Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทคนิคอิ้ง Reading อ่านไม่หมดก็ทำได้ ตอนที่ 4

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
     ยังมีคนรอตอนที่ 4 อยู่มั้ยครับ ต้องขอโทษด้วยครับพอดีๆ ยุ่งๆ วุ่นๆ เลยไม่ได้เขียนต่อ แต่วันนี้ว่างแล้วครับ มาต่อกันเลยดีกว่า
 
หลังจากผ่านไปแล้วสามกระทู้ก่อนหน้ากับซีรีส์ "เทคนิคอิ้ง Reading อ่านไม่หมดก็ทำได้" 

สำหรับกระทู้นี้เราจะมาต่อกันด้วยเรื่อง…
"Infer/imply ดูยังไงตอบยังไง"
 
เทคนิคนี้ใช้สำหรับการตอบโจทย์ที่มีคำว่า Infer หรือ Imply ปรากฏอยู่โดยเฉพาะ ซึ่งคำว่า infer กับ imply (implies) นี้มันคืออะไร มาดูทีละอันกันเลยครับ

     1. ถ้าคำถามมีคำว่า infer เช่น it can be inferred that...  หมายถึงสรุปเป็นนัย (จากข้อเท็จจริงประกอบ) ได้ว่า ? เราก็ดูตัวเลือกทีละข้อ สังเกตว่ามีคำไหนเป็นกรรม เป็นประธาน ใช้กริยาอะไร มีคำเชิงลบหรือปฏิเสธมั้ย เช่น not rarely never จากนั้นก็ลองเอาประธาน กริยา กรรมของตัวเลือกข้อนั้นไปไล่สายตาหาในบทความ แล้วเอาสิ่งที่เจอมาสรุปดูว่าสอดคล้องกับตัวเลือกมั้ย ระวังเรื่องคำเชิงลบหรือคำปฏิเสธด้วยว่าทำให้ความหมายเป็นอย่างไร ถ้าดูๆ แล้วไม่เจออะไรสอดคล้องกับตัวเลือกที่พิจารณาอยู่ ก็ข้ามไปดูตัวเลือกถัดไปได้เลย

ตัวอย่างเช่น

 

 
ซึ่งมีคำถามอยู่ว่า
 

 
ยาวขนาดนี้ ถ้าต้องอ่านเพื่อสรุปความไม่ต้องอ่านกันทุกคำกันหรอนี่....ไม่จำเป็นหรอกครับ จริงๆ นะ เอาล่ะมาดูกันดีกว่า

ตัวเลือกที่ 1. อย่างที่บอกเอาประธาน กริยา กรรมไปสังเกตดูครับ ดังนั้นคำที่น่าสนใจคือ baby, fed(feed), breast milk และ ill ทีนี้ถ้าพอเราไล่สายตาหาคำเหล่านั้นในบทความก็จะเจอหลายที่หน่อย 
-corner for mother's milk (ย่อหน้าที่ 1)
-talking about their babies (ย่อหน้าที่ 1)
-collecting milk from mother's breasts (ย่อหน้าที่ 2)
-to prepare milk for their babies (ย่อหน้าที่ 2)
-feeding her baby girl breast milk would...baby back to health(ย่อหน้าที่ 3)
อ๊ะๆๆๆ ! พอมาถึงอันเมื่อกี้สะดุดใจอะไรไหมครับ ลักษณะของทั้งในบทความและตัวเลือกนี้มีคำเหมือนกันครบทั้ง feed, baby และ breast milk ต่างกันก็แค่ ในตัวเลือกที่ 1 มีคำว่า ill แต่ในบทความใช้คำว่า health ซึ่งสองคำนี้ตรงข้ามกัน แปลว่าตัวเลือกไม่สอดคล้องกับบทความแล้ว ข้ามไปเลยครับผิดแน่นอน
 
