Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

- - - - - บางมด ทำไมค่าเทอมแพงชิหาย วะคับ T T..

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เกือบ สองเท่าของพระนครเหนือเลยอะ


แสดงความคิดเห็น

>

28 ความคิดเห็น

1778 21 เม.ย. 56 เวลา 02:07 น. 2

บางมดจ่ายเงินเดือนอาจารย์สูงเป็นอันดับสองของประเทศรองจากสุรนารีครับ จะเก็บค่าเทอมแพงก็ไม่แปลก เขาซื้อตัวคนเก่งๆ จากที่อื่นมาร่วมงานแล้วจ่ายเงินเดือนให้สูงๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือได้ผลงานมากกว่า ผลงานวิจัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม จัดอันดับได้สูงขึ้นกว่าเดิม ชื่อเสียงมหาลัยดีขึ้นกว่าเดิม ต้นทุนการเดินงานมันก็เลยสูงครับ

0
MPLS 21 เม.ย. 56 เวลา 09:14 น. 4

อีกหน่อยดังกว่านี้ คงแพงกว่านี้ หรอครับ ถ้าการศึกษาผูกติดกับค่าเทมอ ลูกชาวนาทำไง

0
...... 21 เม.ย. 56 เวลา 09:24 น. 6

จะบอกว่าค่าเทอทบางมดแพงไม่ได้หรอกครับ&nbsp ต้องบอกว่าค่าเทอมพระนครเหนือถูกเกินไป


แต่ค่าเทอมวิศวะ นานาชาติ บางมดถูกที่สุดแล้วนะครับ

0
2121212121 21 เม.ย. 56 เวลา 09:52 น. 7

เห็นด้วยกับค่าเทอม

การศึกษาผูกติดกับอาจารย์ที่สอน

ใครๆก็อยากได้เงินเดือนสูง

แต่ ม.สุรนารี อาจารย์ดี ความนิยมต่ำ

ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงเมื่อไหร่ คะแนนสอบเข้าน่าจะสูง

0
ลูกพระจอม 21 เม.ย. 56 เวลา 11:52 น. 9

แพงกว่าอีกสองพระจอมมาก แต่คุณภาพไม่ได้ต่างจากอีกสองพระจอมเลย โดยเฉพาะพระนครเหนือค่าเทริมถูกกว่าบางมดมากเกือบเท่าตัว แต่คุณภาพทางการศึกษา ไม่ได้ต่างกับบางมดเลย

"แพงแบบนี้ปิดโอกาสเด็กชัดๆ เด็กที่บ้านเค้าไม่ค่อยมีเงินจะทำยังไง ต่อให้เค้ากู้ กยศ ก็ต้องจ่ายส่วนต่างแพงอยู่ดี"

1
mmmmm 8 มิ.ย. 58 เวลา 22:09 น. 9-1

ใช่ค่า เป็นอีกคนที่บ้านก็ไม่ได้รวยอะไร ค้าขาย แต่กู้เีรียนเอา มาไกลแล้วแต่ถ้าเริ่มใหม่ก็เสียดายทุน555 ต้องทำงานหาเงินเรียนค่ะ ถึงจะรอด

0
จขกท 21 เม.ย. 56 เวลา 11:58 น. 10

ตกลง บางมด เป็น&nbsp -- --- ---&nbsp  เอกชน&nbsp  ---- --- ----&nbsp  รึป่าวคับเนี่ย&nbsp 



&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  &nbsp &nbsp 

0
8752 21 เม.ย. 56 เวลา 12:25 น. 11

บางมดเป็นมหาลัยในกำกับของรัฐบาลหรือมหาลัยนอกระบบครับ มีอำนาจในการกำหนดนโยบายภายในได้เอง สามารถกำหนดค่าเล่าเรียนหรือเงินเดือนอาจารย์ได้เอง แต่ก็ยังถือว่าเป็นมหาลัยของรัฐอยู่ครับ ขณะนี้บ้านเรามีมหาลัยนอกระบบอยู่ 16 แห่ง เช่น บางมด เชียงใหม่ มหิดล จุฬา ลาดกระบัง พระนครเหนือ ส่วนที่เหลือพวก ธรรมศาสตร์ เกษตร ศิลปากร สงขลา ฯลฯ ก็กำลังทยอยออกนอกระบบ รายละเอียดตามข้างล่างนี้

