Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำแนะนำผู้ปกครองและเด็ก ม.4-5 ที่อยากติดแพทย์ กสพท.

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ของเก่าเอามาเล่าใหม่

ตอนนี้ พวก ม.5 ขึ้น ม.6 กำลังอยู่ในช่วงเรียนพิเศษอย่างเข้มข้น และอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ความถนัดแพทย์ และ 7 วิชาสามัญ ความถนัดแพทย์คงใช้เวลาอ่านไม่มากนัก ส่วน 7 วิชาต้องใช้เวลาอ่านมาก พออ่านวิชาหลังๆ ก็ลืมวิชาที่อ่านจบไปก่อนแล้ว ต้องทบทวนใหม่อีกรอบ เรียกว่าอ่านหน้า ลืมหลัง อ่านหลัง ลืมหน้า

ช่วงนี้เลยขอแนะนำ ผู้ปกครอง และเด็ก ม.4 และเด็ก ม.5 ที่เพิ่งเลื่อนชั้นใหม่ ที่มีเป้าหมาย ต้องการเป็นแพทย์ มีบางคนต้องการรู้เรื่องการเลือก 4 อันดับแพทย์ กสพท.ก่อน คิดว่าน่าจะเร็วเกินไป เวลาเป็นปี ๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขนาดช่วงระหว่างสมัคร กสพท. วันนี้เลือกไว้แล้ว วันพรุ่งนี้ตื่นขึ้นมา ยังเปลี่ยนเลือกใหม่เลย คือเปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกวัน ตราบใดที่ยังไม่จ่ายเงิน บางคนจ่ายเงินแล้ว ยังมีการเปลี่ยนที่เลือกไปแล้วอีก 3 ครั้ง จ่ายเงินใหม่อีก 3 ครั้งก็มี แต่ถ้าสนใจจริงๆ อยากศึกษาวิธีการเลือก ให้ศึกษาตามลิงค์ข้างล่างนี้
คำแนะนำเลือก 4 อันดับ กสพท.
http://www.dek-d.com/board/view/3537454/
http://www.dek-d.com/board/view/3528896/
http://www.dek-d.com/board/view/3354992

ส่วนเรื่องเกรดไม่สำคัญมากเท่าไร หลายคนได้เกรด 4 ในโรงเรียนธรรมดาทั่วไป โรงเรียนที่ไม่มีคนแย่งเข้า หรือไม่อยากเข้า ทั้งใน กทม.หรือ ตจว. ยังสอบไม่ติด กสพท.เยอะแยะไป แต่ถ้าอยู่ ม.4-6 โรงเรียนธรรมดาได้เกรด 3.5 - 3.9 และขยันๆ เตรียมตัวดี ก็มีโอกาสลุ้นติด กสพท.มาก และถ้าอยากรู้ว่าตัวเองอยู่ระดับไหน ตอน ม.6 ลองสอบแข่งขันนอกโรงเรียน(ก่อนสอบ กสพท.) มีสนามสอบตรงแพทย์หลายแห่ง เช่น
-สนามแรกแพทย์ขอนแก่น
-สนามที่สองแพทย์ ม.บูรพา 2 โครงการ
-สนามที่สามแพทย์จุฬา 4 โครงการ

ถ้าสอบติดสนามใด สนามหนึ่ง ก็เก่งมากๆ รับรองมีโอกาสสอบติด กสพท.อันดับสูงๆแน่นอน
แต่ถ้าไม่ติดรับตรงเลย เราอยู่ประมาณระดับไหน ต้นๆ กลางๆ ท้ายๆ เราก็จะสามารถประมาณตัวเองได้ ถ้าอยู่ท้ายๆ ก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ส่วนการเตรียมตัว ควรเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อใด ผู้ปกครองที่ดูแลลูกดีๆ บางคน อาจจะมีการวางแผนการเรียนของลูกตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.4 แล้ว คือ ดูแล ให้คำแนะนำ สอน ตรวจดูการบ้านของลูกทุกวัน เพื่อทราบความเคลื่อนไหวการเรียนของลูกตลอดเวลาหลายปี และมีการทบทวน ติวให้ลูกก่อนสอบที่โรงเรียนด้วย ถ้าลูกหัวดี ลูกจะสอบได้ลำดับที่ดีๆ อันดับที่เลขตัวเดียว สมัยนี้ผู้ปกครองเอาจริง เอาจังมาก แต่พอ ป.5 ป.6 ควรปล่อยให้ลูกรับผิดชอบทำการบ้านเองได้แล้ว ไม่ต้องไปตรวจการบ้านเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่อาจจะช่วยติวสอบที่โรงเรียนให้ก็ได้ และเลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูก ป.5 ป.6 เรียนพิเศษ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ ที่ไม่ไกลจากบ้านพัก(ไม่เสียเวลาเดินทาง) หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(เด็กไม่เหนื่อย)

