Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องสนธิสัญญาการค้า คิดว่าสทศ.เฉลยถูกแล้ว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 
สำหรับข้อที่ถามว่า
"สนธิสัญญาการค้าฉบับแรกของไทย-ตะวันตกคืออะไร"
ซึ่งมีการถกเถียงกันระหว่างสนธิสัญญาเบอร์นีย์ กับ เบาว์ริ่ง
โดยสทศ.บอกว่าเฉลยที่ถูกคือเบาว์ริ่งซึ่งทำในสมัยรัชกาลที่ 4 ในขณะที่มีคนแย้งว่าต้องเป็นเบอร์นีย์ซึ่งมาก่อนตอนสมัยรัชกาลที่ 3 

ผมเชื่อว่าสทศ.เฉลยถูกแล้วนะ 
คือถ้าเราไปดูวิกีพีเดียภาษาไทย https://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบอร์นี เขาบอกว่า

"รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เฮนรี เบอร์นีได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้า ในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี การเจรจาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 และมีการลงนามในสนธิสัญญากัน"

แต่ในขณะที่ Wikipedia ฉบับภาษาอังกฤษ https://en.wikipedia.org/wiki/Burney_Treaty กล่าวว่า

"As the Burney Treaty did not adequately address commerce, that aspect was elaborated in the Bowring Treaty, signed by King Mongkut (Rama IV) on 18 April 1855, that liberalized trade rules and regulations."

แปลความได้ว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์ไม่ได้ระบุถึงการค้าเท่าไรนัก ในขณะที่สนธิสัญญาเบาว์ริ่งได้มีการตกลงด้านนี้ ลงนามโดยรัชกาลที่ 4

นอกจากนี้ยังมี mind mapping แสดงรายละเอียดสนธิสัญญาเบอร์นีย์ https://prezi.com/kcbyebsgmjip/the-burney-treaty-1826/  ซึ่งจะเห็นได้ว่าเน้นเรื่องการเมืองการปกครองมากกว่าการค้า มีพูดถึงแค่ว่าอนุญาตให้อังกฤษซื้อและขายของในกรุงเทพฯ ได้
จากตรงนี้ผมมองว่า โจทย์น่าจะต้องการ "สนธิสัญญาด้านการค้าฉบับแรก" ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่มีประเด็นสำคัญในการต่อรองหรือติดต่อตกลงด้านการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งในสนธิสัญญาเบอร์นีย์ไม่ได้มีเลยจริง ๆ 


ใครคิดเห็นอย่างไร หรือมีข้อมูลโต้แย้งมาพูดคุย มาถกกันดูได้ครับ สนุกดีค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์
 

แสดงความคิดเห็น

>

18 ความคิดเห็น

ผ่านมา 14 มิ.ย. 59 เวลา 19:54 น. 1-1

ไม่ถือว่าผิดค่ะ แม้ว่าเนื้อหาในสนธิสัญญาเบอร์นีย์จะเน้นการเมืองมากกว่าแต่มีส่วนที่กล่าวถึงเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นตามหนังสือจึงไม่ถือว่าผิด
โดยส่วนตัวคิดว่าการสอบควรอ้างอิงจากหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง เพราะ นักเรียนเข้าใจตรงกันและอ้างอิงได้ตรงกันทั้งหมด อีกทั้งหนังสือยังระบุว่าเป็นสนธิสัญญาทางไมตรีและการพาณิชย์จึงน่จะหมายความได้ว่าเป็นสนธิสัญญาทางการค้าด้วย

0
Zane Ter Staff 14 มิ.ย. 59 เวลา 19:57 น. 1-2

อันนี้ผมเห็นด้วยว่าควรทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ถ้าจะพิจารณาว่าเป็นสนธิสัญญาอะไรก็ต้องให้เหมือนกันทุกตำรา

0
pluto-p 14 มิ.ย. 59 เวลา 18:17 น. 2
ถ้าต้องการจะหมายถึงแบบนั้นก็ต้องตั้งคำถามว่า
สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าทั้งฉบับสิคะ
การจะให้นร.มานั่งตีความความหมายข้อสอบให้ตรงตามที่ผู้ออกต้องการเราคิดว่าไม่ถูกต้อง
สนธิสัญญาเบอร์นีย์เองมีส่วนที่ระบุถึงการค้าหลายข้อเลย 
แล้วจะให้เรียกว่าเป็นสนธิสัญญาอะไรคะคือ เราไม่มีปัญญามานั่งตีความทุกตัวอักษร
และข้อสอบที่ดีก็ต้องไม่สามารถตีความได้หลายแบบ
ถ้าสทศ.ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกข้อสอบจริงๆ 
จะไม่มีทางเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้เลย
1
เสือก 28 ก.พ. 67 เวลา 13:54 น. 2-1

-ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

mernat 14 มิ.ย. 59 เวลา 18:35 น. 4

ในส่วนนี้ผมคิดว่า น่าจะมองว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาทางการค้าได้นะครับ เพราะมีการตกลงกันในด้านการค้า ในข้อ 5-9 (อ้างอิง https://th.wikisource.org/wiki/สนธิสัญญาเบอร์นี) และในวิกิพีเดียเอง ก็ได้จัดว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาทางการค้าโดยให้เนื้อหา : อังกฤษรับรองสิทธิของไทยในสี่รัฐทางตอนเหนือของมลายูที่รวมทั้ง รัฐเกดะห์รัฐกลันตันรัฐปะลิส และรัฐตรังกานู; ตกลงกันทางการค้า, การเก็บภาษี และ ระเบียบว่าด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับ (อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสนธิสัญญา .   (ในปี 1826))

