Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โต้วาที: การบ้านของเด็กไทยมากเกินไป ควรลดให้น้อยลง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


"การบ้านของเด็กไทยมากเกินไป ควรลดให้น้อยลง" สนับสนุน หรือ เห็นต่าง แสดงความคิดเห็นกันได้เลย
สนับสนุน
เห็นต่าง
ควรลดให้น้อยลง
ไม่ควรลด
1,326 โหวต
98 โหวต

แสดงความคิดเห็น

>

139 ความคิดเห็น

leodragon 2 ก.ย. 56 เวลา 11:24 น. 1

เรียน 10 วิชา การบ้าน 10 วิชา

อาจารย์น่าจะลองปรึกษากันก่อน 

งานเยอะไม่ว่า แต่อย่ามาพร้อมกัน 

มันปวดใจ T____T

0
terrysiansims ผู้กวาดล้างดราม่า 2 ก.ย. 56 เวลา 15:26 น. 2
นอกจากจะลดจำนวนแล้ว
ควรลดความยากด้วย
และที่สำคัญ
ถ้าจะให้งานใหญ่
(รายงาน โครงงานฟิวเจอร์บอร์ด การแสดง โปรเจกต์ ป้ายนิเทศ ฯลฯ)
ควรสั่งตั้งแต่ต้นเทอมและ
ห้ามสั่งงานเล็กซ้อนกันอีก


0
leodragon 2 ก.ย. 56 เวลา 15:42 น. 3

การบ้านยากน่ะไม่เท่าไรเพราะอย่างน้อยก็มีเฉลย

แต่ไอที่การบ้านแสนง่าย แต่ออกข้อสอบมหาเซียนไทเก๊ก

มันหมายความว่ายังไงคะท่านอาจารย์

คิดถึงวัยเรียนแล้วเหมือนถูกแกล้วยังไงพิลึก?

-________________-

0
✌★☻zWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWWW 2 ก.ย. 56 เวลา 15:52 น. 4

การบ้านถ้าทำเอง ยิ่งเยอะก็ยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราเอง แต่ส่วนมากกลับลอกกัน แล้วกลายเป็นค่านิยมมาจนโต ลอกไปเหอะ ใครๆก็ลอก หึหึ โตไปไม่โกง เย้ 

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 15:54 น. 5

เรื่องนี้มีผลประโยชน์ทับซ้อน
ยังไงเด็กที่อยู่วัยเรียนก็ไม่อยากทำการบ้านอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าการบ้านจะเยอะจริงหรือไม่ ยังไงผลโหวตก็ย่อมเอียงไปทางการบ้านหนักอยู่แล้ว

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงว่าการบ้านที่เป็นอยู่นี้มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไรเสียก่อนที่จะสรุปว่าการบ้านที่เป็นอยู่นั้นมากเกินไปจริง
อย่างไรก็ตาม มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนคิดว่าการบ้านยิ่งเยอะยิ่งดี... เป็นเช่นนั้นจริงหรือ ? ขอยกเรื่องนี้มาพูดคุยเสียก่อน

เด็กมีหน้าที่เรียนหนังสือ ดังนั้นเรียนยิ่งหนักการบ้านยิ่งเยอะยิ่งดี
...เป็นคำพูดที่ฝังหัวจนผ่านมาหลายยุคหลายสมัย แต่ส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นเรื่องจริง

เด็กไม่ได้มีหน้าที่เรียนหนังสือ หากมีหน้าที่เรียนรู้เพื่อที่จะอยู่รอดในสังคมด้วยตัวเองในอนาคต

การเรียนหนังสือเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้อยู่รอดในสังคม
ดังนั้นจะพบได้ว่าความรู้ที่เราเรียนในโรงเรียนหลายครั้งจะเป็นความรู้พื้นฐานที่เราจำเป็นต้องรู้เพื่ออยู่รอดในสังคมให้ได้
และเมื่อปูพื้นฐานจนดีแล้ว ความรู้ต่อไปที่ต้องมี คือความรู้ที่เอาไปใช้ในอาชีพที่เด็กคนนั้นจะประกอบในอนาคต

แค่จุดนี้ก็เกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว !

