Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

IS2การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเหล่านั้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

บทที่1

บทนำ

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเหล่านั้น
         การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆนั้น เป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป

  พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆในชมพูทวีปซึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

 พระองค์มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก  ทรงอุปถัทภ์โดยให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก

 ครั้งที่3   ในช่วง  พ.ศ.๒๓๔   ณ  วัดอโศการาม  แคว้นมคธ  และยังส่งพระธรรมทูต 9 สาย  ออกไปประกาศ

 พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับชมพูทวีปต่อมาได้ขยายตัวยังประเทศและภูมิภาคต่างๆ

จึงทำให้พระพุทธศานาได้แพร่หลายไปทั่วโลก

อนุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช

                                                                    วัดอโศการาม  จังหวัด  สมุทรปราการ

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้รู้ประวัติทางศาสนาว่ามีความสำคัญเช่นไร

2.เพื่อให้เข้าใจว่าศาสนาทำให้มนุษย์มีความคิดทางธรรม

3.เพื่อเสริมจิตใต้สำนึกในการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนผิดชอบชั่วดี

 

ขอบเขต

1.รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(Is2)กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

2.บุคคลในการทำรายงานครั้งนี้คือนักเ รียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

 

สมมุติฐาน

เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเกี่บวกับเรื่องนี้มีความคล้อยตาม และประพฤติปฏิบัติตาม

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.นำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีระเบียบ

2.เพื่อปรับตัวเองเข้ากับบริบทสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

 

แสดงความคิดเห็น

7 ความคิดเห็น

ชาโบลนาร่า 18 ก.ย. 57 เวลา 22:17 น. 1

บทที่2

ส่วนเนื้อเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

คณะพระธรรมทูตที่ออกไปประกาศพระพุทธศาสนาบริเวณชมพูทวีปในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  มีดังนี้

พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ดังนี้

<p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;font-family:" angsana="" new","serif";mso-ascii-theme-font:="" major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi;="" color:#333333'="">สายที่ 1 มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน                                                                                                     
สายที่
2 พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย                    <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;font-family:" angsana="" new","serif";mso-ascii-theme-font:="" major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi;="" color:#333333'="">สายที่ 3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย                                                                 
สายที่
4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์                                                      
สายที่
5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย                                                               
สายที่
6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี                                                                             
สายที
7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล                                                                                                          
สายที่
8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น           
สายที่
9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา

 

0
ชาโบลนาร่า 18 ก.ย. 57 เวลา 22:20 น. 2

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศอังกฤษ
พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๓ โดยนายสเปนเซอร์ อาร์คี ได้พิมพ์หนังสือศาสนจักรแห่งบูรพาทิศออกเผยแพร่ แต่ไม่มีผู้สนใจมากนัก จนกระทั่ง เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้เขียนหนังสือ ประทีปแห่งเอเซียขึ้น และได้พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๔๒๒ ก็ได้รับความสนใจจากชาวอังกฤษอย่างกว้างขวาง ทำให้ชาวอังกฤษเริ่มหันมาเลื่อมใส่ศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเยอรมัน
ชาวเยอรมันความสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ (Dr.Karl Seidenstuecker) ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนีและส่งเสริมการศึกษาทางวิชาพระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์
ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย เพราะในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการสร้างวัดไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖ โดยส่งพระสงฆ์จากเมืองไทยไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนามีผลทำให้จำนวนผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับวัดในประเทศเนเธอร์แลด์ คือ ๑. วัดพุทธาราม ๒. วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม





การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลีย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศออสเตรเลีย
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในทวีปออสเตรเลียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยพระภิกษุชาวอังกฤษ ชื่อ ศาสนชะ (มร.อี.สตีเวนสัน) ท่านผู้นี้ได้อุปสมบทที่ประเทศพม่า ท่านได้เดินทางเข้าสู่ประเทศออสเตรเลีย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวออสเตรเลียโดยแนะนำแต่เพียงว่าพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตใจ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด ปจจุบันแมวาสถานการณพระพุทธศาสนาในประเทศ นิวซีแลนดจะยังไมรุงเรืองเหมือนในออสเตรเลียก็ตาม แตมีแนวโนมที่ดีในอนาคต การเผยแผ พระพุทธศาสนาในนิวซีแลนดสวนใหญจะเปนการดําเนินการโดยพระสงฆชาวอังกฤษ ทิเบต ญีปุ่น และไทย โดยความสนับสนุนของพุทธสมาคมแหงเมืองโอกแลนด