ม.1-ม.3 เลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูกหรือให้ลูกเลือกเรียนพิเศษเอง หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(ลูกไม่เหนื่อยเดินทาง) เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ แต่ถ้าชอบโรงเรียนที่เดิม ก็อยู่ที่เดิม

ข้อสังเกตุ การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ม.3 เป็นการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนใหม่และเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ต่อยอดสู่อนาคตเท่านั้น แต่การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้น ม.4-ม.6 เป็นการเตรียมตัวเพื่อเลือกอาชีพในอนาคต ซึ่งใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

สรุป ถ้าเก่งตอนแรก(อนุบาล-ม.3) แต่ไม่เก่งตอนหลัง(ม.4-ม.6)ไม่ดี ถ้าไม่เก่งตอนแรก แต่เก่งตอนหลังดี(ได้อนาคตดี)

สำหรับการเตรียมตัว ม.4-ม.6 ควรเตรียมตั้งแต่ ม.4 แต่ไม่หนักมาก ควรอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มเกรดตัวเองในโรงเรียน หนังสือที่ควรมี เพิ่มจากหนังสือเนื้อหาของโรงเรียน

1.สรุปย่อทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)
2.โจทย์ ปัญหา แบบฝึกหัด ข้อสอบเก่าพร้อมเฉลย แยกบท แยกเรื่อง ทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)
3.หนังสือเนื้อหาวิชา ที่อธิบายเข้าใจดี ทันสมัย ถ้าไม่รู้เล่มไหนดี ดูยอดขายสูงสุด แสดงว่ามีคนสนใจเยอะ หรืออ่านจากกระทู้แนะนำต่างๆ ในเว็บเด็กดี

ส่วนเรียนพิเศษช่วงเปิดเทอม และปิดเทอม เรียนล่วงหน้าตามบทที่โรงเรียนสอน เรียนเฉพาะวิชาที่อ่อน ไม่เข้าใจหรือตก คะแนนไม่ดี เรียนเท่าที่จำเป็น เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ส่วนไทย สังคม น่าจะอ่านเองได้ หนังสือขายเยอะแยะไป

ส่วน ม.5 อ่านและเรียนพิเศษเหมือน ม.4 แต่อาจจะเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชา เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะในช่วงปิดเทอม ม.5 เทอม1 และเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียนในช่วงปิดเทอมใหญ่(ม.5 ขึ้น ม.6) คนที่เก่งๆ ส่วนใหญ่อาจจะเรียนครอสเอ็นทรานซ์หลายวิชาแล้ว ช่วงปิดเทอมใหญ่นี้จะเรียนหนักมาก เรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจนถึง 2 ทุ่ม 3 ทุ่มเกือบทุกวัน ไม่มีวันหยุดเสาร์ อาทิตย์

