Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ธนาคารกลาง คืออะไร ? เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 
  ธนาคารที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะฝากเงิน ถอนเงิน ขอสินเชื่อ อย่างพวกธนาคารไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงไทย กรุงศรี นั้นเราเรียกว่าธนาคารพาณชย์ อันเป็นธนาคารที่ให้บริการกับภาคประชาชน(ภาคครัวเรือนและธุรกิจ) แต่อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารนั้น มีองค์กรควบคุมอันเป็นของรัฐ ที่เรียกว่า "ธนาคารกลาง" (Central bank) หรือธนาคารแห่งชาติ โดยที่แต่ละประเทศนั้นจะมีชื่อเรียกต่างๆกัน อย่างของไทยจะใช้ชื่อว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" หรือที่เรียกติดปากว่า แบงค์ชาติ หรือ Bank of Thailand (BOT) 
ถ้าเป็นสหรัฐอเมริกา จะเรียกว่า Federal Reserve หรือ FED

แบงค์ชาตินั้น ถือได้ว่าเป็นศูนย์การทางการเงินแห่งชาติ ทั้งในทางปฏิบัติ และด้านนโยบายการเงิน โดยสามารถสรุปบทบาทและหน้าที่ของธนาคารกลางได้ดังนี้

http://www.scb.co.th/th/home




1 ) สำรองเงินของแต่ละธนาคาร
โดยอาจจะเป็น 20%-30% แล้วแต่การกำหนดตามภาวะเศรษฐกิจ เรียกว่าอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Legal Reserve Ratio) เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เงินฝากจากประชาชนมา 100 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะต้องเอาเงินส่วนหนึ่งมาฝากไว้กับธนาคารกลางในอัตราที่ธนาคารกลางกำนหนด  เพื่อความมั่นคงของธนาคารเอง

หากช่วงใดเงินฝืด เศรษฐิกชงัก 
อัตราสำรองก็จะต่ำ เช่น อาจจะแค่ 10 % ธนาคารไทยพาณชย์ก็จะฝากสำรองที่ธนาคารกลางเพียง 10 ล้าน ส่วนอีก 90 ล้านนั้น ธนาคารสามารถเอาไปปล่อยกู้ได้ (กู้มา เศรษฐกิจยิ่งโต)

แต่หากช่วงใดเงินเฟ้อ เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
อัตราสำรองก็จะสูง เช่น อาจจะ 30 % ธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะต้องฝากสำรองที่ธนาคารกลางถึง 30 ล้าน และเหลือ 70 ล้านไว้ที่ตนเอง การปล่อยกู้ก็จะน้อยลง เศรษบกิจก็จะชะลอตัวลงนั่นเอง



2) ตัดยอดลูกหนี้-เจ้าหนี้ ระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน
ปล่อยกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ เป็นแหล่งกู้เงินแหล่งสุดท้าย (ก่อนจะต้องไปกู้ต่างประเทศ)
เป็นศูนย์กลางการโอนเงินของธนาคารพาณิชย์ (สนับสนุนงานของธนาคารพาณิชย์)
เช่น เรามีบัตร ATM ของธนาคารพาณิชย์

3) เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
รับฝากเงินของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการ

4) ให้รัฐบาล-รัฐวิสาหกิจ กู้เงิน
ธนาคารกลางเป็นแห่งที่รวมนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งที่สุดในประเทศ
และเป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อนโยบายการเงิน
และมีฐานะเป็นอิสระ(ไม่อยู่ภายใต้คณะรัฐบาล)

5) ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเรื่องเศรษฐกิจการเงิน

6) เป็นตัวแทนการเงินรัฐบาล
เช่น ออกและขายพันธบัตรรัฐบาล  โอนเงินระหว่างประเทศ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศกู้เงินต่างประเทศ

7) เก็บเงินสำรอง ทอง เอกสารทางการเงินที่เชื่อถือได้
เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ สำหรับการใช้หนี้ต่างชาติ หรือการนำเข้าสินค้า

8) ผลิตธนบัตร  
การผลิตธนบัตรแต่ละครั้ง จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบ
จึงต้องทำอย่างมีมาตรฐานเพื่อไม่ให้เงินเฟ้อ เช่น การมีทองคำสำรองหนุนหลัง 
(แต่ถ้าเป็นเหรียญนั้นจะผลิตโดยกรมธนารักษ์ ของกระทรวงการคลัง)

9) กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโนบาย 
เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตาม
เมื่อเศราฐกิจชงักงัน ก็ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้คนกู้ลงทุน กู้ซื้อของ
หนือเมื่อเงินเฟ้อ ก็ทำการเพิ่มดอกเบี้ย ให้คนเก็บออมมากขึ้น กู้น้อยลง
ลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ

* CB = Central bank  


10) กำหนดอัตราซื้อลด (Rediscount Rate)

11) ควบคุมเครดิตในการออกสินเชื่อ กำหนดเงินผ่อน-ดาวน์
เช่นในช่วงเงินฝืด เศรษฐกิจชงักงัน คนไม่ค่อยซื้อของ
ก็กำหนดให้มีการดาวน์ต่ำ ผ่อนนาน
กำหนดให้บัตรเครดิตทำได้ง่าย เพื่อให้คนจ่ายง่ายขึ้น
เพื่อกระตุ้นให้คนใช่จ่ายเงินผ่านรูปแบบสินเชื่อ
ถ้าเงินเฟ้อ ก็กำหนดให้ดาวน์สูงๆ เพื่อให้คนลดการใช้เงินลง




แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น