Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

{???} 4 เพชรอาถรรพ์แห่งราชวศ์ยุโรป

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

เพชรโฮป

พชร Hope ที่รู้จักกันในชื่อ"Le Bleu de ฝรั่งเศส"หรือ"Le Bijou du Roi"เป็นเพชรซึ่งมีขนาด 45.52 กะรัต (9.10 กรัม) เพชรสีฟ้าเข้มนี้ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในสถาบันสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตันเป็น มองเห็นสีฟ้าได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากปริมาณของโบรอนภายในโครงสร้างผลึกของมัน แต่จะแสดงการส่องแสงวาวอย่างฟอสฟอรัสสีแดงหลังจากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต light.It จัดเป็นประเภท IIb เพชรและมีชื่อเสียงในการคาดคะเนที่ถูกสาปแช่งและจะมีการบันทึกไว้นาน ประวัติศาสตร์ที่มีช่องว่างไม่กี่ที่มันเปลี่ยนแปลงมือหลายครั้งเกี่ยวกับวิธีที่มาจากประเทศอินเดียไปยังประเทศฝรั่งเศสไปยังประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จะได้รับการอธิบายเป็น"เพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก"และรองจากที่โมนาลิซ่า, มันเป็นงานศิลปะที่เยี่ยมชมมากที่สุดที่สองในโลก

 ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17 ของทาเวเนียร์ พ่อค้าชาวฝรั่งเศสเดินทางมาถึงปารีส พร้อมด้วยเพชรขนาด 112 กะรัต เขาปฏิเสธที่จะเล่าว่าได้มันมาอย่างไร หรือจากที่ไหน จึงมีข่าวลือต่างๆ นานาเกี่ยวกับเพชรเม็ดนี้ ข่าวลือที่น่ากลัวที่สุดคือ เขาได้เพชรมาจากเทวรูปในอินเดีย พร้อมกับคำสาปแช่งคนที่เป็นเจ้าของเพชรนี้ (ในขณะนั้นมีน้ำหนัก 112 กะรัต)
    แม้จะมีข่าวลือน่ากลัวมากมาย แพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงชื่นชอบเพชรเม็ดนี้ และทรงซื้อในราคาที่แพงมาก แล้วทรงสั่งเจียระไนให้เป็นรูปหัวใจน้ำหนัก 67 กะรัต แต่คำสาปกลับส่งผลแก่ทาเวเนียร์ เขาสูญสิ้นเงินทองที่ได้จากการขายเพชร และตายอย่างอนาถาในรัสเซีย
    แม้ ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะไม่ได้รับผลของคำสาป แต่เมื่อถึงรุ่นหลาน คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระมเหสี ซึ่งหลังจากได้ครอบครองเพชร ทั้งสองก็ถูกประหารชีวิตโดยกิโยตินช่วงระหว่างการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1793 เพชรเม็ดนั้นถูกขโมยไปพร้อมสมบัติอื่นๆ
    จนกระทั่งในปี พ.ศ.1830 เพชรขนาด 45.52 กะรัตปรากฏขึ้นในลอนดอน หลายคนเชื่อว่าเป็นเพชรที่ถูกเจียระไนมาจากเพชรต้องคำสาปเม็ดนั้น (มีชื่อเรียกว่าเฟรชน์บลู)
    เฮนรี่ โฮป นายธนาคารได้ซื้อเพชรนั้นมาในราคา 90,000 ปอนด์ นับจากนั้นมาเพชรนี้จึง ได้ชื่อว่า เพชรโฮป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกันครอบครัวของโฮป จนในปี ค.ศ.1901ครอบครัวของโฮปได้ขายเพชรเม็ดนั้นไป
    เจ้าของใหม่ไม่ได้โชค ดีเหมือนกับครอบครัวโฮป หลายคนต้องประสบกับโชคร้าย พ่อค้าอัญมณีชาวกรีก เป็นเจ้าของเพชรโฮปได้ไม่นานก่อนที่จะตกหน้าผาตาย เจ้าของคนต่อมาเศรษฐีชาวเติร์กได้ซื้อมันเป็นของขวัญให้ภรรยา แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาได้ยิงเธอตายอย่างไม่เจตนา
     เพชรโฮปตกมาสู่มือของเจ้าชายรัสเซีย ทรงให้แฟนสาวสวมในงานแสดงเต้นรำ แล้วเจ้าชายก็ลุกขึ้นยืนยิงเธอตายอย่างไม่มีเหตุผล
หลาย คนเริ่มกลัวในเรื่องที่เกิดขึ้น แต่อีกไม่นาน อีวาลิน แมคลิน มหาเศรษฐีชาวอเมริกันได้ซื้อเพชรเม็ดนั้นโดยไม่ยอมฟังคำเตือนของเพื่อนๆ และเธอต้องเสียใจที่ซื้อมันมา เมื่อแม่ของเธอและคนใช้อีกสองคนตายกะทันหัน ต่อมาลูกชายวัย 10 ขวบเกิดอุบัติเหตุถูกรถชนตายและลูกสาวคนเดียวต้องตายเพราะกินยาเกินขนาด
    ใน ที่สุดพ่อค้าอัญมณีคนหนึ่งตัดสินใจซื้อเพชรโฮป และมอบให้กับสถาบันอัญมณีในกรุงวอชิงตัน ซึ่งวางแสดงอยู่ที่นั่นตราบจนทุกวันนี้ แต่ยังไม่มีใครอธิบายอย่างชัดเจนได้ว่า เพชรโฮปเป็นเพชรแห่งความโชคร้ายจริง