ตัวเลือกที่ 2. ตัวเลือกที่  2 ถ้าอ่านดีๆ เราอาจจะตั้งคำถามกับมันว่า เห้ย! เรื่องแม่ให้นมลูกมันไปเกี่ยวอะไรด้วยกับอุตสาหกรรมอัญมณี ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ข้ามมันไปก่อนข้อนี้เนี่ย 555

ตัวเลือกที่ 3. คำที่ควรสังเกตแล้วเอาไปลองหาก็ได้แก่ women, work, worry และ baby
และจุดที่เราควรจะสะดุดก็คือ
I don't have worries while working, When I think of my baby, I am happy... (ย่อหน้า 6) จากเนื้อความตรงนี้คือ ฉัน(คนเป็นแม่)ไม่มีความกังวลขณะกำลังทำงาน เมื่อนึกถึงลูกน้อยของฉัน ฉันมีความสุข.... ด้วยการใช้ common sense คนที่ไม่ต้องกังวลขณะทำงาน แถมพอนึกถึงลูก (ระหว่างทำงาน) ก็ยังมีความสุขอีก แบบนี้งานก็ควรจะออกมาดี (work more efficiently) จริงมั้ยครับ อันนี้ก็จะตรงกับการ infer ที่บทความให้เรื่องราวหรือข้อมูลประกอบมาแล้วเราก็สรุปเองว่าควรเป็นเช่นนั้นหรือไม่

 
ตัวเลือกที่ 4. ลองสังเกตดีๆ นะครับในตัวเลือกนี้ประธานคือ Many companies แต่ถ้าเราเริ่มลองไล่สายตาหาคำว่า company ในบทความแล้วก็จะพบว่าในบรรทัดแรกนั้นพูดถึงอยู่แค่บริษัทเดียวคือ Marigot Jewelry (Thailand) และเพื่อความชัวร์ก็ลองไล่สายตาหาต่อ เราก็จะพบกับ "…she feels very lucky that the company…." ที่ย่อหน้า 4 
นั่น! the company บริษัทเดียวไม่มี -es 
อ้าว! เล่นประเด็นพหูพจน์-เอกพจน์อีกแล้ว ข้อนี้เลยผิดไปโดยปริยาย

 
สรุปตอบข้อ 3. ครับ
 
ลองดูอีกสักตัวอย่างดูหน่อยครับ
 
 
อันนี้มาแนวจดหมายครับ มีการบอกด้วยว่าใครเขียนและส่งถึงใครไว้เสร็จสรรพ
เราก็มาไล่ดูทีละตัวเลือกกันครับ
 
ตัวเลือกที่ 1. the boy's mother is not rich คำที่น่าสนใจเอาไปลองไล่สายตาหาคือ rich และคำตรงข้ามคือ poor จะได้รู้กันไปเลยว่า rich หรือไม่ rich กันแน่ 
ซึ่งปรากฏว่าไม่เจอ! 
งั้นทำไงดีละจะข้ามไปมั้ย? 
ประเด็นคือโจทย์คือ infer แปลว่าไม่ได้บอกตรงๆ ต้องอาศัยข้อมูลประกอบแปลว่าถ้าหา rich/poor ไม่เจอก็อาจจะต้องหาอย่างอื่นที่เป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ ทรัพย์สิน ชีวิตไรงี้ ซึ่งถ้าเราไล่สายตาในบทความแล้วบอกตัวเองตลอดว่า "หาเรื่องเงิน ๆ ๆ " ก็จะสะดุดคำว่า cash และ money ในย่อนหน้าที่ 2 พอสังเกตรอบข้าง cash ก็จะพบว่า 
It was a struggle to find the cash to send him. 
มันเป็นการดิ้นรนเพื่อหาเงินส่งเขาไป 
ถ้าใช้คำว่าดิ้นรนแบบนี้ก็น่าจะรู้แล้วล่ะครับว่าเขาคงขัดสนพอดู ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ตัวเลือกบอกว่า  the boy's mother is not rich ข้อนี้เองครับคือคำตอบ

