Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กว่าจะมาเป็น ร.9 ลำดับราชวงศ์จักรี ร.5 ถึง ร.9 โดยละเอียด

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


หากนับย้อนไปตามลำดับราชวงศ์ในการสืบทอดแล้ว ในรัชกาลที่ 8 จะเริ่มไม่ใช่ผู้สืบทอดที่เป็นพระราชโอรสโดยตรง แต่เป็นพระราชนัดดา  ถ้าอธิบายสั้นๆ สาเหตุนั้นก็เพราะ ร.6 ร.7 ไม่มีพระราชโอรสสืบทอดนั้นเอง เลยต้องนับไปที่พระราชนัดดา แล้วอันที่จริงทราบมั้ยว่า สายของ ร.8 ร.9 ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจาก พระมารดาเดียวกันกับ ร.6 ร.7 แล้วเรื่องเป็นมาอย่างไร เขานับลำดับกันยังไง?​ ไปติดตามโดยละเอียดยิบเลยจ้า



 

ว่าด้วยพระอัครมเหสีทั้ง 4 ในรัชกาลที่ 5

1. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (1 มกราคม 2407 - 20 ตุลาคม 2462) พระอัครมเหสีลำดับที่ 3


2. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม
(10 พฤศจิกายน 2403 — 31 พฤษภาคม 2423) พระอัครมเหสีพระองค์แรก สิ้นพระชนม์ก่อน

3. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (10 กันยายน 2405 — 17 ธันวาคม 2498) พระอัครมเหสีลำดับที่ 2

4. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (10 พฤษภาคม 2404 – 9 กรกฎาคม 2470) หรือ เสด็จพระนาง

 

หมายเหตุ :

  1. พระภรรยาเจ้าทั้ง 4 พระองค์มีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นสำคัญ

  2. เฉพาะ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ที่เป็นพระราชธิดาต่างมารดากับพระอัครมเหสีพระองค์อื่น

  3. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระมเหสีลำดับ 3 รองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

  4. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ไม่ได้รับการสถาปนาเป็น พระอัครมเหสีใน ร.5 แต่ได้สถาปนาเมื่อผ่านไป 2 แผ่นดินแล้ว ใน ร.7 นี่อาจเป็นเหตุให้พระองค์ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงทางประวัติศาสตร์เท่าไรนัก



___________________
 

ต่อคอมเมนต์ล่างค่า 
 

แสดงความคิดเห็น

>

26 ความคิดเห็น

D-Exit 19 ต.ค. 59 เวลา 21:36 น. 1
พระราชโอรส พระราชธิดา ในพระมเหสีแต่ละพระองค์


แนวทางการอ่าน : จับใจสำคัญที่ความลำดับพระราชโอรส ใครเป็นองค์โต องค์เล็ก, ลำดับสายราชวงศ์จากฝั่งอัครมเหสี



สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระนางเรือล่ม )

(10 พฤศจิกายน 2403 — 31 พฤษภาคม 2423)

พระราชธิดา 1 พระราชบุตรในครรภ์ 1


พ.ศ. 2423 สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์


ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


---------




สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

(10 พฤษภาคม 2404 – 9 กรกฎาคม 2470)

มีพระราชโอรส 1 พระราชธิดา 1



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร

(พระราชธิดา)
14 กันยายน 2420 - 2 มกราคม 2465 (44 ปี)


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พระราชโอรส)

29 มิถุนายน 2424 — 18 มกราคม 2487 (62 ปี)


----------

0
D-Exit 19 ต.ค. 59 เวลา 21:37 น. 2

ลำดับพระราชบุตรในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

1 มกราคม 2407 - 20 ตุลาคม 2462 (56 พรรษา)

พระราชโอรส 7 พระราชธิดา 2 และตกเสีย 5 พระองค์





  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)

ตกเสียวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2422 ทรัพย์สินส่วนพระองค์ถูกนำมาสร้างถนนพาหุรัด

2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468) พระราชโอรสองค์ที่ 3 ใน ร.5

มีพระราชธิดา 1 พระองค์

3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430) ตัดถนนตรีเพชรต่อจากถนนพาหุรัดถึงถนนจักรเพชร

4. จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463) ถ้าไม่แต่งกับชาวต่างชาติ ตระกูลจักรพงษ์มีลุ้นได้เป็นคิง

5. ตกเสียวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426

6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)

7. ตกเสียวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2429

8. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2430 แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)

9. พลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467) 10. ตกเสียวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2433

11. ตกเสียวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2435




12. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466)

13. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)  ไม่มีพระราชบุตร



ข้อสังเกตุ

  1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6) สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2468