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล

ในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษา ในกำกับ 16 แห่ง ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบราชการหรือไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยในจำนวนนี้มี 5 แห่งที่เป็นสถาบันในกำกับของรัฐบาลตั้งแต่ก่อตั้ง ส่วนที่เหลือนั้นเป็นสถาบันในกำกับของรัฐบาลโดยการแปรสภาพด้วยผลของกฎหมาย

1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผล 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533)[2] เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรก
2.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผล 8 เมษายน พ.ศ. 2535) [3]
3.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มีผลวันที่ี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540) [4]
4.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มีผลวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540) [5]
5.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2541) [6]
6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ออกนอกระบบวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541) [7]
7.มหาวิทยาลัยมหิดล (มีผลวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [8]
8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มีผลวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550) [9]
9.มหาวิทยาลัยบูรพา (มีผลวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551) [10]
10.มหาวิทยาลัยทักษิณ (มีผลวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) [11]
11.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีผลวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)[12]
12.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มีผลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551) [13]
13.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (มีผลวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551) [14]
14.มหาวิทยาลัยพะเยา (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) [15]
15.มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) [16]
16.สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งสถาบัน, มีผลวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) [17]

0
BixhLee 21 เม.ย. 56 เวลา 15:07 น. 13

ถ้ามีปัญหาเรื่องค่าเทอม แล้วบอกว่าตัดโอกาสทางการศึกษาของคนที่ไม่ค่อยมีเงิน

ก็สอบให้ได้ทุนสิคะ หรือไม่ก็เรียนที่อื่นก็ได้ ในเมื่อบอกว่าคุณภาพไม่ได้ต่างกันมาก

เรียนที่ไหนๆก็เหมือนกันนี่ มันอยู่ที่ตัวเรา ^^

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 เมษายน 2556 / 15:15

0
เด็กบางมด 21 เม.ย. 56 เวลา 16:45 น. 15

ค่าเทอมของบางมดหลักสูตรปกติแพงกว่าที่อื่น แต่หลักสูตรอินเตอร์ถูกกว่าที่อื่นนะครับ
เพราะบางมดต้องการอัพเกรดตัวเองให้เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรปกติเองก็ต้องเรียนด้วยตำราและหนังสือ ตลอดจนการสอบภาษาอังกฤษแทบทั้งหมดอยู่แล้วด้วย และมีโครงการความร่วมมือจากม.ชั้นนำต่างประเทศเยอะมากครับ ต้นทุนบางมดเลยสูง แต่ยังยืนยันได้ว่าบางมดยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐครับ

0
ลูกพระจอม 21 เม.ย. 56 เวลา 19:31 น. 16

คห.13 ผมหมายถึงความเป็น"มหาวิทยาลัยรัฐ"ของบางมดต่างหาก ผมเปรียบเทียบเรื่องค่าเทริมว่ามันแพงกว่าที่อื่นมากๆในหลักสูตรปกติ ภาคปกติของมหาวิทยาลัยรัฐ ในความเห็นผมคือควรจะเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนไม่ใช่แค่เด็กบางกลุ่ม เรื่องสอบชิงทุนมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องค่าเทริมเพราะเรียนที่ไหนก็สอบชิงทุนได้ทั้งนั้นมันเป็นความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องสอบชิงทุน ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องไปหาที่เรียนที่อื่น ผมเพียงเปรียบเทียบค่าเทริมเท่านั้นว่าทำไมมันแพงชิหาย!!! คุณBixhLee

0
9503 22 เม.ย. 56 เวลา 01:00 น. 17

ห้าคำสั้นๆ สำหรับกรณีเรื่องค่าเทอมแพงของบางมด

"ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง"

สมัยเป็น สจธ ค่าเทอมถูกมาก แต่ชื่อเสียง ผลงาน ทรัพยากร อาจารย์ คะแนนสอบเข้า ฯลฯ อะไรต่างๆ ตามหลังพี่ใหญ่ (ลาดกระบัง) กับพี่รอง (พระนครเหนือ) ตลอดมา เผลอๆ พวกเกียร์ภูมิภาค (มช มข มอ) ยังได้รับความนิยมกว่า เรียกว่าได้ว่าสมัยยังเป็น สจธ บางมดอาจจะอยู่อันดับล่างสุดของ 8 เกียร์เก่า

การออกนอกระบบ การขึ้นค่าเทอม การขึ้นเงินเดือนอาจารย์ การซื้อตัวอาจารย์จากมหาลัยอื่นล้วนเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของบางมดในทุกวันนี้

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม