Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ภูมิปัญญาไทยกับสิ่งของเครื่่องใช้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

� � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � � ภูมิปัญญาไทยกับสิ่งของเครื่องใช้
ความหมายของภูมิปัญญา


�������� ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น
�������� ดังนั้นภูมิปัญญาไทย จึงหมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา

ประโยชน์ และความสำคัญของภูมิปัญญา
ประโยชน์ และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทย ได้สร้างสรรค์ และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง จากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรัก และความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่า และความสำคัญดังนี้

1. ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
�������� �พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชน ด้วยพระเมตตา แบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อน ก็สามารถตีระฆัง แสดงความเดือดร้อน เพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือ ทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ ต่อประเทศชาติร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น
���� ����สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถี จนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้
���� �����พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถ แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง ภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติหลายครั้ง พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกร ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา
��������� แนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น โดยเริ่มจาก ขั้นตอนแรก ให้เกษตรกรรายย่อย "มีพออยู่พอกิน" เป็นขั้นพื้นฐาน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำ ในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยราชการ มูลนิธิ และหน่วยงานเอกชน ร่วมใจกันพัฒนาสังคมไทย ในขั้นที่สอง เกษตรกรต้องมีความเข้าใจ ในการจัดการในไร่นาของตน และมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิต และการตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน เมื่อกลุ่มเกษตรวิวัฒน์มาขั้นที่ ๒ แล้ว ก็จะมีศักยภาพ ในการพัฒนาไปสู่ขั้นที่สาม ซึ่งจะมีอำนาจในการต่อรอง

�ผลประโยชน์กับสถาบันการเงินคือ ธนาคาร และองค์กรที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิต โดยมีการแปรรูปผลิตผล เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผล และขณะเดียวกันมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคม จะเห็นได้ว่า มิได้ทรงทอดทิ้งหลักของความสามัคคีในสังคม และการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ จึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดได้ว่า เป็นสังคมเกษตรที่พัฒนาแล้ว สมดังพระราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกาย และพระสติปัญญา ในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์

2. สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย
��������� คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทย ที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม่ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบัน มวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่ นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่าง ประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทย จะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกา ของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออก คำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดก ภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดด เด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทาง ภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของ ตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่า เป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
��������� ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และราคาถูก มี คุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

3. สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม
���������� คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา มาปรับใช้ในวิถีชีวิต ได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย ปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะ แห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัย กัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญา ในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามา ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบาย ด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่อง ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา และเป็น ที่ตั้งสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ แห่งโลก (พสล.) อยู่เยื้องๆ กับอุทยานเบญจสิริ กรุงเทพมหานคร โดยมีคนไทย (ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี) ดำรงตำแหน่งประธาน พสล. ต่อจาก ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล





4. สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
��������� ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคม และธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือน ตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำใน ฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็น จึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือน และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์ การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชา ระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของ คน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำ ลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติ ทั้งสิ้น
����������� ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
���������� อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทย ที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกิน แบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกิน ก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่น ที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรัก นับถือ เป็นญาติกัน ทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิด กับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความ สมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ

5. เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย
��������� แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่ จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทย ก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น การรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัด เป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้ อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้
��������� เมื่อป่าถูกทำลาย เพราะถูกตัดโค่น เพื่อปลูกพืชแบบเดี่ยว ตามภูมิปัญญาสมัยใหม่ ที่หวังร่ำรวย แต่ในที่สุด ก็ขาดทุน และมีหนี้สิน สภาพแวดล้อมสูญเสียเกิดความแห้งแล้ง คนไทยจึงคิดปลูกป่า ที่กินได้ มีพืชสวน พืชป่าไม้ผล พืชสมุนไพร ซึ่งสามารถมีกินตลอดชีวิตเรียกว่า "วนเกษตร" บางพื้นที่ เมื่อป่าชุมชนถูกทำลาย คนในชุมชนก็รวมตัวกัน เป็นกลุ่มรักษาป่า ร่วมกันสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์กันเอง ให้ทุกคนถือปฏิบัติได้ สามารถรักษาป่าได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม
��������� เมื่อปะการังธรรมชาติถูกทำลาย ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ประชาชนสามารถสร้าง "อูหยัม" ขึ้น เป็นปะการังเทียม ให้ปลาอาศัยวางไข่ และแพร่พันธุ์ให้เจริญเติบโต มีจำนวนมากดังเดิมได้ ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย

ลักษณะภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
��������� ๑. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
��������� ๒. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
��������� ๓. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
��������� ๔. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
��������� ๕. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
��������� ๖. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
��������� ๗. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม


เครื่องจักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า

ความเป็นมาของเครื่องจักรสาน
�������������� ในประเทศไทยพบหลักฐานการใช้เครื่องจักสานมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ� 3,000 ปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานเป็นโครงสร้างเครื่องจักรสานบนภาชนดินเผาที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และในสมัยสุโขทัยได้มีตำนานเล่าถึงพระร่วงแสดงปาฏิหารใช้กระออม (เครื่องจักสานไม่ไผ่ชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำ) อีกด้วย�� ความคิดพื้นฐานในการสร้างเครื่องจักสานเกิดจากความต้องการในการดำเนินชีวิตเป็นหลัก เครื่องจักสานยุคแรกจึงมีรูปแบบและวิธีการง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน� �����������������������
������������� เครื่องจักสานเหล่านี้มีความเป็นมาที่ยาวนานและมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด ปัจจุบันเราก็ยังใช้กันอยู่และยังมีให้เห็นในชีวิตประจำวัน
\"c3\"









ความหมาย
������������ �เครื่องจักสาน เป็นงานหัตกรรมที่หล่อหลอมขึ้นจากจิตวิญญาณและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ�� คำว่า� เครื่องจักสาน� แยกความหมายคำได้คือ� จัก� หมายถึงการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น� เป็นแฉก� หรือริ้ว� ส่วนคำว่า� สาน� หมายถึง� การนำเอาวัสดุที่เตรียมแล้วมาสานประดิษฐ์ให้เป็นรูปร่างและลวดลายต่างๆ�
�������������� ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือ� การถัก� ซึ่งเป็นกระบวนการประกอบทำให้เครื่องจักสานสมบูรณ์เสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอกวัสดุที่นำมาใช้สานได้แก่� ไม้ไผ่� หวาย� กก� ป่าน� กระจูด� ลาน� ลำเจียก� เตย� และย่านลิเภา� เป็นต้น


ประเภทเครื่องจักสาน
�������������� เครื่องจักสานโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ
1.เครื่องมือในการเกษตรกรรม เช่น วี (กาวี) กระบุง เป็นต้น
2.เครื่องมือในครัวเรือน เช่น กระชอนกรองกะทิ พ้อม (กะพ้อม) กระติ๊บ เป็นต้น
3.เครื่องมือจับสัตว์ เช่น ลอบ ไซ ข้อง ชนาง สุ่ม เป็นต้น
4.เครื่องมือในพิธีกรรม เช่น ขันกระหย่อง ตาเหลว เป็นต้น
5.เครื่องมือเบ็ดเตร็ด เช่น กระด้ง เป็นต้น

เครื่องจักสานในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย
�������������� ลักษณะของเครื่องจักสานแต่ละประเภทนั้น� มักจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึงมีความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย� รูปร่าง� ลวดลาย �และวัสดุที่แตกต่างกันออกไป� ซึ่งทำให้เครื่องจักสานพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

thurs day 12 ม.ค. 56 เวลา 18:25 น. 1

ต่อ,,,,>>>
สิ่งของเครื่องใช้ของภาคเหนือ
               ภาคเหนือ  จะมีเอกลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและศาสนา เช่นวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียว เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการบริโภคข้าวเหนียวมีหลายรูปแบบ  เช่น  แอบข้าว  กระทาย กระด้ง แอ่ว บุง น้ำทุ่ง หวด ปุ่ม ฝาเจิบ มีดงบ เป็นต้น
 
