Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไอซ์สเก็ต

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่



อุปกรณ์

ใบมีดรองเท้าสเก็ตลีลา มีรูปร่างโค้งจากด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง ด้วยรัศมีของความโค้งประมาณ 2 เมตร ใบมีดสเก็ตนั้นมีรูปร่าง กลวงเป็นร่องที่ส่วนขอบใบมีด ซึ่งทำให้ใบมีดนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 คมมีด (Edges) คือ คมมีดด้านใน และ ด้านนอก ในการสเก็ตนั้นจะสเก็ตบนคมมีดด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สเก็ตบนทั้งสองคมพร้อมกัน (ซึ่งเรียกว่าเป็นการสเก็ตแบบ แฟลต) โดยจากการมีร่องตรงกลางทำให้แบ่งคมมีดออกเป็น 2 ด้านเช่นนี้เอง ทำให้นักสเก็ตลีลาจะต้องเรียนรู้ที่จะทรงตัวในด้านใบมีดด้านใดด้านหนึ่ง จึงเกิดคำศัพท์ที่ว่า "อินไซด์เอจ"(Inside Edge) หรือ การสเก็ตโดยทรงตัวจากด้านในคมมีด (ด้านที่เข้าหาตัว) และ "เอาท์ไซด์เอจ" (Outside Edge) หรือการสเก็ตโดยทรงตัวบนด้านนอกคมมีด (ด้านออกจากตัว)รองเท้าสเก็ตลีลาแตกต่างจากรองเท้าสเก็ตที่ใช้ในไอซ์ฮอกกี้ ตรงที่ส่วนหัวของใบมีดรองเท้าสเก็ตลีลามีรอยหยักเป็นฟัน เรียก โทพิก (toe pick) (หรือ โทเรคส์) ใช้จิกพื้นช่วยในการกระโดด ไม่ควรใช้ในการหมุน ในปัจจุบันโทพิกนั้นมีการออกแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย บางแบบมีฟันยื่นออกมาที่ด้านข้างของใบมีดอีกด้วย

การสเก็ตให้ลื่นไถลได้ดีนั้นมีพื้นฐานมาจากความสามารถในการใช้คมมีดเพื่อเร่งความเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันได้มีการออกแบบ ใบมีดสเก็ตรูปพาราโบลาเพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพของนักสเก็ตโดยมีการเพิ่มส่วนเว้ากลางตามด้านยาวของใบมีด และการออกแบบของ "เคพิก" (K-Pick) ซึ่งเสมือนการเพิ่มโทพิกเสริมเพื่อเพิ่มการจิกน้ำแข็งเพื่อเพิ่มแรงกระชากและระยะความยาวของการกระโดด อย่างไรก็ดีการออกแบบทั้งสองขึ้นอยู่กับความถนัดของนักกีฬาด้วย

ในอดีตนั้น รองเท้าสเก็ตจะทำจากหนัง และผลิตขึ้นด้วยมือ แต่ในปัจจุบัน รองเท้าสเก็ตที่ทำจากวัสดุเทียมด้วยการหล่อ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากทนทาน มีน้ำหนักเบากว่าหนัง และ มีราคาถูก ในรองเท้ารุ่นใหม่จะมีส่วนข้อเท้าที่พับได้เพื่อความยืดหยุ่น รองเท้าจากวัสดุสังเคราะห์จะสามารถปรับเข้ากับรูปเท้าได้เร็ว ช่วยย่นระยะเวลาการปรับรองเท้าให้เข้ากับรูปเท้า (Break-In) รองเท้าจากวัสดุเทียมจึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้เริ่มฝึกหัด อย่างไรก็ดีรองเท้าสเก็ตที่ทำจากหนังแท้จะมีราคาสูง และเป็นที่นิยมสำหรับนักกีฬาระดับสูงมากกว่าเนื่องจากจะมีการเสริมชั้นของหนังแท้สูงสุดถึง 3 ชั้นเพื่อเสริมความแข็งแรง และข้อดีอีกอย่างของรองเท้าหนังแท้ก็คือ จะสามารถปรับเข้ากับรูปเท้านักกีฬาได้ดีกว่าเมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง (Break-In) แม้ว่าจะต้องอาศัยเวลาการปรับตัวที่นานกว่ารองเท้าสังเคราะห์ก็ตาม