  2. ทรงไม่มีพระราชโอรส ฉะนั้นการนับลำดับรัชทายาทองค์ต่อไป จึงตกเป็นของพระอนุชาที่ใกล้ที่สุด

  3. ในปี พ.ศ. 2468  พระอนุชาที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่เหลือเพียง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7) จึงได้สืบราชวงศ์เป็นลำดับต่อไป


----------

0
D-Exit 19 ต.ค. 59 เวลา 21:38 น. 3

ลำดับพระราชบุตรในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

(พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา)

พระราชโอรส 4 พระราชธิดา 4


แนวทางการอ่าน จับใจความที่ลำดับพระราชโอรส และพระราชบุตรของพระราชโอรสแต่ละคน




  1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (27 มิถุนายน 2421 — 4 มกราคม 2437) พระราชโอรสองค์โตใน ร.5

  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (4 กันยายน 2422 — 25 กันยายน 2422)

พระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน ร.5 แต่ประสูติเพียงไม่กี่วันก็สิ้น

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี (21 เมษายน 2424 — 15 สิงหาคม 2424) พระราชธิดา

  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (9 มิถุนายน 2425 — 17 มิถุนายน 2442) พระราชโอรส ไม่ปรากฎข้อมูลพระราชบุตรสืบต่อ

  3. สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (16 เมษายน 2427 — 15 กุมภาพันธ์ 2481) พระราชธิดา

  4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี (19 กรกฎาคม 2431 — 24 พฤษภาคม 2441) พระราชธิดา

  5. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม 2435 — 24 กันยายน 2472) พระราชโอรส มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ ร.8 และ ร.9

  6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงไม่มีพระนาม (9 พฤศจิกายน 2436 — 12 พฤศจิกายน 2436) พระราชธิดา


ข้อสังเกต


  1. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสองค์โตในรัชกาลที่ 5 ได้แต่งตั้งเป็นสยามมกุฎราชกุมารองค์แรกของไทย (27 มิถุนายน 2421 — 4 มกราคม 2437)

  2. มีเหตุให้สิ้นพระชนม์ไปก่อนจะขึ้นครองราชย์ด้วยโรคไข้รากสาดน้อย

  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (4 กันยายน 2422 — 25 กันยายน 2422)พระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน ร.5 แต่ประสูติเพียงไม่กี่วันก็สิ้นพระชนม์

  4. ลำดับรัชทายาทจึงถูกนับกลับไปที่พระราชโอรสฝั่ง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

  5. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.6 (พ.ศ. 2423-2468) พระราชโอรสองค์ที่ 3 ใน ร.5 มีพระราชธิดา 1 พระองค์

  6. เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.6 (พ.ศ. 2423-2468) มีเพียงพระราชธิดา ลำดับรัชทายาทจึงถูกนับกลับไปที่พระอนุชา ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.7 (พ.ศ. 2436-2484) เป็นพระราชบุตรองค์สุดท้ายใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ด้วย


------------

0
D-Exit 19 ต.ค. 59 เวลา 21:38 น. 4




มาถึงตรงนี้ เราเข้าใจแล้วว่าการนับลำดับราชวงศ์ใน ร.5 ร.6 และ ร.7 เป็นมาอย่างไร? งั้นตามมาข้อสับสนต่อไปกันเลย อีกนิดนึง


เหตุใด ร. 8 จึงไม่ได้สืบเชื้อสายเป็นพระราชโอรสมาจาก ร. 7 โดยตรง

  1. ร.7 เป็นพระราชบุตรองค์สุดท้ายใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

  2. ร. 7 ทรงไม่มีพระราชบุตร และเมื่อมีการสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2477 ทำให้ต้องกลับไปนับราชวงศ์ ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

  3. นับกลับไปที่พระเชษฐาใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่พอจะมีพระราชโอรส

  4. ร.8 เป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และเป็นองค์ชายที่ประสูติก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งมีพระราชนัดดา เป็นพระราชโอรสเช่นกัน

     





นับยังไง ถึงมาตกที่ ร.8 และ ร.9

  1. จริงๆแล้วเมื่อนับกลับมาที่พระราชโอรสใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จะเจอกับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ พระราชโอรสลำดับที่ 3 ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

  2. แต่เหมือนว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราช จะไม่มีพระราชบุตร และสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 17 ปี 8 วัน

  3. ลำดับรัชทายาทตกมาเป็นของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม 2435 — 24 กันยายน 2472) พระราชโอรส มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ ร.8 และ ร.9