ตัวเลือกที่ 2. the boy comes from a well-to-do family ถึงเราจะได้คำตอบแล้วแต่พี่จะวิเคราะห์ตัวเลือกนี้ให้ดูสักหน่อยครับ ก็คือการที่ตัวเลือกนี้มีความหมายตรงข้ามกับตัวเลือกแรก well-to-do ก็คือรวย มีอันจะกินนั่นเอง ซึ่งบางทีโจทย์ใน part reading ก็มีตัวเลือกที่ตรงข้ามกันแบบนี้ชนิดที่ว่าถ้าอีกข้อถูกอีกข้อผิดแน่ๆ ก็ช่วยให้เราตัดตัวเลือกได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาดูทุกตัวเลือกนั่นเอง

ตัวเลือกที่ 3. คำที่น่าใช้มองหามากที่สุดคือ grandmother ครับ ซึ่งถ้าไล่สายตาหาแล้วยังไงก็ไม่เจอ ดังนั้นก็คงไม่น่าจะมาเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้ ข้ามไปเลยครับ
 
ตัวเลือกที่ 4. วิเคราะห์ข้อนี้ให้ดูสักหน่อย the boy carried a lot of money to Holland สิ่งที่น่าสนใจในการเอาไปมองหาก็คือ a lot และ money ซึ่งเราก็จะเจอกับ money ในย่อหน้าที่ 2 กับบริบทที่บอกว่า 
…he went with a bit pocket money.
เขาไปด้วยเงินติดตัวเล็กน้อย
ซึ่งก็ขัดแย้งกับตัวเลือกนี้ ข้ามไปได้เลย
 
ตัวเลือกที่ 5. วิเคราะห์ข้อนี้ให้ดูสักหน่อย  
the boy saved up money for the trip himself

เด็กชายเก็บเงินสำหรับทริปนี้ด้วยตัวเอง
ถ้ายังจำได้จากตอนที่เราพิจารณาตัวเลือกที่ 1 คือเราได้เจอกับคำว่า It was a struggle to find the cash to send him คือมีคนดิ้นรนเพื่อที่จะ send him นั่นแปลว่าเขาไม่ได้เก็บเงินไปเองแน่นอน ดังนั้นข้อนี้ผิด
 
สรุปตอบข้อ 1. นั่นแหละ

 
     อันนี้เป็นตัวอย่างที่อาจจะต้องอ่านเกือบจบ แต่ก็อ่านๆ ไปเถอะครับเพราะมันเป็นแค่การ์ตูน 3 ช่องบันเทิงดี คิดซะว่าผ่อนคลายระหว่างสอบ บางอันมันก็ฮาอยู่นะ
 

 
ถามเรื่อง infer อีกแล้วแปลว่าก็ต้องอาศัยข้อมูลบทสนทนาของตัวละครมาตัดสินคำตอบ
ซึ่งจากเนื้อความแล้วสรุปก็คือ เด็กชายเรียกเด็กผู้หญิงมาเพื่อจะขอแต่งงาน แล้วก็โดนด่าบลาๆ แต่ไอบ้านี่ดันสรุปว่า เด็กหญิงไม่ปฏิเสธ (she didn't say no)
 
ตัวเลือกที่ 1. The girl doesn't say no อันนี้ไม่ใช่คำตอบแน่นอนเพราะ infer ไม่ใช่การบอกตรงๆ แต่นี่เล่นเอาประโยคสุดท้ายของเด็กชายมาเลยตรงๆ ไม่ใช่สิ่งที่ถูก inferred แน่นอน...ข้าม!