1
Zane Ter Staff 14 มิ.ย. 59 เวลา 19:36 น. 4-1

ส่วนตัวผมคิดว่า เนื้อหาในข้อ 5-9 เป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้า มากกว่าการเจรจาตกลงทางการค้าหรือตั้งเงื่อนไขทางการค้า ต่างจากเบาว์ริ่งที่มีการยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน หรือการสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบาว์ริง

0
ifernweh 14 มิ.ย. 59 เวลา 18:39 น. 5
จาก Consuls and the Institutions of Global Capitalism, 1783–1914
By Ferry de Goey
ก็เขียนว่าส่วนมากเกี่ยวกับการเมืองค่ะ
แต่ประเด็นคือนี่เป็นการสอบระดับชาติ อิงตามหนังสือกระทรวงการศึกษาที่เรียนมาค่ะ ของอังกฤษชื่อสัญญาคือ Amity and Commerce มีประเด็นทางการค้าด้วยแน่นอน อาจจะน้อยแต่ก็ยังมีค่ะ แล้วถ้าจะให้ตอบแบบการค้าทั้งฉบับใช้อะไรตีความคะ จากความคิดผู้ออกข้อสอบหรอคะ? อย่างที่คอมเม้นบนพูดไป ข้อสอบที่ดีไม่ควรตีความได้หลายความหมายค่ะ ไม่งั้นทำไมไม่ออกข้อเขียนไปเลยล่ะคะ หรือระบุในหนังสือเรียนให้ชัดเจนไปเลย
1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ปลดออกครับ 14 มิ.ย. 59 เวลา 19:58 น. 6

ขอเสนอท่านรัฐมนตรี ปลด ผอ.สทศ ให้พ้นจากตำแหน่งโดยด่วนครับ เพื่อขจัดปัญหา ให้คนอื่นที่มีความรับผิดชอบต่องานที่ตนเองทำมาทำหน้าที่แทน

0
ar chai 14 มิ.ย. 59 เวลา 20:19 น. 7

บอกได้คำเดียวว่า "มันเป็นความซวยของเด็กนักเรียนไทย" ที่เรียนหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการไทยรับรอง แล้วก็อ่านแล้วอ่านอีก ท่องแล้วท่องอีก เพื่อหวังจะทำคะแนนสอบให้ได้ เมื่อเจอข้อสอบก็อ่านอย่างรอบคอบ มันก็ถามตรงไปตรงมา ก็ตอบตามหนังสือที่ร่ำเรียนมา ปรากฎว่าพอเฉลยข้อสอบ สทศ.บอกว่า "ผิด" โดยไม่อธิบายเหตุผลว่าผิดอย่างไร ทำอยู่อย่างเดียวคืออ้างว่าผู้เชี่ยวชาญบอกว่า "ผิด" อย่างนี้แล้วจะให้นักเรียนไทยทำอย่างไร จะวิ่งมาบอกว่าหนังสือผิด ฝ่ายคนตรวจหนังสือ(สพฐ.)ก็ยืนยันว่าหนังสือไม่ผิด
เด็กนักเรียนไทยเหมือนลูกบอลที่ถูกเตะไปเตะมา แล้วได้แต่ถามตัวเองว่า "ตกลงนี่กรูผิดตรงไหนว่ะเนี่ย?"
น่าอนาถใจนักเด็กนักเรียนไทยยยยย

0
love 14 มิ.ย. 59 เวลา 20:37 น. 8

สทศ ออกมาแถลงแล้วนะว่า ไม่มีผิดเพิ่มเติม ข้อสนธิสัญญาตอบ เบาว์ริ่ง ถูกแล้ว เพราะคำถามหมายถึงสนธิสัญญาด้านการค้าเพียงอย่างเดียว

จขกท เข้าใจถูกต้องตามสทศ.จ๊ะ ไปหาข่าวอ่านได้เลย

2
เกลียดสทศ 15 มิ.ย. 59 เวลา 14:28 น. 8-1

ตามที่อ.ปิงบอกนะครับ เบาว์ริงก็ไม่ใช่การค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

0
Seiryu-K 18 มิ.ย. 59 เวลา 18:16 น. 8-2

มั่นใจว่าถูกเหรอครับ??? ตัวเบาวริ่งเองก็ไม่ใช่การค้าแต่เพียงอย่างเดียวแต่มีเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย

0
koko15047 14 มิ.ย. 59 เวลา 22:07 น. 9

ขอนอกเรื่องนะครับไม่ควรเอาwikipediaมาอ้างอิงครับเวลาทำงานมหาวิทยาลัยเมืองนอกเขาไม่ให้ใช้เว็บนี้อ้างเลยเพราะบุคคลภายนอกสามารเขาไปปรับแก้ไขข้อมูลได้จึงขาดความน่าเชื่อถือถ้าจะอ้างอิงควรหาแหล่งอ้างอิงที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่านี้ครับ

0
หนูดี 15 มิ.ย. 59 เวลา 09:50 น. 10

@koko15047

สนธิสัญญาต้นฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ได้กล่าวเรื่องการทำการค้าค่ะ พูดถึงแต่เรื่องสัมพันธไมตรี ส่วนการค้าเป็นส่วนเพิ่มเติมที่มาทำกันในสนธิสัญญาเบาริ่ง เนื่องจากสนธิสัญญาเบอร์นี่ไม่ได้กล่าวไว้ จึงต้องมาทำเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ของอังกฤษ