อันดับแรก แวดวงการศึกษาไทยรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ต่างลืมไปแล้วว่าเด็กเรียนเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานให้อยู่รอดในสังคม !
การเรียนหลายอย่างเน้นเพื่อการสอบแข่งขันเป็นหลัก ทำให้เด็กรู้แต่วิธีทำข้อสอบ แต่ไม่รู้ที่จะประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง

ต่อมาความรู้ที่จะเอาใช้ในการประกอบอาชีพ มีความจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าเด็กต้องการจะทำอะไรในอนาคต
หากไม่รู้ก็ป่วยการเปล่าที่จะขวนขวายความรู้ในตรงนั้น เพราะแต่ละอาชีพล้วนแต่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยความรู้หลายอย่างไม่ได้ใช้ในหลายอาชีพ การจะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพที่ยังไม่รู้เป็นการเสียเปล่า


และไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้เพื่ออยู่รอดในสังคมไม่ได้มีความรู้ทางวิชาการ
หากยังเป็นศีลธรรม จริยธรรม วิถีประชา ทัศนคติ และแนวคิด อันยากที่จะหาได้ในห้องเรียน หากตัวเด็กต้องเรียนรู้มันจากการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม


ดังนั้นย้อนกลับมาถาม... ว่าการบ้านที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีมากหรือน้อย ?


ตรงนี้ต้องเริ่มก่อนว่า การบ้านมีเพื่ออะไร ?
เพื่อให้ทบทวนบทเรียน เพื่อฝึกความขยัน และฝึกความรับผิดชอบ
ซึ่งจุดนี้ ยิ่งทำการบ้านมาก ยิ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจริงหรือ ?


ทบทวนบทเรียน - การให้การบ้านเด็ก ถือเป็นการที่ทำให้เด็กได้ทบทวนบทเรียนจริงหรือ ?

จุดนี้ถามว่า หากเด็กผู้นั้นไม่รู้ หรือจำไม่ได้ว่าสิ่งที่เรียนคืออะไร จะสามารถทำการบ้านที่ให้มานี้เพื่อเกิดการทบทวนบทเรียนได้หรือไม่ ?
คำตอบคือ ไม่
เพราะในเมื่อเด็กจำไม่ได้ ย่อมทำการบ้านไม่ได้ แล้วเช่นนี้จะถือว่าเป็นการทบทวนบทเรียนได้อย่างไร
การจะหวังว่าเด็กจะสามารถถามผู้รู้ได้ หาจากหนังสือหรือในเน็ตได้ จะเป็นเช่นนั้นเสมอไปจริงหรือ ? การจะไปคาดหวังว่าเด็กต้องเก่งเองคงไม่ใช่อย่างแน่นอน
หากจะให้เด็กรู้ได้เองว่าการบ้านที่ทำได้ยังไงแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูมาสอนตั้งแต่ต้น

การทบทวนบทเรียนจะเกิดได้กับเด็กที่เรียนในห้องเรียนจนรู้ หรือพอรู้แล้วเท่านั้น การบ้านมีเพื่อให้เด็กแน่ใจว่าตัวเองสามารถทำโจทย์ข้อนั้นโดยตนเองได้
ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นในห้องเรียน ไม่จำเป็นจะต้องเกิดนอกห้องเรียน และจะเหมาะสมกว่าหากเกิดในห้องเรียน เพราะเด็กมีครูซึ่งเป็นผู้รู้อยู่ใกล้จึงสามารถทำได้เสมอ

และหากต้องการให้เด็กเก่งด้วยการทบทวนบทเรียนมาก ๆ เด็กควรที่จะเลือกทำด้วยตนเอง หรือด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
เช่นการไปเรียนติวพิเศษหลังเลิกเรียนอะไรพวกนี้เป็นต้น การโยนการบ้านให้แล้วคาดคั้นว่าจะต้องทำไม่ถือว่าเป็นการที่ให้เด็กสามารถทบทวนบทเรียนตัวเองได้จริง

ดังนั้นสรุปว่าการบ้านทำให้เด็กทบทวนบทเรียนได้หรือไม่ ?
คำตอบคือได้ สำหรับเด็กที่รู้บทเรียนและมีจิตใจที่ต้องการจะทบทวนบทเรียนมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
กระนั้นก็ใช่ว่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะการไปเรียนพิเศษเด็กจะได้ประโยชน์กว่าเพราะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยอย่างมากที่สุด ดังนั้นการบ้านเพราะเรื่องนี้อาจให้เป็นแค่ทางเลือกก็ได้ แต่ไม่มีการตรวจในภายหลัง
ส่วนเด็กที่ไม่รู้บทเรียนที่สอน หรือไม่มีจิตใจจะทบทวนบทเรียน ในส่วนนี้จะถือว่าไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เพราะมีโอกาสสูงที่จะไม่ทำการบ้าน หรือทำการลอกในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม ในห้องเรียนที่มีเด็กเยอะ ผู้สอนย่อมไม่รู้ว่าเด็กที่สอนรู้ในสิ่งที่สอนจริงหรือไม่ การให้การบ้านไปทบทวนจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการวัดผลว่าเด็กรู้สิ่งที่เรียนหรือไม่นอกเหนือจากการสอบ
ทว่าหากมีมากหรือยากจนเกินไป เด็กอาจเลือกที่จะไม่ทำแทนก็ได้ ทั้งยังเป็นการตรวจสอบที่ทับซ้อน การจะทราบว่ารู้ในสิ่งที่เราสอนจริงหรือไม่ โจทย์เพียงข้อเดียวในเรื่องนั้นน่าจะให้คำตอบได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องทำให้มีหลายข้อ และไม่จำเป็นต้องทำให้ยากมากนักเพราะอาจจะทำให้ไม่ทราบได้ว่าที่ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

