Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Topic: 5 สิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ ในธุรกิจอนิเมะญี่ปุ่น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เคยสงสัยมั้ยค่ะว่าทำไมปัจจุบันผลิตอนิเมะชั่นทาง TV ในญี่ปุ่นออกมามากมาย แต่กลับมีแนวโมเอะปนเซอร์วิสออกมาเยอะ จนเกลื่อนตลาด อันที่จริงก็มีเหตุผลหลายๆอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของผลกำไร จนทำให้ตลาดอนิเมะในญี่ปุ่นต้องพยายามดิ้นรนเพื่ออยู่รอดเช่นกันค่ะ
1.ค่าลงทุนสูงมากกว่าหนังสือการ์ตูน(มาก)
หนังสือการ์ตูน(Manga,มังงะ)ในญี่ปุ่นค่าใช้จ่ายลงทุนค่อนข้างน้อยหลักๆไปเสียกับค่านักเขียนที่ลงทุนแค่ค่าเครื่องเขียนกับฝีมือ ซึ่งอาจต้องจ่ายค่าสัญญาหลักร้อยล้านเยนต่อปี กับค่าส่วนแบ่งที่ขายได้ประมาณ10 เปอร์เซนต์ แต่ก้แปรผันตามกำไรที่บริษัทได้รับอยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพียงแต่การแข่งขันจะสูงทำให้เรื่องใหม่ๆเกิดยาก และหลายเรื่องเขียนเป็น10-20 ปีขึ้นไป ก็ยังไม่จบ
สำหรับอนิเมะแตกต่างกัน เพราะบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีเยอะมาก ไม่ว่าจะโปรดิวเซอร์,ผู้กำกับ,คนดูแลเรื่องบท,อนิเมเตอร์,เพลงประกอบ และอื่นๆร่วม100ชีวิตเมื่อเอาค่าเวลาฉายที่สูงมากไปบวกกับต้นทุนแล้วค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นมากไปอีกทำให้ส่วนใหญ่ต้องทำแบบ3-6เดือนจบ

ขั้นตอนในการสร้างอนิเมะทาง TV แบบโดยรวม

2.กว่า80เปอร์เซน์ของอนิเมะเลือกฉายในรอบดึกเพื่อลดต้นทุนไม่ได้ติดเรตในสายตาคนต่างประเทศญี่ปุ่นอาจเป็นประเทศที่รุ่งเรืองในด้านการทำแอนิเมชั่นมีการสนับสนุนให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างจริงจังแต่ในความเป็นจริงคนในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับละครทีวี,เกมโชว์ และรายการพิเศษมากกว่าการ์ตูนอยู่ดี เวลาฉายเรื่องใหม่ๆจึงถูกกำหนดไว้ประมาณ 3 ช่วง
รอบเช้าจนถึงสย(เสาร์-อาทิตย์)
ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนเด้กและการ์ตูนที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนดังๆเช่น One Piece,Naruto,Toriko,Bleach,Hunter XHunter (2011) เป็นต้น เป็นช่วงที่เจาะกลุ่มเด้กได้ดี แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เด็กเล็กดูด้วย จึงมีการลดความรุนแรงลงไปตามความเหมาะสม

Hunter X Hunter ภาครีเมค (2011) ปรับจากเลือดเป็นกลีบดอกไม้แทน
(ปรับให้โหดขึ้นหน่อยในภายหลัง แต่ก้ห่างไกลจากต้นฉบับอยู่ดี)

รอบเย็นจนถึงค่ำ(เสาร์-อาทิตย์)
เป็นกลุ่ม เรื่องที่มีสปอนเซอร์รายใหญ่ค่อยหนุนหลังอยู่ โดยหวังเข้าถึงทั้งกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นหลัก เช่นซีรีส์ Gundam,Code Geass,Full Metal Alchemist,Fairy Tail เป็นต้นแต่ช่วงทียังคำนึงถึงยอดขายแผ่นอยู่พอสมควร บ้างก็ไปเน้นกำไรจากสินค้า เช่น ซีรีส์ Yu-Gi-OH? ที่กระตุ้นยอดขายการ์ดไปในตัว จนหันไปเอาดีทางอนิเมะอีกรอบ Prime Time เพราะเข้าถึงผู้ชมได้มากกว่าหนังสือการ์ตูน