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกานับว่ามีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแพร่หลายและกว้างขวางที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีชาวไทยและชาวเอเซียที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่กระจัดกระจายตามรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเซียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่กันหนาแน่ในบางเมือง เช่น ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ชิคาโก เป็นต้น ก็ได้ร่วมกันจัดตั้งวัดไทยขึ้นในชุมชนของตน เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นแหล่งที่ใช้พบปะสังสรรค์กันระหว่างชาวพุทธ วัดไทยในสหรัฐอเมริกาจึงมีกระจัดกระจายอยู่ตามรัฐต่างๆ เป็นอันมาก ซึ่งมีบทบาทนอกเหนือจากศาสนากิจแล้ว ยังเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยไปด้วย ได้แก่ การเปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และภาคฤดูร้อนให้เด็กๆ ลูกหลานไทยที่เกิดเติบโตในสหรัฐอมเริกาได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ภาษาไทย ที่มีความสนใจในพระพุทธศาสนาเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทยด้วย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศแคนนาดา
ผู้นับถือพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียที่นับถือพระศาสนาอยู่ก่อนแล้วไปตั้งถิ่นฐานที่ประเทศแคนาดาและนำเผยแผ่ต่อๆกันมาซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยนอกจากยังมีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนานิกายสุขาวดีและนิกายเซนแบบญี่ปุ่น

0
ชาโบลนาร่า 18 ก.ย. 57 เวลา 22:19 น. 3

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นท่ามกลางสังคมอินเดียทีมีความหลากหลายด้านความเชื่อ ศาสนา ลัทธิต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นก่อนพระพุทธศาสนา และที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ตลอดจนลัทธิที่เกิดขึ้นมาภายหลังอีกมากมาย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นมาในดินแดนชมพูทวีป หรืออินเดียเหมือนกับลัทธิศาสนาต่าง ๆ เหล่านั้น แต่พุทธศาสนามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิศาสนาต่าง ๆ ได้แก่การอุบัติขึ้นมาพร้อมกับการปฏิรูปสังคมอินเดียเสียใหม่ คือพุทธศาสนาได้เสนอหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งหักล้างกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวอินเดียไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์โดยสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพุทธศาสนาเคยได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมาก่อน ย่อมจะทำให้สังคมอินเดียได้รับอิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อจากพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเนปาล
ได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาทขึ้นในประเทศเนปาล โดยส่งภิกษุสามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เช่น ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา โดยเฉพาะประเทศไทยนั้น พระภิกษุสามเณรชาวเนปาล ซึ่งได้บรรพชาและอุปสมบทแบบเถรวาทได้มาศึกษาพระปริยัติธรรม และศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัยนอกจากนั้นคณะสงฆ์เนปาลยังได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศไทยไปให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวเนปาล ณ กรุงกาฐมาณฑุ พร้อมทั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาวเนปาล นอกจากนี้สมาคมธัมโมทัยสภา ได้อุปถัมภ์ให้พระภิกษุจากประเทศศรีลังกาและพระภิกษุสงฆ์ในประเทศเนปาลที่ได้รับการอบรมมาจากประเทศศรีลังกา ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาถิ่น พิมพ์ออกเผยแพร่เป็นจำนวนมากด้วย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศศรีลังกา
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศลังกาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในลังกา และได้เสื่อมถอยจากลังกา เนื่องจากการเข้ารุกรานของชาติตะวันตก ได้แก่ฮอลันดา และอังกฤษ ต่อมาภายหลังพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ชาวไทยไปเผยแผ่และในขณะเดียวกันก็ได้เกิดนิกายอมรปุรนิกายจากพระชาวลังกาที่ไปอุปสมบทจากประเทศพม่า และรามัญนิกาย ไปอุปสมบทจากเมืองมอญ พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง และเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมลังกา เป็นศาสนาประจำชาติ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนลังกามาก ฯ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮอนโกชิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๑๐๙๕ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลพระเจ้ากิมเมจิ จักรพรรดิองค์ที่ ๑๙ ของญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าเซมาโว แห่งเกาหลี ส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้ากิมเมจิ พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรมและพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระเจ้ากิมเมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเกาหลี
พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. ๙๑๕ โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็วเพียงระยะเวลา ๒๐ ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว ๙ วัดประเทศเกาหลีในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย ๓ อาณาจักรคือ โกคุริโอ ปีกเช และซิลลา แต่ผู้นำทั้ง ๓ อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนาและให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชนและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติพระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศจีน
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีนดังได้ปรากฎในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช ๖๐๘ ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงค์ฮั่น พระได้จัดส่งคณะทูต ๑๘ คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ ๒ รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยางททพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง ๒ รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคำภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคำภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่นแรก
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศทิเบต
ชาวทิเบตมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เช่น เมื่อใดที่ชาวทิเบตเดินทางไปกรุงลาซาแล้ว เห็น ยอดพระราชวังโปตาลาก็กราบเคารพ หรือชาวทิเบตบางคนที่เดินทางไปจาริกแสวงบุญไปยัง ประเทศอินเดียเพื่อไหว้ พุทธสังเวชนียสถาน จะเดินพนมมือไปเรื่อย ๆ เมื่อเดินครบ ๓ ก้าว จะก้มลงกราบด้วยเช่นกัน ซึ่งชาวทิเบตเหล่านี้ มีความเชื่อว่าถ้าหากตายในขณะเดินทางไปจาริกแสวงบุญก็เรียกว่า สู่สุคติแล้ว และถ้าในครอบครัวชาวทิเบตนั้น มีลูกชาย ก็ต้องให้ออกบวชอย่างน้อยหนึ่งคน และพุทธศาสนิกชนที่ดีนั้นจะต้องสอนบทสวดมนต์ง่าย ๆ ให้แก่ลูกหลาน เพื่อนำ ไปปฏิบัติสืบต่อกันด้วย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศภูฏาน
ชาวภูฏานส่วนใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนานั้นโดยเฉพาะพระสงฆ์และผู้อาวุโสที่นับถือจะมีการสวดมนต์ นับลูกประคำอยู่เป็นกิจวัตรประจำวันเสมอ ชาวภูฏานบางครอบครัวที่มีลูกชายก็นิยมส่งบุตรหลานตนไปบวชเรียนตั้งแต่เด็ก เพื่อศึกษาความรู้วิชาการ ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เช่น การเรียนพระสูตร พระวินัย ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวภูฏานและวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย

0
ชาโบลนาร่า 18 ก.ย. 57 เวลา 22:21 น. 4

บทที่3

บทสรุปและการวิเคราะห์

           ศาสนานั้นย่อมสอนให้คนเรานั้น เป็นคนดีเสมอ  แต่คนเรานั้นจะใช้ในทางใด แต่ศาสนานั้น มีความสำคัญหมดทั่วโลก ตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนาก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นพุทธศาสนานั้น ไม่ได้มีที่ชมพูทวีปเพียงอย่างเดียว มีทุกที่ในโลก ดังนั้นเราลองมาเรียนรู้กับ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกันเถอะ ซึ่งเรื่องนี้ ทุกศาสนาสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็น พุทธศาสนิกชนเท่านั้นแรกเลยพุทธศาสนานั้น ไม่ได้มีในเฉพาะ ดินแดนชมพูทวีปเพียงอย่างเดียว ตามที่บอกไปคือ มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งแต่ละชาตินั้น จะให้ความสำคัญกับแต่ละศาสนาต่างกันไป ทีนี้ เราลองมาดูเกี่ยวกับ ทวีปเอเชียกันดีกว่า ว่าพุทธศาสนานั้นได้เข้าไปถึงที่ใดบ้างคือ ประเทศ ศรีลังกา ศรีลังกานั้นก็คือ ประเทศ1ในแถบ เอเชียใต้ ซึ่งใกล้กับ มัลดีฟ ซึ่งศรีลังกานั้นมีประวัติที่เกี่ยวกับ การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ในสมัย พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งมี พระโอรสและพระธิดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศรีลังกา ซึ่งพระองค์นั้นก็เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จนถึงขั้น ถวาย "อุทิศมหาเมฆวัน" ซึ่งเป็นอุทยานมาให้เป็นวัด "วัดมหาวิหาร" แล้วเคยมีการทำสังคยานา ในศรีลังกามาแล้ว หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไป 238 ปี ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ในศาสนาพุทธ