ด้วยเหตุนี้ ต้องแยกให้ออกว่าการบ้านมีเพื่ออะไร
หากต้องการให้เด็กทบทวนความรู้เพื่อจะได้เก่งมากขึ้น ให้เป็นแค่ตัวเลือก และไม่จำเป็นต้องทำส่ง แต่หากสงสัยก็เปิดโอกาสให้ถามในวันถัดไป
หากต้องการตรวจสอบว่าเด็กรู้สิ่งที่เราสอนหรือไม่ บังคับให้ทำแค่ไม่กี่ข้อด้วยโจทย์เพียงง่าย ๆ และควบคุมไม่ให้ลอกกันได้ก็พอ


ขยันและรับผิดชอบ - เป็นคำพูดหนึ่งที่มักใช้เพื่อความชอบธรรมในการให้การบ้านที่มาก ๆ

ทว่า... การบ้านที่เยอะอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กขี้เกียจและขาดความรับผิดชอบแทนก็ได้
เนืองด้วยอย่างที่ได้กล่าวไว้ในช่วงต้น เด็กไม่ได้มีหน้าที่ในการเรียนเพียงอย่างเดียว หากมีหน้าที่ในการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดในสังคมได้ในอนาคต
ดังนั้นความขยันและรับผิดชอบจึงไม่ได้มีแค่เพียงแค่การทำการบ้าน หากทำและสมควรจะทำได้ด้วยงานบ้านต่าง ๆ
ไม่ว่าจะกวาดบ้าน ถูพื้น ซักผ้า รดน้ำต้นไม้ เลี้ยงน้อง ดูแลหมา ทำอาหาร ฯลฯ
แต่การบ้านที่เยอะจะทำให้เด็กไม่สามารถทำและรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ได้ อีกทั้งการบ้านที่เยอะจะเป็นข้ออ้างที่เด็กจะใช้เพื่อไม่ทำงานบ้านเหล่านี้อีกต่างหาก
ดังนั้นการบ้านที่เยอะจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กขาดความรู้ความรับผิดชอบในการทำงานบ้าน ที่ถือเป็นความรู้ที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับสังคมได้

นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวที่ว่า "ฉลาดแต่ขี้เกียจ ดีกว่า โง่แต่ขยัน"

การขยันแต่ขยันในเรื่องที่เปล่าประโยชน์และผิดทาง จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้
การบ้านที่มีเยอะหลายครั้งไม่ได้มอบความรู้อะไรให้กับเรา เพียงแต่ทำสิ่งที่ซ้ำซากจำเจและแบบถึก ๆ ไม่ได้ให้คิดหรือใช้ทักษะจนให้เราเมื่อยมือเพียงเท่านั้น
หากเด็กต้องการจะเก่งมีความสามารถในการเรียน ก็มีทางลัดที่สามารถที่ทำได้ดีและเร็วกว่าการทำการบ้านที่มาก ๆ คือการเรียนพิเศษ
โดยการให้การบ้านเยอะ ๆ จะทำให้เด็กที่เลือกจะขยันด้วยการเรียนพิเศษ ไม่อาจจะเรียนพิเศษได้เต็มที่เพราะต้องเจียดเวลากับการทำการบ้านแทน



ไม่เพียงแค่ส่วนนี้ การทำการบ้านที่มากจนเกินไปยังทำให้เกิดผลเสียอื่นด้วยเช่นกัน

...แม้แต่เครื่องจักร ยังมีเวลาที่จะต้องพักและซ่อมบำรุง
การนอนของมนุษย์ไม่ถือว่าเป็นการพัก เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องทำแต่ต้นอยู่แล้ว
ทว่าการพักของมนุษย์คือการผ่อนคลายทางจิตใจ เช่นการทำงานอดิเรกต่าง ๆ
การให้การบ้านจนมากเกินไปทำให้เด็กไม่อาจหาเวลาว่างมาทำงานอดิเรกได้อย่างเท่าที่ควร
ซึ่งแม้แต่เครื่องจักรที่ทำด้วยเหล็กด้วยโลหะยังสามารถพังได้ แล้วเด็กที่ยังไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แบบและไม่ใช่เครื่องจักรจะทนได้แค่ไหน ?


