Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โต้วาที: ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ประชาคมเศร­ษฐกิจอาเซียน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ประชาคมเศร­ษฐกิจอาเซียน
สนับสนุน หรือ เห็นต่าง แสดงความคิดเห็นกันได้เลย

เห็นด้วย
เห็นต่าง
ประเทศไทยพร้อม
ประเทศไทยยังไม่พร้อม
8 โหวต
67 โหวต

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

melon12 22 ต.ค. 56 เวลา 19:29 น. 1

ไม่น่าให้อาเซียนเข้ามาเลยนะ จะให้พวกเขาแย่งงานคนไทยรึไงอีกหน่อยคนไทยคงต้องได้ไปเป็นทาสรับใช่ของคนต่างชาติ(คหสต.ค่ะ)

0
ซ่อนนาม 24 ต.ค. 56 เวลา 13:48 น. 3

ถ้าคิดว่าไม่พร้อม ทั้งชาติก็ไม่พร้อม

เพราะถ้าเราอยู่จุดที่คิดว่าเราพร้อมเมื่อไหร่ จุดนั้นเราจะเป็นชาติที่พัฒนาแล้ว ซึ่งพึ่งตนเองได้
แน่นอน การเข่าร่วมจะหมายความว่าเราจะต้องช่วยดึงชาติที่ยังไม่พัฒนาให้มาเท่าเทียมกับเรา อันจะกลายเป็นการถูกชาติอื่นขัดแข้งขัดขานั่นเอง ประเทศไทยย่อมไม่ยอมแน่นอน

หรือในทางกลับกัน ประเทศเราห่วยมาก ๆ จนต้องพึ่งพาชาติอื่น นั่นแปลว่าชาติอื่นจะมองเราว่าเป็นตัวถ่วงและไม่ยอมรับเราเข้าร่วมแทนได้


ดังนั้นจังหวะเหมาะที่สุดที่ควรจะเข้าร่วมคือช่วงที่ประเทศเราไม่พร้อมนั่นเอง
เพราะเราจะมีทั้งจุดด้อยจุดดีคละเคล้ากันไป ซึ่งส่วนนี้แหละที่ชาติอื่นจะแลกเปลี่ยนจุดด้อยจุดดีของเขากับเราให้ทั้งหมดดีพร้อมกันขึ้นไปได้

0
K.W.E. 24 ต.ค. 56 เวลา 17:48 น. 4

จริงๆก็ต้องบอกว่าไม่พร้อมนัก แต่ก็มีความพร้อมระดับหนึ่ง

ซึ่ง ณ จุดนี้ก็เห็นพ้องกับคุณซ่อนนามว่า ถ้าไม่คิดว่าจะทำให้มันพร้อมหรือไม่เริ่มต้น ชาติหน้าก็ไม่มีทางพร้อมครับ

และที่ร้ายกว่าคือการเป็นประชาคมอาเซียนมันก็ไม่ได้ขึ้นไทยประเทศเดียว ถ้าไม่หาทางเกาะรถไฟขบวนนี้ สุดท้ายก็จะกลายเป็นแกะดำไป และอาจเสียสิทธิประโยชน์บางประการไป


อนึ่งเรื่องถูกแย่งงานนี่ต้องดูว่านโยบายต่อไปจะเป็นยังไง แต่เท่าที่เห็นนี่หลักๆจะไปเรื่องการค้าขายกับการศึกษาก่อนนี่ครับ

ณ ปัจจุบันผมก็ยังเห็นมีการควบคุมอยู่นะ

ค้นเจอจากกระทู้ใน dek-d นี่เอง

ซึ่งอ่านดูแล้วผมเห็นด้วยกับกระทู้ที่อิงมานะครับ คือผมไม่กลัวแรงงานย้ายเข้าเท่าไหร่ จะกลัวก็สมองเก่งๆไหลออกนอกเสียมากกว่า เพราะเอาเข้าจริงปัญหาที่เจอคือแรงงานเถื่อนครับ เผลอๆค่าแรงที่ได้จะน้อยกว่าค่าแรงมาตรฐานด้วยซ้ำไป

และถ้าจะให้พูดตรงๆกว่านี้ไทยก็เป็นคนรับใช้ต่างประเทศไปนานแล้วด้วยครับ

เคยมีนักธุรกิจท่านหนึ่งพูดแบบติดตลกแต่โดนใจว่า

ต่างประเทศมักจ้างคนนอกประเทศมาเป็นลูกน้อง... แต่ประเทศไทยกลับจ้างฝรั่งมาเป็นหัวหน้า...

