Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมหลักสูตรจิตวิทยาประเทศไทยยังให้เรียนทฤษฎี sigmund freud อยู่ ???

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ที่ติดตามหลักสูตรจากคนที่เคยเรียนเมืองนอกมา เขาบอกว่าจริงๆ แล้ว ตปท. เขาไม่เน้นสอนทฤษฎีฟรอยด์กันแล้วนะ

เพราะมันคือการมโนเอาเอง

ไม่เป็นไปตามหลักการทาง "วิทยาศาสตร"์ ที่เกิดมาจากระเบียบวิธีวิจัย หรือทางสถิติ ถึงจะสรุปออกมาวัดผลที่สังเกตได้

ไม่ใช่ไปศึกษาเรื่องอะไรที่ไม่มีอยู่จริง หรือเชื่อมโยงต่อกันมั่วๆ เช่น ให้วาดรูป ต้นไม้ คน บ้าน แล้วจินตนาการเหมาไปเองว่าเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว -*- แบบนี้เขาเรียกว่านั่งเทียนเขียนสรุปเอาเอง ทั้งๆที่สิ่งที่อยู่ภายในใจ อาจไม่ได้ตรงกับสิ่งที่คิด

ดังนั้นทฤษฎีฟรอยด์ เป็นเรื่องของ "แนวโน้ม"
มิใช่เรื่องที่จะเอามาวัดผล หรือ แปลความหมาย อะไรได้อย่างจริงจัง

และนั่นจึงทำให้คนยกเลิกเรียนทฤษฎีฟรอยด์ แต่ไปศึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ท่านอื่นๆ ที่เป็นไปตามหลักการศึกษาจิตวิทยา ที่เป็นกระบวนการทางจิตและพฤติกรรมที่คนแสดงออกมา

แสดงความคิดเห็น

9 ความคิดเห็น

ตัวแปรแทรกแซง 16 ก.ย. 57 เวลา 07:25 น. 1

เรียนให้รู้เฉยๆ หรือเปล่า

ไอที่แปลๆ ผลต้นไม้ใบหญ้ากัน นี่มันคนโตๆ ที่เรียนผ่านๆ กันมาแล้วว ตอนนี้ให้เรียนเฉยๆ ให้รู้ว่าทฤษฎีของฟรอยด์คืออะไรเท่านั้นหรือเปล่า? จะเรื่องเก่าเรื่องใหม่ก็เรียนรู้ให้หมดนั่นแหละ ประเทศไทยจิตวิทยาไม่ได้เฟื่องฟูหลักสูตรจะได้เท่าเทียมบ้านอื่นเมืองอื่นกันไปหมด คนเรียนเองต่างหากที่ต้องพยายามผลักดันและตั้งใจหาความรู้เพิ่มเติมให้กว้างขวางเอง


.............

0
ตัวแปรควบคุม 16 ก.ย. 57 เวลา 16:48 น. 2

"ทฤษฎีของฟรอยด์ เป็น Armchair Theory (คือ นั่งเทียนเขียน) คุณอ่านเจอแต่อะไรเซ็กส์ๆ ไม่แน่ว่าฟรอยด์อาจจะชอบเรื่องนี้เสียเอง" ....

⊙ เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าฟรอยด์เป็นจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากๆ คนหนึ่ง ได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์จนโด่งดังไปทั่วโลก แต่จริงๆแล้ว ศาสตร์ที่เกี่ยวกับจิตใจไม่ได้มีเพียงฟรอยด์เท่านั้นที่ศึกษา เพราะยังมีทฤษฎีอีกมากมายจากท่านอื่นๆ ซึ่งแตกแขนงความคิดออกไปหลายแบบจนตั้งเป็นกลุ่มความคิดต่างๆ ขึ้นมามากมายทางจิตวิทยา

หลายคน (พวกฟรอยเดียน) อาจยกย่องซิกมันด์ ฟรอยด์ ว่าเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริงๆ ในมุมของวงการนักจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมนิยม (Behaviorism - พวกนี้ได้แก่ 'สกินเนอร์'ที่ใช้หนูทดลองสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้, หรือ'พาฟลอฟ'ที่ทดลองสั่นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล) โจมตีทฤษฎีฟรอยด์อย่างหนักว่านั่งเทียนเขียน หมายถึง มันไม่มีอะไรมารองรับว่าสิ่งที่ฟรอยด์คิด เชื่อถือได้ว่ามันมีอยู่จริง? ให้เห็นประจักษ์ จับต้องได้ สัมผัสได้ พิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ได้[*1] ก็เพราะว่าฟรอยด์เขียนขึ้นเอง