Yu-Gi-OH? Zexal (ภาคที่ 4 ของซีรีส์) ยังคงฉายต่อเนื่อง ช่วยดันยอดขายการ์ดจริง

รอบดึก(ทุกวัน)
การ์ตูนเรื่องใหม่เกือบทั้งหมดจะมีเวลาฉายในช่วงี้คิดเป้นประมาณ80เปอร์เซนต์-90เปอร์เซนต์ของที่ฉายในฤดูกาลนั้นมีตั้งแต่ช่วง4ทุ่มไปถึงตี3คนดูในญี่ปุ่นจึงนิยมตั้งเครื่องบันทึกอัตโนมัติไว้ดูตอนเช้าแทน
สิ่งหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือ อนิเมะที่ฉายในรอบดึกเป็นมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเยาวชนจึงถูกย้ายไปฉายในช่วงนั้นแต่ในความจริงไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องนั้นปัญหาหลักไปอยู่ที่เรื่องค่าเช่าสล็อตเวลาที่สูงกว่าปกติมากเคยมีการเผยข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับเช่าเวลารายการโทรทัศน์ในญี่ปุ่นไว้ดังนี้(ต่อ1ตอน)
รอบเช้าถึงค่ำ:10,000,000-100,000,000เยน(ประมาณ40ล้านบาท/ตอน)
รอบดึก:300,000-5,000,000เยน(ประมาณ2ล้านบาท/ตอน)
สำหรับการเช่าเวลาในการฉายจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่างกันมากระหว่างรอบเช้าและรอบดึก ทำให้หลายรายการเลือกที่จะฉายในรอบดึกเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายลง แล้วค่อยไปฉายซ้ำในช่องอื่น ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดังจริง เวลาฉายจะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อยอดขายนัก

Kuroko no Basuke เคยฉายเกือบตี 2 เพื่อลดทุนแต่ขายดีแบบสุดๆ

3.เวลาฉายส่งผลต่อคุณภาพของอนิเมะ
สำหรับการ์ตูนรอบเช้าและเย็น
วิธีแก้ปัญหาสำหรับอนิเมะที่ฉายในช่วงเช้าจนถึงค่ำจะอยู่ตรงสปอนเซอร์เป็นหลักซึ่งถ้าเสนอจนได้สปอนเซอร์รายใหญ่ที่อาจไม่เกี่ยวกับการ์ตูนโดยตรง ก็จะมีช่องทางหาำไรกลับคืนมาได้หลายช่องทางทั้งค่าลิขสิทธิ์ในการผลิตภัณฑ์และโฆษณาให้กับทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งมีเงินหมุนเวียนมากพอโดยไม่ต้องพึ่งพาการขายแผ่นการยังได้ทำให้สามารถฉายได้นานเป็นปีหรืออาจต่อเนื่องกันหลายปีเพียงแต่ต้องมั่นใจว่าจะมีคนติดตามมากพอที่จะกระตุ้นเรตติ้งเรื่องนั้นๆได้และทำให้ฝ่ายสปอนเซอร์พอใจ
ในมุมกลับจะเป็นเรื่องที่ยืดและทำเรื่อยๆไม่ต้องรีบร้อนอะไรเผางานบ้างไม่ค่อยเช็คคุณภาพงานมากก็ได้เพราะไม่ต้องง้อ BD/DVD ขายไม่ออกก็ช่างมัน ถ้านึกถึงยุค Dragon Ball Z น่าจะเห็นภาพชัด สมัยนี้มีพวกเนื้อเรื่องเพิ่มเข้ามาแทนแบบ One Piece,Bleach หรือ Naruto เพื่อให้ฉายได้นานๆ

ลองกลับไปดู DBZ แล้วรู้สึกถึงความแตกต่างยุคสมัยเลยค่ะ(ด้านความยืด)
ภาค Kai ค่อยรวบรัดขึ้นมาหน่อย

รอบเย็นจะลำบากขึ้นมาหน่อย เพราะเป้นเวลา Prime Time ที่ค่า Slot เวลาแพงมหาศาลนอกจากสปอนเซอร์ช่วยแล้วคุณภาพควรจะสูงเพื่อให้ขายแผ่นได้ด้วย

