Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[ถามความเห็นค่ะ] เกี่ยวกับคำหยาบในนิยาย เพื่อนๆมีความคิดเห็นยังไงกันบ้างคะ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือช่วงนี้ว่างมากเลยไปค้นๆนิยายในเด็กดีอ่านจากที่ปกติจะอ่านแฟนตาซีเป็นหลัก ซึ่งก็จะไม่เห็นหรือไม่ค่อยเห็นคำหยาบในเรื่อง(ไม่ว่าจะกู - เห้ ห่าน สารพัตสัตว์) แล้วเราเองก็ไม่ค่อยชอบให้มีคำหยาบในนิยายตัวเอง
แต่จากที่ไปอ่านๆๆๆมาเจอเยอะมากแถมขึ้นท็อป100หลายเรื่องอยากรู้ว่า คนส่วนใหญ่โอเคกันมั้ยคะกับการแต่งให้ตัวละครพูดกู-แล้วก็พูดคำหยาบอื่นๆตลอดเวลา (จริงๆตอนนี้เราชักจะชินแล้ว แต่ตอนแรกไม่ชอบเลย = =a)  คือเรากำลังจะแต่งนิยายซึ่งดำเนินเรื่องด้วยกลุ่มผู้ชายอะค่ะ อยากแต่งภาษาทั่วไปแต่ก็เกรงว่าจะแต๋วแตกกันไปหมด แต่จะกู-ตลอดก็ไม่แน่ใจฟีดแบ็กจากคนอ่านอีก รบกวนทุกคนด้วยค่ะ
(จำนวนคนโหวต 40 คน)
เฉยๆอะ ยังไงก็ได้ ถ้าเนื้อเรื่องสนุกก็ไม่มีปัญหา
18 โหวต
ไม่อะ ไม่ชอบ ถึงในชีวิตจริงจะพูดก็เถอะ แต่ในนิยายก็เว้นๆไว้หน่อย
19 โหวต
ชอบนะ มันดูสมจริงดี ถ้าเป็นผู้ชาย ชีวิตจริงก็เป็นงี้กันทั้งนั้นแหละ
3 โหวต

แสดงความคิดเห็น

>

1 ถูกเลือกโดยทีมงาน

K.W.E. 4 ก.ค. 56 เวลา 10:32 น. 3

ก็ยังคงยืนยันว่าไม่ชอบนะ มีได้บางจังหวะไม่คิดอะไร แต่ถ้าจะใช้เป็นตัวยืนพื้นของภาษา อันนั้นไม่เห็นด้วยที่สุด


ชีวิตจริงก็เรื่องหนึ่ง แต่นิยายก็อีกเรื่องหนึ่ง
ชีวิตจริงเราใช้คำหยาบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ ไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ ต่อให้ถูกกลุ่มแต่ถ้าสถานที่ไม่ใช่ เขาก็จะพยายามเลี่ยงกัน

เช่นว่า จะนัดเพื่อนไปกินข้าวหลังวิชาสัมมนาที่มีอาจารย์หลายท่านมานั่งฟัง
ผมเชื่อว่าเราจะชวนเืพื่อนที่สนิทโคตรๆแบบง่ายๆสั้นๆว่า "ไปกินข้าวกัน"

แต่ถ้าอาจารย์เกิดเดินไปหมดแล้ว ตอนนั้นไม่แน่ว่าอาจปล่อยของเต็มที่เลย "เฮ้ย -เชี่ยม ไปแดกข้าวเว้ย"


การเกรงใจต่อบุคคลและสถานที่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่บางทีหลายคนมักมองข้าม
นิยายอาจจะเน้นตัวละครวัยรุ่น แต่ผู้อ่านก็อาจไม่ใช่วัยรุ่นเสมอไป มีได้ทั้งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ มีได้ทั้งวัยที่ยังไม่คุ้นคำหยาบ(จำไปใช้) ไปจนถึงวัยที่เบื่อคำหยาบแล้ว (แอนตี้ไปข้าง)

การระวังเรื่องภาษาใช้ให้กลางๆเข้าไว้เป็นเกณฑ์ผมว่าเป็นวิธีคิดที่ดูดีและรับผิดชอบต่อสังคมกว่าครับ