ตัวเลือกที่ 2. The boy doesn't say no คือเด็กชายยังไงมันก็ไม่ say no อยู่แล้ว คือไม่ได้พูดเลย เพราะงั้นไม่เกี่ยวกันข้ามๆๆ

ตัวเลือกที่ 3. The boy doesn't like the girl คือถ้าไม่ like จะขอแต่งงานมั้ย ข้ามๆๆๆๆ

ตัวเลือกที่ 4. The girl doesn't like the boy อันนี้แหละคำตอบ ซึ่งสังเกตได้จากช่องที่ 2 ที่รัวบลาๆๆๆๆ ใส่ แล้วปิดท้ายด้วย I'm out of here ฉันไปละไม่อยู่ละ แบบนี้แหละครับคือการ infer

สรุปตอบข้อ 4. นี่เอง


 
     2. ถ้าคำถามมีคำว่า imply เช่น The article implies that… หมายถึงกล่าวหรือบ่งบอกเป็นนัย (บทความไม่ได้กล่าวไว้ตรงๆ) เราอาจจะต้องตีความจากประโยคในบทความจึงจะตอบได้ ต่างจาก infer ตรงที่ infer อาจจะใช้หลายๆ ประโยคในฐานะข้อเท็จจริงเป็นตัวประกอบการตัดสิน และการเล่นกับการเรียงประโยค อาจมีการสลับตำแหน่งประธาน-กรรมของประโยค หรือเปลี่ยนกริยา ใช้คำ synonym ของคำต่างๆ เป็นการหลอกเราให้งง อันนี้ต้องระวังและสังเกตความหมายดีๆ ในขณะที่ imply จะเป็นในแง่การตีความจริงๆ แบบการตีความสำนวน ตีความคำพังเพย ตีความเปรียบเทียบ หรือคำเสียดสีประชดประชัน 
 
ตัวอย่างเช่น
คำถามได้ถามถึงคำว่า incredulously (บรรทัดที่ 7) ว่า imply ว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นยังไง เราก็ไปดูก่อนครับว่ารอบๆ คำว่า incredulously เป็นยังไง เราจะเห็นการยกบทสนาทนาของตัวละครในหนังสือดังนี้
"You left New York for Paris?"
She demanded incredulously when I introduced  myself not long ago
 
ตัวเลือกที่ 1. excited to meet narrator ไอการที่เราตื่นเต้นที่ได้เจอใครจนถามว่าทิ้งปารีสมานิวยอร์กหรอ มัน...ไม่ใช่อะ ตื่นเต้นมันต้องแบบ เธอมาจากไหนหรอ เธอชื่ออะไร ดีใจมากเลยที่ได้เจอเธอนะ อะไรแบบนี้
 
ตัวเลือกที่ 2. unfriendly towards the narrator ณ ประโยคที่ incredulously ปรากฏอยู่ก็ไม่ได้มีคำไหนที่บ่งบอกถึงความไม่เฟรนลี่เลย มันไม่มีคำในเชิงลบ เพราะงั้นข้ามๆๆๆ
 
ตัวเลือกที่ 3. surprised that the narrator came to Paris ความสอดคล้องระหว่างบทความกับคำตอบนี้มันอยู่ตรงที่ 
"You left New York for Paris?" ซึ่งการถามแบบนี้กับคนที่เพิ่งจะแนะนำตัวได้ไม่เท่าไร (when I introduced  myself not long ago) แปลว่าก็ต้องประหลาดใจในสิ่งที่อีกคนเพิ่งจะแนะนำตัวไป...ใช่มั้ยครับ เพราะงั้นข้อนี้แหละคำตอบ
 
ตัวเลือกที่ 4. curious about the narrator's hometown, New York จริงๆ ข้อนี้ก็พอจะเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าไม่ดันใช้คำว่า curious about the narrator's hometown เพราะไม่ได้มีการพูดถึง hometown ของอีกคนเลย จะบอกว่า New York เป็น hometown ก็ไม่ได้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักฐานรับรองสิ่งนี้เลย

สรุปตอบข้อ 3. จ้า

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ซื้อขาย / แลกเปลี่ยน คอร์สกวดวิชา กรุณาไปที่ www.dek-d.com/education/tutorcenter