Gintama หนึ่งในอนิเมะไม่กี่เรื่อง ที่ทำออกมาดีไม่แพ้ฉบับมังงะ

สำหรับการ์ตูนรอบดึก
อนิเมะช่วงดึกจะต่างออกไปเพราะพวกสปอนเซอร์จะจำกัดดวงแคบลงไปมาก คนดูก็น้อยเพราะเข้านอนกันทำให้เรตติ้งไม่ค่อยดีนักส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะโดยตรง เช่น บริษัทเพลง,ค่ายหนังสือการ์ตูน,ผู้พัฒนาเกมและอื่นๆ ทำให้กลุ่มรายได้หลักมาพึ่งพาแผ่น BD/DVD กันเป็นหลัก
เนื่องจากการแข่งขันกันมาก ทำให้เนื้อหาการ์ตูนค่อนข้างเข้มข้นกับคุณภาพสูงกว่าการ์ตูนอนิเมะรอบเช้าในญี่ปุ่นเป้นอย่างมาก อีกทั้งในส่วนใหญ่จบใน 12-26ตอน ทำให้เนื้อเรื่องกระชับกว่า ใครที่มีอคติกับพวกอนิเมะยาวๆทางทีวีไทย ทีี่มาจากนั้นสือการ์ตูนลงไปหาอนิเมะไม่กี่ตอนจบดูค่ะจะเห็นถึงความแตกต่างทันที

บางเรื่องแค่ฉากก็กินขดแล้ว(ภาพจากเรื่อง Tari Tari)

4.ไม่นิยมสร้างอนิเมะยาวๆเพราะเสี่ยงขาดทุนสูง
อนิเมะรอบเช้าส่วนใหญ่ทำยาวๆแบบสบายตัวเพราะทุนสนับสนุนเยอะแต่รอบเย็นกัยดึกจะหนักใจหน่อยมี Cost ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เมื่อหลายปีก่อน ทาง Producer เปิดเผยผ่านการสัมนาว่า ใช้ทุนสร้างร่วม 300 เยน (ประมาร120 ล้านบาท) สำหรับอนิเมะความยาว 26ตอนซึ่งขาดทุนทางฝั่ง Producer ต้องรับผิดชอบ ถ้าย้อนไปดูรูปแรกสุดของบทความ จะเห็นว่าทุนสร้างอยู่ประมาณ 10-13 ล้านเยนต่อ1ตอนเหมือนกัน
ด้านราคาแผ่น ฺBlu-Ray แบบ6แผ่น 12ตอน จะมีราคา (จองล่วงหน้า)ประมาณ 30,000-40,000 เยน ถึงจะรู้สึกว่าญี่ปุ่นค่าครองชีพสูงกว่าในไทยหลายเท่าแต่เงินสำหรับซื้ออนิเมะ1เรื่องมากพอที่จะไปถอยเครื่อง PS3 หรือ Xbox360 รุ่นหลังๆได้สบายๆ ถ้าความยาวแบบ26ตอนบางเรื่องไปซื้อPSVita3-4เครื่องได้เช่นกัน(แค่เปรียบเทียบ คงไม่มีใครซื้อ PSVita 4เครื่องจริงๆหรอก)
ทำให้ปัจจุบันนิยมทำอนิเมะแบบ 12-13 ตอนจบกันมากขึ้นเพื่อให้จำนวนแผ่นที่ขายน้อยที่สุดผู้ชมจะได้ซื้อแผ่นได้แบบไม่หนักใจเกินไปถ้าขายไม่ดีจะได้ไม่ขาดทุนมากหนักและทำเพื่อลองตลาดและกระตุ้นยอดขายฉบับมังงะ,นิยาย ถ้าขายดีค่อยทำต่อในอนาคต
อย่างไรก็ตามถ้าเป็นเรื่องที่คาดว่าน่าจะขายดี จะมีการทำจำนวน5-26ตอนกันอยู่บ้างอย่างเรื่องที่กำลังฉายอยู่ เช่น Accel World,Eureka Seven AO,Hyouka(21ตอน),Sword Art Online เป็นต้น

Accel World ฉายแบบไม่กลัวขาดทุน เพราะซันไรสืเตรียมขายฟิกเกอร์แบะของเล่นตามมาอีกเพียบ

