Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เราเป็นโรควิตกกังวลหรือไม่ (ตรวจเช็คได้จากแบบวัดจิตวิทยาจ้า)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จะสอบตกไหม?
เกรดน้อยแม่จะว่าหรือเปล่า?
แฟนจะมีกิ๊กไหม?
เพื่อนจะสนใจเราไหม?

frown
 เพื่อนๆ เคยรู้สึกแบบนี้ไหม คงไม่มีใครไม่เคยกังวลใจอะไรเรื่องพวกนี้หรอกนะ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้เรียกว่า "ความวิตกกังวล" เจ้าความวิตกกังวลเนี่ย มันก็มีที่มาที่ไป มีความจำเป็นต้องมีมันไว้ด้วยนะ เพราะอะไรอะหรอ มาดูคำตอบกันได้เลย และวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ชาว Dek-D ทุกคนไปรู้จักเจ้าโรควิตกกังวลให้มากขึ้นด้วยนะ surprise

ความวิตกกังวลซึ่งส่วนใหญ่เราก็มีกันอยู่ทุกคนอยู่แล้วนะ ไม่ว่าจะเป็นในวัยไหน หรือจะเป็นหญิงหรือชาย ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเกิดความเครียด หรือเกิดความรู้สึก ไม่สบายใจ หวั่นใจ และทุกข์ใจ ความวิตกกังวลนอกจากจะมีผลต่ออารมณ์แล้ว ก็ยังมีผลต่อร่างกายและพฤติกรรมของเราด้วย เช่น ปวดหัว ปวดไหล่ เป็นไมเกรน ปัญหาด้านความจำ จำอะไรไม่ค่อยได้ จำได้น้อยลง  และเป็นคนที่มีความคิดซ้ำๆ วนแบบเดิมๆ


(Credit: www.pixabay.com)

          จริงๆ แล้วความวิตกกังวลก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อชีวิตนะ ทุกคนต้องมี คงไม่มีใครใช้ชีวิตโดยที่ไม่กังวลเรื่องอะไรเลยหรอก ถ้าเรามีความวิตกกังวลในระดับปกติ นั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยให้เราเป็นคนกระตือรือร้นที่จะเอาชนะปัญหา เป็นคนที่มีความตื่นตัว แต่ถ้าอยู่ในระดับที่มากจนเกินไปจะทำให้เรากลายเป็นคนที่หมกหมุ่น คิดเล็กคิดน้อย เก็บรายละเอียดต่างๆมากจนเกินไป และเป็นคนที่สับสนในชีวิตตัวเอง indecision
         
ความวิตกกังวลก็มีกันหลายแบบนะ เพื่อนๆ เราจะยกตัวอย่างให้ดูตามนี้เลย


1. โรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) เป็นความกังวลโดยทั่วไปในชีวิต อาการจะค่อยๆเกิด และเกิดอยู่นาน แต่อาการจะไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลว่าเรื่องร้ายๆจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น กังวลว่าตัวเองจะตาย ตัวเองจะไม่มีสติ กังวลว่าคนในครอบครัวจะมีใครเจ็บป่วย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ ตกใจง่าย ไม่มีสมาธิ หลับยาก กล้ามเนื้อตึงเครียด อ่อนเพลีย ปากแห้ง เป็นต้น

2. โรคแพนิก (Panic Disorder) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นแบบรวดเร็ว เกิดแล้วเกิดอีกได้ และคาดเวลาในการเกิดไม่ได้ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วรู้สึกว่าตัวเองจะขาดอากาศหายใจตายตาย จะเกิดการใจสั่น แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออกและเป็นลม แต่อาการจะเกิดไม่นานแล้วหายไป

3. โรคกลัวอย่างจำเพาะเจาะจง (Specific Phobia) เกิดจากความกลัวที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวที่แคบ กลัวความสูง กลัวความมืด กลัวความเร็ว กลัวสุนัข เป็นต้น ซึ่งความกลัวแต่ละแบบก็จะไม่เหมือนกันและแตกต่างกันไปตามชนิดที่กลัว
(Credit: www.pixabay.com)


4. โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) เกิดขึ้นเพราะว่าผู้ป่วยจะกลัว ไม่กล้าเข้าสังคม ไม่อยากไปเจอใคร เช่น ไม่อยากไปโรงเรียนเพราะกลัวเพื่อนไม่คบ ไม่อยากทำความรู้จักใคร กลัวเค้ามาวิจารณ์เราว่าเราเป็นยังไง หรือกลัวการถูกตกเป็นเป้าสายตาของคนอื่นๆ

5. ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์วินาศภัย (Post Traumatic Stress Disorder) เกิดขึ้นจากบุคคลที่ผ่านเรื่องราวร้ายๆมาในอดีต เช่น ถูกรถชน โดนสึนามิ ถูกแผ่นดินไหว ถูกข่มขืน ก็กลายทำให้กลัวเหตุการณ์นั้นที่จะเกิดขึ้นมา หรือภาพเหตุการณ์ต่างๆนั้นก็จะเข้ามาในสมองอีก และทำให้ไม่กล้าไปในสถานที่เดิม หรือเหตุการณ์เดิมๆอีก

เป็นไงกันบ้างเพื่อนๆ ได้รู้จักชนิดของโรควิตกกังวลกันไปแล้วว่ามีแบบไหนบ้าง วันนี้เราก็จะมีแบบวัดมาให้เพื่อนๆทุกคนได้ลองทำกันดูนะ ว่าเราเป็นโรควิตกกังวลหรือไม่ ซึ่งเป็นแบบวัดทางจิตวิทยาโดยเป็นแบบทดสอบที่เรียกว่า DASS ซึ่งใช้ในการวัดผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวล มีทั้งหมด 7 ข้อนะ โดยมีสเกลการให้คะแนนคือ
0 หมายถึง ไม่ตรงเลย   
1 หมายถึง ตรงบ้างหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
2 หมายถึง ตรงและเกิดขึ้นบ่อย
3 หมายถึง ตรงมากและเกิดขึ้นบ่อยมาก
เมื่อรู้สเกลการให้คะแนนกันแล้ว ทุกคนอาจจดใส่กระดาษก็ได้หรือทดคะแนนไว้ที่ไหนสักที่ก็ได้
เมื่อพร้อมแล้วก็ มาเริ่มทำแบบทดสอบกันได้เลย


1. ฉันมีอาการปากแห้ง
2. ฉันมีอาการหายใจลำบาก เช่น หายใจติดขัด หายใจเร็ว
3. ฉันรับรู้ว่าร่างกายบางส่วนมีอาการสั่นผิดปกติ เช่น มือสั่น
4. ฉันรู้สึกกังวลกับเหตุการณ์ที่อาจทำให้ตื่นตระหนกและขายหน้า
5. ฉันมีอาการคล้ายจะตื่นตระหนก
6. ฉันรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มสูงขึ้น เต้นผิดจังหวะ
7. ฉันกลัวโดยไม่มีเหตุผล

ลองทำกันแล้วคะแนนเป็นไงกันบ้างกันเพื่อนๆ ลองมาดูเกณฑ์ของคะแนนกันเลย laugh

ถ้าคนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 0-3 คือ ปกติ แสดงว่าเราไม่ได้มีความวิตกกังวลที่มาก หรือไม่มีแนวโน้มจะเป็นผู้ป่วยความวิตกกังวลเลยล่ะ

4-5 คือ ระดับต่ำ   ไม่มีอาการแสดงออกของความกลัว รู้ตัวและมีสติดีว่าเรากำลังกลัวเรื่องอะไรอยู่ ระมัดระวังคำพูดของตัวเอง

6-7 คือ ระดับปานกลาง   เริ่มมีอาการมือสั่นหรือตัวส่วนเกิดขึ้น บ่นมากขึ้น เสียงดัง มีอาการหงุดหงิด เริ่มมีความคิดหมกมุ่นกับสิ่งที่กำลังจะเกิด มีการแก้ปัญหาแต่จะแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้น

8-9 คือ ระดับรุนแรง   แขนขาสั่นจนสังเกตได้ นั่งไม่ติด ลุกลี้ลุกลน พูดเร็วจนพูดไม่รู้เรื่อง กระวนกระวายใจ ท้อแท้ และรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัย สมาธิเริ่มไม่ดี ตัดสินใจเรื่องต่างๆไม่ได้

10 ขึ้นไป คือ ระดับรุนแรงที่สุด เนื้อตัวสั่นจนทำอะไรไม่ได้ ตะโกนพูดเสียงดัง เสี่ยงสั่น ตื่นตระหนก สับสนในตัวเอง ตัดสินใจไม่ได้ กลัวตาย และอาจเข้าไปทำร้ายคนอื่นได้

(Credit: www.pixabay.com)

            เป็นไงกันบ้างเพื่อนๆทุกคน ได้ทำแบบวัดแล้วได้รู้กันแล้วรึยัง ว่าเรามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวลกันหรือเปล่า ได้คะแนนเท่าไรมาแชร์กันได้เลยนะ laugh
ถ้าใครที่ได้คะแนนที่สูงมากๆ หรือคนที่ต้องการอยากได้รับการรักษาหรือการบำบัด เราแนะนำว่า