 
ตัวอย่าง
 
1.แอบข้าว (แอ้บข้าว) ภาชนะทรงกระบอกสำหรับใส่ข้าวเหนียว
 
images[48].jpg
 
2.กระทาย ภาชนะใส่พืชผล มีเชือกผูกร้อยกับภาชะ และโยงมาคาดที่หน้าผาก
 
c3.jpg
 
 3.กระด้ง หรือ ด้ง มีหลายชนิด ที่สำคัญมี 2 อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าวกับกระด้งมอน กระด้งฝัดข้าวสานด้วยไม้ไผ่รูปร่างกลมหรือกลมรีหัวเลี่ยม กระด้งนอกจากใช้ฝัดข้าว ร่อนข้าวแล้ว ยังใช้ ตากสิ่งของต่างๆได้สารพัด แม้กระทั่งใช้เป็นที่นอนของเด็กอ่อนแรกเกิด
%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87
 
4.แอ่ว เป็นภาชนะเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ เกษตรกรในสมัยก่อนใช้สำหรับรองรับการฟาดข้าว และบรรจุข้าวเปลือกที่ฟาดได้ ก่อนที่จะนำไปเก็บที่ยุ้งฉาง
 
images[45].gif
5.บุง หรือ เปี้ยด ภาชนะสานสำหรับใส่ของ เช่นเดียวกับกระบุงของภาคกลาง แต่บุงภาคเหนือมีรูปร่างต่างกันไป เช่น บุงเมืองแพร่ บุงลำพูน หรือบุงลำปาง จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า กระบุงภาคกลาง บุงภาคเหนือ มีลักษณะป้อมกลม ไม่เป็นเหลี่ยม เหมือนกระบุงภาคกลางนั้น ช่วยให้บุงมีความคงทน ไม่แตกหักเสียหายง่าย เมื่อกระทบกระแทกกับสิ่งอื่น ใช้งานได้นาน
 
resize_1384__09012007110409.jpg
6.น้ำทุ่ง หรือ น้ำถุ้ง เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาด้วยชันและน้ำมันยาง ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ รูปร่างของน้ำทุ่งเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีคือ มีลักษณะคล้ายกรวยป้อมๆ ส่วนก้นมนแหลม ที่ ปากมีไม้ไขว้กันเป็นหูสำหรับผูกกับเชือกเพื่อสาว น้ำทุ่งขึ้นมาจากบ่อน้ำ ความมนแหลมของก้นน้ำทุ่งจะช่วยให้น้ำทุ่งโคลงตัวคว่ำลงให้น้ำเข้า เมื่อโยนลงไปในบ่อ นอกจากนี้ ลักษณะการสานที่แข็งแรง ยังช่วยให้น้ำทุ่งมีความทนทาน 
resize_1384__09012007110455.jpg
 
7.หวด หรือ ซ้า มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือตอนบน สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยทั่วไปใช้ไผ่เรี้ย หรือ ไผ่บง ลักษณะของหวดส่วนที่เป็นก้นจะสานให้ตาห่างกันพอเมล็ดข้าวสารไม่หลุดลอดออกได้ มีมุม 4 มุม ส่วนลำตัวของหวดจะเป็นทรงกลม ปากผายออกกว้างกว่าส่วนก้น
 
8.ปุ่ม มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือตอนบน สานด้วยไม้ไผ่บงหรือไผ่ซาง สานส่วนก้นก่อนที่เรียกว่าก่อก้น แล้วจึงพับตอกซั้งขึ้นสานลำตัว ส่วนล่างมีลักษณะกลมป่อง คอแคบยาว ตรงปากบิดเป็นเกลียวและมีงาปิด ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับตุ้มงาไหวที่ใช้ดักปลา ปุ่มใช้สำหรับขังปลาในน้ำไหล โดยจุ่มลงไปในร่องน้ำ ลำเหมือง หรือขังปลาในระหว่างหาปลา ปลาหลายชนิดที่ขังในน้ำเหมืองที่ไหลจะมีชีวิตอยู่ได้หลายวัน
 