ยังไม่รวมถึงเด็กไม่ได้มีหน้าที่แค่การเรียน หากต้องเรียนรู้เพื่ออยู่รอดในสังคม การเรียนที่มากไปจะทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ในส่วนนี้แทน
ทั้งตัวเด็กจะต้องแสวงหาตัวเองเพื่อจะให้ทราบว่าตนเองถนัดอะไรชอบอะไร และจะได้มุ่งหน้าสู่สายอาชีพนั้นในอนาคต
ทว่าการที่เรียนจนมากเกินไปทำให้เด็กไม่สามารถค้นหาตัวเองได้
และเรื่องนี้เองก็ยังส่งผลต่อการเรียนในอนาคตของเด็ก เพราะว่าไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรจึงได้แต่เรียนแบบจับฉ่ายมั่วไปหมดไว้ก่อน
ทำให้ไม่สามารถเจาะจงเจาะลึกกับวิชาที่สนับสนุนต่ออาชีพที่จะทำในอนาคตของเด็กได้อย่างเต็มที่
อีกตัวเด็กเองยังไม่มีแรงกระตุ้นที่จะขยันเพราะไม่มีเป้าหมายแน่ชัด ทำให้ขาดการกระตือรือร้นในการเรียนอย่างไม่ควรจะเป็น



จากทั้งหมด สรุปได้ว่า การบ้านที่มากเกินไปไม่มีประโยชน์ ซ้ำยังจะมีแต่โทษ



ดังนั้นย้อนกลับมาดูว่า เด็กไทยเรียนมากไปหรือไม่ ?

จากคีย์เวิร์ดที่ให้ไป หากเด็กเสียเวลาทั้งหมดกับการเรียนและทำการบ้าน จนไม่อาจมีเวลาที่จะเรียนรู้อย่างอื่นเพื่ออยู่ในสังคมในอนาคตได้เลยคือการที่เด็กไทยเรียนและมีการบ้านมากจนเกินไป

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 16:37 น. 7

การจะให้เด็กเลือกที่จะทำการบ้านเอง ต้องใช้วิธีชักจูงให้อยากทำ
แต่ปัจจุบันเป็นวิธีบังคับให้ต้องทำ ซึ่งส่งผลให้เด็กไทยไม่รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำการบ้าน

โดยวิธีชักจูงที่เห็นผลได้ชัด และยั่งยืนมากที่สุดคือการทำให้เด็กรู้เป้าหมายในอนาคตว่าอยากเป็นอะไร
เด็กก็จะขยันเอง แน่นอนว่ารวมถึงการบ้านด้วย

ทว่าในปัจจุบัน เด็กไม่ได้ออกไปไหนเลยนอกจากหน้าโต๊ะเรียน
เวลาที่เหลืออย่างมากก็เพียงพอที่จะตักตุนความผ่อนคลายด้วยงานอดิเรก
นอกจากนี้แล้ว เด็กไม่อาจจะขวนขวายหาตัวเองได้เลย

และเมื่อขวนขวายหาตัวเองไม่ได้ก็จะไม่มีเป้าหมาย
เมื่อไม่มีเป้าหมายก็จะไม่มีแรงจูงใจ
เมื่อไม่มีแรงจูงใจก็จะไม่ขยัน
เมื่อไม่ขยันก็ไม่อยากคิดที่จะทำการบ้านเอง เพราะไม่เห็นว่ามีประโยชน์


ซึ่งปัจจุบันการเรียนและการบ้านที่เป็นอยู่ทำให้เด็กไม่อาจจะมีเวลาขวนขวายหาตัวเองได้

ยังไม่รวมถึงปัจจุบัน ข้อมูลเชิงสถิติเมื่อเทียบกับทั้งโลก เด็กไทยทุ่มเทกับการเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่เมื่อดูทางสถิติกลับพบว่า แม้แต่ในอาเซียน การศึกษาไทยก็อยู่ที่ระดับ 8 จาก 10 ซึ่งต่ำกว่าเขมรเสียอีก

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในปัจจุบันการศึกษาของไทย เรียนหนักจนเกินความจำเป็น

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 16:39 น. 8

แต่แน่นอน
การบ้านที่เยอะเกินไป ซ้ำซากจำเจ ไม่เห็นประโยชน์ แถมบังคับให้ต้องทำ
ย่อมทำให้เด็กไม่คิดที่จะอยากทำการบ้านอยู่แล้ว

แต่หากการบ้านน้อยข้อ ทว่าท้าทาย ไม่ได้บังคับให้ทำ หากเป็นทางเลือก
เด็กย่อมอยากคิดที่จะทำมากกว่า


เทียบกับผู้ใหญ่นั่นแหละ
บังคับให้ทำโอที แต่เงินเดือนไม่เพิ่ม ตำแหน่งก็ไม่เลื่อน แถมบังคับให้ทำทุกคน
ผู้ใหญ่อยากที่จะทำกันเหรอ ?
ถึงจะใจดีใจกว้างแค่ไหน ทุ่มเทไปก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะมันถูกมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำอยู่แล้วก็ไม่มีใครอยากที่จะทำกันหรอก
คนที่จะทุ่มเทเต็มร้อย ต้องเป็นคนดีจ๋าจนถูกคนอื่นเอาเปรียบ หรือพวกขยันแต่โง่