การเลือกอุปกรณ์สำหรับนักกีฬานั้น จำเป็นต้องผนวกเอาระดับการเล่นกับรุ่นของรองเท้า และใบมีดเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งผู้ผลิตจะมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่ารองเท้า หรือใบมีดลักษณะเช่นไร จึงจะเหมาะสมกับระดับของผู้เล่น

ส่วนที่เป็นใบมีดนั้นยึดติดกับพื้นรองเท้า และ ส้นรองเท้า โดยการยึดด้วยตะปูควง อุปกรณ์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วก็มี แผ่นสำหรับป้องกันก้นกระแทก ใช้สอดไว้ในกางเกงเพื่อช่วยลดการบอบช้ำเวลาลื่นล้ม และอุปกรณ์สำหรับป้องกันใบมีดสเก็ตเรียก การ์ด (guard) ใช้ครอบใบมีดเมื่อจำเป็นต้องเดินบนพื้นที่ไม่ใช่ลานน้ำแข็ง เพื่อปกป้องคมของใบมีด อุปกรณ์สำหรับป้องกันใบมีดอีกชนิดเรียก โซกเกอร์ เป็นครอบชนิดอ่อนสำหรับป้องกันใบมีดขึ้นสนิมจากความชื้น ในขณะที่ไม่ได้สวมใส่

[แก้]

การกระโดด

การกระโดดในสเก็ตลีลา นั้นเป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่การโดยลอยตัวขึ้น หมุนตัวกลางอากาศ และ การลงสัมผัสพื้น การกระโดดนั้นมีหลายประเภท แยกออกโดย ท่าทางของการกระโดดขึ้น การลงสัมผัสพื้น และ จำนวนรอบของการหมุนตัวกลางอากาศ

นักสเก็ตโดยส่วนใหญ่นิยมหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา แต่ก็มีบางคนที่หมุนตัวตามเข็มนาฬิกา มีนักสเก็ตจำนวนน้อยคนที่จะหมุนตัวได้ทั้งสองทิศทาง ดังนั้นการอธิบายถึงลักษณะการกระโดดด้านล่างนี้ จะใช้หมายถึงการกระโดดเพื่อหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

การกระโดดในสเก็ตลีลามีอยู่ 6 ประเภทหลัก โดยการกระโดดทั้ง 6 ปรเภทนี้จะลงสัมผัสพื้น บนคมมีดด้านนอกของเท้าขวา (สำหรับการหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา ทั้งแบบรอบเดียว หรือ หลายรอบ) แต่แตกต่างกันตอนกระโดดขึ้น ลักษณะของการกระโดดขึ้นสามารถแยกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ การกระโดดใช้ปลายเท้า (toe jumps) และ การกระโดดใช้คมมีด (edge jumps) (รายละเอียดด้านล่างอธิบายถึง การกระโดดหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา ส่วนการหมุนตัวตามเข็มนาฬิกานั้นจะสลับข้างกัน)