ส่วน ม.6 เพิ่มหนังสือ ข้อสอบเก่าเอ็นทรานซ์/แอดมิชชั่น/7วิชาสามัญ/ความถนัดแพทย์ /GATไทย/GATอังกฤษ พร้อมเฉลยดีๆ รวมหลาย พ.ศ.หรือ 15 พ.ศ.เพื่อฝึกทำโจทย์ คละบทให้คล่อง เพิ่มความเร็ว
พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 1 เรียนพิเศษครอสเอ็นฯ บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียน และฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่า
ปิดเทอม ม.6 เทอม 1 (ตุลา) ไม่มีเรียนพิเศษแล้ว ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว ฝึกทำข้อสอบความถนัดแพทย์(ถ้ามีของเตรียมอุดมฯยิ่งดี) เพราะรุ่นพี่แต่ละรุ่นได้จำข้อสอบจริงคนละ 2 ข้อเอาออกมาเฉลย รวบรวมข้อสอบจริงส่งมอบให้รุ่นน้องเตรียมสอบต่อๆกันไป ช่วงนี้อาจจะต้อง
เตรียมตัวสอบหลายแห่ง ที่ไหนมีสอบวิชา ไทย สังคม ก็ฝึกทำข้อสอบเก่าไว้บ้างตอนใกล้สอบ ควรใช้เวลาน้อยกว่าวิชาอื่นๆ
พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 2 ไม่มีเรียนพิเศษแล้ว ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว พร้อมตระเวณสอบไปเรื่อยๆ ที่เปิดรับตรง
ความจริงมีรายละเอียดกว่านี้มาก ขอให้คำแนะนำคร่าวๆ สรุปให้เข้าใจแค่นี้ก่อน

สรุป ถ้าจะสอบให้ติด กสพท.จริงๆ ก็ควรเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 คิดว่าน่าจะดีที่สุด
คำแนะนำทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ความเห็นส่วนตัวเรื่องเรียนพิเศษ เห็นว่าควรเดินสายกลาง เรียนพิเศษบ้าง แต่ไม่มาก เลือกเรียนเท่าที่จำเป็น
เคยได้ยินเรื่อง พ่อเป็นผู้พิพากษา มีลูกชายคนเดียวไม่ชอบเรียนพิเศษ และพ่อก็ไม่สนับสนุนเรียนพิเศษ ผลแอดมิสชั่นไม่ติดที่ไหนเลย ต้องเรียนรามฯ นิติศาสตร์
อีกคนหนึ่ง พ่อ แม่ เป็นหมอฟัน มีลูกสาว 2 คน เห็นว่า การเรียนที่โรงเรียนในวันธรรมดา วันจันทร์-ศุกร์ คือไปร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่โรงเรียน
ส่วนการพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ตั้งแต่เด็กประถมฯ คือ การไปเรียนหนังสือจริงๆ ได้ความรู้จริงๆ ผลลูกติดแพทย์ศิริราช กับแพทย์จุฬาฯ
และผู้ปกครองอีกคน มีหลานอยู่ ป.6 เรียนพิเศษมากถึง 7 แห่ง แต่ละแห่งดังที่สุดในเมืองไทย เพื่อสอบเข้าสตรีวิทย์ แต่ก็สอบไม่ติด ต้องจับฉลากเข้าโรงเรียนใกล้บ้าน ต่อมาเข้าโรงเรียนเอกชนตอนหลังซิ่วออกจากปี 1 เอกเขมร มศว ไปเรียนอยู่เอแบค

นี่คือเรื่องจริง ตัวอย่างจริง จึงมีความเห็น ควรเดินสายกลาง ไม่ตามกระแส
ยังมีเคสจริงๆอีกมาก แต่ขอเล่าเพียงเท่านีี้

มีผู้ปกครองหลายคนยังเชื่อถือระบการศึกษาไทยว่ามีมาตราฐานดี ไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ ถ้าคิดว่าระบบมาตรฐานการศึกษาของไทยดี มีคุณภาพ และอยากให้คนไทยเชื่อมั่นว่า เด็กไทยไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ ก็ควรออกประกาศ หรือออกกฎหมาย ห้ามมิให้ลูกผู้บริหารการศึกษาของไทยทุกคน ตั้งแต่รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการ อาจารย์โรงเรียนหรือมหาลัย ลูกข้าราชการไปเรียนพิเศษ หรือเรียนกวดวิชา แต่ความจริงคือ ลูกผู้บริหารการศึกษาไทย ลูกข้าราชการ ได้เรียนพิเศษมากกว่า เอาเปรียบลูกชาวบ้านที่ไม่มีเงินค่าเรียนพิเศษ