5.ดีแต่เนื้อเรื่อง ขายยาก/โมเอะขายง่าย
ทุก 3 เดือนมักจะมีอนิเมะพล็อตเรื่องดีปรากฏออกมาให้เห็นบ้างเล็กน้อยแต่ความจริงข้อนึง คือ ถึงจะชอบแค่ไหนก้ไม่ซื้อแค่ชมว่าสนุกเนื้อเรื่องยอดเยี่ยมแต่ก้ไม่ซื้อโดยเฉพาะแนวบู๊ดุเด้ดเผ็ดมันก็ขาดทุนกันมาบ่อยครั้ง
ยกตัวอย่างเรื่องเมื่อต้นปีก้อย่าง Danshi Koukousei no Nichijou (ในไทยชอบเรียก ชายล้วนกวนบาทา)  มีมังงะภาษาไทยในชื่อ วันๆของพวกผมก็งี้แหละ (เพิ่งออกเล่ม1 ในไทยเมื่อหลายปีก่อน) ถึงคนดหวตให้ติดอันดับ2 ของอนิเมะสุดฮาและกระแสในญี่ปุ่นมาแรงมากแต่ยอดขายแค่ในระดับกำไรนิดหน่อยเท่านั้น

Danshi Koukousei no Nichijou เรื่องใหม่จากทีมสร้างกินทามะ แต่(ยัง)ดังไม่เท่า

กลุ่มที่ช่วยตลาดกลุ่มนี้ กลับเป็นกลุ่มที่ซื้อเพราะตัวละครมากกว่า ประเภทซื้อแบบไม่ต้องคิดมากและมีกำลังทรัพย์พอ(บางคนเรียกว่า โอตาคุ) แนวขายตัวละครจึงกลายเป็นเรื่องขายแล้วไม่ค่อยขาดทุนนัก ทำให้แนวเน้นตัวละครสวย ใส แบ๊วๆ เยอะขึ้นตามลำดับ
แต่ก้ไม่ใช่ว่ทำแนวโมเอะภาะสวยพอเพราะคนซื้อส่วนใหญ่ก้ไม่ได้หน้ามืดซื้อแหลกก็ต้องมีเนื้อเรื่องบ้างรวมถึงองค์ประกอบหลายๆอย่างในเรื่องก็ต้องทำออกมาน่าสนใจมีคุณค่าพอให้ซื้อเก็บสะสมด้วย

K-ON? เรื่องสบายๆของชมรมดนตรี ทั้งแผ่นและสินค้าต่างๆที่เกี่ยวข้องทำกำไรถึง 15,000ล้านเยน(ประมาณ6,000ล้านบาท)

ปัจจุบันกลุ่มคนดุอนิเมะที่เป็นผู้หญิงก็ไม่ใช่น้อยๆทำให้อนิเมะแนวที่เอาใจแม่ยกก้เยอะขึ้นเช่นกันอย่างตารางฉายซีซันฤดูใบไม้ร่วงมีแนวดัดแปลงจากการ์ตูนผู้ญิงค่อนข้างมากกว่าซีซันก่อนๆรวมถึงดีไซน์ผู้ชายเท่ๆก้เยอะขึ้นทั้งนี้อาจเป็นแนวที่ดูได้ทั้งชายหญิงเพื่อเอาใจผู้ชมทั้งสองกลุ่ม

Uta no Prince-sama Maji Love 1000 เปอร์เซนต์กลุ่มนักร้องชาย อีกเรื่องที่ขายดีเกินคาด ดูได้ทั้งชายหญิง(ฉายปีก่อน,มีกำหนดซีซันต่อไปเดือน 4ปี 2556)

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ดอ ชฎา 1 ธ.ค. 59 เวลา 21:54 น. 1

กินทามะนี่ชอบมากค่ะ แต่ละมุกนี่ทำเอาสับสนว่าคนเขียนหรือคนทำอนิเมะคิด เพราะมีมุกมาเพิ่มตลอด 55555+

1
jnny_tuy 3 ธ.ค. 59 เวลา 15:09 น. 1-1

กินทามะมุขมานี่แบบมาทีอดฮาไม่ได้เนอะคะ555
ตลกจัง

0