1. ลองบอกคุณพ่อคุณแม่ ลองเล่าให้ท่านฟังเกี่ยวกับอาการที่เราเป็น แนะนำว่าควรพูดตรงๆนะ ให้เหตุผลกับท่านว่าทำไมเราถึงเป็น และก็ขอให้พวกท่านพาไปหาหมอตามโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ก็จะมีทุกที่นะ ถ้า กทม ก็พวก ศิริราช จุฬาลงกรณ์ รามาธิบดี โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีตามโรงพยาบาลประจำจังหวัดนะ โรงพยาบาลประจำตำบลหรืออนามัยส่วนใหญ่จะไม่มีนะ เพื่อนๆลองเช็คได้ตามโรงพยาบาลใกล้บ้านที่เพื่อนๆสะดวกได้จากลิ้งนี้ (www.ycap.go.th/km/hospservice.html)เลยนะ

2. ถ้าอึดอัดไม่กล้าบอกใครจริงๆ ลองโทรไปตาม Hotline ได้นะ สมาคมสะมาริตัน (027136793) ศูนย์สุขภาวะทางจิต (022180336) หรือกรมสุขภาพจิต (1323) ก็เลือกเอาตามที่สะดวกได้เลยจ้า

หรือถ้าอยากจะปรึกษา ระบายความทุกข์กับนักจิตวิทยาฝึกหัดแบบเรา เราก็ยินดีนะ heart

 

แสดงความคิดเห็น

>

59 ความคิดเห็น

La1000cell 6 ก.ค. 59 เวลา 22:01 น. 2-1

กังวลเรื่องอะไรมาเป็นพิเศษหรือเปล่าคะตกใจ

0
toddkung 7 ก.ค. 59 เวลา 23:10 น. 2-2

ผมมีอาการทางจิตอยู่แล้วฮะ(พวกเก็บกดหรือมองอะไรในแง่ลบมากๆ) คะแนนเท่านี้เป็นเรื่องปกติฮะ <<< ไปพบจิตแพทย์แล้ว

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

La1000cell 9 ก.ค. 59 เวลา 08:47 น. 6-1

กังวลเรื่องอะไรรึเปล่าคะ เล่าให้ฟังได่นะคะ

0
155555 9 ก.ค. 59 เวลา 10:44 น. 16

15 ค่ะ อาจเพราะเราเอาตอนที่เราอายมารวมด้วยมั้ง เช่นถ้าเรากลัวหรืออาย มือจะสั่นหนักมาก55555

1
detecteive 9 ก.ค. 59 เวลา 13:24 น. 18

จขกท. ควรระบุช่วงเวลาที่เกิดขึ้นด้วยนะคะ เช่น "ในช่วง 2 สัปดาห์" / "1 เดือน" คุณมีอาการเหล่านี้.....

0 ไม่เกิดขึ้น
1 เกิดขึ้นน้อยครั้ง
2 เกิดขึ้นบางครั้ง
3 เกิดขึ้นประจำ

**เราอิงจากแบบทดสอบที่เราเคยเห็นและเคยทำของกรมสุขภาพจิตนะ** 

เราวัดโดยใช้ระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา....

ได้ 14 >>>>> ไม่แปลกใจ ช่วงนี้เรื่องเครียดบาน 

ปล. เรารักษากับจิตแพทย์อยู่ + พบนักจิตวิทยาบ้าง เลยเผลอซึมซับเขามา อย่าโกรธกันนะ

1
La1000cell 9 ก.ค. 59 เวลา 14:03 น. 18-1

ไม่โกรธเลย ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำแนะนำ ;)ว้าว

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

แสดงความคิดเห็น 9 ก.ค. 59 เวลา 16:15 น. 20

เคยเป็นค่ะแบบตื่นเต้นหนัก แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้น
เราต้องรู้จักมองในแง่อื่นอ่ะค่ะ แบบว่าต้องรู้จักคิดว่าทำไปเถอะไม่เห็นเป็นไรคนอื่นก็ทำ แคร์คนอื่นให้น้อยลง ปกตินี่เป็นคนทำไรต้องให้ดูดี ไม่อยากให้ตัวเองน่าเกลียดเลย ต้องทำให้ได้ดีไปซะทุกอย่าง เดี๋ยวนี้คิดใหม่แล้วว่า คนอื่นแย่กว่าเราอีก ถึงเราทำไม่ดีไม่เพอเฟกต์ ก็ไม่เห็นมีใครมาว่าเราเลย ลองฝึกทำสิ่งที่กลัวบ่อยๆ เดี๋ยวก็จะเริ่มดีขึ้น
กล้าแสดงออกมากข้ึนค่ะ แล้วอาการเหล่านี้จะเริ่มเบาลง ลองทำกันดูนะคะ ลองไม่ต้องแคร์ใครมากเกินไป คนเราทุกคนผิดพลาดกันได้ทุกคน

1
La1000cell 10 ก.ค. 59 เวลา 17:33 น. 20-1

ขอบคุณมากเลยที่แชร์ประสบการณ์ให้ฟัง
ดีใจนะคะ ที่ดีขึ้นแล้ว

0