 
9. ฝาเจิบ หรือ ฝาเอิบ สมัยโบราณใช้กันทั่วไป ทำด้วยไม้จิง ส่วนมากจะเป็นไม้สัก คงเพราะเจาะสลักได้ง่ายกว่า ด้านในสลักเจาะลงให้มีลักษณะเป็นฝา ด้านนอกทำเป็นปุ่มจับไว้ตรงกลาง คล้ายฝาหม้อน้ำดินเผา บางคนบางครอบครัวสานฝาเจิบด้วยไม้ไผ่ สานลาย 2 ข้างบนแหลมคล้ายกับฝาชี ส่วนปากบางแห่งกลม บางแห่งเป็นรูป 3 เหลี่ยม
    ฝาเจิบหรือฝาเอิบ ใช้เป็นที่ปิดไหข้าว ทั้งเวลาที่นึ่งข้าว และเวลาที่เก็บข้าวในไห และยังใช้แทนจานได้อีกด้วย คือคดข้าวสุกจากไหใส่ในฝาเจิบให้แก่คนที่นั่งห่างจากไหข้าว เมื่อกินอิ่มแล้วก็นำปิดไหข้าวไว้ตามเดิม
 
10.ขันโตก หรือ โตก เป็นภาษาดั้งเดิม เป็นภาชนะสำหรับวางสำรับอาหาร บ้างเรียก สะโตกมีรูปทรงกลม ความกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป มีเชิง สูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้งขันโตกไม้ และขันโตกหวาย
     ขันโตกไม้และขันโตกหวายต่างก็ใช้เป็นภาชนะที่วางถ้วยอาหารกับข้าว มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ นอกจากจะใช้วางถ้วยกับข้าวแล้ว ยังใช้โตกเป็นภาชนะใส่เข้าของอย่างอื่นด้วย เช่น ใส่ดอกไม้ธูปเทียนแทนขันดอกก็ได้ ใส่เครื่องคำนับเป็นขันตั้งก็ได้ ใส่ผลหมากรากไม้ก็ดี
 

0
thurs day 12 ม.ค. 56 เวลา 18:27 น. 2
สิ่งของเครื่องใช้ของภาคอีสาน              
             คนในภาคอีสานมีวัฒนธรรมในการบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับคนในภาคเหนือ  แต่เครื่องจักสานของชาวอีสานจะมีลักษณ์เฉพาะ  เช่น กระติ๊บข้าว  ก่องข้าว  กระออม ข้อง ไซ ตะกร้า กระเบียน คราด คันไถ หวด เป็นต้น
ตัวอย่าง
1.กระติ๊บข้าว เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ทรงกระบอกสูงคล้านกระป๋อง ตัวและฝามี      ขนาดเกือบเท่ากัน มีเชือกห้อยสำหรับสะพาย
%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7
 2.ก่องข้าว ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ มีขาหรือฐานไม้เป็นรูปกากบาทไขว้ ตัวก่องข้าวสานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน 2 ชั้น คล้ายรูปดอกบัวแต่มีขอบสูงขึ้นไปเหมือนโถ โดยมีส่วนฝาเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่งสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง
 
3.กระออม ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตักน้ำหรือหิ้ว หรือหาบคอน
 
4.ข้อง เป็นเครื่องมือจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อดิน มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้อง ข้องใช้สำหรับใส่ปลา ปู กุ้ง หอย กบ เขียด เป็นต้น
 
P7053505.jpg
 
5.ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ ทำด้วยไม้ไผ่ผูกร้อยซี่ไม้ไผ่ด้วยหวายเถาวัลย์ ตอกเป็นลวด ใส่งาแซงเป็นช่องทางให้ปลา กุ้ง ปู เข้าไปภายในไซ
 
lannakhadee268.jpg
 
6.ตะกร้า หรือ กะต่างวง ใช้ใส่ของได้สารพัด และใช้ได้ทั้งการหิ้ว หาบ และคอน ด้วยไม้คาน รูปทรงของตะกร้า ต่างไปจากตะกร้าภาคอื่นคือ กะต่างวงสานด้วยไม้ไผ่ เริ่มสานก้นก่อน ด้วยลายขัด ตอกคู่ แล้วค่อยๆ สานต่อขึ้นมาด้านข้างของตะกร้า ด้วยลายธรรมดาเรื่อยไปจนถึงปากของตะกร้า ซึ่งจะใช้ตอกเส้นเล็ก เพื่อความแข็งแรงทนทาน แล้วจะทำหูตะกร้า เพื่อใช้หิ้วหรือหาบ โดยมากจะใช้ไม้ไผ่อีกชิ้นหนึ่ง โค้งเหนือปากตะกร้า
 