บทพูดเรื่องหนึ่ง แต่การนำเสนอก็เรื่องหนึ่ง
ตัวละครอาจถูกวางให้เน้นใช้คำหยาบคายเพื่อให้สื่อถึงตัวคนแท้จริง
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าการนำเสนอบุคลิกดังกล่าวจะต้องเน้นที่ความหยาบคายเป็นหลักครับ

ถ้ามีศิลปในการนำเสนอพอ หรือขยันที่จะบรรยายและเนียนในการวางบทหน่อย บางทีไม่ต้องเน้นหยาบคนอ่านยังรู้ได้เลยว่าตัวละครสองตัวนั้นสนิทกัน หรือตัวละครนั้นๆเป็นพวกดิบ ก้าวร้าวรุนแรง

มีนักเขียนหน้าใหม่หลายท่านเข้าใจกันผิดๆคิดว่า คำหยาบเป็นเครื่องมือสะท้อนบุคลิกดังกล่าวได้ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่ครับ มันสะท้อนได้แค่แนวปฏิกริยา อ่านแล้วรู้ว่าแรง แต่มันไม่ได้บอกถึงนิสัยส่วนลึกของตัวละครนั้นเลย

เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะตันครับ ต่อให้ใช้แรงบ่อยและมากขึ้นไปก็เท่านั้น ไม่ได้ทำให้ตัวละครนั้นดูมีมิติขึ้นอีกเลย ตรงข้ามจะทำให้มันดูแบนลงเรื่อยๆด้วยซ้ำ


คำหยาบคือดาบสองคมครับ
ด้านหนึ่งมันอาจเป็นภาพสะท้อนถึงความสนิทชิดเชื้อที่พูดแรงๆได้โดยไม่เกลียดกัน แต่ในอีกด้านหนึ่งคำพูดมันก็สะท้อนความคิดและจิตใจที่ดูกักขฬะได้


จริงอยู่ว่าคำหยาบมันเป็นเรื่องปกติของชีวิต เราใช้กันทุกระดับตั้งแต่คุยกับเพื่อนไปจนถึงนินทาคน

แต่ทว่า...
ในชีวิตจริงผมชอบให้คนพูดจาดีๆมากกว่าพูดคำหยาบนะ

และผมก็เชื่อว่าหลายคนในสังคมเองก็คิดกันแบบนี้ครับ
ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงการนำเสนอในนิยายด้วย

0

14 ความคิดเห็น

รินทรี 4 ก.ค. 56 เวลา 04:27 น. 1

เยอะมากไปแทนที่จะดูสมจริงกลับดูขัดหูขัดตา ขัดอารมณ์เวลาอ่านมากกว่า

ขึ้นอยู่กับแนวเรื่องด้วย กลุ่มผู้ชายดำเนินเรื่องมันมีหลายแบบ แต่พยายามไม่ให้มีจะดีที่สุด 

ถึงเนื้อเรื่องสนุกแต่คำหยาบเต็มพรืด แบบ non-stop ทั้งเรื่องระดมอย่างกับเตรียมพลย้อนยุคไปสมัยพ่อขุนรามนี่ก็ไม่ไหวเหมือนกัน 

0
sweetpeaz 4 ก.ค. 56 เวลา 04:36 น. 2
อืมม .. คิดว่าคงระหว่างข้อ 1 กับ ข้อ 3 มั้งคะ ?

ส่วนตัวเราก็ไม่ชอบใช้คำหยาบ แล้วถ้าดำเนินเรื่องโดยใช้ภาษาทั่วไปได้ ก็คงทำอย่างนั้น แต่ในบางกรณี เราว่า ใช้หน่อย มันก็อาจจะเพิ่มความสมจริงหรือแสดงธรรมชาติของคาแร็คเตอร์นั้น ๆ ให้ชัดเจนขึ้นได้ อย่าง สมมติ มีบทบาทนักเลงมาเฟียในเรื่อง จะให้เหล่าลูกสมุนพูดจาไพเราะเพราะพริ้งเสนาะหู ก็ใช่เรื่องนะคะ ฉะนั้น เราว่า ถ้านิด ๆ หน่อย ๆ พอเหมาะ ก็โอเคอยู่ค่ะ