เพชรแซนซี่

พชรแซนซี่ เพชรสีเหลืองซีดขนาด55.23กะรัต(11.05 กรัม)ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเกรทโมกัลส์(Great Moguls) ในสมัยโบราณ แต่เชื่อว่าเพชรเม็ดนี้มีที่มาจากอินเดียเพราะการเจียระไนนั้นแปลกไปจากมาตรฐานทั่วไปของตะวันตกโดยเป็นเพชรรูปโล่ต่อกัน2อัน (ส่วนบน) และส่วนล่างเป็นรูปทรงแบบกระโจม

            แซนซี่เริ่มเป็นที่รู้จักในงานประมูณที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี1570 ซึ่งถูกซื้อโดย นิโคลัส ฮาร์ลี(Nicholas Harlai, Seigneur de Sancy) เขาเป็นที่รู้จักในประเทศฝรั่งเศส และต่อมาได้เป็นผู้นำคณะทูตไปติดต่อยังตุรกี และผู้เชี่ยวชาญเรื่องอัญมณีผู้นี้ เดอ แซนซี่ ใช้ความรู้ของเขาในการสร้างผมประโยชน์มากมายให้แก่ตน

            พระเจ้าเฮนรี่ที่3แห่งฝรั่งเศสวิตกกังวลอย่างมากในอาการหัวโล้น พร้อมๆกันนั้นแฟชั่นการใช้เพชรเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง พระองค์เลยยืมเพชรของเดอ แซนซี่เพื่อตกแต่งหมวกของพระองค์ พระเจ้าเฮนรี่ที่4ก็ทรงทำเช่นเดียวกัน และเนื่องจากความปลอดภัยที่ต่ำในขณะนั้นรวมถึงปัจจัยหลายๆอย่างทำให้การขนส่งเพชรอันตรายมาก จนมีตำนานกล่าวว่าคนส่งของที่นำเพชรเม็ดนี้ไปจะไม่มีวันไปถึงจุดหมาย แต่เมื่อเดอ แซนซี่รู้ข่าว เขารู้ว่าคนส่งของนี้เป็นคนซื่อสัตย์ แล้วจึงใช้คนออกหา จนไปเจอคนส่งของที่ถูกฆาตกรรมและคุ้ยหาของ เมื่อศพถูกนำไปผ่าพิสูจน์เพชรแซนซี่ก็ถูกพบอยู่ในกระเพาะของคนส่งของผู้ซื่อสัตย์นี้เอง

            เดอ แซนซี่ขายเพชรเม็ดนี้ให้แก่ เจมส์ที่1 ทายากของพระราชินี อลิซเบธ ในช่วงประมาณปี1605 เมื่อเขาคิดได้ว่าเพชรเม็ดนี้ต้องการชื่อ มันถูกพรรณนาเมื่ออยู่ในคลังอัญมณีบนหอคอยลอนดอนว่า "...one fayredyamonde, cut in fawcetts, bought of Sauncy."