ตลกร้ายที่เป็นเรื่องจริง
องค์กรเอกชนทั้งหลายก็มี CEO เป็นต่างประเทศให้เพียบ แล้วก็คนไทยนี่ล่ะครับไปทำงานให้เขางกๆ


ฉะนั้นประเด็นนี้ผมว่าควรดูที่การออกนโยบายมาควบคุมเสียมากกว่า และในจุดนี้ผมก็ยังเห็นด้วยว่าเมื่อโลกก้าวเดิน และถ้าเราไม่อยากตกยุค ตามหลังในหลายๆด้าน ก็มีแต่ต้องก้าวเดินตามไปเท่านั้น ต้นทุนเราก็มีอยู่ไม่น้อย ประชากรวัยทำงานหลายส่วนก็มีความรู้ เศรษฐกิจการลงทุนเองก็มีอยู่

ค่อยๆก้าวเดินไปครับ อาศัยบทเรียนจากข้อดีและความล้มเหลวของ EU มาร่วมเรียนรู้ แล้วมันจะเห็นเส้นทางที่ควรไปเอง

0
ซ่อนนาม 24 ต.ค. 56 เวลา 20:44 น. 5

...รู้สึกปัญหาเดียวที่เจอเวลาพูดถึงเรื่องการเข้าร่วมสมาคมอาเซียนคือ

...กลัวคนต่างชาติจะมาแย่งงาน...

มองในมุมกลับ แบบไม่อวยชาติตัวเองนะ
ที่แย่งงานคืองานระดับล่าง เช่นแม่บ้านหรือผู้ใช้แรงงานอะไรพวกนี้
แต่งานระดับสูงใช้ความรู้เช่นช่างฝีมือ หรือพนักงานบริษัท ไม่น่าจะโดนแย่งได้เลยนะ
เพราะกำแพงในเรื่องของภาษา / สภาพความเป็นอยู่
คนที่เก่งยังไงถ้าเลือกทำ เขาจะทำที่บ้านตนเองเพราะเขาชินกับสภาพแวดล้อมนั้นมากกว่า มีญาติพี่น้องไปมาหาสู่กันได้ง่าย ๆ อยู่ที่นั่น หรือถ้าทำต่างประเทศ ก็ทำที่ยุโรป อเมริกา หรือที่ใดก็ได้ที่ให้เงินเดือนสูง ๆ ไปเลย
มาแย่งงานเป็นพนักงานกินเงินเดือนในไทย... มันดูไม่คุ้มยังไงไม่รู้

ในทางกลับกัน คนไทยเราต่างหากที่จะไปแย่งงานระดับนี้จากเขา
เพื่อนบ้านเราหลายประเทศ เขาพึ่งเปิดประเทศและพัฒนาตัวเองกันอยู่นะ คนเก่งน้อยกว่าประเทศไทยอยู่แล้ว พม่าก็เริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ลาวก็มีงานให้คนไทยทำอยู่เป็นประจำ กัมพูชาก็มีคนไทยไปเปิดธุรกิจที่นั่น เวียดนามก็กำลังเร่งพัฒนาตัวเองเป็นการใหญ่
ซึ่งอยากพัฒนาตัวเอง แต่คนเก่งมีไม่พอ ซึ่งที่ทำได้คือการอิมพอร์ทจากต่างชาติ
แต่ของไทยเรา คนเก่งมีล้นแล้วไม่ใช่หรือ ? แบบนี้ใครจะแย่งงานใครกันแน่ ?