แต่ ความจริง ในความคิดเห็นส่วนตัวของเรา ถ้าเราไปเจอนิยายที่ใช้แทนตัวเองว่า กู หรือใช้คำพวกนี้เยอะ ๆ ก็คงปิดไม่อ่านค่ะ เพราะ ~ มันไม่ใช่ภาษาที่เราคุ้นเคย / ไม่ใช่แนวมั้งคะ ? คือ ไม่ค่อยชอบอะค่ะ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เน้นบรรยาย เน้นเนื้อเรื่อง ด้วยภาษาทั่วไป มันฟังดูจริงจังเหมือนมีอะไรน่าอ่านกว่า ? เพราะไม่งั้นมันให้ความรู้สึกเหมือนเป็นนิยายวัยรุ่นแต่งเล่น อะไรอย่างนั้น ( อธิบายไม่ค่อยถูก )

แต่ถ้าหลุดในบทสนทนา หรือ เวลาเล่นมุขอะไรอย่างนี้ ตามประสาผู้ชายบ้าง ก็โอเคค่ะ แบบไม่ต้องเยอะมาก พอดีพองาม
0
K.W.E. 4 ก.ค. 56 เวลา 10:32 น. 3

ก็ยังคงยืนยันว่าไม่ชอบนะ มีได้บางจังหวะไม่คิดอะไร แต่ถ้าจะใช้เป็นตัวยืนพื้นของภาษา อันนั้นไม่เห็นด้วยที่สุด


ชีวิตจริงก็เรื่องหนึ่ง แต่นิยายก็อีกเรื่องหนึ่ง
ชีวิตจริงเราใช้คำหยาบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ ไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ ต่อให้ถูกกลุ่มแต่ถ้าสถานที่ไม่ใช่ เขาก็จะพยายามเลี่ยงกัน

เช่นว่า จะนัดเพื่อนไปกินข้าวหลังวิชาสัมมนาที่มีอาจารย์หลายท่านมานั่งฟัง
ผมเชื่อว่าเราจะชวนเืพื่อนที่สนิทโคตรๆแบบง่ายๆสั้นๆว่า "ไปกินข้าวกัน"

แต่ถ้าอาจารย์เกิดเดินไปหมดแล้ว ตอนนั้นไม่แน่ว่าอาจปล่อยของเต็มที่เลย "เฮ้ย -เชี่ยม ไปแดกข้าวเว้ย"


การเกรงใจต่อบุคคลและสถานที่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่บางทีหลายคนมักมองข้าม
นิยายอาจจะเน้นตัวละครวัยรุ่น แต่ผู้อ่านก็อาจไม่ใช่วัยรุ่นเสมอไป มีได้ทั้งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ มีได้ทั้งวัยที่ยังไม่คุ้นคำหยาบ(จำไปใช้) ไปจนถึงวัยที่เบื่อคำหยาบแล้ว (แอนตี้ไปข้าง)

การระวังเรื่องภาษาใช้ให้กลางๆเข้าไว้เป็นเกณฑ์ผมว่าเป็นวิธีคิดที่ดูดีและรับผิดชอบต่อสังคมกว่าครับ

บทพูดเรื่องหนึ่ง แต่การนำเสนอก็เรื่องหนึ่ง
ตัวละครอาจถูกวางให้เน้นใช้คำหยาบคายเพื่อให้สื่อถึงตัวคนแท้จริง
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าการนำเสนอบุคลิกดังกล่าวจะต้องเน้นที่ความหยาบคายเป็นหลักครับ

ถ้ามีศิลปในการนำเสนอพอ หรือขยันที่จะบรรยายและเนียนในการวางบทหน่อย บางทีไม่ต้องเน้นหยาบคนอ่านยังรู้ได้เลยว่าตัวละครสองตัวนั้นสนิทกัน หรือตัวละครนั้นๆเป็นพวกดิบ ก้าวร้าวรุนแรง

มีนักเขียนหน้าใหม่หลายท่านเข้าใจกันผิดๆคิดว่า คำหยาบเป็นเครื่องมือสะท้อนบุคลิกดังกล่าวได้ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่ครับ มันสะท้อนได้แค่แนวปฏิกริยา อ่านแล้วรู้ว่าแรง แต่มันไม่ได้บอกถึงนิสัยส่วนลึกของตัวละครนั้นเลย

เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะตันครับ ต่อให้ใช้แรงบ่อยและมากขึ้นไปก็เท่านั้น ไม่ได้ทำให้ตัวละครนั้นดูมีมิติขึ้นอีกเลย ตรงข้ามจะทำให้มันดูแบนลงเรื่อยๆด้วยซ้ำ


คำหยาบคือดาบสองคมครับ
ด้านหนึ่งมันอาจเป็นภาพสะท้อนถึงความสนิทชิดเชื้อที่พูดแรงๆได้โดยไม่เกลียดกัน แต่ในอีกด้านหนึ่งคำพูดมันก็สะท้อนความคิดและจิตใจที่ดูกักขฬะได้


จริงอยู่ว่าคำหยาบมันเป็นเรื่องปกติของชีวิต เราใช้กันทุกระดับตั้งแต่คุยกับเพื่อนไปจนถึงนินทาคน

แต่ทว่า...
ในชีวิตจริงผมชอบให้คนพูดจาดีๆมากกว่าพูดคำหยาบนะ

และผมก็เชื่อว่าหลายคนในสังคมเองก็คิดกันแบบนี้ครับ
ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงการนำเสนอในนิยายด้วย

0
Kuroi 4 ก.ค. 56 เวลา 11:53 น. 5

นานๆทีจะใส่ทีครับ ตัวละครพวกนักเลง หรือพวกที่นิสัยไม่ดีพูดเวลาโมโหอ่ะครับ ไม่ค่อยใช้มากหรอก แต่จะไม่มีเลยก็ได้ โลกแห่งความจริงในยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่เราพูดกันด้วยคำพูดสวยหรู คำที่จะใส่ก็เป็นสรรพนาม (กู--) อย่างเดียวครับ ไม่มีคำด่า

0
K[i]S{E}R 4 ก.ค. 56 เวลา 14:48 น. 6

โดยส่วนตัวไม่ชอบครับ ถึงจะอ้างว่าเพื่อความสมจริง หรือเพื่อความเป็นธรรมชาติก็เถอะ จริงๆ แล้วผมเชื่อว่า มีคำอื่นที่ใช้แทนกันได้มากมาย เช่น เอ็ง แก นาย แต่ไม่ชอบให้ขึ้นกู-- ในนิยายจริงๆ

0
.: ธิญโณ :. 4 ก.ค. 56 เวลา 14:49 น. 7

มีได้แต่อย่าเยอะครับเว้นในกรณีตัวละครรึตัวประกอบที่เป็นนักเลง มาเฟีย
แต่ถ้าเกลื่อนเมื่อไรเป็นผมก็ปิดทิ้งครับ

ภาษาพูดกับภาษาเขียนมันต่างกัน อรรถรสในการฟัง รึการอ่าน ก็ต่างกันครับ

0
K[i]S{E}R 4 ก.ค. 56 เวลา 14:51 น. 8

เห็นด้วยกับท่านสุดๆ เลย คำหยาบในบทสนทนา ไม่ได้ช่วยให้ตัวละครมีมิติขึ้นหรอก

0
Death With Love 4 ก.ค. 56 เวลา 16:31 น. 10

ยกเว้นให้ใช้คำหยาบเฉพาะพวกตัวละครที่มันเถื่อนมาก ๆที่ไม่รู้กาลเทศะและเกินเยี่ยวยาไปสอน
นอกนั้น ถ้าเจอคำหยาบก็ไม่คิดจะอ่านแล้ว
ชีวิตจริงหยาบพอแล้ว อยากได้พื้นที่สำหรับคำสุภาพ

0
ลายหมอน 4 ก.ค. 56 เวลา 19:38 น. 12

บางงานผมเห็นใช้พร่ำเพรื่อ จนกลายเป็นเหมือนที่ระบายของผู้เขียน

คำหยาบที่ผมเห็นแล้วรู้สึกว่า โอเค อยู่ในจุดที่ใช้ได้ก็..

เช่นต้องการเสริมพลังให้กับประโยคที่ดุดัน หรือ ตลกขบขันให้เด่นกว่าเดิม

แต่ถ้าพลาด ใช้แล้วแป้กก็จะกลายเป็นไม่เหมาะสม


แต่โดยรวมแล้วผมว่าไม่ต้องใช้เลยจะดีที่สุด

0