            เพชรแซนซี่อยู่ในอังกฤษจนกระทั่งปี1669  มันถูกถือครองโดยพระเจ้าชาล์สที่1 และต่อมาบุตรคนที่3ของเขา เจมส์ที่2 หลังจากที่แย่งบัลลังก์มาสำเร็จ เจมส์ได้หลบหนีไปหลบซ่อนตัวโดยมีพระเจ้าหลุยส์ที่14แห่งฝรั่งเศสให้การคุ้มครอง เจ้าบ้านคนนี้เบื่อและหน่ายกับการให้การคุ้มครองบุคคลที่ถูกเนรเทศออกจากประเทศมหาอำนาจ เพื่อความอยู่รอด เจมส์จึงจำเป็นต้องขายเพชรแซนซี่ให้แก่พระสังฆราชมาซาริน(Cardinal Mazarin) เพื่อเงิน £25 000 และพระสังฆราชได้ถวายเพชรแก่องค์กษัตริย์

            เพชรแซนซี่ถูกขโมยไปในช่วงการปฏิวัติของฝรั่งเศส เมื่อกลุ่มขโมยได้เข้าไปยังห้องเก็บสมบัติราชวงศ์(GardeMeuble) เช่นเดียวกับเพชรชื่อดังอีก2ชิ้นคือ เพชรรีเจนท์และ French Blue Diamond ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮปที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน

            ประวัติของแซนซี่ตั้งแต่นั้นจนถึงปี1828ไม่มีใครทราบ จนเจ้าชายเดมิดอฟ(Prince Demidoff) ซื้อมันมาในราคา£80 000 มันถูกเก็บในคอลเลคชั่นของครอบครัวเดมิดอฟ(Demidov family collection)จนถึงปี1865 จึงได้ขายให้แก่ เซอร์ เจมเซทจีจีจีบฮอย(Sir JamsetjeeJeejeebhoy) เจ้าชายชาวอินเดียในราคา100 000ปอนด์ เขาขายมันในปีต่อมาซึ่งเป็นอีกช่วงของประวัติศาสตร์ที่มันหายไป ก่อนจะปรากฏตัวอีกครั้งในงานนิทรรศการการประมูลที่ปารีส ราคาเริ่มต้นคือ1 000 000ฟรังค์ และเพชรเม็ดนี้ก็หายไปอีกครั้ง

เมื่อแซนซี่ปรากฏในปี1906 เมื่อถูกซื้อโดย วิลเลี่ยม วาลดอฟ อาสเทอร์ วิสเคาท์ที่1แห่งอาสเทอร์(William Waldorf Astor, 1st Viscount Astor) และถูกครอบครองโดยตระกูลอาสเทอร์อีก72ปี จนปี1978 วิสเคาท์ที่4แห่งอาสเทอร์ขายมันให้กับพิพิธภัณฑ์ลูฟในราคา1ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันมันถูกโชว์อยู่ในห้องApollo Gallery เช่นเดียวกับเพชรรีเจนท์ และเพชรฮอร์เทนเซีย

 

เพชรฟลอเรนไทน์

พชรฟลอเรนไทน์คือเพชรที่สาบสูญตามตำนานของอินเดีย มันมีสีเหลืองอ่อนและมีประกายเป็นสีเขียวสด มีรูปแบบการเจียระไนที่แปลกประหลาดและซับซ้อนมาก มี9ด้าน 126ฟาเซ็ท เจียระไนแบบดับเบิ้บโรสคัท น้ำหนักกว่า137.27กะรัต (27.454กรัม) เป็นที่รู้จักกันในนาม ทัสคัน เพชรทัสคานี แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี เพชรออสเตรีย และเพชรอำพันแห่งออสเตรีย