อังกฤษมีรัฐบาลพรรคแรงงาน ห้ามลูกรัฐมนตรี ผู้บริหารการศึกษา เรียนพิเศษหรือจ้างครูสอนพิเศษที่บ้าน และต้องเรียนในโรงเรียนของรัฐเท่านั้น ห้ามเรียนโรงเรียนเอกชนด้วย เพื่อให้คนอังกฤษเชื่อถือในมาตรฐานการศึกษาของรัฐ

ขอยกตัวอย่างอีกเคสหนึ่ง
ลูกชายของ จนท.ระดับเล็กๆ ศาล จว.สุรินทร์ เรียนดี ได้ที่ 1 ตลอด ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้น ม.6 ไม่เคยเรียนพิเศษเลย มีเรียนพิเศษ ครอสเอ็นทรานซ์เพียงครอสเดียว รวมหลายวิชา สมัยนั้นเกือบ 10กว่าปีแล้ว(ตั้งแต่ยังไม่แยกเก็บเงินค่าเรียนพิเศษรายวิชาเหมือนสมัยนี้) เรียนพิเศษตอนจบ ม.6 ปิดเทอมใหญ่แล้ว ต้องเดินทางจาก จว.สุรินทร์ มาเรียนที่เดอะเบรน จว.นครราชสีมา เรียนพิเศษน้อยมาก สอบติดแพทย์ศิริราช เรียกว่าเป็นช้างเผือกจาก ตจว.

ส่วนลูกหมอฟันที่ยกตัวอย่างไปแล้ว ขอเล่ารายละเอียดเพิ่มอีกนิดหนึ่ง ซึ่งคุณแม่หมอฟันเอาจริง เอาจังมาก ดูแลเรื่องการศึกษาลูกตั้งแต่เล็กๆ ใกล้ชิดตลอดเวลา เช้าส่งลูกสาว 2 คนไปโรงเรียนใกล้บ้าน ช่วงเลิกเรียนก็รอรับลูก พอลูกเลิกเรียนลงมา ก็เตรียมอาหารการกินที่โต๊ะนัดพบ กินเสร็จ ทำการบ้านของโรงเรียน การบ้านโรงเรียนเสร็จ ก็ทำการบ้านพิเศษของคุณแม่ เป็นแบบฝึกหัดเลขคณิตคิดเร็ว ทำเสร็จค่อยถึงได้ไปเล่น ทำแบบนี้ทุกวันที่เรียน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ป.6 ได้ที่ 1 ตลอด จนสอบเข้า ม.1 สาธิตปทุมวันได้ และ ม.4 เข้าเตรียมอุดมฯได้ ตอนนี้คนโตเรียนจบแพทย์ศิริราชไปแล้ว อีกคนเรียนจบแพทย์จุฬาฯแล้ว ซึ่งคุณแม่เด็กมีแนวความคิดว่า เรียนที่โรงเรียนจันทร์-ศุกร์คือไปทำกิจกรรม เรียนพิเศษเสาร์-อาทิตย์คือเรียนจริงๆ เท่าที่สังเกต น่าจะเป็นเด็กเก่งอยู่แล้ว ถ้าเป็นเด็กธรรมดาอาจจะให้ทำการบ้านพิเศษยากมาก เด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขอให้พิจารณาด้วย