กลับกันหากไม่ได้บังคับให้ทำ
ผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ ก็อยากที่จะทำมากกว่า
เพราะมันไม่ได้รู้สึกว่าถูกบีบบังคับ ทำแล้วรู้สึกว่าเสียสละมากกว่า
ทั้งที่งานที่ให้ทำอาจจะเบากว่าที่บังคับให้ทำเสียอีก
แต่คนที่ทำจะรู้สึกภูมิใจมากกว่ากับการที่จะทำ และคนที่จะเลือกทำมีมากกว่า
เพราะทำแล้วรู้สึกได้ประโยชน์ อย่างน้อยก็ความรู้สึกนั่นแหละ
ซึ่งกลุ่มนี้ คนดีจ๋า คนขยันแต่โง่ก็ทำได้ คนธรรมดาทั่วไปก็ทำได้



ด้วยเหตุนี้ ถึงจะพูดถึงเรื่องว่าทำยังไงให้เด็กอยากทำการบ้าน
การบ้านที่น้อย ๆ และไม่บังคับนี่แหละ ก็ทำให้เด็กภูมิใจที่จะทำการบ้านเองมากกว่าที่จะให้การบ้านเยอะ ๆ อยู่ดี

ทว่าในภาพรวม หากดูว่าการบ้านเยอะหรือการบ้านน้อย ผลที่ได้ การบ้านแบบไหนจะมีจำนวนข้อที่ทำมากกว่า คำตอบคือการบ้านที่เยอะ

ก็เพราะเขาบังคับให้ทำทุกคนนี่นา...
แต่ประโยชน์ที่ได้ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง

0
G.PD 2 ก.ย. 56 เวลา 17:29 น. 9

การบ้านเยอะแล้วไม่มีเวลาอ่านหนังสือเลย!!
เพราะเด็กบางคนต้องเรียนพิเศษถึง1ทุ่ม2ทุ่ม พอเลิกแล้วต้องมานั่งทำการบ้านอีก
ไหนจะต้องอ่านหนังสืออีก แล้วยังงี้จะอ่านรู้เรื่องเหรอ

0
`What Name..▲ 2 ก.ย. 56 เวลา 17:37 น. 10

ถ้าเอาความคิดเรานะเราว่ามันก็เยอะอยู่ แต่ว่านะเราคิดว่าครูเขาให้การบ้านไม่ถูกมากว่า ถ้าลองมองจริงๆโรงเรียนเราก็ไม่ได้ให้เยอะ แล้วคำว่าไม่ถูกของเราก็คือ... ไอช่วงที่งานมันไม่มีก็แทบไม่สั่งเลย แต่พอถึงช่วงใกล้สอบหรือใกล้วันที่เราควรเริ่มอ่านหนังสืองี้ พวกครูก็ชอบมาสั่งงานกันเอาตอนนั้นแล้วบอกให้อ่านหนังสือ ทั้งๆที่งานก็สั่งกันไม่ยอมหยุด(บอกเพื่อ- -?) แล้วมักจะสั่งวันที่ใกล้ๆกันด้วย แถมวันส่งยังจะเอาพร้อมๆกันอีก พอส่งช้าก็หาว่าไม่ยอมทำ พอบอกว่างานมันเยอะก็หาว่าข้ออ้าง(เออ..เจริญ) ทั้งๆทีวันหยุดก็มีแค่สองวันทำเกือบทั้งคืนหนังสือก็แทบไม่ได้แตะ เฮ้อ..เซงงง-0-

- แอบน้อยใจเบาๆที่โดนด่า ทั้งๆที่เราทำเองแค่คนอื่นมันมาลอก!! -

0
จิกกะปอมๆ 2 ก.ย. 56 เวลา 17:45 น. 11

จะลดไม่ทำไม -คนที่ไม่อยากทำการบ้าน ส่วนใหญ่ก็ลากกันอยู่แล้วไม่ได้ทำเอง -คนที่อยากทำก็ได้ประโยชน์ดี

0
Kunnita 2 ก.ย. 56 เวลา 17:48 น. 12

ขณะ ม.2 เอง การบ้านยังโครตเยอะเลย นอนเที่ยงคืนตลอด เร็วที่สุดก็ ตี 9.30 ตอนนี้จะสอบแล้วไม่มีเวลาอ่านหนังสือเลย