ตำนานและที่มาของเพชรเม็ดนี้ไม่มีใครรู้ มันถูกเจียระไนโดย ลุดวิก ฟาน เบอร์เคน(Lodewyk van Berken) เพื่อ ชาล์สเดอะโบล์ด(Charles the Bold) ดยุคแห่งเบอร์กันดี เขาสวมใส่มันในวันที่เขาพ่ายแพ้ในสงครามโมราทอน(Battle of Moraton) ในวันที่22 มิถุนายน 1476 ทหารราบคนหนึ่งเก็บเพชรฟลอเรนไทน์ได้ในสนามรบโดยคิดว่ามันเป็นแก้วและขายไปในราคา1ฟลอริน บาโทโลมิว เมย์ ประชากรคนหนึ่งของเบิร์นได้ขายมันให้กับกีโนส ซึ่งขายต่อให้แก่ ลูโดวิโก สฟอร์ซา(Ludovico Sforza) ระหว่างการขายมือต่อมือเช่นนี้ มันได้เดินทางเข้ายัง ห้องสมบัติแห่งเมดิชี(Medici Treasury) ณ กรุงฟลอเรนท์ พระสันตะปาปา จูเลียสที่2 ยังเคยมีชื่อในฐานะผู้ครอบครองด้วย

อีกรูปแบบของตำนานประวัติของเพชรน้ำงามเม็ดนี้ คือเมื่อศตวรรษที่16มันถูกขโมยมาจากราชาแห่งVijayanagar ในทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย โดยผู้ว่าราชกาลชาวโปรตุเกสของโกอา ลูโดวิโก คาสโทร เคาท์แห่งมอนเตซานโท (Ludovico Castro, Count of Montesanto) หลังจากราชาถูกโค่นล่มบัลลังค์โดยนักล่าอาณารอคมชาวโปรตุเกส และถูกส่งต่อให้แก่ลัทธิเยซูอิท (Jesuits) ในกรุงโรม

หลังจากการต่อรอง เฟอร์ดินานโดที่1 เดอ เมดิชี แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี(Ferdinando I de' Medici, Grand Duke of Tuscany) ได้ซื้อเพชรฟลอเรนไทน์มาจากตระกูล คาสโทร โนรอนฮาในราคา35 000หน่วยเงินโปรตุเกส

ต่อมาบุตรของดยุคเฟอร์ดินานโด โคสิโมที่2 ไว้วางใจและส่งเพชรของบิดาไปยังช่างเจียระไนชาวเวนิสนาม ปอมปิโอ สติวเดนทอรี่(PompeoStudentoli) ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงฟรอเรนส์ ซึ่งเสร็จในปี1615 วันที่10 ตุลาคม

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงตำนานที่เล่าสืบกันมา ตามประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้วเพชรฟลอเรนไทน์ถูกค้นพบและขายโดยเจ้าของร้านอัญมณี จีน แบปติส ทาเวอร์เนียร์ (Jean Baptiste Tavernier)ชาวฝรั่งเศส ซึ่งถูกขายต่อๆกันจนถึงมือของราชวงศ์ฮับบูร์ก ต่อมาราชวงศ์ฮับสบูร์กล่มสลายและเพชรเม็ดนี้ก็หายไป...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เพชรรีเจนท์

พชรรีเจนท์คือหนึ่งในเซ็ตเพชรที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งลูฟ(Louve). ในปี 1698, ทาสคนหนึ่งค้นพบเพชรขนาดกว่า410กะรัต (82 กรัม) ที่ยังไม่ได้เจียระไนในแหล่งเหมืองกล้อนดา (Golkonda) ในเหมืองชื่อพาริทาลา โคลัวร์ ในรัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดีย และซ่อนไว้ภายในแผลบริเวณขาของเขา ต่อมากัปตันของกองเรือชาวอังกฤษขโมยเพชรเม็ดนี้มาพร้อมๆกับฆ่าทาสคนนั้นก่อนขายเพชรเม็ดยักษ์ให้แก่พ่อค้าชาวอินเดีย เพชรรีเจนท์ปรากฏอีกครั้งเมื่อผู้ว่าราชกาล โทมัส พิท(Thomas Pitt) ยึดของกลางมาจากพ่อค้าคนหนึ่งในมาดราส(Madras) ประเทศอินเดียในปี1701 และในการตกเป็นของตระกูลพิท ทำให้เพชรเม็ดนี้เป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า Pitt Diamond