คำแนะนำดังกล่าว ได้ปรับมาจากผู้ปกครองที่มีแนวคิดว่า ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา หรือเรียนพิเศษน้อย ไม่ตามกระแส ลูกคนแรกติดแพทย์นเรศวร ลูกคนที่สองติดแพทย์แม่ฟ้าหลวง
ขอเล่าการเรียนลูกแรกก่อน ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 ได้เกรด 4 ตลอด ได้อันดับที่ เลขตัวเดียวของห้อง เก่งปานกลาง ไม่เคยได้ที่ 1 เลย ตอน ม.4-6 ได้เกรด 3.88 โรงเรียนรัฐสตรีล้วน ไม่ดังมาก อยู่ในซอยสุขุมวิท 22 ตอนอยู่ ม.6 เทอม 2 ได้เรียนพิเศษสำนักติวแถวบางนา ไม่ดัง เรียนทุกวิชาทั้งครอส ม.6 เทอม2 และครอสเอ็นฯ รวม 2 ครอส เหมาจ่ายค่าเรียน 5,000 บาท ไม่เคยเรียนโรงเรียนกวดวิชาดังๆ เช่น อ.อุ๊ อ.สมศรี เอ็นคอนเซ็บ แอ็บพลายฟิสิกส์ ซุบเค ฯลฯ
ไปลองสอบแพทย์ขอนแก่น ไม่ติด กลับมาทำให้รู้ว่า ยังอ่านหนังสือน้อยไป ถ้าอยากติดแพทย์ กสพท. ต้องขยันอ่านมากขึ้น ลองทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ.ก็ทำไม่ค่อยได้ เพราะเป็นแบบฝึกหัดคละบท ทำให้รู้ว่าพื้นฐานยังไม่แน่น เวลาอ่านหนังสือก็เหลือน้อยแล้ว จึงต้องซื้อหนังสือพวกสรุปย่อแต่ละวิชามาอ่าน และทำแบบฝึกท้ายบท เช่น มินิคัมภีร์ต่างๆ เมื่ออ่านจบวิชาหนึ่ง ก็ทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ. ผลปรากฏว่า พอเข้าใจทำข้อสอบเก่าได้ดีกว่าเดิม ไปสอบความถนัดแพทย์ได้ 19 กว่าๆ สอบเอเน็ตได้ 35 กว่า รวม 54 กว่า ติดแพทย์นเรศวร ปี 52
ความเห็นส่วนตัว เห็นว่าถ้าผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนพิเศษมากกว่านี้ ไม่ประหยัดเกินไป อาจจะได้คะแนนมากกว่านี้

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับลูกคนแรกนิดหน่อย เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเคสกรณีศึกษา คือ ม.1-3 เรียนหลักสูตร 2 ภาษา รุ่นแรกของโรงเรียน เรียนกับครูต่างชาติ ทั้งยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แต่ตอนหลังมีครูอินเดียสอนเลขเก่ง แต่สำเนียงภาษาอังกฤษแปลกๆ เด็กจึงมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดี ดูหนังสือเตรียมสอบเอเน็ต จึงไม่ต้องเตรียมตัววิชาภาษาอังกฤษเลย ใช้ความรู้เก่าล้วนๆ คือ อ่านเนื้อเรื่องบทความเข้าใจ ก็สามารถทำข้อสอบได้ พวกสอบติดแพทย์เด็กส่วนใหญ่จบมาจากโรงเรียนดังๆ และเรียนพิเศษแต่ละวิชา จากสำนักติวที่มีชื่อเสียงอันดับ 1 ของเมืองไทยทั้งนั้น เมื่อเวลาเพื่อนๆ แม้เป็นเด็ก ตจว.ก็เรียนพิเศษหนักเหมือนกัน คุยเรื่องเรียนพิเศษสำนักโน้น สำนักนี้ เด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษก็คุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง บางครั้งถูกเพื่อนถามว่า เรียนพิเศษที่ไหน เด็กบอกชื่อสำนักติวไป เพื่อนบอกว่าโนเนมไม่รู้จัก เรียกว่าเข้าสังคมเรื่องนี้ไม่ได้ คุยกันไม่รู้เรื่อง