การกระโดดแบบใช้ปลายเท้า หรือโทจัมพ์ (Toe Jumps) หรือการกระโดดโดยใช้โทพิก

  1. โทลูป (Toe loop (T)) เริ่มออกตัวกระโดดจากการไถลไปด้านหน้า แล้วทำการกลับตัวด้วยเท้าขวา นิยมโดยการกลับตัวแบบทรีเทิร์น (3 Turn) ไปด้านหลัง จากคมมีดด้านนอกของเท้าขวา แล้วใช้โทพิกส์เท้าซ้ายจิกพื้นช่วยในการออกตัว บางครั้งนักกีฬาสามารถกลับตัวด้วยเท้าซ้ายก่อน แล้ววางเท้าขวาลงไปขณะเดียวกับที่เคลื่อนเท้าซ้ายออกด้านหลังแล้วจึงค่อยยกเท้าซ้ายขึ้นจิกฟื้นออกตัวเล่นเดิมก็สามารถทำได้ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มักแสดงให้เห็นกับนักกีฬาในยุคปัจจุบันมากกว่าการกลับตัวด้วยเท้าขวาแบบแรก ปัจจุบันนักกีฬาชายและหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ และมีนักกีฬาชายชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 4 รอบได้ในการแข่งขัน แต่นักกีฬาหญิงยังไม่มีผู้ใดใช้การหมุน 4 รอบในการแข่งขัน หากแต่ด้วยความเข้มงวดของกติกา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแข่งขัน ทำให้ผู้ควบคุมทางเทคนิคการเล่น สามารถหักคะแนนความสมบูรณ์ของจำนวนรอบ (Underrotation) ที่ไม่ครบวงรอบได้ง่าย ซึ่งการหักคะแนนลักษณะนี้จะทำให้ผลคะแนนต่ำลงอย่างมาก จึงทำให้ปัจจุบันมีความนิยมน้อยลงสำหรับนักกีฬาชายเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกลดคะแนนพื้นฐานประจำท่า (Base Value)
  2. ฟลิป (Flip (F)) ออกตัวกระโดดจากด้านหลัง ทรงตัวด้วยคมมีดด้านในของเท้าซ้าย และ ใช้โทพิกส์เท้าขวาช่วยในการออกตัว ปัจจุบันนักกีฬาชายและหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ ปัจจุบันยังไม่มีนักกีฬ่าผู้ใดใช้การหมุน 4 รอบสำหรับท่ากระโดดนี้ในการแข่งขัน
  3. ลัทซ์ หรือ ลุตซ์ (Lutz (Lz)) ออกตัวกระโดดจากด้านหลัง ทรงตัวด้วยคมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย และ ใช้โทพิกส์เท้าขวาช่วยในการออกตัว ปัจจุบันนักกีฬาชายและหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ และมีนักกีฬาชายผู้เดียวคือ เยฟกินี ปูเชงโก (Evgeni Plushenko) นำสามารถกระโดดหมุน 4 รอบในการแข่งขันเพียงครั้งเดียวที่ประเทศรัสเซีย หากแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักประวัติศาสตร์กีฬาสเก็ตลีลา เนื่องด้วยการกระโดดครั้งนั้นยังไม่สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันจึงยังถือว่าการกระโดดท่านี้ ยังไม่มีผู้ใดสามารถกระโดด 4 รอบได้สำเร็จ และท่านี้ยังถือเป็นท่ากระโดดที่มีคะแนนพื้นฐานประจำท่า (Base Value) ตามกติกาใหม่สูงที่สุดในจำนวนท่าทั้งหมดของการโดดแบบใช้ปลายเท้าหรือ โทจัมพ์ อีกด้วย

การกระโดดใช้คมมีด หรือเอดจ์จัมพ์ (Edge jumps) นั้นจะไม่มีการใช้โทพิกส์ช่วยในการกระโดด ซึ่งหมายถึงนักกีฬาจะโดดขึ้นโดยใช้ใบมีดส่งตัวขึ้นเท่านั้นแบ่งออกเป็น