  4. แต่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ไม่มีพระชนม์ชีพอยู่แล้ว จึงตกเป็นของพระราชโอรสองค์โต คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ร.8 (20 ก.ย. 2468 - 9 มิ.ย. 2489) 

  5. จากนั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ร.8 สิ้นพระชนม์ โดยยังไม่มีพระราชบุตร พระอนุชาจึงสืบต่อเป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร.9 (5 ธันวาคม 2470 —  ตุลาคม 2559)

    - จริงๆแล้วถ้านับกลับไปขึ้นไปในสายพระมารดาเดิม พระราชโอรสใน 
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พระเชษฐา ร.7 ภาพทรงเครื่องดนตรี) ก็มีสิทธิ์ลุ้นในบัลลังก์ แม้กระทั่งตระกูลจักรพงษ์​หากเป็นพระราชโอรสในเชื้อสายไทยแท้ก็มีลุ้นที่สุด

    แต่ ร.5 เคยตรัสให้นับเหมือนแม่เดียวกัน จึงนับกลับไปที่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งประสูติ 1 ม.ค. 2435 ประสูติก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ที่ประสูติ 4 ก.ค. 2435
     


ก็ประการละฉะนี้ล่ะนะจ๊ะะะะะ
0
หยาดฟ้า 19 ต.ค. 59 เวลา 21:55 น. 5

ผังพระมเหสีในรัชกาลที่5 ใส่พระบรมฉายาลักษณ์สลับกันค่ะ
ระหว่าง พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา

1
D-Exit 19 ต.ค. 59 เวลา 23:58 น. 6-1

กล่าวถึงผู้สืบทอด ไม่ได้จะเล่าจนหมดราชวงศ์

0
ลูกในหลวงภูมิพล 20 ต.ค. 59 เวลา 01:15 น. 7

สมัยก่อนทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง DNA เพิ่งจะมีมาในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ จะเห็นได้ว่าตามโบราณราชประเพณี เชื้อพระวงศ์ส่วนใหญ่ก็จะอภิเษกสมรสในหมู่เครือญาติกันเอง จึงเป็นเหตุให้พระโอรส พระธิดามีพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรงนัก หากแต่พระชนกทรงอภิเษกกับพระชนนี(สมเด็จย่าซึ่งเป็นสามัญชน)พระราชบุตรและพระราชธิดาจึงมีพระพลานามัยแข็งแรงครับ พระพี่นางฯทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา ในหลวงภูมิพลทรงมีพระชนมายุ 89 พรรษา

2
รักในหลวง 20 ต.ค. 59 เวลา 04:56 น. 7-1

บางที่พระบรมชนกทรงเก่งทางแพทย์พระองค์ทรงรู้เรื่องพันธุกรรม และความรักที่มีต่อสมเด็จย่า พระองค์เลยทรงเลือกสามัญชนเป็นคู่ครอง ทำให้สุขภาพร่างกายของทุกพระองค์ยืนยาว

0
นิลชล 18 พ.ย. 59 เวลา 23:14 น. 7-2

นอกจากพระบรมชนกแล้ว สมเด็จย่าเองก็ถือว่ามีความเก่งในด้านสาธารณสุขและด้านมีบทบาทสำคัญในการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจไม่น้อยทีเดียวซึ่งต่างจากสตรีไทยในยุคสมัยเดียวกันที่มักเลือกเป็นช้างเท้าหลัง ชื่นชมในความสามารถท่านตรงนี้

0
นั่นแหละ 20 ต.ค. 59 เวลา 09:45 น. 8

ขอพูดภาษาบ้านๆนะคะ

ถ้าคิดแบบไม่อิงวิทยศาสตร์ก็อาจจะเป็นฟ้าลิขิตให้ ร.8-9 ได้ขึ้นครองราชย์เพื่อไทยแน่นอน. เพราะเนื่องจากทั้งพระองค์ทีสิทธ์ที่จะขึ้นครองราชย์น้อยมาก. แต่ได้ขึ้นครองราชย์ทั้งสองพระองค์
น่าแปลกที่หลายๆพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควร


ถ้าแบบอิงวิทย์
ก็ การสืบเชื้อพระวงศ์ในวงศ์ตระกูลเดียวกัน. เชื้อสายเดียวกัน. เป็นเหตุที่จะทำให้ลูกหลานที่เกิดมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ เป็นไปได้สูงมากที่ลูกหลานเกิดมาจะเป็นเด๋กพิเศษ. เพราะมีเชื้อสายเดียวกันหมด