ลองไปดาวน์โหลดสนธิสัญญาฉบับภาษาอังกฤษมาอ่านดูนะคะ

6
Zane Ter Staff 15 มิ.ย. 59 เวลา 09:56 น. 10-1

มีลิงค์หรือช่องทางดาวน์โหลดไหมครับ

0
เพนกวินสีเพลิง 15 มิ.ย. 59 เวลา 17:54 น. 10-2

รบกวนจขคม.ส่งลิงค์ต้นฉบับภาษาอังกฤษให้ได้ไหมครับเพราะหาไม่เจอจริงๆ แต่ถ้าว่ากันโดยทั่วไป ตามหลักสูตรการเรียนการสอนเราถือว่าสนธิสัญญาเบอร์นี่เป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรก ซึ่งเนื้อหานั้นทางกระทรวงก็รับรอง
แล้วถ้าจะตีความ เราจำกัดความของสนธิสัญญาทางการค้าว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งก็ต้องกลับมาตีความกันทั้งเบอร์นี่และเบาริ่ง นี่ยังไม่นับรวมว่า "ไทย" ตามโจทย์หมายถึงช่วงไหน เพราะหนึ่งในเกณฑ์คือการยึดถือว่าไทยเริ่มจากสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ซึ่งถ้ายึดตามนี้ เราต้องรวมสนธิสัญญาในสมัยอยุธยาที่ทำกับโปรตุเกสด้วย
เพราะฉะนั้นผลสุดท้ายคือ ข้อสอบข้อนี้กำกวมและมีคำตอบที่ถูกต้องมากกว่าหนึ่งข้อ หรือในทางปฏิบัติข้อสอบที่ยังมีการโต้เถียงย่อมเป็นข้อสอบที่ผิดพลาด แม้กระทั่งข้อสอบนิติศาสตร์ ตัวข้อสอบเองก็ต้องมีการมีการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน จะกำกวมไม่ได้

0
koko15047 15 มิ.ย. 59 เวลา 19:17 น. 10-3

ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ555แค่ติเรื่องการหาแหล่งอ้างอิงข้อมูลของจขกท.เฉยๆครับว่าควรหาแหล่งอ้างอิงที่ดีกว่าwikipedia เรื่องถูกผิดอันนี้อาจจะต้องดูโจทย์ว่าจริงๆแล้วถามอะไรกันแน่เห็นสทศออกมาบอกว่าถูกแล้วด้วยสิครับ

0
Seiryu-K 18 มิ.ย. 59 เวลา 18:14 น. 10-4

นี่ครับ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
http://treaties.fco.gov.uk/docs/fullnames/pdf/1909/TS0019%20(1909)%20CD-4703%201909%2010%20MAR,%20BANGKOK%3B%20TREATY%20BETWEEN%20UK%20&%20SIAM.pdf.

0
เพนกวินสีเพลิง 18 มิ.ย. 59 เวลา 21:25 น. 10-5

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เชี่ยวชาญในด้านนี้ แต่ต้นฉบับสนธิสัญญาที่คุณ Seiryu-K ส่งให้เป็นต้นฉบับของเบอร์นี่หรือเบาริ่งครับ เพราะถ้าจำไม่ผิดเบอร์นี่ลงนาม 1826 เบาริ่งลงนาม 1855 แต่ที่ส่งมาเป็นฉบับที่ลงนาม 1909 ผมเลยไม่เข้าใจว่ามันเกี่ยวโยงกันอย่างไร รบกวนช่วยอธิบายสักนิดครับ
แต่เผอิญเห็นเร็วๆนี้มีน.ศ.จากธรรมศาสตร์ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งมีลิ้งสัญญาตัวเดียวกัน ก็ขอแปะเอาไว้ให้นะครับ http://www.matichon.co.th/news/177775

0
Seiryu-K 21 มิ.ย. 59 เวลา 17:07 น. 10-6

ขออภัยครับ หยิบมาผิดตัว ต้องอันนี้
https://en.wikisource.org/wiki/Burney_Treaty

0
blue_99 15 มิ.ย. 59 เวลา 11:35 น. 11

คิดเห็นว่า การศึกษาไทยไม่น่าเชื่อถือ เพราะหนังสือเรียน ดันข้อมูลต่างจากข้อสอบ เพื่อ? สอนอีกอย่างออกอีกอย่าง แล้วเด็กจะเอาอะไรไปสอบ 
ความผิดเด็กหรือ ครูก็ไม่ใช่ ผิดที่อะไร หาเหตุผลซิ 

0
.... 15 มิ.ย. 59 เวลา 13:29 น. 12

https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B5
https://en.wikisource.org/wiki/Burney_Treaty

ลองยกมาสักข้อ (ก๊อปมาจาก wikisource)
ข้อ ๑๐ อังกฤษแลไทยสัญญาต่อกัน การค้าขายซึ่งจะมีต่อกันโดยสดวกในเมืองอังกฤษ เมืองเกาะหมาก เมืองมลากา เมืองสิงหะโปรา แลเมืองของไทย คือ เมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตานี เมืองถลาง เมืองไทร และหัวเมืองอื่น ๆ ลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองอังกฤษให้ได้ค้าขายทางบกทางคลองโดยสดวก ถ้าลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตนาว เมืองเยซึ่งขึ้นกับอังกฤษจะเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทย อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญ ให้ได้ค้าขายทางบกทางน้ำโดยสะดวก แล้วจะห้ามมิให้ลูกค้าเอาฝิ่นซึ่งเปนของต้องห้ามเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทยเปนอันขาด ถ้าลูกค้าขืนเอาฝื่นเข้ามาขายเมืองใด ให้พระยาผู้ครองเมืองเก็บริบเอาฝิ่นเผาไฟเสียให้สิ้น