  1. ซาลคาว (Salchow (S)) เริ่มออกตัวกระโดดจากการไถลไปด้านหลัง (มักมีการเปลี่ยนการเคลื่อนที่จากด้านหน้าด้วยการกลับตัวแบบ ทรีเทิร์น หรือ โมฮอกค์เทิร์น) จากคมมีดด้านในของเท้าซ้าย และใช้การเหวี่ยงขาที่เหลืออีกข้างเป็นวง ช่วยในการออกตัวกระโดด ปัจจุบันนักกีฬาชายและหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ และมีนักกีฬาชายชั้นนำบางคนสามารถกระโดดหมุน 4 รอบได้ ส่วนนักกีฬาหญิงที่สามารถกระโดดหมุน 4 รอบได้ในการแข่งขันระดับนานาชาติมีคนเดียวคือ อันโดะ มิกิ (Miki Ando) แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรในหมู่นักกีฬาชายหากเทียบกับการโดด 4 รอบของการโดดแบบ "โทลูป" แม้ว่าคะแนนของการโดดแบบซาลคาวจะต่ำที่สุด (ซึ่งหมายถึงเป็นท่าง่ายที่สุด) เมื่อเทียบกับการโดดท่าอื่นก็ตาม เนื่องจากการควบคุมวงรอบให้สมบูรณ์แบบนั้นยากกว่าท่า "โทลูป" จึงทำให้นักกีฬาไม่นิยมบรรจุท่านี้ไว้ในโปรกแกรมการแข่งขันของตน
  2. ลูป (Loop (Lp)) หรือ ริตซ์เบอร์เกอร์ (Rittberger) ตามชื่อผู้คิดค้นท่า หากแต่ปัจจุบันนิยมเรียกเพียง "ลูป" เท่านั้น เป็นออกตัวกระโดดทางด้านหลัง จากคมมีดด้านนอกของเท้าขวา และ ลงสัมผัสพื้นด้วยคมมีดเดียวกัน ปัจจุบันนักกีฬาชายและหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ยังไม่มีนักกีฬาคนใดสามารถกระโดดท่าชนิดนี้ 4 รอบในการแข่งขัน
  3. แอกเซิล (Axel (A)) เป็นท่าการกระโดดเดียวที่กระโดดจากการไถลตัวไปด้านหน้า โดยออกตัวจากคมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย เนื่องจากการกระโดดเริ่มออกตัวจากการไถลไปด้านหน้า จึงมีรอบการหมุนตัวเพิ่มขึ้นอีกครึ่งรอบในความเป็นจริง ตัวอย่างเช่นนักกีฬาหญิงระดับชั้นนำจะนิยมโดดหมุน 2 รอบแต่ความเป็นจริงแล้ว นักกีฬาจะต้องหมุน 2 รอบครึ่งในอากาศ จึงทำให้การกระโดดแบบนี้ถือว่าเป็นการกระโดดที่ยากที่สุดในบรรดาการกระโดดทั้ง 6 แบบ การกระโดดในลักษณะเดียวกันนี้แต่หมุนตัวเพียงครึ่งรอบเรียกว่า การกระโดดแบบวอลทซ์ และโดยปกติจะเป็นท่ากระโดดท่าแรก สำหรับผู้เริ่มฝึกสเก็ต การโดดแบบวอลทซ์นี้ ไม่ถือว่าเป็นการโดดที่มีรอบสมบูรณ์ครบ 360 องศา หากเพียง 180 องศาเท่านั้น ในการแข่งขันจึงไม่ถือเป็นการกระโดด ถือว่าเป็นการกลับตัวชนิดหนึ่งเท่านั้นนักกีฬาบางคนจึงบรรจุท่าวอลทซ์นี้เป็นอีกหนึ่งท่าในการแสดงสเต็บเท้าในการแข่งขัน ปัจจุบันนักกีฬาชายชั้นนำส่วนมากกระโดดหมุน 3 รอบได้ และนักกีฬาหญิงชั้นนำสามารถกระโดดหมุน 2 รอบได้ ยังไม่มีผู้ใดที่กระโดดหมุน 4 รอบได้ ส่วนนักกีฬาหญิงที่สามารถกระโดดหมุน 3 รอบได้ในการแข่งขันระดับนานาชาติมีเพียง 5 คน ท่านี้ถือเป็นท่าบังคับตามกติกาใหม่ กำหนดให้นักกีฬาทุกคนต้องกระโดดอย่างน้อย 2 รอบในการแข่งขันระดับอาชีพ (Senior) ทั้งนักกีฬาชายและหญิง ทั้งในโปรแกรมสั้น และโปรแกรมยาว จะต้องมีการบรรจุท่านี้ในการแข่งขัน

นอกเหนือจากการกระโดดดังกล่าวข้างต้น ยังมีการกระโดแบบอื่นๆ ซึ่งปกติใช้ในการเล่นแบบเดี่ยว ใช้ในการเชื่อมโยงความต่อเนื่องระหว่างท่าต่างๆ หรือใช้ในการเน้นท่าก้าวต่อเนื่อง หรือ "สเต็บซีเคว้นซ์" (Step Sequences) ซึ่งตามกฎของ ISU จะมิได้พิจารณาคะแนนเช่นเดียวกับการกระโดดทั่วไป แต่จะนำไปพิจารณาในคะแนนของการก้าวเท้าต่อเนื่องแทน


[แก้]การหมุนตัว

ดูบทความหลักที่ การหมุน (สเก็ตลีลา)

