Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สมุนไพรต้านโรคเบาหวาน....

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากทราบว่าสมุนไพรใดบ้างที่สามารถต้านโรคเบาหวานได้ค่ะะะะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Pum13 1 ก.พ. 58 เวลา 22:17 น. 1
สมุนไพรบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน
       สมุนไพร ได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาและควบคุมความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของคนไทยได้หลายๆโรค เบาหวานก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรในการควบคุมความรุนแรงของโรคได้
1.เตยหอม(ทั้งใบและราก) กับ ใบของต้นสักทอง
    เตยหอมเอาทั้งใบและราก ล้างให้สะอาด ตัดส่วนของใบสักทองและใบเตยหอมอย่างละเท่าๆ กันเอามาคั่วให้เหลือง ส่วนรากเตยหอมไม่ต้องคั่ว แต่เอามาทุบให้แตก แล้วใส่ทั้ง 3 อย่างลงในหม้อต้ม ใช้น้ำยารับประทานแทนต่างน้ำทุกวัน ประมาณ ๑ เดือน อาการก็จะดีขึ้น (หรือจะทำเป็นชาดื่มก็ได้) 
2.ใบอินทนินน้ำ
     ๒ - ๓ กำมือ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำ ต้มให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็นลง แล้วใช้น้ำยารับประทาน 
3.ต้นไมยราบ กับ ต้นครอบจักรวาลหรือต้นฟันจักรสี
     อย่างละเท่ากัน นำมาหั่นตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้เหลือง ชงกับน้ำร้อนเป็นน้ำชาดื่ม 
4.มะระขี้นก
     มะระขี้นกเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณประโยชน์แก่ร่างกายสูง ทั้งด้านคุณค่าทางอาหาร คือ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย วิตามิน A, B1, B2, C ไนอาซีน และไทอามีน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางยา คือ ลดน้ำตาลในเลือด (แก้โรคเบาหวาน) รักษาโรคเอดส์ และต้านเชื้อ HIV ต้านมะเร็ง ใช้เป็นยาถ่าย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ มีรสขมช่วยให้เจริญอาหาร มีสาร charantin ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสามารถบำบัดโรคเบาหวานได้ และ มะระยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี ไนอาซีน และเบต้าแคโรทีน อยู่ในระดับสูง ผลอ่อนของมะระขี้นกให้วิตามินซี และเบต้าแคโรทีนสูง 
    มะระขี้นกลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ในการรับประทานมะระขี้นก ให้หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้ 
    สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ การรับประทานเมล็ดซึ่งมีสารกลุ่มไพริมิดีนนิวคลีโอไซด์ที่ชื่อว่า ไวซิน (Vicine) อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดท้อง และอาการโคม่าได้ ดังนั้น พึงระลึกว่าเมล็ดของมะระขี้นกอาจมีพิษ หากจะนำผลมะระขี้นกมาทำยารับประทานต้องแกะเมล็ดออกเสมอ (แสงไทย, 2544) 
5.อบเชย
     อบเชย มีสารที่สำคัญคือ เมธิลไฮดรอกซี่ ซาลโคน โพลิเมอร์ (Methylhydroxy Chalcone Polymer หรือ MHCP) ซึ่งเป็นเป็นสารที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำงานคล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน คือช่วยเพิ่มความสามารถในกรสันดาปกลูโคสให้ได้มากขึ้น จึงมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและจะไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ถ้ามีการรับประทาน "อบเชย""อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การใช้อบเชยควบคุระดับน้ำตาลในเลือดนั้น จะมีความปลอดภัยมากว่าการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสามารถรับประทานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายแต่อย่างใด โดยภายใน1 วันควรรับประทาน"อบเชย"อย่างน้อย 1 กรัม และให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้ผู้ป่วยทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย 
(จาก วารสารยา สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร ฉบับที่ 12 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 ) 
0
อังกวย 2 ก.พ. 58 เวลา 00:57 น. 2

เบาหวานtypeไหนคะ?
ถ้า type1ไม่มีอะไรรักษาและต่อต้านให้หายขาดได้เพราะตับอ่อนเจ๊งไปแล้วผลิตอินซูลินไม่ได้แล้วไม่มีอะไรช่วยได้นอกจากอินซูลินสังเคราะห์

แต่ถ้าtype2(ดื้ออินซูลิน)สำหรับบางคนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออินซูลินได้ค่ะ
เท่าที่เคยได้ยินมา+มีคนแนะนำมี
1.ใบมะยมต้มแล้วดื่มแต่น้ำ
2.มะรุม

โรคนี้เป็นแล้วไม่มีทางหาย ไม่มีอะไรต่อตานได้ สิ่งที่ช่วยได้ดีที่สุดคือการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายค่ะ 

0
napunpung 28 ต.ค. 58 เวลา 14:05 น. 3

เบาหวานขึ้นตา ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 

เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม จึงอาจกล่าวได้ว่าโรคเบาหวานสามารถส่งผลต่อทุกอวัยวะในร่างกาย ซึ่งอวัยวะที่มักได้รับผลแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต และดวงตา ได้รับเกียรติจาก อ.พญ.แพร์ พงศาเจริญนนท์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคตาที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