ห้ามขายฝิ่นในไทย... ก็น่าจะเป็นเรื่องการค้าหรือเปล่า

3
blue_99 15 มิ.ย. 59 เวลา 13:52 น. 12-1

ไม่รู้สิ วิกิสมัยนี้ไม่สามารถเอามาอ้างอิงได้ เพราะใครๆก็แก้ได้

0
.... 15 มิ.ย. 59 เวลา 14:26 น. 12-2

เราไม่มีหนังสือ อย่างนั้นเราอ้างอิงจากมูลนิธิโครงการตำราฯ นะคะ
https://www.facebook.com/textbooksproject/photos/a.198614230182040.47232.189936667716463/198614700181993/?type=3&theater
หรือ
http://textbooksproject.com/Ebook/index.html#/Book%201/16
มาจาก ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทย กับประะทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย ของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งอ้างอิงมาอีกที เขียนอยู่ในภาพข้างใต้นี้
https://www.facebook.com/textbooksproject/photos/a.198614230182040.47232.189936667716463/198614646848665/?type=3&theater
ข้อความ (ข้อ 10) เหมือนกันค่ะ

0
.... 15 มิ.ย. 59 เวลา 14:31 น. 12-3

อัลบั้มหลักของหนังสือเล่มนี้อยู่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/textbooksproject/photos/?tab=album&album_id=198614230182040
เผื่ออยากดูเพิ่มเติม

0
chiyasitth 15 มิ.ย. 59 เวลา 13:34 น. 13

ไม่รู้ซิว่าเห็นด้วยป่าว เพราะเราก็ไม่ได้เก่งสังคม ยอมรับว่าตอนสอบข้อนี้มั่ว แต่ก็ตัดเหลือ 2 ช้อยที่เป็นประนั้นล่ะ แต่ในความคิดเราถ้าหนังสือมันเขียนมางี้ เราก็ควรตอบตามหนังสือ เพราะ เราก็เรียนมาตามหนังสือ และหนังสือที่เรียนก็เป็นแบบมาตรฐานเรียนเหมือนกันทั่วประเทศ เพราะถ้าจะไปให้หาอ่านฉบับอังกฤษนี้เราคิดว่ามันจะเกินมัธยมไป // ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวนะ

0
ปวดตับ 15 มิ.ย. 59 เวลา 14:39 น. 14

ไม่มีความรู้สังคมนะคะ

แต่สพฐ.ว่าไงคะแบบนี้

อย่างงี้ก็คือสทศ.บอกว่าสพฐ.ทำหน้าที่บกพร่องนะคะ

ยังไงเด็กก็ต้องยึดตำราเรียนเป็นหลักนะคะ

ถ้าตำราเรียนผิดจริงก็ต้องแก้จำราเรียนก่อนจะออกข้อสอบ

ไม่งั้นเด้กจะทำยังไงคะ ต้องมีคนรับผิดชอบค่ะแบบนี้

สพฐ.ว่าไงคะ

0
Go So Big 15 มิ.ย. 59 เวลา 20:12 น. 15

ถ้า สทศ เฉลยถูก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ก็ผิดล่ะครับท่านผู้ชม



รายละเอียดวิทยานิพนธ์
ชื่อวิทยานิพนธ์ ผลกระทบของสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ.2369 ต่อเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
THE INPACT OF THE BURNEY TREATY OF 1826 ON THAI ECONONYDURING THE EARLY BANGKOK PERIOD
ชื่อนิสิต นันทนัช ชีวรติธรรม
Nantanach Chewaratithun
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อ ฉลอง สุนทราวาณิชย์
Chalong Soontravanich
ชื่อสถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. อักษรศาสตร์ (วรรณคดีเปรียบเทียบ)
Master. Arts (Comparative Literature)
ปีที่จบการศึกษา 2540
บทคัดย่อ(ไทย) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งก่อนและหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษในปี พ.ศ.2369 รวมทั้งมูลเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนความสำคัญของสนธิสัญญาในฐานะที่เป็นพื้นฐานอันนำไปสู่การทำสนธิสัญญาเบาริงในปี พ.ศ.2398 ที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในภายหลังอย่างยิ่ง ผลการศึกษาวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะด้านการค้าต่างประเทศ อันเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่นำมาสู่การทำสนธิสัญญาเบอร์นีและสนธิสัญญาเบาริงตามลำดับ การตกลงทำสนธิสัญญเบอร์นีในปี พ.ศ.2369 ก่อให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อันนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย2 ประการดังนี้ ประการแรก ทำให้รัฐต้องหันเหวิธีการหารายได้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการมาสู่การจัดเก็บผลประโยชน์ในรูปภาษีที่ตัวเงินมากขึ้น ประการต่อมา ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่โครงสร้างสินค้าออกของไทยอันนำมาสู่การผลิตเพื่อการค้าส่งออกที่เติบโตขึ้นในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ แต่หลังจากการที่ขยายตัวทางการค้าลดลงในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐได้หันกลับมาใช้นโยบายการค้าผูกขาดอีกครั้ง อันเป็นการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาเบอร์นีที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษอีกครั้ง และนำมาสู่การทำสนธิสัญญาเบาริงที่ไทยต้องยอมรับระบบการค้าเสรีของอังกฤษในที่สุด

http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082540000139

0
เนยฮิบาริ 15 มิ.ย. 59 เวลา 21:05 น. 16

ตัวหนูเคยยืนสอบท่องตอน ป.6สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง มันอยู่ในช่วง ร.4 แต่เบอร์นีหนูไม่แน่ใจกับเนื้อหาแต่มันก็เกี่ยสกับค้าขายอยู่ด้วย มันก็น่าจะได้นะคะ แค่แบบเบาว์ริ่งเน้นเยอะกว่า เบาว์ริ่งน่าจะถูกบังคับให้ทำด้วยนะคะ ไม่แน่ใจเหมือนกัน

