม่เสมอภาคต่อไป เพราะ ผู้ที่เป็นเด็กหรือนักศึกษาในปัจจุบันก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และระบบความไม่เสมอภาคในสังคมเล็กๆนั้นก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เลือกปฏิบัติ แล้วทำให้สังคมใหญ่ๆ เรียกการปฏิบัติเช่นนี้ว่า สองมาตรฐาน นั่นเอง..... ดังนั้นหลายๆคนในสังคมใช้ระบบนี้กันโดยไม่รู้ตัว แถมยังกล้ากล่าวอ้างอีกว่าตนเองไม่ได้ใช้ระบบสองมาตรฐานเลย 

       ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายถึงตัวเอง หรือหมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่หมายถึง ทุกๆคนในสังคมที่ใช้ความรู้สึก ใช้กรอบความคิด ใช้อคติ ส่วนตัวในตัดสินปัญหา และโปรดจงเข้าใจว่า บทความนี้ มาจากการสังเกตุพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมการศึกษาที่ได้สัมผัสจริงๆ......

แสดงความคิดเห็น

>