ส่วนลูกคนที่สอง ได้เรียนพิเศษมากกว่าคนแรก จะขอเล่าข้อมูลในโอกาสต่อไป

ขอเล่าต่อ ลูกคนที่สอง ได้เรียนพิเศษมากกว่าคนแรก
ตอนอนุบาล 3 ได้รับรางวัลเด็กเรียนดี ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง ม.3 ได้เกรด 4 ตลอด ได้อันดับที่ เลขตัวเดียวของห้อง เก่งปานกลาง ไม่เคยได้ที่ 1 เหมือนกัน เรียนหลักสูตรปกติตลอด ตอน ม.4-6 ได้เกรด 3.88 เหมือนกัน อยู่โรงเรียนรัฐสตรีล้วน ไม่ดังมาก อยู่ในซอยสุขุมวิท 22 เหมือนพี่สาว ตอนอยู่ ม.4-5 เด็กขอเรียนพิเศษ อังกฤษครูสมศรี เคมีอาจารย์อุ๊ ไม่ได้เรียนพิเศษ วิชา ฟิสิกส์ ชีวะ ไทย สังคม และไม่ได้เรียนพิเศษครอสเอ็นฯ สำนักติวดังๆ เลย เพราะมันแพง
ม.4-6 ได้เรียนพิเศษสำนักติวแถวบางนา ไม่ดัง เหมือนพี่สาว
ตอน ม.6 มีเรียน DVD ส่วนตัว(เปิดเทปเอง) ครอสเอ็นฯ เลข ที่เดอะติวเตอร์ ส่วนความถนัดแพทย์ไม่ได้เรียนพิเศษ สอบครั้งที่ 2 ได้ 23.2093 และไม่ได้ไปสอบแพทย์ขอนแก่น
ปี 55 สอบความถนัดแพทย์ได้ 19 กว่าๆ สอบ 7 วิชาสามัญได้ 34 กว่าๆ รวม 53 กว่าๆ ไม่ติดแพทย์ 4 อันดับที่เลือก(คะแนนถึงแพทย์รังสิตไม่ได้เลือก ไม่มีเงิน)
แอดมิชชั่นติดกายภาพ จุฬาฯ (คะแนนถึงเทคนิคการแพทย์ไม่ชอบ) เรียนกายภาพ จุฬาฯ ได้เกรด 3.5 ระหว่างเรียนจุฬา ได้เรียนพิเศษ DVD ส่วนตัว(เปิดเทปเอง)เลข แพทย์ ที่เดอะติวเตอร์ สยามใกล้จุฬาฯ(ไม่เสียเวลาเดินทาง)
ปี 56 สอบความถนัดแพทย์ได้ 23 กว่าๆ สอบ 7 วิชาสามัญได้ 35 กว่าๆ รวม 58 กว่าๆ ไม่ติดแพทย์ 4 อันดับที่เลือก(คะแนนถึงทันตะสงขลา ทันตะ มช.ไม่ได้เลือก ไม่ชอบทันตะ)
ต่อมาได้ข่าวแพทย์แม่ฟ้าหลวงเปิดรับสมัครแพทย์ปีแรก(หากไม่ติดตามข่าว ก็หลุดแน่) ก็ยื่นสมัครไว้ ก็คิดว่าไม่ได้แล้ว ปรากฏว่ามีการสละสิทธิ์ เรียกติดรอบ 5 ถือว่าโชคดีมากๆ เฮงๆๆๆ
และแอดมิสชั่นด้วย ติดสัตวแพทย์ จุฬา(ไม่เอา) เพราะติดแพทย์แม่ฟ้าหลวงแล้ว

สรุป ติดแพทย์หรือไม่ติดแพทย์ กสพท.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวเด็กมากที่สุด คนที่เรียนพิเศษมากกว่าก็ยังไม่ติดแพทย์ กสพท.เลย และการติดตามข่าว ก็มีความสำคัญกับอนาคตเด็กมาก ๆ

ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเรื่องจริง ขอให้เป็นกรณีศึกษา นำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view/3379779/