1
บาราบี้ 16 มิ.ย. 59 เวลา 19:03 น. 16-1

มันเน้นว่าสัญญาการค้าฉบับแรกค่ะ ไม่ใช่สัญญาที่มีการค้ามาเกี่ยวข้อง โจทย์ทำคนเถียงกะนวุ่นหมด55555

0
เตรียมแพทย์ 16 มิ.ย. 59 เวลา 23:06 น. 17

wiki pedia ใช้ไม่ได้เนื้อหาสามารถแก้ไขได้โดยใครก็ได้ ผมมาเรียนเมืองนอก อาจารย์ไม่สนับสนุนการอ้างอิงจากเว็ปนี้เพราะว่าไม่มีความน่าเชื่อถืออย่างมาก! ส่วนคำตอบ...รอท่านอื่นจ๊ะ

0
Seiryu-K 18 มิ.ย. 59 เวลา 18:11 น. 18
สังเกตตั้งแต่ข้อ6ลงไปนะครับ มันคือพิธีการทางการค้าแบบชัดเจนมากๆ อีกทั้งเป้าหมายของทั้งเบอร์นีย์และเบาวริ่งก็ไม่ต่างกันคือเพื่อตกลงและอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า ถ้าเบอร์นีย์ไม่ใช่สัญญาด้านการค้าจะเรียกว่าอะไรดีครับ



-------------------------------------------------------------------

หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษและประเทศสยาม คฤษต์ศักราช ๑๘๒๖


สมเด็จบรมนารถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ล้นเกล้าล้นกระหม่อมพระราชวังบวรสถานมงคล มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ท่านอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ฝ่ายกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาพร้อมกันทำหนังสือสัญญากับกะปิตันหันตรีบารนีทูตอังกฤษฝ่ายกรุงอังกฤษ ณ ระบันอินเดียกุมปันนี ผู้ครองอินเดียของอังกฤษ อยู่ในบังคับกิงอันปาลีแมนอังกฤษ กับเรตอัน ณ ระบันลอดอำหัตสิท เจ้าเมืองมังกะลา แลขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายกรุงอังกฤษ พร้อมกันแต่งให้กะปิตันหันตรีบาระนีเปนทูตแทนตัวมาทำหนังสือสัญญาด้วยท่านอัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ไทยกับชาติอังกฤษได้เปนมหามิตรไมตรีไว้ความสัจผูกรักใคร่ด้วยน้ำใจอันซื่อตรงสุจริตต่อกันทั้งสองฝ่าย ไทยอังกฤษทำหนังสือสัญญารวมกันสองฉบับ ให้ไว้ ณ กรุงไทยฉบับหนึ่ง ให้หัวเมืองใหญ่เมืองน้อยซึ่งขั้นแก่กรุงรู้จงทั่ว ให้ไว้ ณ เมืองมังกะลาฉบับหนึ่ง ให้หัวเมืองใหญ่น้อยซึ่งขึ้นแก่กรุงอังกฤษรู้จงทั่ว ปิดตราหลวง ตราท่านอัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ลงในหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับเปนสำคัญ ปิดตราเรศอันณะระบันลอดอำหัดสิท เจ้าเมืองมังกะลา ตราขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายกรุงอังกฤษ ลงในหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับเปนสำคัญ

ข้อ   ๑   ว่า อังกฤษกับไทยเปนไมตรีรักใคร่โดยความสัจสุจริตซื่อตรงต่อกัน ไทยมิได้คิดร้ายที่จะเบียดเบียฬทำสิ่งไรต่ออังกฤษ ๆ มิได้คิดร้ายที่จะเบียดเบียฬทำสิ่งไรต่อไทย แต่บรรดาบ้านเมืองซึ่งขึ้นแก่อังกฤษทั้งสิ้น ไทยไม่ไปเบียดเบียฬรบพุ่งชิงเอาบ้างเมืองเขตรแดนของอังกฤษ แต่บรรดาบ้านเมืองซึ่งขึ้นแก่ไทยทั้งสิ้น อังกฤษไม่ไปเบียดเบียฬรบพุ่งชิงเอาบ้านเมืองเขตรแดนไทย ๆ จะจัดแจงเขตรแดนไทยตามอย่างธรรมเนียมประการใดตามแต่ใจไทย