            พิทซื้อเพชรเม็ดนี้มาจากทางราชกาลในราคา 20400ปอนด์ หรือเมื่อเทียบเป็นราคาในปัจจุบันแล้วก็นับเป็นเงิน 2 964 490ปอนด์(เป็นเงินไทย140 908 065บาท) และเจียระไนใหม่จนเหลือขนาด141กะรัต (28 กรัม) เป็นเพชรรูปสี่เหลี่ยมเรเดียนท์ หลังจากผ่านมือราชวงศ์ในยุโรปหลายมือเช่น พระเจ้าหลุยส์ที่14 แห่งฝรั่งเศส มันก็ถูกขายให้กับดยุคฟิลลิปที่2แห่งออร์ลีน(Philippe II, Duke of Orléans) ในปี1717ในราคา 135 000ปอนด์หรือเทียบเท่า£18 634 090ในปัจจุบัน ราชวงศ์ใช้เพชรเม็ดนี้ในการประดับสิ่งต่างๆรวมถึงการกลายเป็นหนึ่งในเพชรประดับมงกุฏของพระเจ้าหลุยส์ที่15 ในงานพิธีบรมราชาภิเษกในปี1722 และของประเจ้าหลุยส์ที่16ในปี1775 และต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่16ก็ได้มอบให้กับพระมเหสี พระนางมารี อังตัวเนต ราชธิดาแห่งราชวงศ์ฮับบูร์กแห่งออสเตรีย ในปี1791 มูลค่าของเพชรเม็ดนี้ถูกประเมินไว้ในราคา£480 000 (ปัจจุบัน=£46,922,530)

            ในช่วงการปฏิวัติ Le Regent ได้เป็นที่เลื่องลืออีกครั้งเมื่อมันถูกขโมยพร้อมๆกับมงกุฎอัญณีแห่งฝรั่งเศส และต่อมาก็ถูกค้นพบหลังจากถูกซ่อนไว้ในช่องลับในหลังคาของบ้านหลังหนึ่ง เพชรเม็ดนี้ถูกรักษาในหลายๆสถานการณ์โดย ไดเร็กเทียร์(Directoire) และต่อมาโดยคอนซูเลท (consulat) ก่อนนโปเลียน โบนาปาร์จะไถ่ถอนกลับคืนมาในปี1801

            นโปเลียนใช้เพชรเม็ดนี้ในการตกแต่งดาบของพระองค์ ซึ่งออกแบบโดยช่างทองโอดีอาท, บูเต็ท และมารี-อีเทนนี่ ไนทอท ต่อมาในปี1812 มันได้ปรากฏออกมาบนดาบสองคมของพระจักรพรรดิ หลังจากนโปเลียนสิ้นชีพลง ภรรยาคนที่สองของเขา อาร์คดัดเชส มารี หลุยส์แห่งออสเตรียได้นำเพชรเม็ดนี้กลับไปยังออสเตรีย ต่อมาบิดาของนางได้ส่งเพชรคืนให้แก่ราชวงศ์ของฝรั่งเศส มันถูกประดับและใช้อย่างสงบบนมงกุฎของพระเจ้าหลุยส์ที่17 พระเจ้าชาล์สที่10 รวมถึงนโปเลียนที่3อีกด้วย

            ปัจจุบันถูกประดับอยู่บนรัดเกล้าแบบกรีกซึ่งออกแบบเพื่อจักรพรรดินียูจีนี ซึ่งอยู่ในห้องจัดแสดงสมบัติแห่งราชวงศ์ฝรั่งเศสในพิพิธภัณฑ์ลูฟตั้งแต่ปี1887

                                                                                                                               

 

 

 

 

 

 