resize_1423__09012007112007.jpg
 
 
7.กระเบียน เป็นภาชนะจักสานไม้ไผ่ รูปแบน ขอบกลม กระเบียนใช้สำหรับเด็กนอนหลังคลอดใหม่ๆ
กระเบียน.jpg
8. คราด มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีซี่คล้ายๆ หวี ทำจากไม้เนื้อแข็ง ขนาดของคราดจะขึ้นอยู่กับพาหนะในการลาก หากใช้กับวัวก็จะมีขนาดเล็กกว่าควาย คราดประกอบด้วย แม่คราด ทำจากไม้เนื้อแข็ง
คราด.jpg
9.คันไถ หรือ ไถ เป็นเครื่องมือที่ใช้ควายหรือวัวลากเพื่อพลิกหน้าดิน มีรูปร่างโค้งสูงเสมอเข่า ไถแต่ละท้องถิ่นอาจมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
ไถ.png
10.หวด คือ ภาชนะที่เป็นรูปกรวย สานด้วยไม่ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับ หม้อทรงกระบอก
ใช้นึ่งข้าวเหนียว
0
thurs day 12 ม.ค. 56 เวลา 18:28 น. 3
สิ่งของเครื่องใช้ของภาคกลาง
              ในบริเวณภาคกลางถือเป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานของประเทศ  มีพัฒนาการและมีรูปแบบที่หลากหลาย  เช่น  ตะกร้า งอบ กระจาด เคียว จวัก กระเชอ ชะลอม กระพ้อม กระชัง บุ้งกี๋ เป็นต้น
ตัวอย่าง
1.ตะกร้า ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่และหวาย ใช้สำหรับใส่ข้าวของต่างๆ ถือเป็นเครื่องจักสานที่มีความงดงามที่สุดในกลุ่มเครื่องจักสานของภาคกลาง
 
2.งอบ เครื่องจักรสานสวมศีรษะขณะออกทำงานกลางทุ่งตามท้องไร่ ท้องนา ประกอบด้วยวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ไผ่ ใบลาน หรือใบตาล
 
3.กระจาด ภาชนะกลม เตี้ย สานด้วยไม้ไผ่ มีขอบและมีหูสำหรับใช้หาบเป็นคู่ๆ ใส่ผักหรือผลไม้
 
4.เคียว ก็เรียกเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ “กรูด” แต่มีหางยาวกว่า ใบมีดก็มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เวลาเก็บเกี่ยวมือแทนที่จะจับตรงกลางเหมือนกรูด กลับจับส่วนปลายของด้ามสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้รวดเร็วทีละหลายๆ กอ
 
keay01
 
5.จวัก ใช้ตักแกง ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ
 
krengcainaikua01
 
 
 
6.กระเชอ เป็นภาชนะที่ทำมาจากไม้ไผ่ ด้วยวิธีการจักสาน ลักษณะคล้ายกระบุง ก้นสอบ ปากผาย ก้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนปากมีลักษณะเป็นวงกลม ชาวบ้านในชนบทใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือใส่ของในพิธีกรรมต่างๆ
images (1).jpg
7.ชะลอม เป็นภาชนะจักรสานที่ใช้ไม้ไผ่สาน สำหรับใส่ของเช่น ใส่ผลไม้ ใส่เครื่องครัว 
ใส่ของต่างๆ ชะลอมเป็นภาชนะที่ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเส้น ๆ เพื่อนำมาจักรสาน ชะลอมธรรมดาก็จะเป็นสีของไม้ธรรมชาติคือจะเป็นสีทอง ในสมัยก่อนคนไทยนิยมใช้ชะลอมใส่ของไม่ว่าจะเป็นกับข้าวหรืออะไรก็แล้วแต่ ตามจุดประสงค์ของคนที่จะใส่
DSC03869.JPG
 
 
 
