Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"ไพ่คารุตะ"การละเล่นที่นิยมในญี่ปุ่น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้จะมาพูดถึงไพ่คารุตะ การละเล่นที่นิยมในญี่ปุ่นทั้งเด็กและวัยรุ่น กีฬาไพ่คารุตะ กีฬาไพ่คารุตะ(ญี่ปุ่น: 競技かるた) (Kyōgi karuta) เป็นกีฬาไพ่อย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เกมคารุตะที่เป็นทางการนั้นจะเป็น เพลงกลอนไพ่คารุตะ ภายใต้รูปแบบและกฎระเบียบที่กำหนดโดย สมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่น ความเป็นมาและภาพรวมแก้ไข การแข่งขันในญี่ปุ่นเริ่มมีมาประมาณศตวรรษที่ 19 และได้ก่อตั้งสมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 1934 และมีการเริ่มแข่งขันระดับยอดฝีมือผู้ชาย(ญี่ปุ่น: 名人戦(Meijin sen))ตั้งแต่ปี 1955 และ ยอดฝีมือผู้หญิง (ญี่ปุ่น: クイーン戦(Kui-n sen))ตั้งแต่ปี 1957 และในปี 2012 ได้มีการแข่งระดับระหว่างประเทศโดยมีประเทศ สหรัฐอเมริกา, ไทย, เกาหลีใต้, นิวซีแลนด์และจีนเข้าร่วม ลักษณะไพ่แก้ไข ไพ่มาจากการเอา กลอน 100 กลอนประเภททังกะ ของญี่ปุ่นมาลงใน ไพ่อ่านและไพ่หยิบ -ไพ่อ่าน (Yomifuda); จะมี 100 ใบ โดยลักษณะจะมี อักษรกลอนอยู่ในไพ่เพื่อให้ผู้อ่านให้ผู้เล่นและมีรูปวาดผู้แต่งกลอนอยุ่ในนั้นด้วย โดยกลอนจะมี พยางค์แบบทังกะ คือ 5-7-5 7-7 พยางค์ -ไพ่หยิบ หรือ ไพ่เล่น (Torifuda); จะมี 100 ใบเช่นกัน โดยที่ลักษณะไพ่จะมีเพียงกลอนวรรคหลังเท่านั้น (คือ 7-7) โดยผู้ที่เล่นจะต้องฟังผู้ถือไพ่อ่าน พอเริ่มอ่านผู้เล่นต้องไปตบไพ่วรรคท้ายของกลอนที่อ่านออกมา ลักษณะและกฏการเล่นแก้ไข การเล่น กีฬาไพ่คารุตะ คือ เล่น 2 คน ลักษณะท่าการเล่นคือ นั่ง และการเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบ จากไพ่ 100 ใบ (คือ เล่น 50 ฝั่งผู้เล่นละ 25 ใบนั้นเอง) โดยส่วนใหญ่จะเล่นบนเสื่อทาทามิ ส่วนลักษณะการวางนั้นจะวางไพ่กลอนหยิบตามความถนัดของผู้เล่น แต่สนามเล่นต้องมีขนาดกว้าง ประมาณ 87 เซนติเมตร และระยะห่างของสนามแต่ละฝั่งของผู้เล่นคือ 3 เซนติเมตร โดยกฏการเล่นคือ มีเวลาจำไพ่ 15 นาทีก่อนเล่น และเริ่มจะมีผู้อ่านกลอนอ่านกลอนเพื่อให้ผู้เล่นฟังและหยิบไพ่วรรคท้ายที่คู่กับไพ่ที่อ่าน ผู้เล่นฝ่ายใดหยิบไพ่ที่ถูกได้เร็วกว่าก่อนถือว่าได้แต้มโดยที่ ถ้าหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งตนเองได้ก็ลด 1 ใบ แต่ถ้าไปหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งของฝ่ายตรงข้ามได้ก็ต้องหยิบส่งไพ่ในฝั่งของตนไปให้กับอีกฝ่ายเพื่อให้ฝั่งตนเองลดและฝั่งตรงข้ามจะเท่าเดิม ไพ่เปล่า(Karafuda) คือ ไพ่ที่อ่านแล้วไม่มีในสนาม (เนื่องจากเวลาเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบในสนามทำให้อีก 50 ใบจะเป็นกลอนเปล่าหรือกลอนหลอก) และการหยิบไพ่ผิดจะเรียกว่า โอเทสึกิ(Otetsuki) หรือ ฟาวล์ จะเป็นลักษณะของ ที่ผู้เล่นหยิบไพ่ผิดใบหรือผิดฝั่ง และไพ่ที่ไม่อยู่ในสนามเลย(ไพ่เปล่า) และวิธีการปรับฟาวล์คือ ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามก็จะหยิบไพ่ในแดนของเขา 1 ใบให้ฝั่งเราทำให้เรามีไพ่เพิ่มนั้นเอง ระดับของผู้เล่นแก้ไข ในญี่ปุ่นมีระดับความเก่งของผู้เล่น 5 คลาสหรือ 8-10 ดั้ง ได้แก่ E class; ระดับเริ่มต้น D class; C class; 1 ดั้ง B class; 2-3 ดั้ง A class; 4 ดั้ง และะก็ยังมีการ์ตูนเรื่องจิฮายะฟุรุ จิฮายะกลอนรักพิชิตใจเธอ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กหญิงชื่อจิฮายะ ได้พบกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งชื่อว่าอาราตะซึ่งเป็นคนที่ชอบเล่นไพ่คารุตะตั้งแต่นั้นจิฮายะก็เริ่มเล่นไพ่คารุตะมาตั้งแต่เล็กจนโตจนในที่สุดจิฮายะก็ได้เป็นผู้เล่นระดับA

แสดงความคิดเห็น

>