Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรคเบาหวาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของตับอ่อน โดยตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญ โรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะรักษาไม่หายและถือเป็นโรคเรื้อรัง แลมักะจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ และอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมของแต่ละคนเช่น วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย การปล่อยให้อ้วนเกินไป (กินหวานมาก ๆ จนอ้วน) มีลูกดก หรือเกิดจากการรับประทานยา เช่น สเตอรอยด์, ยาขับปัสสาวะ, ยาคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งของตับอ่อน, ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะปัสสาวะบ่อยและมาก เพราะขณะที่ไตขับถ่ายของเสียก็จะขับน้ำตาลออกมาด้วย น้ำตาลที่ออกมาพร้อมกับของเสียก็จะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ และด้วยเหตที่ร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ จึงมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเพลีย นอกจากนี้การมีน้ำตาลอยู่ในอวัยวะมาก ๆ จึงทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและ อันตรายสูง ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและ คนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้จึงต้องฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน ร่างกายจึงจะเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิฉะนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ซูบผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นขั้นรุนแรง ก็จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน (Ketosis)"

2. โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-Insulin dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อยกว่าประเภทแรก มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็ก หรือวัยหนุ่มสาวได้ โดยตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ ในบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจจะต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป
อาการแทรกซ้อนที่มักจะเกิดติดตามมาถ้าผู้ป่วยไม่รักษาให้ถูกวิธี
ต้อกระจก (Cataract)
ประสาทตา (Retina) เสื่อม หรือมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตาเริ่มมัวขึ้นเรื่อย ๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็งทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ จะทำให้รู้สึกเท้าเย็นและเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมาก ๆ และอาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า และอาจเกิดการติดเชื้อ
ระบบประสาท
ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย และอาจลุกลามจนทำให้เท้าเน่า บางคนอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ บางคนท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ

ไตเสื่อม
จะเกิดอาการไตเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย อาการที่แสดงให้เห็นคือ มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย
เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้ร่างกายรับเชื้อโรคได้ง่าย เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด, วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า จนต้องตัดนิ้วหรือตัดขา
การรักษา
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์แผนปัจจุบันจะทำการการรักษาโดยใช้วิธีให้รับประทานยา หรือฉีดอินซูลิน ควบคู่กับการควบคุมอาหารและแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่การใช้ยาเป็นระยะเวลานาน ๆ มักจะมีผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต ซึ่งควรต้องคำนึงถึงด้วย 
การรักษาตามแนวทางแพทย์ทางเลือก หรือการแพทย์แบบผสมผสาน เพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของ ตับอ่อน ตับ ไต และหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน
เซลล์ซ่อมเซลล์ (Organopeptide Therapy)เป็นการฟื้นฟูร่างกายที่มีประสิทธิสูง โดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาให้ใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ตามความรุนแรงการเสื่อมของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
คลีเลชั่นบำบัด (Chelation therapy) ใช้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูประสิทธิภาพหรือ การเสื่อมของตับอ่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการตกค้างของสารพิษซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับระบบการไหลเวียนและหลอดเลือด 
วิตามินบำบัด (Supplement Therapy) การควบคุมอาหารบางอย่างอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญไป จึงควรรับประทานประเภทวิตามินช่วย ซึ่งอาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่นสมุนไพรต่าง ๆ ที่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย---> ดูประสบการณ์ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเบาหวาน

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

coconut1412 11 ก.ย. 56 เวลา 20:22 น. 3
บทความนี้สุดยอดมากครับ
ปล. ใครยังไม่มีแคลน hon สนจัยติดต่อได้ ตัวยย่อ [GpMK] รับหมด OlimpuSl

เยี่ยม
0
napunpung 28 ต.ค. 58 เวลา 14:06 น. 6

เบาหวานขึ้นตา ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

  

เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม จึงอาจกล่าวได้ว่าโรคเบาหวานสามารถส่งผลต่อทุกอวัยวะในร่างกาย ซึ่งอวัยวะที่มักได้รับผลแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และดวงตา ได้รับเกียรติจาก อ.พญ.แพร์ พงศาเจริญนนท์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคตาที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

โดยหลักแล้วผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะต้องได้รับการตรวจดวงตาเป็นประจำทุกปี เพื่อดูว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการตรวจภาวะต้อกระจกและต้อหินร่วมด้วย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลให้เป็นต้อกระจกเร็วขึ้น และการป่วยด้วยโรคเบาหวานเมื่อนานวันเข้า อาจทำให้เกิดต้อหินได้ ซึ่งแต่ละปัญหาจะมีวิธีรักษาแตกต่างกันไป