8.กระพ้อม ตะล่อมข้าว หรือเสวียนก็เรียก คือที่สำหรับใส่ข้าวเปลือก ใช้ไม้ไผ่ซี่เล็กๆมาขัดแตะ ทำเป็นวง ล้อมรอบแล้วยาด้วยขี้ควาย ขนาดเล็กกว่ายุ้ง
 
images (2).jpg
 
9.กระชัง ใช้สําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ
ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้
 
10.บุ้งกี๋ เป็นเครื่องจักรสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สำหรับใช้โกยดิน
 
0
thurs day 12 ม.ค. 56 เวลา 18:30 น. 4
สิ่งของเครื่องใช้ของภาคใต้
              ภาคใต้มีรูปแบบเครื่องจักสานต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ ในด้านรูปแบบ  ลวดลาย  และวัสดุที่ใช้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุดิบในท้องถิ่น  เช่น กระจูด เชงเลง สมุก  สอบหมาก เสื่อกระจูด  เครื่องจักสานย่านลิเภา  ผลิตภัณฑ์จักรสานใบเตย
1.กระจูด ในหมู่บ้านมีทุ่งกระจูด( ชื่อท้องถิ่น ) ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาสานเป็นเสื่อไว้ใช้เองและจำหน่ายแต่ทำในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่อมากลุ่มพัฒนาชุมชนได้รวมกลุ่มสมาชิกขึ้นและประสานงานกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาทำการสอนแปรรูป ตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า แบบต่างๆ ของใช้เบ็ดเตล็ด ที่รองแก้ว ที่รองจาน ตู้เสื้อผ้า แฟ้ม ฯลฯ
กระบวนการผลิต
          นำกระจูดตากแห้ง ย้อมสี เข้าเครื่องรีด จักรสานตามลายที่ต้องการแล้วนำมาตัดเย็บ ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี
krajud01
 
2.เชงเลง เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะกรวยส่วนท้ายเรียวสอบติดกัน ลักษณะคล้ายกระชู ไม่มีงาเป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านภาคใต้ เชงเลงจะมีหลายขนาดความยาวตั้งแต่ 6 - 8 ศอก ความกว้างของฝาก 1 - 2 สอก
p1198_01.jpg

3.สมุก ภาชนะสานด้วยใบลาน หรือใบตาล ใช้สำหรับใส่สิ่งของขนาดเล็ก
 
4.สอบหมาก ภาชนะสานด้วยกระจูด   ใช้สำหรับใส่หมาก
 
5.เสื่อกระจูด เสื่อทำจากต้นกระจูดใช้สำหรับปูนอน หรือใช้รองนั่งที่วัดหรือสุเหร่า
 
6.เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นเครื่องจักสานพื้นบ้านโบราณ ใช้ย่านลิเภามาจักสานโดยลอกเอาเฉพาะเปลือกมาทำเท่านั้น สามารถทำเครื่องใช้ได้หลายอย่าง เช่น กระเป๋าถือสตรี กุบหมาก เป็นต้น
      
resize_1445__09012007112537.jpg
 
7.ผลิตภัณฑ์จักรสานใบเตย การจักรสานนิยมใช้ใบเตยหนาม หรือปาหนัน จะนำมาจักรสานเป็นของใช้ ของที่ระลึก รูปแบบต่างๆ โดยการนำใบเตยมาตากแดด แล้วนำเข้าเครื่องจักตอกให้ได้ขนาดเส้นตามที่ต้องการ ถ้าต้องการย้อมสีก็สามารถทำได้ จากนั้นนำมาจักสานขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการอย่างประณีต และสวยงาม เสร็จแล้วทาแลคเกอร์ชิ้นงานให้ขึ้นเงาและเป็นการป้องกันรา
 
juksanbaiteai04
8. ค้อมไก่ คือ เครื่องครอบขังไก่ มีรูปทรงกลมลักษณะคล้ายสุ่ม แต่มีขนาดใหญ่สานด้วยไม้ไผ่ซีใหญ่ๆ หยาบตาห่างๆ ใช้ครอบขังไก่ชน และครอบขังไก่เป็ดทั่วไป 
komkai01.jpg
9. กริช ทำจากเหล็กกล้า ได้มีการสืบทอดการทำกริชในพื้นที่รามันโดยเฉพาะที่ตำบลตะโละหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบันนี้
gris01.jpg
10.ผ้าบาติกอันดามัน มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
0