Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
“เศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

แสดงความคิดเห็น

>

42 ความคิดเห็น

กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 08:47 น. 1

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป&nbsp ดังนี้

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 08:53 น. 2

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป&nbsp ดังนี้

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 08:58 น. 3

เศรษฐกิจพอเพียง&nbsp เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 08:58 น. 4

ความพอเพียง&nbsp หมายถึง&nbsp ความพอประมาณ&nbsp ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 08:59 น. 5

ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:00 น. 6

เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:00 น. 7

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและ&nbsp  การกระทำ

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:01 น. 8

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1.&nbsp&nbsp&nbsp กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:02 น. 9

2.&nbsp&nbsp&nbsp คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:03 น. 10

3.คำนิยาม&nbsp &nbsp ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน&nbsp คือ ความพอประมาณ (Moderation)&nbsp ความมีเหตุผล (Reasonableness)&nbsp และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี&nbsp &nbsp  (Self-immunity)&nbsp ถ้าขาด คุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งไปก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความพอเพียง ได้แก่

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:03 น. 11

&nbsp ความพอประมาณ&nbsp หมายถึง ความพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปในมิติต่าง ๆ ของการกระทำ 5 ประการ คือ

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:04 น. 12

1.1&nbsp ด้านจิตใจ คือ เริ่มต้นจากตนเองต้องตั้งสติ มีปัญญา มีจิตสำนึกที่ดี มีเมตตา เอื้ออาทร มีความเข้าใจและประนีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:05 น. 13

1.2&nbsp  ด้านสังคม คือ การสร้างความพอดีในทุกระดับของสังคม โดยเริ่มจากครอบครัว ชุมชนและสังคม ซึ่งต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:05 น. 14

1.3&nbsp  ด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องอยู่อย่างพอดี พอมีพอกิน ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย
1.4&nbsp  ด้านเทคโนโลยี คือ ควรเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะและความต้องการของประเทศ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเรา

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:06 น. 15

1.5&nbsp  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรณรงค์รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:08 น. 16

&nbsp&nbsp&nbsp ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ซื่อตรงและไม่โลภอย่างมาก

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:09 น. 17

&nbsp&nbsp&nbsp การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น&nbsp โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:10 น. 18

4.&nbsp&nbsp&nbsp เงื่อนไข&nbsp การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน&nbsp กล่าวคือ

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:10 น. 19

&nbsp&nbsp&nbsp เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อม&nbsp เพื่อประกอบการวางแผนและการใช้ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

0
กนผ.กร.ทบ. 5 มิ.ย. 56 เวลา 09:11 น. 20

&nbsp&nbsp&nbsp เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต

0