0
ชั่วอย่างมีมารยาท 2 ก.ย. 56 เวลา 17:53 น. 13

การให้การบ้านเพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะของตน แต่ทำไมทุกวันนี้เด็กสอบตกยังมีกันให้เกลื่อนไปหมด แล้วพอเวลาสอบ...ก็คือการอ่านเพื่อจำไปสอบ ไม่ใช่อ่านให้เข้าใจ ประยุกต์ใช้ได้และสามารถจำมันไปได้ตลอดแม้จะสอบกลางภาคหรือปลายภาคเสร็จไปแล้ว ทุกวันนี้การเรียนที่ใช้เกรดเป็นตัวตัดสินความเก่งของนักเรียน ก็คือใครทำงานมาก ได้คะแนนมาก ก็คือเด็กเก่ง

แต่งานทุกวันนี้ การบ้านทุกวันนี้ที่มากจนนักเรียนไม่อยากจะทำ มันไม่ได้สร้างความสามารถทางการศึกษาให้มากขึ้นเลย ถ้าคิดว่าการให้การบ้านคือการฝึกทักษะที่ดี

แล้วทำไมทุกวันนี้เด็กไทยถึงต้องขวนขวายหาที่เรียนพิเศษกันล่ะ ??? แล้วทำไมทุกวันนี้ยังมีเด็กอีกมากมายที่สอบตกกันอยู่

0
angel_thesis 2 ก.ย. 56 เวลา 17:53 น. 14

เอาจริงๆผมว่ามันเป็นเรื่องมาตรฐานและหลักการในการแจกงานนะ
มากน้อยหรือเท่าไหร่มันขึ้นกับใจอาจารย์มากเกินไป
ที่นักเรียนส่วนใหญ่จะทนไม่ได้จริงๆผมว่าน่าจะเป็นเรื่องอาจารย์อารมณ์เสียเลยจัดการบ้านหนัก
หรือเวลานักเรียนโห่แล้วขู่ว่าเดี๋ยวให้การบ้านเพิ่มเสียมากกว่า
อาจารย์หลายคนคงจะลืมไปแล้วว้าจุดประสงค์ของการบ้านคืออะไร
ตรงจุดนี้ผมว่าน่าจะมีเกณฑ์ไปเลย มีการปรึกษาและทำการแสดงความคิดเห็นในหมู่อาจารย์
ประชุมและช่วยกันคิดว่าหัวข้อใหนแบ่งเป็นเท่าไหร่ ควรให้ความสำคัญกับอะไร
โดยมีประเด็นสำคัญ คือระยะเวลาเฉลี่ยที่จำเป็นต้องใช้ ลำดับความสำคัญของเนื้อหา และความยากง่าย ที่จะต้องปนกันอย่างลงตัว
ส่วนตัวผมมองว่าถ้าไม่สามารถทำตรงจุดนี้ได้มันก็จะเถียงกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

ความเห็นของผมค่อนไปตรงกลางแต่ผมเลือกโหวตไม่เปลี่ยนจากประสบการณ์ส่วนตัว
คนที่ทำการบ้านไม่ทันคือคนที่บริหารเวลาไม่เป็นรวมไปถึงอาจจะไม่ใส่ใจในสายตาของผม
และข้ออ้างที่ว่าเด็กต้องการเวลาว่างเพื่อไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนนี่ผมขอยนะครับ
กว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ผมว่ามันไม่ใช่หาความรู้ แต่เป็นการวิ่งเก็บครีบตีป้อมไล่ฆ่าฮีโร่เสียมากกว่า
(ผมเองก็เป็นไม่ใช่ไม่เป็น เลยรู้ว่าถ้าไม่บังคับเสียบ้างมันจะบรรลัย)
ถ้าอยากจะให้การบ้านลดเพื่อออกไปหาความรู้นอกห้องเรียนจริงๆผมว่าเด็กไทยก็ควรจะพิสูจน์ตัวเองให้ดูให้ได้ก่อน
ไม่ใ่เออะกจะเอาแต่ได้
อีกอย่างโตไปคุณจะรู้ว่าการบ้านที่เคยได้มาน่ะ มันของขี้ผง
ถ้าแค่นี้รับผิดชอบไม่ได้อนาคตก็ลำบาก

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 18:10 น. 15

อยากบอกว่า
การศึกษาที่แคนาดากับญี่ปุ่นที่ไปสัมผัสมา
เขาให้ความสำคัญกับการศึกษานอกห้องเรียนที่มาก

มีการให้ไปสอบถามและหาข้อมูลชุมชนว่ามีประวัติศาสตร์ยังไง
มีการทัศนศึกษาท่องเที่ยวสถานที่สำคัญของชุมชนและประเทศบ่อย
เด็กจึงมีความรักต่อชุมชนและประเทศชาติที่สูง
ยังไม่รวมถึงเด็กรู้ว่าชุมชนที่ตัวเองอยู่มีอะไรน่าสนใจและอยากเลือกที่ไปศึกษาเอง
ทำให้เด็กค้นพบตัวเองได้ง่าย