เราว่าหากเข้าร่วมประชาคมอาเซียนขึ้นมา คนไทยอย่างเรานั่นแหละที่จะมีช่องทางการทำงานที่มากขึ้น

จริงอยู่ที่จะโดนแย่งงาน แต่นั่นคงเป็นงานระดับล่างเท่านั้น

0
ไทรันสยาม 25 ต.ค. 56 เวลา 16:01 น. 6

จะบอกให้ อาเซียนน่ะ นายทุนต่างหากที่ได้ประโยชน์ ไม่ใช่พวกเราหรอก.
เราไม่ได้แค่คิดว่า ไม่พร้อม 

แต่ที่จริง ไม่ควรเข้าด้วยซ้ำ

ประชาคมทางวัฒนธรรม แทบไม่ได้รับความสำคัญเลย จะเอาแต่เศรษฐกิจอย่างเดียว. แบบนี้นายทุนได้ประโยชน์ ทรัพยากรผลาญสิ้น

0
ซ่อนนาม 25 ต.ค. 56 เวลา 17:02 น. 7

#6
ถึงนายทุนได้ประโยชน์
แต่คนธรรมดาก็ได้ประโยชน์ด้วย

เพราะประเทศไทยมีเอกชนเป็นตัวที่ขับเคลื่อนความเจริญอยู่
ถนนหนทางมากมายทั่วถึง
รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดินที่มีกระจายตามตัวเมือง
หากให้ภาครัฐทำอย่างเดียว จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้
ยังไม่รวมถึงห้างร้านทั้งหลาย เซเว่น อาหาร เครื่องใช้ราคาถูก
สิ่งพวกนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เด็ดขาด หากไม่มีนายทุนที่มีการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศลาว ที่มีธรรมชาติเพรียบพร้อม แต่อาหารการกินสิ่งของต่าง ๆ กลับมีราคาที่แพงกว่าไทยร่วมเท่าตัว ซ้ำสิ่งของยังไม่หลากหลายเลือกหาให้ถูกใจได้ยาก
นั่นก็เพราะยังขาดแคลนนายทุน ไม่มีการแข่งขัน จึงไม่แสวงหาวิธีการที่ทำให้ผลิตสิ่งของได้ต้นทุนต่ำในจำนวนที่มากและกระจายได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น นายทุนจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ประเทศชาติมีความเจริญมากขึ้น

และเรื่องของการผลาญทรัพยากร หน้าที่นี้เป็นของภาครัฐที่ต้องดูแล
และ มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติไม่ได้
มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องทำลายและควบคุมธรรมชาติให้ตัวเองอยู่รอด
ที่อยู่อาศัยต้องถางป่า ไม่งั้นโรคร้ายหรือสัตว์ป่าจะมาเยือน
ถนนหนทางต้องตัดป่า ไม่งั้นจะเดินทางซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือหาหมอเวลาเจ็บป่วยได้ไม่สะดวก
ไร่สวน ต้องถางพื้นที่ เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้มากราคาถูกและตรงกับความต้องการ

แต่แน่นอน ทำมากไปย่อมไม่ดี
แต่เอกชนไม่มีทางรู้ตัวหรอกว่าทำเท่าไหร่และแค่ไหนถึงจะเหมาะ
เหมือนคนจับปลา จับปลาเพื่อมากินมาขายและมาตุน ถ้าทุกคนทำกันมาก ๆ ปลาก็ย่อมมีวันที่จะหมดบ่อ ซึ่งเป็นความผิดของคนจับปลาอย่างนั้นเหรอ ? ที่หวังรวยด้วยการจับปลา หรือหวังความปลอดภัยเลยตุนปลาเอาไว้มาก ๆ ?
แล้วหากจะมีการกำหนดว่าให้มีการจับปลาได้คนละไม่เกินเท่าไหร่ให้เหลือปลาในบ่อแค่ไหน ใครจะเป็นผู้กำหนด ? คนจับปลาหากมีเป็นพันเป็นหมื่นจะคุยกันรู้เรื่องไหม ?
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะมากำหนดขอบเขตของการจับปลาที่จะทำได้
และหากมีคนจับปลาที่ฝ่าฝืนจับปลาจนปลาหมดบ่อ นั่นคือความผิดของภาครัฐด้วยเช่นกัน ที่ไม่จริงจังกับข้อกำหนดที่ตั้งไว้

