Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวกรรมเครื่องกล กับ วิศวกรรมวัสดุ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ถ้าติดสองสาขานี้ จะเลือกเรียนอะไรคะ ต่างกันมากมั้ย เรียนอะไรยากกว่า โอกาสการทำงานในอนาคตของแต่ละสาขาเป็นยังไง หางานยากมั้ยคะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

ตามใจ 20 พ.ค. 59 เวลา 17:25 น. 1

ฟ้ากับเหว ! เครื่องกล หางานง่ายมาก วัสดุ ค่อนข้างเฉพาะหน่อย
เครื่องกล - ทำได้เกือบทุกที่เลย555
วัสดุ- เน้นโรงงานวัสดุ ชิ้นส่วน เกี่ยวกับวัสดุ ตามชื่อแหละ

คะแนนก็ต่างกันมากๆๆ เครื่อง >>> วัสดุ

#ได้วัสดุก็ดี แต่ถ้าไปสัมเจอพวกภาคหลักๆก็ลำบากนิดๆ 555
โดยรวมแล้วดีทั้งคู่แล้วแต่ชอบว้าว

1
Chaya 20 พ.ค. 59 เวลา 19:05 น. 1-1

ติดสาขานี้แล้วอะค่ะแต่คนละที่เป็นของ มทร. แต่อยู่ในช่วงสองจิตสองใจ ไม่รู้จะเรียนอันไหนดีอะค่ะ แฮ่ๆ ขอบคุณนะคะ คห.1

0
rakk 20 พ.ค. 59 เวลา 23:15 น. 2

แล้วแต่มุมมอง ถ้าทำงาน เป็นลูกจ้าง ก็ใช่เคื่องกลมันกว้าง
แต่มองมุมกลับ การเรียนวัสดุ น้องจะรู้คุณสมบัตืวัสดุทุกอย่าง
ถ้ามีความคิดดีๆ สามารถทำให้มีค่าขึ้น เป็นเถ้าแก่ได้นะจ๊ะ
อย่างรีไซเคิล แปรรูป

0
SilencisT 21 พ.ค. 59 เวลา 07:37 น. 3

สวัสดีครับ ขอให้ความรู้ในฐานะคนที่กำลังจะจบด้านวัสดุ(นาโน)นะฮะ

ส่วนตัวผมเรียนที่วิทยาลัยนาโนฯพระจอมเกล้าลาดกระบัง สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโนครับ คณะนี้แยกมาจากวิทยา ไม่ได้รวมกับวิศวะแต่อย่างไร

วัสดุในมุมมองของผม มันกว้างมากกกกกกกกกกก ชี้ไปที่ต่างๆในห้องเราเองก็วัสดุทั้งนั้นครับ พอลิเมอร์ ชิปต่างๆ พลาสติก บลาๆๆๆๆ แล้วพวกนี้มันมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆครับ สังเกตจากแฟรชไดร์ฟก็ได้ว่าขนาดเท่ากันแต่ความจุ
กลับเยอะขึ้น! นี่ก็เป็นเพราะการวิจัยและพัฒนานั่นเองครับ

แต่ในไทยส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อมา-ขายต่อ(นำเข้าสินค้า) หรือไม่ก็เป็นการใช้Sourceจากเมืองนอกแล้วมาผลิตในโรงงานไทยครับ
แต่!!! บริษัทใหญ่ๆหลายบริษัทจะมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเป็นของตัวเอง ในการที่จะพัฒนาสินค้าของตนในด้านต่างๆให้มีลูกเล่น และมีจุดขายใหม่ๆมาสนองความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอๆ (เพราะสินค้าชิ้นนึงจะมีวัฏจักรอยู่ สุดท้ายยอดขายก็จะตก ทำให้บริษัทต้องหาตัวใหม่มาแทนครับ)
จากที่เคยฟังบรรยายจากฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทบางแห่งก็พบว่าบริษัทหลายแห่งก็กำลังต้องการสาขาแนวนี้อยู่นะครับ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าต้องการงานวิจัยในแนวไหน เช่น Renewable Energy, Catalyst และ Carbon Nanotube เป็นต้น ครับ
ทั้งนี้ สายนี้ในหลายๆแห่งต้องการป.โท+ดร.ซะส่วนใหญ่ครับ ซึ่งมันจะเป็นเฉพาะทางและมีความชำนาญทางการวิจัย การอ่านเปเปอร์+ทักษะในการทำ และมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แต่หลายๆแห่งก็เปิดรับป.ตรีเข้าไปเรียนรู้งานนครับ แล้วอาจจะมีการให้ทุนเพื่อเรียนต่อทำนองนี้ครับ

ส่วนการหางาน... อันนี้คณะผมอาจจะไม่เหมือนกับที่อื่นเพราะเพิ่งเกิดใหม่ และมีรุ่นพี่ที่จบแล้วแค่รุ่นเดียว (รุ่นผมกำลังจะจบ) แต่ถ้าเราสามารถพิสูจน์ตัวเองให้บริษัทรู้ว่าเราสามารถทำงานให้เขาได้ เขาก็จะรับเราเองครับ^ ^
การมองในเชิงของธุรกิจ... Startup อาจจะเป็นคำที่หลายๆคนคุ้นหูมาบ้าง ครับ!เจ้าStartupนี่แหล่ะที่หลายๆแห่งกำลังจะทำ เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยให้ไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น

สุดท้าย ทั้งหมดที่พิมพ์มาก็มาจากประสบการณ์และการวิเคราะห์ของผมนะครับ มันเป็นแค่มุมมองของคนๆนึงที่เรียนสาขานี้มา4ปี ถ้าไงลองเก็บไว้คิดพิจารณาดูครับ

อ้อ ถ้าใครสนใจทางด้านวัสดุนาโนขอโปรโมทงานWorkshopของคณะนิดนึงนะครับ อิอิ
http://www.nano.kmitl.ac.th/images/stories/ZnO/2016/Nano_innovation_poster_2559_resize.jpg

0