ฟรอยด์พูดถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมเกินไป เช่น อิด, อีโก้, ซูเปอร์อีโก้ สามอย่างนี้มันดูยังไง มันอยู่ในส่วนไหนของร่างกาย แน่ใจได้ไงว่ามีอยู่จริงๆ แล้วเชื่อมั่นได้อย่างไรว่ามันกำลังทำอะไรกับพฤติกรรมหรือความคิดของเราอยู่อย่างจริงแท้เที่ยงตรงและวัดได้

ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อและมุมมองที่แตกต่างทำให้จิตวิทยาในสมัยนั้นจึงแบ่งออกเป็นหลายก๊ก พวกที่ชอบนามธรรมในจิตใจที่ไม่เห็นก็นิยมไปเรียนฟรอยเดียน (freudian) แต่ถ้าใครเน้นพฤติกรรมเชิงประจักษ์จะตามไปกับพวก Behaviorism ทั้งหลาย (การดูพฤติกรรมที่ถูกวางเงื่อนไขให้หมาพาฟลอฟน้ำลายไหล ฯลฯ)

ต่อมา ศาสตร์จิตวิทยาจึงเจริญไปในเชิง "วิทยาศาสตร์" มากขึ้น จับต้องได้ พิสูจน์ได้ ว่าสิ่งนี้มีอยู่จริง! เห็นได้จากมีการเปิดห้องที่เป็นห้องแล็บทางจิตวิทยาครั้งแรกที่ประเทศเยอรมนี จนเกิดบิดาแห่งวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ นั่นคือ John B. Watson (นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน) นั่นเอง

คนสมัยนี้นึกย้อนไปสมัยก่อน อาจจะขำที่ฟรอยด์เสนอว่า "มนุษย์มีแรงขับพฤติกรรมต่างๆเกิดมาจาก libido และ thanatos" .... .... 2 ตัวนี้มัน'ควบคุม'เราอยู่จริงหรือ? สมัยนี้วิทยาการสมัยใหม่ได้อธิบายเป็นรูปธรรมแล้วว่า "สมองเรา" สั่งการให้มนุษย์ทำพฤติกรรมต่างหากล่ะ (สมัยก่อนยังศึกษาสมองคนที่มีชีวิตไม่ได้ เนื่องด้วยความเชื่อทางศาสนาที่ให้ศึกษาได้เฉพาะสมองคนที่ตายแล้ว -_-)

และยุคหลังมา การศึกษาในโครงสร้างของ "สมอง" เจริญขึ้นมาก เราจึงรู้ว่า "หัวใจ"ไม่เกี่ยวกับอารมณ์/ความรู้สึก/การรู้คิด หากแต่เป็นสมองเราต่างหาก ซึ่งพบว่า แค่สารเคมีในสมองที่มากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดพฤติกรรมแปลกๆได้ (เช่น คนซึมเศร้าจะมี serotonin ต่ำ หรือ สมองส่วนอะมิกดาลาโตมาแต่เกิดเลยทำให้เป็นคนก้าวร้าว ดังเช่น case ของฆาตกรโรคจิตชื่อชาร์ล วิตแมน)

แต่หลายคนก็ยังพูดติดปากว่า จิตวิทยาศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (จริงๆหัวใจไม่ได้มาคิดอะไรให้เราเลย มันทำหน้าที่แค่เพียงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงให้คุณมีชีวิตอยู่) มันถึงทะเลาะกันอีกพวกเรียนสมอง แก่นหลักๆของจิตวิทยา Cognition Perception Learning ก็พูดถึงสมองเป็นหลัก

จะพบว่านักจิตวิทยาสมัยใหม่นำเอาวิทยาศาสตร์โต้แย้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่า"เราไม่เคยเห็นลิบิโด้กับทานาทอส" ...บางทีก็อยากรู้ว่าถ้าฟรอยด์ยังมีชีวิตอยู่ จะตอบยังไง

แต่ถึงจะมีข้อครหามากมายอย่างไรก็ตาม นักศึกษาจิตวิทยาก็ยังต้องเรียนฟรอยด์อยู่เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจกับมนุษย์ และทฤษฎีจิตวิเคราะห์ก็ยังเป็นที่ใช้กันอยู่ในหลายประเทศ ทั้งนี้จิตวิทยามีหลายทฤษฎีอีกมากมายที่เมื่อเรียนในปีสูงๆ จะรู้จักมากขึ้น .. . เราไม่ได้นำทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเป็นหลักไปตลอดกาล การนำความรู้ของแต่ละทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบุคคลและสภาพการณ์นั้นๆ นั่นจึงจะทำให้ช่วยเหลือคนได้อย่างเหมาะสม