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

พรชนก 26 พ.ค. 59 เวลา 21:21 น. 4

สรุป ถ้าเก่งตอนแรก(อนุบาล-ม.3) แต่ไม่เก่งตอนหลัง(ม.4-ม.6)ไม่ดี ถ้าไม่เก่งตอนแรก แต่เก่งตอนหลังดี(ได้อนาคตดี)
//// อันนี้เราขอแย้งนะจากประสบการณ์เราเอง เด็กที่กะจะมาสปีดเอาตอน 3 ปีสุดท้าย ถ้าจะได้แพทย์ก็จะได้แต่แพทย์ที่คะแนนจะอยู่ประมาณ 57 - 62 % จะไม่ติดแพทย์ศิริราช แพทย์จุฬา แพทย์รามา ดีไม่ดีหลุดแพทย์วชิระ แพทย์ธรรมศาสตร์ แพทย์ มศว. ไปด้วย จะได้ประมาณแพทย์วลัยลักษณ์ / บรมราชชนนี / แม่ฟ้าหลวง /นเรศวร คนที่เรียนเก่ง (หมายถึงเก่งในทางวิชาการจริง ๆ ที่ไม่ใช่เก่งแค่ได้เกรด 4 ในห้องหรือเก่งแค่ในโรงเรียน แต่สามารถทำข้อสอบวัดความรู้ในวิชานั้น ๆ จากแบบทดสอบของที่อื่นได้คะแนนสูง นั่น คือเก่งจริง) เด็กพวกนี้เค้าจะเก่งมาตั้งแต่ประถม และไม่มีทางที่จะเก่งน้อยลงมีแต่จะเก่งและรอบรู้มากขึ้น รู้ลึกรู้จริง ประมาณ ม. 3 ความรู้ คือเท่ากับ ม. 4 ม. 5 แล้ว เรียน ม. 4 จบของ ม. 6 แล้ว อย่างนี้พวกที่จะหวังมาเป็นมาตีนปลาย กะ 3 ปีค่อยมาตั้งใจขยันเรียน จะไปสู้คนที่เค้าสั่งสมความรู้มาทั้งชีวิตได้ไง อยู่กับความจริง ยอมรับศักยภาพของตัวเองแล้วเลือกตามความสามารถที่พอจะเป็นไปได้ดีกว่า ถ้าอยากติดแพทย์จริงก็ควรเลือกคะแนนที่พอจะเป็นไปได้ว่าจะสอบติดจะดีกว่า ของขวัญ

0
กัลย์ 27 พ.ค. 59 เวลา 19:32 น. 5

ตามที่บอกไป ถ้าเก่งตอนแรก(อนุบาล-ม.3) แต่ไม่เก่งตอนหลัง(ม.4-ม.6)ไม่ดี เลือกอนาคตไม่ได้

ถ้าไม่เก่งตอนแรก แต่เก่งตอนหลังดี(ได้อนาคตดี) ต้องการสื่อให้ผู้ปกครองเห็นว่า อย่าไปเร่งใช้สมองเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาลเลย เร่งมาก ใช้สมองมาก ก็เครียดมาก พอเด็กโตแล้ว อาจหยุดช็อต ไม่อยากเรียนเอาดื้อๆเลย(ยกเว้นเด็กเก่งมาก)

ถ้าเก่งตอนอนุบาล-ม.3 ก็ยังไม่ได้เลือกเรียนคณะในมหาลัย ยังไม่ได้เลือกอาชีพที่ตัวเองอยากเรียน อยากเป็น แล้วจะเก่งไปทำไม จะใช้สมองให้มันสิ้นเปลืองไปทำไม บางคนเข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็ไม่อยากเรียน บางคนติดแพทย์ไปแล้ว ระหว่างเรียนก็เพี้ยนไปก็มี เพราะใช้สมองไปมาก

กับเด็กที่เรียนเก่งปานกลาง แต่ตอนหลังเด็กมีความพร้อมแล้ว เอาจริง ตั้งใจจริงด้วยตนเอง เก่งตอนหลัง ได้อนาคตดี เลือกอาชีพที่ตัวเองอยากเรียน อยากเป็น เรียนในมหาลัยก็ได้เกียรตินิยม ไปทำงานก็เข้ากับคนร่วมงานได้ เพราะตอนเด็กๆใช้สมองไปน้อย ยังมีสมองให้พัฒนาได้อีกมากจนถึงตอนสูงอายุ