2
เรโกะ จิทาคุ 26 ต.ค. 60 เวลา 20:47 น. 8-1

มันมีโอกาสน้อยค่ะ ไม่เชื่อลองไปค้นข้อมูลดูเลยค่ะ แผนผังดีเอ็นเอจากการสืบสกุลโดยเชื้อสายเดียวกัน

0
Sirin 20 ต.ค. 59 เวลา 12:52 น. 9

ในรูปสุดท้ายของ ร.7 กับสมเด็จพระบรมราชชนก ควรใช้ว่านับกลับไปที่พระเชษฐา (พี่ชาย) ไม่ใช่พระอนุชา(น้องชาย)นะคะ เพราะสมเด็จพระบรมราชชนกประสูติก่อน ร.7

0
Sspp 20 ต.ค. 59 เวลา 13:38 น. 11

การนับพระโอรสและพระธิดาใน รัชกาลที่ 5 นั้น ภายหลังจากการสิ้นพระชนของพระนางเรือล่ม รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้นับลูกเรียงลำดับกันไป คือให้ตามลำดับการเกิด มิให้ตามแม่ใครลูกใคร คือให้นับเหมือนแม่คนเดียวกัน การสืบสันติวงศ์ จากเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิตสิ้น ต่อมาจึงมาเป็นรัชกาลที่ 6 พระโอรสลำดับต่อมา แต่คนละแม่กันคะ

0
ครับ 20 ต.ค. 59 เวลา 18:38 น. 12-2

มีครับ สายราชสกุลจุฑาธุช มีพระธิดา 1 พระองค์ ส่วนพระโอรสคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช แต่สายนี้ถูกข้ามเนื่องจากรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่าพระองค์วรานนท์ธวัชทรงมีชาติกำเนิดจากชายารอง(หม่อม) เกรงว่าเมื่อเป็นพระเจ้าอยู่หัวแล้วจะไม่ได้รับการเคารพนับถือ จึงให้ข้ามไปเสีย

0
Suparoek 20 ต.ค. 59 เวลา 18:30 น. 13

(อาจใช้ราชาศัพท์ไม่ถูก) จากที่เล่ามาผมว่าข้อมูลถูกต้องมากๆครับ แต่ผมขอเพิ่มเติมจากที่ผมทราบนะครับ หลังจาก ร.๗ ประกาศสละราชสมบัติ แล้วพระองค์ไม่มีพระราชบุตร สืบรัชกาลต่อ สิทธิ์ จะกลับไปทางพระเชษฐาต่างมารดา ซึ่งพระราชโอรสพระองค์แรกในขณะนั้นที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายบริพัตร สุขุมพันธ์ (กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต) หรือที่รู้กันก็คือ ปู่ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร แต่เหตุที่พระองค์ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระอนุชา ก็เพราะสมัย ร.๗ ทรงครองราชย์ ได้มอบตำแหน่งให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งด้านกองทัพเป็นหลัก ทำให้หลังจากคณะราษฎรทำการปฏิวัติการปกครอง ทรงควบคุมตัวพระองค์ไว้ และเป็นเหตุให้พระองค์และครอบครัวทรงถูกคณะราษฎรขับออกนอกประเทศ จึงทำให้ ลำดับตกมาอยู่ถึงพระบรมราชชนกของ ร.๘ และ ร.๙ ของเราครับ

แต่ไม่ว่าประวัติจะเป็นอย่างไร ก็นับว่าเป็นบุญของคนไทยเหลือเกิน ที่ได้เกิดมาอยู่ในแผ่นดินของมหาราชที่ชื่อภูมิพลมหาราชา

0
บอกที 20 ต.ค. 59 เวลา 18:45 น. 15

จากที่ไปอ่านในกระทู้นี้+เว็บอื่นๆมา คือในหลวงร.9กะราชินีเป็นญาติห่างๆกันเหรอ เห็นสืบเชื้อสายมาจากร.5เหมือนกัน

3
sightsolution 20 ต.ค. 59 เวลา 21:13 น. 15-1

ใช่ค่ะ ทั้งสองพระองคเป็นญาติกัน เหมือนให้สมัยก่อน จะนิยมให้ในเครือญาติแต่งงานกันค่ะ เขาต้องการสายเลือดบริสุทธิ์นะคะ ในการให้สืบทอดราชบัลลังค์

0
ืนีโอ 28 ต.ค. 60 เวลา 14:48 น. 15-2

ราชินีสืบเชื้อสายมาจากสายรัชกาลที่ 4 พูดภาษาสามัญชนคือเป็นหลานครับ

0
เรารักพระเจ้าแผ่นดิน 18 พ.ย. 60 เวลา 20:47 น. 15-3

พระราชินีเป็นพระนัดดา(หลาน)ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ค่ะ (เท่ากับว่าพระราชินีเป็นพระราชปนัดดา(เหลน)ในรัชกาลที่ 5 ค่ะ)