เกี่ยวข้อง

ราชวงศ์โบนาปาร์ของฝรั่งเศส

ราชวงศ์โบนาปาร์ต เป็นราชวงศ์สุดท้าย ที่ปกครองฝรั่งเศสโดยราชวงศ์ได้ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1804 โดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และราชวงศ์นี้ในรัชสมัยจักรพรรดินโปเลียนได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่หลังจากสงครามที่วอร์เตอร์ลูในปี ค.ศ. 1815 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงถูกบังคับให้ สละราชสมบัติ โดยก่อนหน้านั้นประเทศใกล้เคียงก็ได้มีสมาชิกราชสกุลโบนาปาร์ตไปปกครอง แต่หลังจากนโปเลียนลงจากราชบัลลังก์ กษัตริย์ในประเทศ ที่มีเชื้อพระวงศ์โบนาปาร์ตปกครองก็สละราชสมบัติและถูกเนรเทศไปจนหมดสิ้น

หลังจากนโปเลียนถูกเนรเทศไปเกาะเอลบาได้ไม่นานก็ทรงรวบรวมกำลังทหารขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมกับหนีออกจากเกาะเอลบาและกลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ปกครองได้เพียง 100 วันก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติอีกครั้งและถูกส่งตัวไปยังเกาะ เซนต์ เฮเลนา และสวรรคตที่เกาะนี้เมื่อปี ค.ศ. 1821 หลังจากนั้นราชสกุลโบนาปาร์ตก็เงียบหายไปจนถึงปี ค.ศ. 1848 หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต พระราชนัดดาในพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ก็ได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรก ต่อมาหลังจากดำรงตำแหน่ง ครบ 4 ปี ก็ประกาศสถาปนาตนเองขึ้นเป็น จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1852และครองราชย์อยู่ 18 ปีก็สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1870 เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โบนาปาร์ตและสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมายาวนาน

 

ราชวงศ์บูร์บอง

ราชวงศ์บูร์บง เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก

กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง

พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนปกครองประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน


++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อนุญาติให้ก๊อปได้ แต่กรุณาใส่เครดิต
ปล.ทุกอันยกเว้นโฮ้ป คีย์เป็นคนแปลเอง เจอแบบเหมือนเป๊ะที่ไหนกรุณาแจ้ง
เพราะนั้นึคือตัวก๊อปปี้!!

ห้ามนำไปตั้งกระทู้ในDek-dเด็ดขาด!!!

 


PS.  "It is never too late to be what you might have been." ไม่เคยมีคำว่าสายเกินไปที่จะเป็นในสิ่งที่ คุณอยากจะเป็น --George Eliot--

แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

Fenejung 16 ก.ย. 54 เวลา 20:48 น. 1

อัยย่ะ
เห็นเพชรแล้วเม็ด มะฮึ่มเลยยย
อยากได้

(ไม่ได้ดูตำนานเล้ยยย = =)


PS.  To be Med Cmu ๕๕ สู้เว้ยย http://writer.dek-d.com/for-fenejung/writer/view.php?id=681433 เมื่อฉันอยากเป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รุ่นที่ 55
0
★KnighTz★ 16 ก.ย. 54 เวลา 22:56 น. 2
ในที่นี้รู้จักแต่เพชรโฮป แต่ว่าแต่ละอันมันช่าง....
น่าเอามาไว้กับตัว แต่ก็กลัวคำสาป >.<
0
GT.OP.PS.B.BE.N.P 16 ก.ย. 54 เวลา 23:40 น. 3

เพชรที่คำสาปแรงที่สุดคือ..."เพชรฟลอเรนไทน์" นั่นเอง


PS.  เจ็บ...เมื่อเหนเธออยุ่กับคนอื่น เจ็บ...เมื่อเหนเธอไม่สนใจ เจ็บ...ทุกครั้งที่คิดถึงเธอ อยากจะลืมเธอเหลือเกินแต่ว่า...ยิ่งพยายามลืมเท่าไรมันกลับยิ่งจำ
0
..... 19 เม.ย. 59 เวลา 15:30 น. 14

ในการ์ตูนที่เคยอ่านเพชรฟลอเรนไทน์มีคำสาปแรงที่สุดและภาพมันก็สลับกับเพชรอีกเม็ดที่ชื่อว่าแซนซี่อะ--

0
…... 19 เม.ย. 59 เวลา 15:34 น. 15-1

การ์ตูนชื่อล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า ประเทศฝรั่งเศษเยี่ยม

0