การหมุนตัว หรือ เรียกในภาษาอังกฤษ ว่า สปิน (spin) แบ่งออกเป็นหลายประเภทตาม ตำแหน่งของแขน ขา และ มุมของหลัง การหมุนตัวนั้นเป็นการหมุนบนส่วนโค้งของใบมีด ในตำแหน่งที่อยู่หลังโทพิกส์เล็กน้อย (คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการหมุนตัวนั้นทำบนโทพิกส์) ส่วนโค้งของใบมีดนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า บอลของเท้า (ball of the foot) ซึ่งใช้หมายถึงส่วนโค้งมนที่ยื่นออกมา ท่าหมุนตัวมีเกณฑ์การแบ่งระดับความยากไว้ 4 ระดับ โดยปกตินักกีฬาชั้นนำจะทำท่าได้ในระดับ 3 และ 4 บางครั้งจะมีการหมุนโดยรวมเอาหลาย ๆ ท่ามาแสดงต่อเนื่องกัน เรียก "คอมบิเนชันสปิน (Combination Spin) โดยการหมุนต่อเนื่องนี้ สามารถเปลี่ยนแสดงท่าต่อไปโดยจะเปลี่ยนเท้าที่ทำการหมุนหรือไม่ก็ได้

การหมุนตัวนั้น ทำบนเท้าข้างใดก็ได้ หากนักสเก็ตหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา โดยหมุนบนเท้าขวาจะเรียก หมุนไปข้างหน้า หรือ ฟอร์เวิร์ดสปิน (forward spin) หากหมุนอยู่บนเท้าขวาจะเรียกว่าเป็นการหมุนกลับหลังหรือ แบ็กสปิน (back spin)

[แก้]


[แก้]กีฬาสเก็ตน้ำแข็งในปัจจุบัน

นับแต่เริ่มต้นประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 กีฬานี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ของทวีปยุโรป จากนั้นได้กลายเป็นที่นิยมในทวีปอเมริกาเหนือเนื่องจากภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่นำเอากีฬาชนิดนี้มาเป็นโครงเรื่อง จากนั้นก็ได้เป็นที่นิยมเรื่อยมา และได้กลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในอเมริกาหลังจากที่อเมริกาได้กลายเป็นแชมป์โอลิมปิกฤดูหนาวหลายปีติดต่อกัน รวมถึงการมีนักกีฬาผู้ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง มิเชล กวาน (Michelle Kwan) ผู้ซึ่งได้รับคำนิยมให้เป็นนักสเก็ตผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกาตลอดไป และเข้าสู่ทุกทวีปของโลก โดยสังเกตได้จากปัจจุบัน ได้มีนักกีฬาสเก็ตน้ำแข็งจากทุกทวีปทั่วโลก โดยเฉพาะนักกีฬาในระดับแนวหน้านั้นมิได้จำกัดแค่เพียงกลุ่มนักกีฬาในแถบทวีปยุโรป หรืออเมริกาเท่านั้น แต่ได้มีนักกีฬาแนวหน้าในทวีปเอเชียหลายคนขึ้นทำเนียบแนวหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิเช่น อาราคาวะ ชิซูกะ (Shizuka Arakawa) (ญี่ปุ่น) เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2006 อาซาดะ มาโอะ (Mao Asada) (ญี่ปุ่น) แชมป์โลกปีค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ คิม ยูนา (Yu-na Kim) (เกาหลีใต้) แชมป์โลกคนปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) ทำให้เป็นที่พอให้สรุปได้ว่า กีฬานี้เป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมของคนทั้งโลกไปเสียแล้ว โดยเฉพาะในโซนเอเชียนั้น การชิงชนะเลิศระหว่าง "อาซาดะ มาโอะ" และ "คิมยูนา" นั้นถือเป็นคู่หลักที่ทุกคนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเป็นประวัติการณ์ (และในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) มีนักสเก็ตลีลาหญิง 2 คนนี้เท่านั้นที่มีคะแนนรวมสูงเกิน 200 แต้ม) ซึ่งสถิติโลกคะแนนรวม และคะแนนแยกตามโปรแกรมสั้น และโปรแกรมยาว เป็นของ "คิม ยูนา" ซึ่งได้ทำไว้ล่าสุดที่การแข่งขัน สเก็ตน้ำแข็งโลกปี 2009 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเธอได้ทำลายสถิติโลกในโปรแกรมสั้น และผลคะแนนรวม และถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้คะแนนรวมเกินกว่า 200 คะแนนเป็นคนแรก ก่อนที่ อะซาดะ มาโอะ จะทำได้ในการแข่งขัน เวิร์ลทีม แชมเปี้ยนชิปในปีเดียวกัน แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถทำลายสถิติโลกของ "คิม ยูนา" ได้ สำหรับประเภทชายนั้น นับแต่นักกีฬาชายจากประเทศรัสเซีย ได้ครองความเป็นใหญ่บนลานน้ำแข็งระดับนานาชาติมาเป็นระยะเวลานาน นับแต่ อเล็กซี ยากูดิน (Alexei Yagudin) ได้เหรียญทองโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2002 และ เยฟกินี ปูเชงโก (Evgeni Plushenko) ผู้เป็นเจ้าของเหรียญทองในปี 2006 ได้สิ้นสุดความยิ่งใหญ่ลงเนื่องจากภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน นักกีฬาทั้งสองได้ประกาศอำลาการวงการไปอย่างน่าเสียดาย ทำให้นักกีฬาจากชาติอื่น ๆ อาทิ ไบรอัน จูแบร์ (Brian Joubert) จากฝรั่งเศส หรือแม้แต่ ทากาฮาชิ ไดสุเกะ (Daisuke Takahashi) จากประเทศญี่ปุ่น มีโอกาสแทรกขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกได้ไม่ยากเย็น นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการสเก็ตลีลาในประเทศรัสเซีย ก่อนที่ไม่นานมานี้จะมีกระแสข่าวออกมาว่า เยฟกินี ปูเชงโก กำลังหารือกับสหพันธ์สเก็ตน้ำแข็งรัสเซีย เกี่ยวกับการขอกลับมารับใช้ชาติอีกครั้ง เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาวปี 2010 ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา นับเป็นข่าวใหญ่ของวงการสเก็ตลีลาชายเลยทีเดียว