ข้อ   ๒   ถ้าบ้านเมืองใดซึ่งขึ้นแก่อังกฤษจะทำสิ่งใดให้เหลือเกินต่อเมืองไทย ๆ ไม่ไปทำอันตรายแก่บ้านเมือง จะบอกแก่อังกฤษก่อน อังกฤษจะว่ากล่าวให้โดยสัจโดยจริง ถ้าผิด อังกฤษจะทำโทษตามความผิด ถ้าบ้านเมืองใดซึ่งขึ้นแก่ไทยจะทำสิ่งใดให้เหลือเกินต่ออังกฤษ ๆ ไม่ไปทำอันตรายแก่บ้านเมือง จะบอกกล่าวแก่เมืองไทยก่อน ไทยจะว่ากล่าวให้โดยสัจโดยจริง ถ้าผิด ไทยจะทำโทษให้ตามความผิด ถ้าบ้านเมืองไทยซึ่งอยู่ใกล้เมืองอังกฤษจะยกกองทัพเรือไป ถ้าเจ้าเมืองอังกฤษถามว่า จะไปไหน เจ้าเมืองไทยจะต้องบอกแก่เจ้าเมืองอังกฤษ ถ้าบ้านเมืองอังกฤษซึ่งอยู่ใกล้เมืองไทยจะยกกองทัพเรือไป ถ้าเจ้าเมืองไทยถามว่า จะไปไหน เจ้าเมืองอังกฤษจะต้องบอกแก่เจ้าเมืองไทย

ข้อ   ๓   ถ้าบ้านเมืองของไทย ของอังกฤษ ฝ่ายทิศตวันขึ้น ฝ่ายทิศตวันตก ทิศลมว่าว ทิศลมสำเภา ที่อยู่ใกล้ต่อแดนกัน ถ้าอังกฤษสงไสยด้วยเขตรแดนยังไม่รู้แน่ ก็ให้เจ้าเมืองฝ่ายข้างอังกฤษมีหนังสือแต่คนแลชาวด่านมาไต่ถามเจ้าเมืองฝ่ายไทยที่อยู่ใกล้กัน เจ้าเมืองฝ่ายไทยจะแต่งกรมการแลชาวด่านพร้อมด้วยคนเจ้าเมืองฝ่ายอังกฤษไปกำหนดชี้ที่แดนต่อกันให้รู้เปนแน่ทั้งสองข้างโดยทางไมตรี ถ้าเจ้าเมืองฝ่ายไทยสงไสยด้วยเขตรแดนยังไม่รู้แน่ ก็ให้เจ้าเมืองฝ่ายข้างไทยมีหนังสือแต่งคนแลชาวด่านมาไต่ถามเจ้าเมืองฝ่ายอังกฤษที่อยู่ใกล้กัน เจ้าเมืองฝ่ายอังกฤษจะแต่งกรมการแลชาวด่านพร้อมด้วยคนเจ้าเมืองฝ่ายไทยไปกำหนดชี้ที่แดนต่อกันให้รู้แน่ทั้งสองข้างโดยทางไมตรี

ข้อ   ๔   ถ้าคนของไทยหนีไปอยู่ในแดนอังกฤษ ไทยไม่ล่วงเกินเข้าไปจับกุมคนในแดนอังกฤษ ไทยจะไปว่ากล่าวขอแต่โดยดี อังกฤษจะยอมให้ก็ได้ ไม่ยอมให้ก็ได้ ถ้าคนอังกฤษหนีไปอยู่ในแดนไทย อังกฤษไม่ล่วงเกินเข้าไปจับกุมคนในแดนไทย อังกฤษจะไปว่ากล่าวขอแต่โดยดี ไทยจะยอมให้ก็ได้ ไม่ยอมให้ก็ได้

ข้อ   ๕   อังกฤษกับไทยได้ทำหนังสือสัญญาเปนไมตรีสุจริตต่อกันแล้ว ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างอังกฤษไปมาค้าขาย ณ เมืองไทยที่เมืองมีสินค้ามาก สลุบกำปั่นเรือสำเภาจะไปมาค้าขายได้ ไทยจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างไทยไปมาค้าขาย ณ เมืองอังกฤษได้ ๆ เรือสำเภา สลุบกำปั่นจะไปมาค้าขายได้ อังกฤษจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ไทยจะไปเมืองอังกฤษ ๆ จะไปเมืองไทย ให้ทำตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่รู้อย่างธรรมเนียม ขุนนางไทยให้ขุนนางอังกฤษบอกอย่างธรรมเนียม ให้พวกไทยที่ไปเมืองอังกฤษต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมเมืองอังกฤษทุกสิ่ง พวกอังกฤษไปเมืองไทยต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมไทยทุกสิ่ง

ข้อ   ๖   ถ้าลูกค้าฝ่ายเมืองไทยก็ดี เมืองอังกฤษก็ดี จะไปซื้อขาย ณ เมืองมังกะลาแลหัวเมืองขึ้นแก่อังกฤษ จะไปซื้อขาย ณ กรุงไทยแลหัวเมืองขึ้นแก่กรุงไทย ให้ลูกค้าเสียค่าธรรมเนียมในการค้าขายให้ตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ให้ลูกค้าแลไพร่พลเมืองได้ซื้อขายเองในเมืองนั้น ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษจะมีคะดีข้อความสิ่งใด ๆ ก็ดี ให้ฟ้องร้องต่อขุนนางเจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษ ขุนนางเจ้าเมืองกรมการจะชำระตัดสินให้ตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษก็ดีซื้อขายไม่สืบสวนว่าคนชั่วคนดี ซื้อขายปะคนชั่วพาเอาสิ่งของหลบหนีไป แลเจ้าเมืองกรมการจะสืบสวนเอาตัวมาชำระให้โดยสุจริต ถ้ามีเงินมีของใช้ให้ก็ได้ ถ้าไม่มีเงินมีของให้แลมิได้ตัวผู้หนี ก็เพราะลูกค้าทำผิดเอง