            ต่อมา ในสมัย พระเจ้าวัฏฏะคามณีอภัย ได้โปรดให้มีการทำสังคยานาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.452 หรือ 453 ซึ่งใช้เวลานานถึง 1 ปีเต็ม จึงมีการจารึกบนใบลานเป็นครั้งแรก ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 12-20 ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตของศาสนาพุทธในศรีลังกา มีความเดือดร้อนจากการรุกรานของอินเดียบ้าง ปัญหาในศรีลังกาเองบ้าง ถึงต้องมีการนำสงฆ์จากพม่า มาฟื้นฟู แต่ในศตวรรษที่ 20 ศรีลังกาถูกการล่าอนานิคม และมีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทำให้ศาสนาพุทธนั้น เสื่อมเสีย แล้วขณะนั้น ชาวลังกาเอาแต่ฆ่าฟันกันเอง ทำให้ศาสนาพุทธนั้น ไม่ได้มีตัวตนในศรีลังกาเลยแม้แต่น้อย ต่อมา พระพุทธศาสนาก็ได้กลับมาอีกครั้ง โดยมีสงฆ์มาเผยแผ่ แล้วมีการบวชครั้งใหญ่ถึง 3,000 คน จากสงฆ์ เพียง 10 รูป เท่านั้น ที่เมืองแคนดี้ แล้วท่าน ธรรมปาละ ก็ได้ตั้ง สมาคมมหาโพธิ์ในการฟื้นฟูด้วยในศรีลังกานี้มีเทศกาลหนึ่งที่สำคัญมากคือ งาน เปราเฮร่า อยู่ที่เมืองแคนดี้ แล้วก็มีสงฆ์ชาวไทยไปบวชเรียนที่  ศรีลังกาไม่น้อยเลย ในตอนนี้

           ต่อมาคือ ในเนปาล ซึ่งเนปาลนั้นก็คือ ชมพูทวีปด้วย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ประสูติในประเทศนี้ นับมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในสมัยนั้น อินเดียกับเนปาลนั้น ยังเป็นประเทศเดียวกันอยู่ ไม่เหมือนในปัจจุบัน ที่มีการแยกตัวกันไปในหลายประเทศ ซึ่งในเนปาลนั้น ก็มีการสร้างสิ่งต่างๆจนเป็นที่จดจำเช่น สวนลุมพินีวัน ,  เจดีย์ในกรุง กาฐมาณฑุ ,มหาวิทยาลัย นาลันทา ฯลฯ ซึ่งต่อมา กลุ่มมุสลิมก็ได้ทำการรุกราน ในอินเดีย ซึ่งต่อมา มหาวิทยาลัย นาลันทาที่อยู่อินเดียนั้น

 

 

ถูกทำลาย ทำให้ศาสนาพุทธทั้ง 2 ประเทศนั้น เสียหายเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนั้น ศาสนาพุทธในเนปาล และ อินเดียก็ดีขึ้นกว่าเดิม มีการปรับปรุงมากขึ้น แต่ไม่ได้นิยมมากกว่าเดิม เพราะผู้คนส่วนใหญ่นั้น ให้การนับถือ ศาสนา พราหมณ์-ฮินดู มากขึ้น แล้วมีสมาคมหนึ่งที่ประเทศไทยกับเนปาลนั้นได้ตั้งขึ้น คือ "ธัมโมทัยสภา" ซึ่งเนปาลนั้น มีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีแล้ว ด้านศาสนาก็ดีด้วย ส่วนอินเดียนั้น มีสถานที่เด่นๆเช่น เจดีย์ในเมือง พุทธคยา เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธา ของศาสนิกชนทั่วโลก ที่หลั่งไหลที่จะไปสัมผัสเป็นจำนวนมาก ต่อมาคือ ภูฏาน แม้ว่า ภูฏานนั้น จะเป็นประเทศเล็กๆ แต่พระพุทธศาสนานั้นก็น่าสนใจมาก เพราะว่า มีศาสนาสถานต่างๆเช่น ซอง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวภูฏานเค้า แล้วเราไม่สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ง่ายๆด้วย(ผู้เขียนก็ยังไม่เคย) แต่เห็นตามสารคดีแล้วสวยงามมาก แต่ในภูฏานนั้น ยังมีความเชื่อในเรื่องเวทมนต์อยู่ แต่ศาสนาพุทธนี่ พ่อ-แม่ที่มีลูกชาย ส่วนใหญ่ก็จะให้บวชเรียนตั้งแต่เด็กเลย เพื่อศึกษาเรียน พระสูตร พระธรรมวินัย แล้วชาวภูฏานนั้น เป็นคนที่เคร่งในเรื่องศาสนามากๆ จะเหมือนกันกับคนไทยเลยคือ ตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนาจะเข้ามาข้องเกี่ยวมาโดยตลอด ทุกๆคนจะเข้าใจว่า แต่ละประเทศที่กล่าวไปนั้น ก็มีความแตกต่างกันไป ก็คือ โลกมันไม่เหมือนกัน แต่มันไม่หยุดนิ่ง จริงๆยังมีประเทศที่น่าสนใจอีกมากมาย

 

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของ

โกออน 23 พ.ค. 66 เวลา 09:47 น. 7

มีสรุปสั้นๆมั้ยคับคือมันเสียเวลาอ่ะเวลาเราต้องมาหาละต้องนั่งอ่าน+กับการที่ตัวอักษรมันติดกันจนดูไม่น่าอ่าน

0