คำแนะนำดังกล่าวสำหรับเด็กเก่งปานกลาง ไม่ใช่เด็กที่เก่งมากๆ

ถ้าเด็กเก่งมากๆ ได้ยกตัวอย่างไว้แล้ว คือ เด็กพี่น้องที่ติดแพทย์ศิริราช แพทย์จุฬา ที่มีพ่อแม่เป็นหมอฟัน มีแม่ดูแลเรื่องการเรียนของลูกอย่างใกล้ชิด เข้มงวด เน้นเรียนพิเศษ คือเรียนจริง เรียนที่โรงเรียน คือไปทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ถ้าเอาเด็กเก่งปานกลางมาทำแบบนี้ อันตรายมาก ต้องระวังมากๆ เราต้องยอมรับไอคิว สมองของเด็ก ไม่เท่ากัน

เด็กที่เป็นลูกเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดสุรินทร์ ที่เก่งมากตั้งแต่เล็กๆ สอบติดแพทย์ศิริราช

ส่วนเด็กที่เก่งไม่มาก ได้ยกตัวอย่างไว้แล้ว คือ เด็กที่เร่งเรียนพิเศษตั้งแต่ยังเล็กๆ ตอนชั้นประถมต้น ชั้นประถมปลาย เรียนพิเศษถึง 7 สำนักติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนสตรีวิทย์ให้ได้ พอสอบเข้าสตรีวิทย์ไม่ได้ ก็เลยเรียนไม่ดีตลอดมา ตอนหลังก็เรียนแพ้เพื่อนที่เคยชนะ

จึงได้เน้นย้ำว่า ให้เลือกแบบ และวิธีที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ไอคิว สมองของเด็ก ไม่เท่ากัน

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

3
กัลย์ 28 พ.ค. 59 เวลา 06:49 น. 5-1

ที่บอกว่า บางคนติดแพทย์ไปแล้ว ระหว่างเรียนก็เพี้ยนไปก็มี เพราะใช้สมองไปมาก
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี จึงไม่อยากยกตัวอย่าง และเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
เมื่อเด็กเข้าไปเรียนแพทย์แล้ว ก็จะรู้เองจากเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือจากรุ่นพี่

เคยได้ข่าว เช่น
-เด็กแพทย์ มช.ผลการเรียนตก รับไม่ได้ เพราะไม่เคยแพ้ กินน้ำยาล้างห้องน้ำ
-เด็กแพทย์ มน.ติดเกม ผลการเรียนตก ต้องเรียนซ้ำชั้นปี 1 กับรุ่นน้อง ก่อนสอบแม่ที่เป็นหมอฟัน ต้องเดินทางจากนครสวรรค์มาช่วยติวลูกสอบด้วย มหาลัยได้เสนอให้เปลี่ยนไปเรียนคณะวิทยาศาสตร์แทน ก็ไม่ยอม และเข้ากับเพื่อนร่วมรุ่นไม่ได้ เพื่อนอยู่ปี 3 ตัวเองอยู่ปี 2 ผลการเรียนก็ไม่ดี สุดท้ายต้องออกมาสอบ กสพท.ใหม่ คิดว่าไม่น่าจะติด เพราะเด็กรุ่นใหม่จะยิ่งเก่งขึ้นไปอีก

ตอนออกมาจากแพทย์ มน.เพื่อเตรียมสอบ กสพท.ใหม่ เคยเข้ามาหาข้อมูลในเว็บเด็กดี เข้ามาด่าสถาบันตัวเอง โดนเพื่อนร่วมรุ่นที่รู้ข้อมูลเข้าถล่มด่าว่า ทำไมไม่โทษตัวเอง ที่ติดเกม กลางคืนก็เล่นเกมทั้งคืน กลางวันก็นอนหลับในห้องเรียน ไม่อ่านหนังสือเองก่อนสอบ

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 28 พ.ค. 59 เวลา 06:59 น. 5-2

-เด็กสมัยก่อน เรียนพิเศษ หลังจบ ม.6
-เด็กสมัยนี้ เรียนพิเศษตั้งแต่อยู่ชั้นอนุบาล จ้างมาสอนที่บ้าน

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 28 พ.ค. 59 เวลา 16:36 น. 5-3

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องจ้างครูมาสอนพิเศษให้ลูกที่บ้านเพื่ออะไร
ก็เพื่ออยากให้ลูกได้เข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตต่างๆ เช่น สาธิตจุฬาฯ

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0