------------------------------------

แต่ของไทยไม่มีในจุดนี้
ลำพังแค่เพียงทัศนศึกษาในตัวชุมชนมีน้อยมาก ๆ แล้ว
เวลาเหลือที่จะสามารถไปหาตัวเองยังน้อยอีก
...จริงอยู่ที่เด็กไปหาด้วยตัวเองคนเดียวอาจจะนอกลู่นอกทาง
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใหญ่พาไปด้วย
ทว่าด้วยแบบที่เป็นไปในปัจจุบัน ขนาดเวลาว่างที่เจียดไปหายังไม่มีเลย

ยังไม่รวมถึงเวลาว่างของเด็กมีน้อยมาก
จึงมักจะทุ่มเทไปกับการผ่อนคลายมากกว่าการหาตัวเอง
หากผ่อนคลายจนถึงจุดอิ่มตัว นั่นแหละถึงจะเริ่มค้นหาตัวเองด้วยตนเอง
ซึ่งยิ่งเครียดมากเท่าไหร่ เวลาที่ใช้กับการผ่อนคลายก็ยิ่งมากตามเท่านั้น

ทว่าสภาพของเด็กไทยในปัจจุบัน แค่เวลาผ่อนคลาย ยังแทบไม่มีเลยด้วยซ้ำ

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 18:30 น. 16

...เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่

เด็กไม่มีวุฒิภาวะเท่าผู้ใหญ่
เด็กจึงต้องได้รับการชี้นำที่เหมาะสมจากผู้ใหญ่

เด็กที่เก่งและพิสูจน์ตัวเองได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ
ไม่ใช่เก่งที่เด็กเอง หากเด็กคนนั้นได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต่างหาก

เด็กที่ห่วยและไม่มีความน่าเชื่อถือ
ไม่ใช่ห่วยที่เด็กเอง หากเด็กคนนั้นได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้นหากเกิดปัญหา ผู้ปกครองจึงต้องรับผิดชอบ
แต่ทว่าเด็กทำตัวดี ผู้ปกครองก็สมควรจะได้หน้า

*นี่เป็นสิ่งที่ทั่วทั้งโลกยอมรับและรับรู้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง
เด็กไม่ได้ดีหรือเลวด้วยตัวของเขา หากการเลี้ยงดูที่ชี้นำไปในทางนั้น
ไม่เช่นนั้นคงไม่มีกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่
กำหนดเพื่อผู้เยาว์ขึ้นมาโดยเฉพาะ*


นอกจากนี้ ประเทศไทยมีความเชื่อที่ผิด ๆ
เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสจนบิดเบือนความถูกผิด
คนไทยมักเชื่อว่า ผู้อาวุโสถูกทุกอย่าง
ส่วนผู้เยาว์นั้นผิดทุกอย่าง
ดังนั้นเวลาเกิดอะไรก็ตามจะโทษผู้เยาว์ก่อน

เรื่องการศึกษาก็เช่นกัน คนไทยจะโทษเด็กก่อนเสมอ โดยไม่ดูข้อเท็จจริงเลย
โอเค มันมีโอกาสที่เด็กจะแย่เองจนการผลลัพธ์ที่ออกมาแย่

ทว่า...
ข้อเท็จจริงคือ เด็กไทยมีผลการศึกษาเฉลี่ยที่ต่ำเมื่อเทียบกับทั้งโลก
มันไม่มีทางเป็นไปได้ ที่เด็กไทยจะแย่โดยพร้อมเพรียง จนทำให้ค่าเฉลี่ยของประเทศตกต่ำ
หากมันต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เด็กไทยแย่พร้อม ๆ กัน


ดังนั้นการโยนว่าปัญหาเกิดขึ้นที่เด็ก จึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูก
แม้จะบอกว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ติดเกมเลยทำให้ผลลัพธ์โดยรวมแย่ แต่หากเด็กไทยส่วนใหญ่ติดเกมพร้อมเพรียงกัน ความผิดคงไม่ใช่ที่เด็กอย่างแน่นอน ทว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่หันไปติดเกมต่างหาก เพราะเด็กไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะคิดอะไรได้เองแบบผู้ใหญ่

ดังนั้นวิธีแก้ปัญหา ไม่ใช่การให้เด็กแต่ละคนเลิกติดเกมแล้วหันมาเรียน
หากปรับระบบการศึกษาให้น่าสนใจจนเด็กเลือกที่จะมาเรียนแทนเล่นเกม



แล้วแบบนี้แปลว่าเด็กไม่ผิดเลยอย่างนั้นหรือ ?
เปล่า เด็กผิดได้ แต่ให้ดูที่ค่าเฉลี่ย