ข้อ   ๗   ถ้าลูกค้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดีจะไปซื้อขาย ณ เมืองอังกฤษแลเมืองไทย จะขอตั้งห้างตั้งเรือน จะขออาไศรยเช่าที่โรงเรือนใส่สินค้า ถ้าขุนนางไทยถ้าขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการไม่ยอมให้อยู่ ก็อยู่ไม่ได้ ถ้ายอมให้อยู่ จึ่งให้ลูกค้าขึ้นอยู่ตามสัญญาว่ากล่าวกัน แลให้ขุนนางไทยแลให้ขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการช่วยดูแลเอาใจใส่ อย่าให้ไพร่บ้านพลเมืองทำข่มเหงแก่ลูกค้า อย่าให้ลูกค้าทำข่มเหงแก่ไพร่บ้านพลเมือง ถ้าลูกค้าอังกฤษพวกอังกฤษลูกค้าไทยพวกไทยที่ไม่เกี่ยวข้องจะขนเอาสิ่งของลงเรือสำเภาสลุบกำปั่นลากลับไปบ้านเมืองเมื่อใด ก็ให้ได้กลับไปโดยสดวก

ข้อ   ๘   ถ้าลูกค้าจะไปค้าขายบ้านใดเมืองใดฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดี ถ้าสลุบกำปั่นเรือแลสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีจะเปนอันตรายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขุนนางไทยแลขุนนางอังกฤษจะช่วยทำนุบำรุงกว่าจะเสร็จ ถ้าสลุบกำปั่นเรือสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีแตกลงที่บ้านใดเมืองใด ไทยอังกฤษเก็บได้สิ่งของในสลุบในกำปั่นเรือสำเภาที่แตกมากน้อยเท่าใด ให้ขุนนางอังกฤษให้ขุนนางไทยชำระไล่เลียงเอาสิ่งของคืนให้แก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของตายก็ให้คืนให้แก่พวกพ้อง ให้เจ้าของแลพวกพ้องแทนคุณผู้เก็บได้ตามสมควร ถ้าพวกไทยพวกอังกฤษไปเมืองอังกฤษไปเมืองไทยตาย สิ่งของพวกไทยพวกอังกฤษมีอยู่มากน้อยเท่าใด ให้คืนให้พวกพ้องของอังกฤษของไทย ถ้าพวกพ้องไทยถ้าพวกพ้องอังกฤษไม่มีที่เมืองนั้น อยู่เมืองอื่นมามิได้ จะแต่งคนถือหนังสือมารับเอาสิ่งของ ก็ให้ส่งสิ่งของให้แก่ผู้ถือหนังสือให้สิ้น

ข้อ   ๙   ถ้าลูกค้าข้างอังกฤษจะใคร่มาค้าขาย ณ เมืองของไทยที่ยังไม่เคยไปมาค้าขาย ให้ลูกค้าเข้าหาพระยาผู้ครองเมืองก่อน ถ้าเมืองไหนไม่มีสินค้า พระยาผู้ครองเมืองก็จะบอกว่า สลุบกำปั่นจะมาค้าขาย หามีสินค้าไม่ ถ้าเมืองไหนมีสินค้าพอจะรับสลุบพอจะรับกำปั่นได้ พระยาผู้ครองเมืองก็จะให้สลุบให้กำปั่นมาค้าขาย

ข้อ   ๑๐   อังกฤษแลไทยสัญญาต่อกัน การค้าขายซึ่งจะมีต่อกันโดยสดวกในเมืองอังกฤษ เมืองเกาะหมาก เมืองมลากา เมืองสิงหะโปรา แลเมืองของไทย คือ เมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตานี เมืองถลาง เมืองไทร และหัวเมืองอื่น ๆ ลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองอังกฤษให้ได้ค้าขายทางบกทางคลองโดยสดวก ถ้าลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตนาว เมืองเยซึ่งขึ้นกับอังกฤษจะเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทย อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญ ให้ได้ค้าขายทางบกทางน้ำโดยสะดวก แล้วจะห้ามมิให้ลูกค้าเอาฝิ่นซึ่งเปนของต้องห้ามเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทยเปนอันขาด ถ้าลูกค้าขืนเอาฝื่นเข้ามาขายเมืองใด ให้พระยาผู้ครองเมืองเก็บริบเอาฝิ่นเผาไฟเสียให้สิ้น

ข้อ   ๑๑   ถ้าอังกฤษจะมีหนังสือมาถึงผู้ใด ณ เมืองไทยก็ดี ณ เมืองอื่น ๆ ก็ดี ให้ผู้นั้นเปิดหนังสือมิ ให้ผู้อื่นเปิดหนังสือออกดู ถ้าไทยจะมีหนังสือไปถึงผู้ใด ณ เมืองอังกฤษก็ดี ณ เมืองอื่น ๆ ก็ได้ ให้ผู้นั้นเปิดหนังสือ มิให้ผู้อื่นเปิดหนังสือออกดู

ข้อ   ๑๒   เมืองไทยไม่ไปขัดขวางทางค้าขาย ณ เมืองตรังกะนู เมืองกลันตัน ให้ลูกค้าพวกอังกฤษได้ไปมาค้าขายโดยคล่องสดวกข้างน่าเหมือนแต่ก่อน อังกฤษไม่ไปเบียดเบียฬรบกวนเมืองตรังกะนูเมืองกลันต้นด้วยการสิ่งใด