0
เด็กชายต้นโอ๊ก 20 ต.ค. 59 เวลา 20:25 น. 16

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนธวัช พระโอรสในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณอินทราชัย ไม่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์เนื่องจาก ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ มีพระพินัยกรรมให้ข้ามไป ครับ

0
เคยอ่านมาบ้าง 20 ต.ค. 59 เวลา 22:52 น. 17

ผมก็ไม่ได้รู้จริงๆ หรอกนะครับ แต่เท่าที่ทราบที่ว่าให้นับเรียงลำดับต่อกันมานั้นหมายถึงสายพระพันวัสสากับสายพระพันปีนะครับ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสองพระองค์(อันที่จริง 3 รวมพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ด้วย)เป็นลูกแม่เดียวกัน ไม่รวมถึงสายสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ครับ

0
อยากรู้ 20 ต.ค. 59 เวลา 23:18 น. 18

สงสัยครับ.ร.5 เคยตรัสให้นับเหมือนแม่เดียวกันสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งประสูติก่อนร.7 ทำไมท่านถึงไม่ได้ขึ้นก่อนครับ

2
D-Exit 20 ต.ค. 59 เวลา 23:53 น. 18-1

น่าจะเป็นไปตามพินัยกรรมที่ ร.6 ซึ่งฉลองบัลลังก์ต่อจาก ร.5 กล่าวไว้ว่า ถ้าพระองค์ไม่มีพระราชโอรส ก็แต่งตั้งแบบนี้ลงมา
แต่พอ ร.7 สละสิ้น คณธราษเป็นผู้หาเชื้อสายอัญเชิญขึ้นเองค่ะ

0
หมูน้อย 21 ต.ค. 59 เวลา 16:07 น. 18-2

ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ไม่ได้ขึ้นต่อ ร.๖ เป็นเพราะพรวิเศษของพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ได้รับจาก ร.๕ คะ ท่านขอให้สืบสันติวงศ์ในสายของท่านให้หมดเสียก่อนจึงได้ย้ายกลับมาที่สายของพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าคะ

ปล.พรวิเศษได้จากการที่ทรงสำเร็จราชการแทน ร.๕ ตอนที่ท่าประพาสยุโรปคะ

ปล1.ขออภัยหากใช้คำไม่ถูกต้องหรือสะกดผิดนะคะ

0
snowii 20 ต.ค. 59 เวลา 23:50 น. 19

ในหลวงมีบุญถึงจริงๆ จึงได้ครองราษฎ์ แต่จริงๆแล้ว ต้นตระกูลการสืบถอดต้องเป็นฝั่งในหลวงอยู่แล้ว เพราะเมสีเป็นพระองค์ที่ 2 แต่ลูกคนแรกที่ต้องขึ้นกลับเสียก่อน จึงทำให้มเหสีคนที่3ได้ขึ้นและกลายมาเป็น ร.6 แต่ก็หมดบุญต่อเพราะมีลูกสาว และตระกูลของฮิวโก้ก็ไปแต่งกับแมหม่ จึงต้องกลายมาเป็น ร.7 แต่ท่านกลับไม่มีลูกอีก จึงได้กลับมาที่ต้นตระกูลเดิมของฝั่งในหลวงจึงมาเป็นพ่อของในหลวง แต่ท่านก็มาเสียก่อน จึงได้เป็นร.8 แต่ก็เพียงไม่นาน เกิดเรื่องน่าเศร้า จนมาถึงน้องชายที่ได้สืบต่อ ร.8 ไม่ไกล ในหลวงเราสิ ไม่มีทางได้ขึ้นเลยด้วนซ้ำเพราะเป็นน้อง แต่นี่ละนะ ท่านมีบุญบารมี คนไทยจึงได้ร่มเย็นเป็นสุขตลอด70ปีครองราษฎ์ ท่านทรงดีทั้งเรื่องครองราษฎ์และครอฃเรือง ตลอด70ปี ท่านก็มีพระราชินีเพียงพระองค์เดียว รักพ่อหลวงจริงๆ

0
แวะมา 25 ต.ค. 59 เวลา 10:07 น. 20-1

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติ จากเจ้าจอมมารดาโหมด ซึ่งชั่นยศของเจ้าจอมมารดาโหมดอยู่ชั่น พระสนม ครับ

0