ด้วยเหตุนี้ การผลาญทรัพยากรธรรมชาติจึงไม่ใช่ความผิดของนายทุน หากเป็นความผิดของภาครัฐที่จัดการกับเรื่องนี้ได้ไม่ดีพอ

ย้อนกลับมาที่คนธรรมดา จะได้ผลประโยชน์อะไรบ้าง ?
อย่างแรกเลย คืองานจะเยอะมากขึ้น
อย่าคิดว่าเขาจะมาแย่งงานเรา แต่เราต่างหากที่จะไปแย่งงานเขา
คนไทยมีคนเก่งมากมายแต่ที่ทำงานไม่พอ ทว่าชาติอื่นมีที่ว่างมากมายแต่ขาดคนเก่ง ดังนั้นบริษัทไทยย่อมอยากจะเข้าไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่นอน
(ซึ่งปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้นอยู่ แต่หากเปิดเสรีอาเซียนจะยิ่งกว่านี้)
ซึ่งจุดนี้จะทำให้มีตำแหน่งงานรองรับมากแน่นอน

ยังไม่รวมถึงการที่เข้าร่วม มันจะทำให้เรามีอำนาจต่อรองกับชาติอื่นมากขึ้น อย่างเช่นราคาข้าว ราคายางพาราที่เป็นปัญหา เราก็จะสามารถกำหนดราคาได้มากขึ้น
การกีดกันทางเศรษฐกิจจะเกิดได้ยาก เช่นยุโรปหาเรื่องไม่รับกุ้งส่งออกของเรา จากเดิมที่มีประเทศไทยประเทศเดียวทำให้ต้องก้มหน้าก้มตายอมรับเรื่องนี้ไปเงียบ ๆ แต่เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อนบ้านเราก็จะช่วยแข็งขืนจนทางยุโรปไม่สามารถกีดกันกุ้งของเราได้อีกต่อไป เพราะหากกีดกันทางอาเซียนก็จะกีดกันสินค้าอื่นของทางยุโรปจนทำให้เขาเดือดร้อนไปด้วย
ซึ่งจุดนี้ทำให้กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสามารถลืมตาอ้าปากได้ดีกว่าเดิม

ดังนั้นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

0
ซ่อนนาม 25 ต.ค. 56 เวลา 17:08 น. 8

...มนุษย์เรามีชีวิตอยู่ด้วยท้อง ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วยจิตใจ
จริงอยู่หากไม่สนเรื่องจิตใจ เราจะไม่มีความสุข
แต่หากท้องไม่อิ่ม ยังไงเราก็ไม่อาจมีความสุขอย่างแท้จริงได้

บางคนอาจจะพูดว่า ตัวเองไม่อิ่มท้องก็มีสุขได้
แต่ลืมไปหรือเปล่าว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก แต่เรายังมีพ่อแม่ พี่น้อง ครอบครัว และคนที่เรารักอยู่
เราจะมีความสุขได้ไหม แม้เขาจะบอกว่าตัวเองสุขแต่ท้องของเขายังร้องหิวอยู่ตลอดเวลา ?

ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องสนคือเรื่องของปากท้อง
ซึ่งสิ่งที่จะเติมเต็มปากท้องได้คือเรื่องของเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องของวัฒนธรรม
การจะสนใจเศรษฐกิจก่อนและมากกว่า จึงไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลก
แต่หากสนใจวัฒนธรรมก่อนและมากกว่า นั่นแหละถึงจะเรียกว่าแปลก
ซึ่งเมื่อปากท้องอิ่มแล้วค่อยสนใจวัฒนธรรมก็ยังไม่สาย


ซึ่งดูได้ ชาติใดที่เจริญแล้วเขาถึงใส่ใจวัฒนธรรมและศิลปะกันต่อ
แต่หากยังปากท้องไม่อิ่ม ยากนักที่จะสน

0