โดยหลักแล้วผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะต้องได้รับการตรวจดวงตาเป็นประจำทุกปี เพื่อดูว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการตรวจภาวะต้อกระจกและต้อหินร่วมด้วย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลให้เป็นต้อกระจกเร็วขึ้น และการป่วยด้วยโรคเบาหวานเมื่อนานวันเข้า อาจทำให้เกิดต้อหินได้ ซึ่งแต่ละปัญหาจะมีวิธีรักษาแตกต่างกันไป

เบาหวานขึ้นจอประสาทตาแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

1.ระยะที่ยังไม่มีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ในระยะนี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่ต้องตรวจติดตามอาการเป็นระยะทุก 4-8 เดือนแล้วแต่กรณี

2.ระยะที่มีเส้นเลือดงอกผิดปกติ เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกายแย่ลง เมื่อเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ในดวงตาได้เหมือนเดิม กลไกของร่างกายจึงพยายามงอกเส้นเลือดใหม่ขึ้นมา เมื่ออาการดำเนินมาถึงระยะนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีการยิงเลเซอร์บริเวณจอประสาทตา ที่ไม่มีผลต่อการรับภาพและยิงเลเซอร์ทำลายเส้นเลือดงอกใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้การมองเห็นแย่ลงหรือสูญเสียการมองเห็นในอนาคต

เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เส้นเลือดที่งอกผิดปกติอาจแตกออก กลายเป็นเลือดออกในลูกตา ผู้ป่วยจึงมองไม่เห็น บางรายมีอาการตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่ามองอะไรไม่เห็นเลย สำหรับการยิงเลเซอร์อาจต้องยิงซ้ำหลายครั้ง จนกว่าจะถึงจุดที่เหมาะสม

หลังจากยิงเลเซอร์ผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวอยู่ครู่หนึ่ง แต่เป็นอาการมัวเนื่องจากความสว่างของแสงเลเซอร์ ผู้ป่วยจะมองเห็นทุกอย่างเป็นสีม่วงๆ สักพักก็จะกลับเป็นปกติ

นอกจากนี้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติอาจก่อให้เกิดพังผืดไปดึงรั้งจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก หรือภาวะจอประสาทตาฉีกขาดได้อีกด้วย หากเป็นในจุดที่อันตราย ทำให้การมองเห็นแย่ลง หรือมีเลือดออกมาก โดยที่เลือดไม่สลายไปเอง แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัดวุ้นตา โดยเจาะรูขนาดเล็ก (ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร) เข้าไปในลูกตา แล้วทำการผ่าตัดผ่านรูนั้น จะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

สำหรับโรคตาอื่นๆ เช่น ต้อกระจก การรักษาทำได้โดยผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “การลอกต้อกระจก”  แล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทนในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีภาวะที่เป็นอุปสรรค์ต่อการผ่าตัดต้อกระจก เช่น ม่านตาไม่ขยาย เนื่องจากปกติเวลาผ่าตัดต้อกระจกจะต้องขยายม่านตาให้กว้าง ถ้าม่านตาขยายได้น้อย (มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน) จะทำให้การผ่าตัดยากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็สามารถทำได้ สำหรับการเกิดต้อหินมักเป็นผลพวงมาจากภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน

เริ่มตรวจดวงตาเมื่อไหร่ดี

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจดวงตา หากแบ่งตามชนิดของเบาหวาน สามารถแบ่งได้เป็น

 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การตรวจดวงตาสามารถรอได้สักระยะ โดยแนะนำให้ไปตรวจดวงตาหลังจากวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว 5 ปี จากนั้นให้ตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำให้ตรวดวงตาทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวานควรไปรับการตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ผู้ป่วยยังคงมองเห็นเป็นปกติ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ส่วนใหญ่จะเป็นมากแล้ว

สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยควรเข้าใจคือ กระบวนการรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทำได้เพียงชะลอไม่ให้การมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม แต่ไม่สามารถทำให้ดวงตากลับมาดีเป็นปกติเหมือนก่อนเกิดโรคได้ ดังนั้น ก่อนที่จะมาถึงขั้นนี้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถป้องกันภัยร้ายคุกคามดวงตาได้ ด้วยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด (ทั้งระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร และระดับน้ำตาลสะสม) ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งมาตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่เราทุกคนควรตระหนักไม่ว่าจะเป็นเบาหวานหรือไม่ก็ตาม คือ ดวงตาเป็นสิ่งที่เราสามารถถนอมและป้องกันได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น สวมใส่แว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่สูบบุหรี่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาล้า และพักสายตาเป็นระยะเมื่อต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสมาร์ทโฟน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการปฏิบัติของตัวเราเองเท่านั้น ไม่สามารถให้ผู้อื่นมาทำแทนได้เลย

แหล่งที่มา http://health.haijai.com/3899/

บทความเกี่ยวกับศัลยกรรม  ulthera ปากกระจับ ปลูกผม กำจัดขน

0