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

1.ระยะที่ยังไม่มีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ในระยะนี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่ต้องตรวจติดตามอาการเป็นระยะทุก 4-8 เดือนแล้วแต่กรณี

2.ระยะที่มีเส้นเลือดงอกผิดปกติ เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกายแย่ลง เมื่อเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ในดวงตาได้เหมือนเดิม กลไกของร่างกายจึงพยายามงอกเส้นเลือดใหม่ขึ้นมา เมื่ออาการดำเนินมาถึงระยะนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีการยิงเลเซอร์บริเวณจอประสาทตา ที่ไม่มีผลต่อการรับภาพและยิงเลเซอร์ทำลายเส้นเลือดงอกใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้การมองเห็นแย่ลงหรือสูญเสียการมองเห็นในอนาคต

เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เส้นเลือดที่งอกผิดปกติอาจแตกออก กลายเป็นเลือดออกในลูกตา ผู้ป่วยจึงมองไม่เห็น บางรายมีอาการตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่ามองอะไรไม่เห็นเลย สำหรับการยิงเลเซอร์อาจต้องยิงซ้ำหลายครั้ง จนกว่าจะถึงจุดที่เหมาะสม

หลังจากยิงเลเซอร์ผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวอยู่ครู่หนึ่ง แต่เป็นอาการมัวเนื่องจากความสว่างของแสงเลเซอร์ ผู้ป่วยจะมองเห็นทุกอย่างเป็นสีม่วงๆ สักพักก็จะกลับเป็นปกติ

นอกจากนี้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติอาจก่อให้เกิดพังผืดไปดึงรั้งจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก หรือภาวะจอประสาทตาฉีกขาดได้อีกด้วย หากเป็นในจุดที่อันตราย ทำให้การมองเห็นแย่ลง หรือมีเลือดออกมาก โดยที่เลือดไม่สลายไปเอง แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัดวุ้นตา โดยเจาะรูขนาดเล็ก (ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร) เข้าไปในลูกตา แล้วทำการผ่าตัดผ่านรูนั้น จะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

สำหรับโรคตาอื่นๆ เช่น ต้อกระจก การรักษาทำได้โดยผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “การลอกต้อกระจก”  แล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทนในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีภาวะที่เป็นอุปสรรค์ต่อการผ่าตัดต้อกระจก เช่น ม่านตาไม่ขยาย เนื่องจากปกติเวลาผ่าตัดต้อกระจกจะต้องขยายม่านตาให้กว้าง ถ้าม่านตาขยายได้น้อย (มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน) จะทำให้การผ่าตัดยากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็สามารถทำได้ สำหรับการเกิดต้อหินมักเป็นผลพวงมาจากภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน

เริ่มตรวจดวงตาเมื่อไหร่ดี

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจดวงตา หากแบ่งตามชนิดของเบาหวาน สามารถแบ่งได้เป็น

 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การตรวจดวงตาสามารถรอได้สักระยะ โดยแนะนำให้ไปตรวจดวงตาหลังจากวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว 5 ปี จากนั้นให้ตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำให้ตรวดวงตาทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวานควรไปรับการตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ป่วยยังคงมองเห็นเป็นปกติ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ส่วนใหญ่จะเป็นมากแล้ว

สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยควรเข้าใจคือ กระบวนการรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทำได้เพียงชะลอไม่ให้การมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม แต่ไม่สามารถทำให้ดวงตากลับมาดีเป็นปกติเหมือนก่อนเกิดโรคได้ ดังนั้น ก่อนที่จะมาถึงขั้นนี้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถป้องกันภัยร้ายคุกคามดวงตาได้ ด้วยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด (ทั้งระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร และระดับน้ำตาลสะสม) ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งมาตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่เราทุกคนควรตระหนักไม่ว่าจะเป็นเบาหวานหรือไม่ก็ตาม คือ ดวงตาเป็นสิ่งที่เราสามารถถนอมและป้องกันได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น สวมใส่แว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่สูบบุหรี่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาล้า และพักสายตาเป็นระยะเมื่อต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสมาร์ทโฟน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการปฏิบัติของตัวเราเองเท่านั้น ไม่สามารถให้ผู้อื่นมาทำแทนได้เลย

แหล่งที่มา http://health.haijai.com/3899/

บทความเกี่ยวกับศัลยกรรม  ulthera ปากกระจับ ปลูกผม กำจัดขน

0