Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประเทศไทยเจ๋ง !! ยกระดับการวิจัยฟิสิกส์ไทย สวทช. จุฬาฯ ม.สุรนารี จับมือ CERN เข้าร่วมเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลก !!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
"ยกระดับการวิจัยฟิสิกส์ไทย สวทช. จุฬาฯ ม.เทคโนโลยีสุรนารี จับมือ CERN เข้าร่วมเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน หวังใช้ประสบการณ์มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยประเทศ" 




องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (อังกฤษEuropean Organization for Nuclear Research; CERN; ฝรั่งเศสOrganisation européenne pour la recherche nucléaire) เรียกโดยทั่วไปว่า "เซิร์น" เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research)ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN

บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย



เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 




“ผอ.เซิร์น” เยือนไทยสร้างความร่วมมือ “คอมพิวเตอร์กริด” เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลจากการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่ง พร้อมเผยถึงความรู้สึกดีใจต่อรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปีล่าสุด เพราะการทดลองของเซิร์นเป็นสิ่งยืนยันทฤษฎี “อนุภาคฮิกกส์”

  
       เป้าหมายของเซิร์นคือการเข้าใจในความลับของธรรมชาติ แต่ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับโลกกล่าวว่า นอกเหนือจากเป้าหมายแล้วยังเกิดผลพลอยได้ตามมาจากการศึกษาธรรมชาติอีกมาก เช่น www ที่ใช้กันทั่วโลก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กริด รวมถึงการรักษาทางการแพทย์ด้วยบำบัดทางรังสี
       
       ทั้งนี้ เซิร์นต้องการศึกษาย้อนกลับไปถึงภาวะหลังระเบิดบิกแบง (Big Bang) ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีอุณหภูมิร้อนจัดและอนุภาคมีพลังงานสูง ซึ่งการใช้กล้องโทรทรรศน์สำรวจออกไปยังเอกภพนั้นไม่สามารถเข้าไปไกลเหตุการณ์หลังระเบิดกำเนิดเอกภพได้ แต่สามารถทำได้ด้วยเครื่องเร่งอนุภาค ที่เร่งอนุภาคชนกันเพื่อจำลองสภาพหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงเวลาใกล้ที่สุดหลังบิกแบงที่ 10-12 วินาที ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ที่จะเร่งให้อนุภาคมีพลังงานสูงและชนกัน
       
       ศ.ฮอยเออร์ กล่าวว่า ในอดีต เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ได้ค้นพบโปรตอนในนิวเคลียสอะตอม แต่ปัจจุบันเราทราบว่าโปรตอนยังประกอบขึ้นจากควาร์กและกลูออน ซึ่งตามแบบจำลองมาตรฐานมีอนุภาคมูลฐาน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ควาร์ก (quark) เลปตอน และอนุภาคที่เป็นสื่อนำแรง แต่มีคำถามว่าอนุภาคเหล่านี้ได้มวลมาจากไหน โดยมีนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ โรเบิร์ต เบราต์ (Robert Brout) ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 2011 แฟรงซัวส์ แองแกรต์ (Francois Englert) และ ปีเตอร์ ฮิกกส์ (Peter Higgs) นำเสนอทฤษฎี “อนุภาคฮิกกส์” ที่อธิบายถึงการได้มวลของอนุภาคมูลฐาน
    
       “การมีมวลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากไม่มีมวลแล้วอนุภาคต่างๆ จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ทำให้ยากจะก่อตัวเป็นสสาร หรือตัวเรา ถ้าไม่มีฮิกกส์ก็ไม่มีเราทุกวันนี้” ศ.ฮอยเออร์กล่าว
















เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลาประมาณ 18.15 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ (Worldwide LHC Computing Grid: WLCG) ระหว่าง Prof.Rolf Dieter Heuer ผู้บริหารสูงสุด องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (Director General, European Organization for Nuclear Research : CERN) ร่วมกับ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จฬ.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมนี้ นายพีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถวายรายงาน และเบิกตัวผู้เกี่ยวข้องประกอบพิธี ณ วังสระปทุม กรุงเทพมหานคร

ความร่วมมือในเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานความร่วมมือวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง โดยเครือข่าย WLCG เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาของหลายประเทศ ทำหน้าที่เป็นศูนย์จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ทั้งนี้หน่วยงานทั้งสามของประเทศไทย คือ สวทช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเข้าร่วมเป็นศูนย์ระดับ 2 (Tier 2) ของเครือข่าย ซึ่งมีโครงสร้างทั้งหมดแบ่งเป็น 4 ระดับ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ได้เข้าร่วมเครือข่ายระดับโลกดังกล่าว ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล เพื่อใช้งานในภูมิภาค

การดำเนินความร่วมมือนี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และเปิดโอกาสให้นักวิจัยของไทยได้มีความร่วมมือกับนักวิจัยชั้นนำทั่วโลกที่เข้าร่วมในเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ของเซิร์น นอกจากนี้ เครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ ที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมายังสนับสนุนงานด้านการคำนวณขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์แก่นักวิจัยในประเทศไทยอีกด้วย อาทิ การบริหารจัดการน้ำ การจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติของไทยให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป




  
       สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างองค์กรของไทยและเซิร์นครั้งนี้ เป็นความร่วมมือ ซึ่ง สวทช.จะดำเนินการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสมาชิกอื่นๆ ในเครือข่าย ติดตั้งและใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ WLCG ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อวิจัยฟิสิกส์อนุภาคโดยเฉพาะ และประกอบด้วยศูนย์คอมพิวเตอร์หลายแห่ง ที่แบ่งการทำงานเป็น 4 ระดับ คือ
       - “ศูนย์ระดับ 0” (Tier 0) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเซิร์นที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการทดลองโดยตรง แล้วส่งต่อไปยัง
       - “ศูนย์ระดับ 1” (Tier 1) ที่มี 11 แห่งใน 10 ประเทศ
       - และ “ศูนย์ระดับ 2” (Tier 2) ที่สำรองข้อมูลจากศูนย์ระดับ 1 เพื่อใช้งานในภูมิภาคต่างๆ 140 แห่งใน 40 ประเทศ
       - สุดท้ายคือ “ศูนย์ระดับ 3” (Tier 3) ซึ่งเป็นศูนย์สำหรับใช้งานภายในแต่ละหน่วยงาน
       
       สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ จุฬาฯ มทส.และ สวทช.จะร่วมกันดำเนินศูนย์ระดับสองจำนวน 3 ศูนย์ โดยติดตั้งที่ สวทช. 2 ศูนย์ และ มทส.อีก 1 ศูนย์ โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนทีได้เข้าร่วมในเครือข่าย WLCG
       
        
ศ.รอล์ฟ-ดีเตอร์ ฮอยเออร์ บรรยายพิเศษระหว่างมาเยือนไทย เพื่อลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการติดตั้งและใช้งานเครือข่าย WLCG



 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น