หากเลี้ยงดูมาเหมือนกัน สภาพแวดล้อมเหมือนกัน
แต่เด็กเพียงคนเดียวจากหลายสิบหลายร้อยคนเถลไถล เด็กถึงจะผิด
ทว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เด็กพร้อมเพรียงกันติดเกมและเรียนแย่ ย่อมไม่ใช่การที่เด็กเลือกด้วยตัวของเขาเองอย่างแน่นอน หากเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กเป็นเช่นนั้นเหมือนกันทุกคน


-----------------------------------------

บางคนอาจจะไม่เข้าใจและไม่ยอมรับในเรื่องที่เรากล่าวว่าเป็นจริง แต่เราจะสมมติเรื่องง่าย ๆ ให้ฟัง

มีโรงเรียนหนึ่ง สุ่มเด็ก 200 คน ลงในสองห้อง และเมื่อเรียนไป 1 ปี ผลสอบออกมาได้ว่า...
ห้อง A สอบได้คะแนนเฉลี่ย 80/100
ห้อง B สอบได้คะแนนเฉลี่ย 20/100

ถามว่า เป็นไปได้ไหมที่เด็กห้อง A จะบังเอิญเรียนดีกันทั้งห้อง ?
และเป็นไปได้ไหมที่เด็กห้อง B จะบังเอิญเรียนแย่กันทั้งห้อง ?

สมมติว่าถ้านาย ก. ห้อง A ได้ 20/100 คิดว่าเพราะอะไร ?
สมมติว่านาย ข. ห้อง B ได้ 80/100 คิดว่าเพราะอะไร ?


ห้อง A กับ ห้อง B ได้คะแนนเท่านั้น คงไม่ใช่เพราะตัวเด็กเองแน่ ๆ
น่าจะสภาพแวดล้อมบางอย่างที่ทำให้ได้รับผลเช่นนั้น
ตัวอย่างเช่นครูห้อง A สอนดี ครูห้อง B สอนห่วย เป็นต้น

ส่วนนาย ก. ทั้งที่อยู่ในห้อง A กลับได้ 20/100 ถึงจะบอกว่าเป็นที่เด็กเอง
เช่นกัน นาย ข. ทั้งที่อยู่ในห้อง B กลับได้ 80/100 ก็น่าจะเพราะเป็นที่เด็กเอง


และนอกจากนี้ คิดหรือไม่ว่า หากนาย ข. ย้ายไปห้อง A คะแนนที่ได้น่าจะมากกว่า 80/100 ?

0
cherrkong ►◄ 2 ก.ย. 56 เวลา 18:46 น. 18

ไอที่ถามว่า มีเด็กไทยที่ทำการบ้านเยอะแล้วฆ่าตัวตายรึเปล่าอะ จะบอก มันมีความคิดแบบนั้นเกิดขึ้นในสังคมแน่ๆ แต่แค่ไม่มีใครกล้า - - เอาจริงๆเลยนะ คนไทยเป็นพวกขี้เกรงใจอะ ไม่ชอบ แต่ก็ทนๆไปก่อน

0
ซ่อนนาม 2 ก.ย. 56 เวลา 18:50 น. 19

ข้อมูลเสริม
ฟินแลนด์ ประเทศที่ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก

Are Finnish schools the best in the world?
Why there’s no homework in Finland

*ที่จริงมีนะ แต่มีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น*


จะบอกว่าบริบทไม่เหมือนกัน เอามาเทียบไม่ได้ ???
แล้วทำไมถึงคิดว่าการที่มีมาก ๆ แล้วจะดีกว่า ในเมื่อประเทศที่การศึกษาดีสุดในโลกมีการบ้านน้อย ?

0
กาลครั้งหนึ่ง...นานมาเเล้ว 2 ก.ย. 56 เวลา 18:59 น. 20

บางทีการลดการบ้านลงสักนิด....จะทำให้เรามีเวลาทำในสิ่งที่อยากทำมากขึ้น เช่น เราชอบอ่านหนังสือ ก็จะได้ไปห้องสมุดอ่านหนังสือมากขึ้น ใครที่ชอบเล่นกีฬาก็จะได้มีเวลาไปซ้อมกีฬา เป็นต้น....
   การให้การบ้านเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราได้็ทบทวนบทเรียนไปด้วยถึงเเม้ว่าบางคนจะลอกมาส่งก็ตามทีเเต่นั่นก็ทำให้มันผ่านหูผ่านตามาบ้าง เเต่บางครั้งมันก็ทำให้เราเอาเวลาที่ควรจะทำอย่างอื่นมาทำการบ้านเสียหมด เเล้วอย่างนี้เราจะได้ทำการบ้านเพราะเราอยากทำจริงๆหรือ ไม่ใช่เเเค่ทำให้มันผ่านๆไปเฉยๆโดยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

0