หมายเหตุ:
*1 - ฟรอยด์ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับในเชิง"วิทยาศาสตร์"มากนัก นั่นจึงไม่แปลกที่หลายๆ ครั้ง มีผู้ทดสอบสิ่งที่ฟรอยด์พูดไว้มากมาย เพื่อมาตอบกับคนสมัยใหม่ว่า มันจริงหรือไม่จริง ยกตัวอย่างเช่น ข่าวนี้ที่เขาพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ MRI brain scans เพื่อหาข้อเท็จจริงในหัวข้อที่ฟรอยด์กล่าวว่า "ความรู้สึกผิดในตัวเองมีความเกี่ยวข้องกันกับอารมณ์หดหู่" (http://www.dailymail.co.uk/health/article-2154353/Freud-right-Depression-IS-linked-feelings-guilt.html)

*2 - หนังสือ 'ฉีกหน้ากากฟรอยด์' เขียนโดย อีริค ฟรอมม์ (นักจิตวิทยาสังคม) มีชาวไทยนำมาแปลเป็นภาษาไทยด้วย สามารถหาซื้ออ่านได้จาก http://book-dd.lnwshop.com/product/4801/

*3 - สรุป... แม้ทฤษฎีของฟรอยด์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Armchair Theory หรือทฤษฎีที่เขียนขึ้นเอง แต่ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ (อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา มธ.) ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ดังนี้ http://youtu.be/7_firducoPc?t=11m (กรอไปดูนาทีที่ 11 จ้ะ)



[ ที่มา http://ow.ly/By3NN ]


ตกใจ

0
~ บลูโรสแหกคุก ~ 16 ก.ย. 57 เวลา 20:00 น. 4

การที่ทฤษฏีของฟรอยด์ยังพิสูจน์ไม่ได้ ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีคุณค่า และไม่ได้แปลว่ามันยังไม่จริง ถ้าคุณมีความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์จริงๆ แทนที่คุณจะพูดว่า ทำไมยังเรียนอยู่ คุณควรจะพูดว่า "เราจะพิสูจน์มันอย่างไร ?" หรือพูดว่า "ตอนนี้ความรู้ และเครื่องมือของเรายังไม่ถึงพอที่จะพิสูจน์มันได้"
.
บางทฤษฏีในยุคหนึ่งดูเป็นเรื่องมโน น่าตลก และไม่ได้รับการยอมรับ
ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ก็จะพบว่าหลายๆ เรื่องเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
.
นักศึกษาที่ดี ไม่ปฏิเสธความรู้

0
TIME 17 ก.ย. 57 เวลา 00:48 น. 5

ตามมุมมองของผมที่ได้เรียนเอกจิต การที่มีการสอนเรื่องฟรอยด์นี่ผมถือว่าทำให้เราได้รู้ที่มาที่ไปของทฤษฏีหลายๆทฤษฏีเลยนะครับ และนักจิตหลายๆคนที่มีอิทธิพลต่อวงการและทุกวันนี้ก็ยังมีโรงเรียนที่ต่างประเทศเปิดสอนก็มีความคิดบางอย่างเหมือนกับฟรอยด์แต่เอามาปรับเปลี่ยนนิดหน่อยแล้วก็ตั้งชื่อเป็นทฤษฎีใหม่ของตัวเอง ตั้งศัพท์เทคนิคใหม่ๆให้ไม่เหมือนฟรอยด์ พูดง่ายๆก็คือมันเป็นรากของหลายๆทฤษฎีที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้

"เขาบอกว่าจริงๆ แล้ว ตปท. เขาไม่เน้นสอนทฤษฎีฟรอยด์กันแล้วนะ"
อันนี้จะสื่อว่าในไทยเน้นฟรอยด์เกินไปรึเปล่าครับ ที่ผมได้เรียนก็ไม่ได้รู้สึกว่าจารย์เน้นอะไรนะ ก็สอนเท่าๆกับนักจิตคนอื่น แค่เนื้อหาของฟรอยด์มันอาจจะเยอะกว่าเลยกินเวลามากกว่า(มั้ง) อันนี้มุมส่วนตัวนะ

แบบทดสอบที่ให้วาดคน บ้าน ต้นไม้ ผ่านการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลนะครับ ไม่ใช่มโนหรือนั่งเทียนเขียนเอา