[แก้]กีฬาสเก็ตน้ำแข็งในประเทศไทย

กีฬาสเก็ตน้ำแข็งเริ่มต้นในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานแล้ว นับตั้งแต่ลานสเก็ตน้ำแข็งยุคแรกได้ถือกำเนิดขึ้น จนไปถึงลานสเก็ตน้ำแข็งมาตรฐานแห่งแรกในประเทศไทยที่เกิดขึ้นที่ "เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์" ซึ่งเวลานั้นได้รับความนิยมอย่างมาก จนถึงขนาดที่ได้มีลานสเก็ตน้ำแข็งเกิดขึ้นมากมายทั้งกลางเมือง และชานเมืองของกรุงเทพมหานคร รวมถึงต่างจังหวัดอย่างเช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ก็ตาม จนกระทั่งกระแสกีฬานี้ได้ซบเซาลงไป เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีนักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้วงการนี้อย่างจริงจัง ทำให้การเล่นกีฬานี้เปรียบเสมือนการเล่นเพื่อความบันเทิงมากกว่าการเล่นเพื่อการกีฬา จนลานต่าง ๆ ได้ทยอยปิดตัวลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งแม้แต่เวิร์ลดเทรดเซ็นเตอร์ก็ได้ปิดลานสเก็ตแห่งดังกล่าวอย่างถาวรไปแล้ว แต่เป็นที่น่ายินดีว่า ในปัจจุบัน กีฬาชนิดนี้ เริ่มมีกระแสตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้มีลานสเก็ตน้ำแข็งเปิดใหม่อย่าง Zub Zero ที่อาคารศูนย์การค้า ดิ เอสพละนาดย่านรัชดา และรัตนาธิเบศร์ ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยมีลานสเก็ตทั้งสิ้น 4 แห่ง คือที่ ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิร์ล สำโรง, ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิร์ล ลาดพร้าว และที่ ศูนย์การค้าดิ เอสพละนาด สาขารัชดา และสาขารัตนาธิเบศร์ รวมทั้งยังมีที่ Central World ที่ The Rink ซึ่งส่วนมากจะมีการสอนหลักสูตรอย่างดี มีนักไอซสเก็ตทีมชาติมาเล่นเป็นจำนวนมาก


PS.  น่ารักอ่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น