ข้อ   ๑๓   ไทยสัญญาต่ออังกฤษว่า ไทยให้อยู่รักษาเมืองไทร แลไพร่พลเมือง ๆ ไทร แลคนเมืองเกาะหมากเมืองไทรจะได้ไปมาค้าขายอย่างเดิม แลโคกระบือแลเป็ดไก่แลปลาเข้าเปลือกเข้าสารซึ่งเปนเสบียงอาหารไพร่พลเมือง ๆ เกาะหมาก แลกำปั่นในเมืองเกาะหมากต้องการจะซื้อแต่เมืองไทร ไทยไม่เรียกภาษี แลปากน้ำคลองใด ๆ ที่เมืองไทร ไทยไม่ตั้งส่วยทด ไทยเรียกเอาจังกอบภาษีตามสมควร ไทยสัญญาว่า เจ้าพระยานครกลับออกไปแต่กรุงจะปล่อยครอบครัวทาษบ่าวคนของพระยาไทรคนเก่าให้กลับคืนไปตามชอบใจ อังกฤษสัญญาต่อไทยว่า ไม่ต้องการเอาเมืองไทร อังกฤษไม่รบกวนเมืองไทร แลไม่ให้พระยาไทรคนเก่ากับบ่าวไพร่ของพระยาไทรคนเก่าไปรบกวนทำอันตรายสิ่งหนึ่งสิ่งใด ณ เมืองไทรแลเมืองอื่น ๆ ซึ่งขึ้นกับเมืองไทร แลอังกฤษสัญญาว่า จะจัดแจงให้พระยาไทรคนเก่าไปอยู่เมืองอื่น ไม่ให้พระยาไทรคนเก่าอยู่ที่เมืองเกาะหมาก เมืองไทร เมืองเปหระ เมืองสลาหงอ เมืองพม่า ถ้าอังกฤษไม่ให้พระยาไทรคนเก่าไปอยู่เมืองอื่นตามสัญญา ก็ให้ไทยเรียกเอาภาษีเข้าเปลือกเข้าสารที่เมืองไทรเหมือนแต่ก่อน อังกฤษสัญญาว่า ไทย ว่า แขก ว่า จีน ซึ่งอยู่ ณ เมืองเกาะหมาก จะมาอยู่ ณ เมืองไทร อังกฤษไม่ห้าม

ข้อ   ๑๔   ไทยกับอังกฤษสัญญาต่อกันว่า ให้พระยาเปหระคลองเมืองเปหระตามใจพระยาเปหระ ถ้าพระยาเปหระจะถวายดอกไม้ทองดอกไม้เงิน ณ กรุงตามแต่ก่อน ก็ตามใจพระยาเปหระ อังกฤษไม่ห้ามปราม เจ้าพระยานครจะใช้ไทยใช้แขกใช้จีนคนฝ่ายไทยลงไปเมืองเปหระโดยดี ๔๐ คน ๕๐ คน ถ้าพระยาเปหระจะใช้ศรีตวัน กรมการฝ่ายเมืองเปหระ มาหาเจ้าพระยานคร อังกฤษไม่ห้าม ไทยอังกฤษไม่ยกกองทัพไปเบียดเบียฬรบกวน ณ เมืองเปหระ อังกฤษไม่ให้เมืองสลาหงอมารบกวนเมืองเปหระ ไทยก็ไม่ไปรบกวนเมืองสลาหงอ การซึ่งสัญญาเมืองไทรเมืองเปหระ ๒ ข้อนี้ ต่อเมื่อเจ้าพระยานครกลับออกไปแต่กรุง จึ่งจะได้จัดแจงตามสัญญา

แลความสัญญา ๑๔ ข้อนี้ ให้ขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษทุกหัวเมืองใหญ่หัวเมืองน้อยทั้งสิ้นด้วยกันฟังเอาถ้อยคำสัญญานี้เถิด แลหนังสือสัญญานี้ ท่านอัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ณ กรุงเทพฯ กับกะปิตันหันตรีบาระนี ซึ่งเรตอันบันลอดอำหัดสิท เจ้าเมืองมังกะลา ใช้ให้เปนทูตเข้ามาแทนตัวเจ้าเมืองมังกะลา พร้อมกันทำ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา น่าพระที่นั่งเจ้ากรมหมื่นสุรินทรักษ เปนอักษไทย อักษรมาลายู อักษรอังกฤษ ทำแล้วเสร็จ ณ วันอังคาร เดือนเจ็ด แรมค่ำหนึ่ง ศักราชไทย ๑๑๘๘ ปีจอ อัฐศก ศักราชฝรั่ง ๑๘๒๖ ปี เดือนยูน ๒๐ วัน ปิดตราท่านอัคมหาเสนาบดี แลปิดตรากะปิตันหันตรีบาระนีลงเปนสำคัญทั้งสองฉบับ แล้วฉบับหนึ่ง กะปิตันหันตรีบาระนีเอาออกไปปิดตราเจ้าเมืองมังกะลา ฉบับหนึ่ง ปิดตราหลวง ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา เจ้าพระยานครเอาออกไปไว้ ณ เมืองไทร กะปิตันหันตรีบาระนีกำหนดใน ๗ เดือน ณ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก จะกลับมาให้ถึงเมืองเกาะหมาก แล้วจะเอาหนังสือสัญญามาเปลี่ยนต่อพระปริรัก ณ เมืองไทร ไทยกับอังกฤษก็จะเปนไมตรีกันสืบต่อไปไม่รู้สิ้นไม่รู้สุดชั่วฟ้าแลดิน

(ตราหลวงพระอัยราพต) (ตราพระราชสีห) (ตราพระคชสีห)
(ตราบัวแก้ว) (ตราพระนนทการ) (ตราพระพิรุณ)
(ตราพระยมขี่สิงห์) (ตราบาระนี)

0