0
chakitang 18 ก.ย. 57 เวลา 00:27 น. 7

น้องเพิ่งเรียนแค่ขั้นต้นรึเปล่าคะ 

ในช่วงการเรียนจิตวิทยาขั้นต้น จะค่อนข้างเน้นทฤษฎีเก่าๆเพราะเป็นการปูพื้นความรู้ทางจิตวิทยา ในเมื่อคุณคิดจะเรียนเอกจิตวิทยาของพวกนี้มันเป็นสิ่งที่ต้องรู้ขนาดที่ว่าทฤษฎีหลักๆของเขาคุณอธิบายได้เลยว่าคิดยังไง เนื่องจากฟรอยด์ช่วงหนึ่งเคยเป็นนักจิตวิทยาที่ดังมากๆ ในอดีตมีการนำทฤษฎีของเขามาใช้กันอย่างแพร่หลาย (ปัจจุบันบางคลีนิคก็ยังมีใช้อยู่บ้าง) นอกจากนี้ฟรอยด์ยังเป็นรากฐานของทฤษฎีหลายอันและฟรอยด์ยังมีลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่งที่สร้างทฤษฎีสำคัญๆทางจิตวิทยาออกมามากมายอย่าง Erikson แล้วก็ลูกเขา ไม่แปลกที่ช่วงต้นจะเรียนของฟรอยด์เยอะมากเพราะทฤษฎีของฟรอยด์กว้างมากและประยุกต์ใช้ได้ทุกสาขาแม้ว่าเขาจะเน้นเรื่องเพศเยอะไปหน่อย

ถ้าน้องเรียนขึ้นไปขั้นสูงแล้วไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ น้องได้เรียนเยอะกว่านี้แน่นอนเพราะเมื่อเรียนสูงขึ้นจะเริ่มมีการเลือกสายว่าอยากไปจิตวิทยาสายไหน สายคลีนิค สายcounseling  สายเด็ก ฯลฯ ถึงตอนนั้นน้องไม่ต้องมานั่งเรียนฟรอยด์แล้วเพราะมันต้องเรียนมาตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จะได้เรียนของคนอื่นและอ่านบทความอีกเป็นพันได้สมใจอยากแน่นอน

เอาจริงๆนะ ฟรอยด์นี่พื้นฐานแบบพื้นฐานที่สุด คือถ้าเรียนจิตวิทยามาแต่ไม่รู้ฟรอยด์นับว่าแย่แล้วนะคะ เพราะในหลาย journal ที่อิงฟรอยด์ก็มีอยู่เยอะพอสมควร เพราะฉะนั้นก็เรียนไปก่อนเถอะค่ะ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้หมายความว่าเรียนรู้ไม่ได้ ถ้าคุณรู้สึกว่าอยากเรียนของคนอื่นก็ไปหาอ่านเพิ่มเอา บทความในเน็ตของตปท.ก็มีเยอะแยะ

0
กระต่ายหมายจันทร 21 ก.ย. 57 เวลา 00:19 น. 8

เราเรียนเอกจิตวิทยาอยู่ที่อังกฤษ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ปี 2 ในปีแรกมีแค่การกล่าวถึง Freud เท่านั้น ไม่ได้เน้นสอนเรื่องทฤษฎีของเขา จะเน้นเรียนทฤษฎีเรื่องจำพวกชีวะ สมอง การพัฒนาการ evolution identiy stat วิธีเขียน lab etc. แต่เพื่อนที่เรียนจิตวิทยา counselling บอกว่าทางเขาจะเน้นการเรียนทฤษฎีของ Freud ค่อนข้างมาก เพราะบ้างทฤษฎีของ Freud มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ใน counselling section เราคิดว่าแต่ละมหาลัยจะมีหลักสูตรที่ค่อนข้างแตกต่างกัน จะเน้นสอนใม่เหมือนกัน และลำดับการสอนก็จะแตกต่างกันด้วย

0
หัวแบะ 30 ส.ค. 59 เวลา 23:14 น. 9

มันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของสมองและจิตใจ สภาพจิตใจส่งผลต่อสมอง เหมือนที่สมองส่งผลต่อจิตใจ
ประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตบางครั้งก็มีผลต่อจิตใจ ต้องเข้าใจด้วยว่า มันมีทั้งคนที่ป่วยทางจิตตั้งแต่เกิด กับคนที่ป่วยทีหลังด้วยสาเหตุหลายๆอย่างเช่นความเครียด

นักจิตวิเคราะห์ที่อ้างถึง เขาพยายามแบ่ง วางโครงสร้าง+เขียนทฤษฎีความเป็นไปของจิตใจ ไม่ใช่เขียนเรื่องสมอง
แต่ที่ต้องเรียนเรื่องสมอง เพราะมันสัมพันธ์กับการเยียวยารักษา
ไม่งั้นคงไม่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา ทุกคนคงหันไปเรียนประสาทวิทยากันหมด

ตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าทำไมในหลายๆประเทศถึงให้ความสำคัญของสุขภาพจิตถ้าไม่ใช่เพราะคนมีความเครียดสูง ฯลฯ อีกมาก
ส่วนในวงการวิทยาศาสตร์ที่มีทั้งการค้านและการสนับสนุนทฤษฎีของกันและกัน เพราะวิทยาศาสตร์คือการตีแผ่ "ความจริง"
ไม่แน่ถ้าอนาคตมันพิสูจน์จับต้องได้มากกว่านี้ เราจะรู้อะไรลึกซึ้งกว่านี้

0